เรียนเมื่อแก่ (บันทึกครั้งที่ 3 )


โอกาสต่างกัน แต่เป็นโจรคล้ายกัน

 

     มีโอกาสได้เรียนหัวข้อใหม่ เรื่อง ทฤษฎีการพัฒนาสังคม นำแลกเปลี่ยนโดย ผ.ศ.ดร.กนกวรรณ  มะโนรมย์ อาจารย์สาขาพัฒนาสังคม คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

     อาจารย์ได้มอบเอกสารประเภทหนังสือ และแบบเย็บชุด อาทิ สังคมวิทยาการพัฒนา วาทกรรมการพัฒนา  การพัฒนาที่ยั่งยืน  แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน  อำนาจ สิทธิชุมชน และการมีส่วนร่วม ฯลฯ เพื่อให้กลับไปศึกษาด้วยตนเองและนำมาแลกเปลี่ยนในห้องเรียน

      การเรียนในวันนี้รู้สึกว่าเวลาได้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว เพราะผู้เรียนได้กลับไปศึกษาเอกสาร จึงมีข้อมูลต่าง ๆ มากมายมาแลกเปลี่ยน ร่วมทั้งด้วยพื้นฐานการศึกษาเดิม ภาระหน้าที่การงาน การรับรู้ข้อมูลที่เป็นภูมิหลังของแต่ละคนอันแตกต่างกันไป จึงทำให้บรรยายกาศในห้องเรียนสนุก แลกเปลี่ยน ยกกรณีตัวอย่างที่พบเห็นจากตนเองประสบ หรือเป็นเพียงทัศนมุมมองก็ตาม โดยมีอาจารย์เป็นผู้สรุป เชื่อมโยง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้วิพากษ์ อาทิ 

       คน 2 คน เกิดพร้อมกัน ทั้งเวลา  สถานที่  ครั้นเกิดและเติบใหญ่ การขัดเกลา การหล่อหลอม ทั้งระดับครอบครัว ระบบการศึกษา และรูปแบบทางสังคม ย่อมมีผลให้คนมีความแตกต่างกัน แบบแผนที่ถูกกำหนดไว้เชิงเหตุผล หรือเป็นผู้ให้ เป็นผู้เห็นใจผู้อื่น คิดเพื่อส่วนรวม ที่ถูกหล่อหลอมจากระดับครอบครัว สถาบันการศึกษา หรืออื่น  ๆ ก็ตาม จึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เศรษฐานะของระดับครอบครัวอาจจะไม่ใช่ข้อสรุปของการหล่อหลอมให้คน ๆ นั้น เมื่อเติบใหญ่ไปแล้วจะเป็นคนดีหรือไม่  แต่ความสัมพันธ์เชิงการอยู่ร่วมกันที่มีพื้นฐานแห่งการเข้าใจผู้อื่น มีความรักต่อผู้อื่น  และการจัดบทบาทหน้าที่ที่เหมาะสม ย่อมมีอิทธิพลมากกว่า กลุ่มคนที่ถูกป้อนให้ในการดำเนินชีวิตทุกอย่าง เป็นผู้รับมากว่าเป็นผู้ให้ทั้ง ๆ มีความพร้อมในทุกด้าน โหยหาความรักเรียกร้องไม่สิ้นสุด ขาดการรู้จักบทบาทและสถานะตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับสังคมที่กำลังมีระยะผ่านเปลี่ยนอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

       ถ้าคน 2 คน จะเป็นคนไม่ดี เป็นโจร ความผิดต่อสังคมอาจจะไม่แตกต่างกัน แต่วิธีการย่อมแตกต่างกัน คนหนึ่งอาจใช้มีดจี้ หรืออาวุธอื่นปล้น เพื่อให้ได้ทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน ก็ถือว่าเป็นความผิดเป็นโจร กลับกันอีกคนหนึ่งมีหน้าที่ทางสังคมที่ใหญ่โต มีฐานะการยอมรับจากผู้คนมากมาย แต่ เกิดความโลภอยู่ในจิต อยากได้ของผู้อื่นเป็นของตน ก็จะใช้ความลุ่มลึก อุบาย ขณะคิดวางแผนก็จะสวมเสื้อผ้าใส่สูทอย่างดูดีปกปิดเรื่องราวความชั่วตนเอง เนื้อแท้ ก็เป็นโจรที่ไม่ต่างกัน แต่โอกาสการอธิบายให้คนในสังคมรู้ก็จะต่างกันด้วยเหตุผลมากมายที่พยายามอธิบายเพื่อตนเองเป็นสำคัญ 

     ซึ่งกรณี ตัวอย่างดังกล่าว ได้ถูกยกมาแลกเปลี่ยนในห้องเรียนก็ทำให้เข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นจริงมากขึ้น โดยสามารถใช้ทฤษฎีทางสังคมมาอธิบายได้ว่า การเปลี่ยนทางสังคม ระบบการบริโภคที่ไร้ขอบเขต การเอารัดเอาเปรียบ การคิดในระดับปัจเจกชนมากเท่าไร ก็จะส่งผลให้เกิดชั้นทางสังคมมากขึ้น  สิ่งที่จะสร้างให้สังคมมีความเข้มแข็ง ไม่หลุดไปตามกระแสสังคมปัจจุบัน ก็คือ การหันกลับมาทบทวนตนเอง ทั้งระดับตนเอง ครอบครัว สถาบันทางสังคมในระดับต่าง ๆ ต้องเข้าใจและรู้บทบาทที่แท้จริงของตนเองทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ และมีความต่อเนื่อง

    การเรียนในวันนี้จึงเป็นวันที่สนุก มีความสุข มีสาระ เวลาจึงผ่านไปอย่างรวดเร็ว ทั้งผู้เรียนและผู้จัดกระบวนการ.

    

หมายเลขบันทึก: 38509เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2006 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านแล้วซึ้งตายเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท