พิมพ์ประภา หน่อนันตา
พิมพ์ประภา หน่อนันตา ผอ.พิมพ์ หน่อนันตา

ภาวะผู้นำตามสถานการณ์


ภาวะผู้นำตามสถานการณ์

เรื่อง  :  ต่างคนก็ต่างใจ บริหารกันไปตามสถานการณ์

ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (situation leadership theory) ของ Hersey & Blanchard

รวบรวมโดย : นายพูนศักดิ์  พงษ์ธัญญะวิริยา

 

          เคยได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ได้กล่าวถึงบุคคล 4 ประเภท คือ พวกบัวในตม , บัวกลางน้ำ , บัวปริ่มน้ำ และบัวพ้นน้ำ ก็ทำให้นึกถึงบุคลากรในหน่วยงานของเรา

ซึ่งมีบัวทั้ง 4 เหล่านี้ปะปนกันไป ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทางการบริหารบทหนึ่ง คือทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (situation leadership theory) ของ Hersey & Blanchard

ที่ได้จัดกลุ่มคน ไว้ 4 พวกเช่นกัน คือ M1 ,  M2 , M3 และ M4  แต่ละกลุ่มก็มีความแตกต่างกันไปตามวุฒิภาวะ,ความรู้,ประสบการณ์ ฯลฯ  กลุ่มเหล่านี้อาจทำให้เกิดความรื่นรมย์

หรือสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าในการบริหารงานให้กับท่านผู้บริหารก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าท่านมีความเข้าใจกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้เพียงใดและใช้วิธีการบริหารคนกลุ่มต่าง ๆ อย่างไร

เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า “ไม่มีวิธีการใดเพียงวิธีการเดียวที่สามารถจัดการกับปัญหาได้ทุกปัญหา” การบริหารบุคคลในหน่วยงานก็เช่นกัน ที่จำเป็นต้องใช้วิธีการอย่างหลากหลายมาใช้ในการบริหาร

ตามความเหมาะสมของแต่ละคนแต่ละกลุ่ม อาจดูเหมือนจะยุ่งยากซับซ้อน แต่หากท่านได้ศึกษาทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์นี้อย่างลึกซึ้ง ก็จะพบว่าไม่ยากเลยที่จะนำทฤษฎีมาสู่การปฏิบัติ

                Hersey & Blanchard จัดกลุ่มคน ไว้ 4 กลุ่ม ดังนี้

1.       M1 (บัวใต้น้ำ)  คนกลุ่มนี้จะเป็นพวกไม่ค่อยมีความรู้ความสามารถ ขาดความเต็มใจในการทำงาน ไม่ค่อยจะมีความรับผิดชอบ วุฒิภาวะต่ำ ขาดความ  มีกรณีต่าง ๆ 

       หลายกรณีที่มีความไม่เต็มใจของพวกเขาเป็นผลมาจากความไม่มั่นใจเกี่ยวกับงานที่จะต้องปฏิบัติ ฉะนั้นการบริหารคนกลุ่มนี้จึงต้องใช้แบบของการสั่ง ( Telling ) , ( S1) 

       ที่อธิบายชัดเจนเกี่ยวกับคำแนะนำต่าง ๆ และการควบคุมคณะบุคคลในระดับวุฒิภาวะนี้ มีความน่าจะเป็นไปได้ด้านประสิทธิผลในระดับสูงสุด แบบภาวะผู้นำแบบนี้เรียกว่า 

       “ การสั่ง “  เพราะเป็นลักษณะที่ผู้นำชี้แจงบทบาท และสั่งผู้ตามว่าให้ทำงานอะไร อย่างไร เมื่อไร และที่ไหน มากกว่าที่จะใช้เวลาไปให้การสนับสนุนทางอารมณ์ สังคม

       หรือการให้กำลังใจ แบบนี้ประกอบไปด้วยพฤติกรรมด้านงานสูงและพฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์

2.       M2 (บัวกลางน้ำ) คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะต่ำถึงปานกลาง มีความรู้ความสามารถไม่มากนัก แต่มีความเต็มใจที่จะรับผิดชอบงาน เป็นผู้ที่มั่นใจ แต่ขาดความชำนาญในขณะนั้น

       ดังนั้นจึงควรใช้แบบภาวะผู้นำแบบ  “ การขาย” ( Selling ) , ( S2 )  ต้องให้คำแนะนำ เพราะคนกลุ่มนี้ยังขาดความสามารถ  แต่บุคคลที่มีวุฒิภาวะระดับนี้ พฤติกรรมด้านสนับสนุน

       ทางอารมณ์ สังคม เพื่อเพิ่มพลังความเต็มใจ และความกระตือรือร้นด้วยนั้น ดูเหมือนจะเหมาะสมมากที่สุด ที่เรียกว่า “การขาย “  เพราะคำแนะนำคำสั่งต่าง ๆ ยังมาจากผู้นำ ผู้นำ

       พยายามใช้การสื่อสารสองทาง มีการอธิบาย การรับฟังอย่างสนใจ ให้การสนับสนุนทางอารมณ์ สังคม การให้กำลังใจใช้วิธีการทางจิตวิทยาให้ผู้ตามเห็นด้วยกับการตัดสินใจของผู้นำ

       ผู้ตามที่มีวุฒิภาวะระดับนี้ตามปกติแล้วจะเห็นด้วยกับการตัดสินใจของผู้นำ ถ้าพวกเขาเข้าใจถึงเหตุผลสำหรับการตัดสินใจนั้น และถ้าผู้นำเสนอให้การช่วยเหลือและให้คำแนะนำด้วย

       แบบนี้ประกอบไปด้วยพฤติกรรมด้านงานสูงและพฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์สูง

3.       M3 (บัวปริ่มน้ำ) คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะปานกลางถึงสูงที่จะทำงานตามที่ผู้นำต้องการ ความไม่เต็มใจของเขามีอยู่บ่อยที่เนื่องมาจากขาดความมั่นใจหรือขาดความมั่นคง อย่างไรก็ตาม

       ถ้าหากว่าเขามีความสามารถพอแต่ไม่เต็มใจแล้ว ความไม่สนในที่จะปฏิบัติงานเกิดจากปัญหาการจูงใจมากกว่าปัญหาความมั่นคง กรณีเช่นนี้ผู้นำจำต้องมีนโยบายเปิดประตู คือ

       ด้วยการสื่อสารสองทางและรับฟังอย่างสนใจเพื่อสนับสนุนผู้ตามให้พยายามใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่   แบบภาวะผู้นำต้องใช้แบบ “การร่วม” ( Participating ), (S3) ผู้นำจำต้อง

       มีนโยบายเปิดประตูคือ ใช้การสื่อสารสองทางและรับฟังอย่างสนใจ  เพื่อสนับสนุนผู้ตามให้พยายามใช้ความสามารถที่มีอยู่  ให้การสนับสนุน ไม่ออกคำสั่ง ผู้นำและผู้ตามร่วมกัน

       ในการตัดสินใจ โดยบทบาทหลักของผู้นำนั้นช่วยอำนวยความสะดวกและการติดต่อสื่อสาร แบบนี้ประกอบด้วยพฤติกรรมด้านงานต่ำและพฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์สูง

4.       M4 (บัวพ้นน้ำ) คนกลุ่มนี้มีความรู้ความสามารถ มีวุฒิภาวะสูง มีความเต็มใจและมั่นใจในการปฏิบัติงานและมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ดังนั้นการบริหารคนกลุ่มนี้

       จึงต้องรูปแบบการมอบ (Delegating), (S4)  ซึ่งกำหนดคำแนะนำและการสนับสนุนเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับคณะบุคคลที่มีวุฒิภาวะระดับนี้ ความน่าจะเป็นไปได้ด้านประสิทธิผลอยู่ในระดับ

       สูงสุด ถึงแม้ว่าผู้นำยังชี้แจงให้ผู้ตามที่มีวุฒิภาวะในระดับนี้เข้าถึงปัญหา ความรับผิดชอบ สำหรับการปฏิบัติตามแผนให้สำเร็จก็ตาม แต่ผู้ตามก็ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการแสดงใดเอง

       และตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ว่าจะปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติเมื่อไร และปฏิบัติที่ไหนได้เอง ขณะเดียวกันผู้ตามเหล่านี้บรรลุวุฒิภาวะด้านจิตวิทยา ฉะนั้นไม่จำเป็นต้องมีการสื่อสารสองทาง

       หรือมีพฤติกรรมด้านการสนับสนุนแบบนี้ประกอบด้วยพฤติกรรมด้านงานต่ำและพฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์ต่ำเช่นกัน

                จากบทสรุปของกลุ่มบุคคลตามทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ข้างตน ผู้เขียนเชื่อว่า ท่านผู้บริหารคงพอที่จะจำแนกทีมงานของท่านได้แล้วว่าใครจัดอยู่ในกลุ่มใด และควรใช้การบริหารแบบใด

อย่างไรก็ตาม หากจะมีบัวเหล่าที่5 ในหน่วยงานของท่านคือบัวในตม และหล่อทับด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก แถมมีฝังระเบิดเวลาไว้ด้วย  ท่านคงต้องเร่งศึกษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากทฤษฎีนี้ว่าจะต้องจัดการอย่างไร????

  บทสรุป

                บุคคลตามทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มและมีวิธีบริหาร ดังนี้

M1 (วุฒิภาวะต่ำ,ความสามารถน้อย,ขาดความรับผิดชอบ = S1 ( Telling )  การสั่งการ

M2 (วุฒิภาวะปานกลาง,มีความตั้งใจแต่ขาดประสบการณ์ = S2 ( Selling )  การขายความคิด

M3 (วุฒิภาวะค่อนข้างสูง แต่ยังขาดความมั่นใจ ขาดแรงจูงใจ = S3 ( Participating ) การร่วม

M4 (วุฒิภาวะสูง ความมั่นใจสูง มีความรับผิดชอบ = S4 (Delegating) การมอบหมายงาน/อำนาจตัดสินใจ

 

หมายเลขบันทึก: 385050เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2010 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท