วิจัยประเมินผลโครงการพัฒนานักวิเคราะห์ฯ


วิจัยประเมินผลโครงการฯนี้ เพื่อประเมินบริบทแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ตลอดจนผลสัมฤทธิ์ ในมิติของความพร้อม ความประหยัด ความมีประสิทธิผล ความมีประสิทธิภาพ ความสมหวัง ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ คุณภาพของรายงาน และความต่อเนื่องในการดำเนินงาน

วิจัยประเมินผลโครงการพัฒนานักวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์บริการสาธารณสุขระดับเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) จังหวัดพัทลุง

อนุชา  หนูนุ่น และอวยพร  ดำเกลี้ยง


บทคัดย่อ

     การประเมินผลโครงการฯ นี้ เป็นการวิจัยประเมินผล (Evaluation Research) ที่ใช้รูปแบบแนวคิดในการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และแนวคิดในการประเมินผลตามรูปแบบซิป (CIPP Model) บูรณาการเข้าด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ตลอดจนผลสัมฤทธิ์ ในมิติของความพร้อม ความประหยัด ความมีประสิทธิผล ความมีประสิทธิภาพ ความสมหวัง ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ คุณภาพของรายงาน และความต่อเนื่องในการดำเนินงาน ใช้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเลือกโดยวิธีเจาะจงทั้งหมดที่เป็นผู้เข้ารับการพัฒนา ฯ จำนวน 52 คน ใช้แบบสอบถาม แบบสังเกต การถอดบทเรียนหลังมีกิจกรรมรายวัน และการประชุมกลุ่ม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านเป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงของเนื้อหาของเครื่องมือ ทดสอบความเชื่อมั่นของข้อคำถามด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้วยวิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (KR-20) ได้เท่ากับ 0.84 และข้อคำถามตอนที่เป็นความคาดหวัง หรือความสมหวัง ด้วยวิธีของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) ได้เท่ากับ 0.86 ใช้สถิติพรรณนา คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด  ค่าต่ำสุด และใช้สถิติอนุมาน คือ การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้การทดสอบค่าที (pair t-test) ในการทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ความคาดหวังและความสมหวัง ก่อน-หลังเข้ารับการพัฒนาฯ

<p align="center">
</p>
<p align="center"></p><p align="left">     ผลการวิจัยพบว่า ด้านบริบท คือความพร้อมของทีมวิทยากรในวันแรก มีความมั่นใจ มีคู่มือฯ ที่ใช้ตรงตามโครงสร้างเนื้อหา มีความสมบูรณ์และความทันสมัย ทีมนักวิเคราะห์ฯ มีความเหมาะสม หลากหลาย และเป็นสหวิชาชีพ เข้ารับการพัฒนาฯ อย่างครบถ้วนและครอบคลุม ด้านปัจจัยนำเข้า ที่เป็นระดับความรู้ และความเข้าใจ อยู่ในระดับดี มีความคาดหวังสูง โครงการนี้ฯ สามารถประหยัดงบประมาณได้ (ร้อยละ 14.30) ด้านกระบวนการพัฒนา พบว่ามีความพึงพอใจต่อคุณภาพในการนำเสนอของวิทยากร แต่ได้เสนอแนะว่าควรจะได้ทำเป็นเนื้อหาสรุปเพื่อทบทวน ความสนใจดีมาก มีการซักถาม และมีแก้ปัญหาร่วมกัน ความสมบูรณ์ของเครื่องมือในทดลองการปฏิบัติฯ ต้องแก้ไข คิดเป็นร้อยละ 1.68 ในด้านความคิดเห็นเพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนการ คือควรจะจัดให้ผู้บริหารได้ร่วมรับรู้ด้วย ด้านผลสัมฤทธิ์ สรุปว่าโครงการฯ มีประสิทธิภาพ โดยในส่วนของระดับความรู้ และความเข้าใจสูงกว่าก่อนการเข้ารับการพัฒนาฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านความสมหวังหลังการเข้ารับการพัฒนาฯ อยู่ในระดับสูง โดยไม่ได้ลดต่ำลงจากก่อนการพัฒนาฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การออกรายงานผลการวิเคราะห์ฯ พบว่าสามารถออกรายงานได้ 9 แห่ง (จาก 10 แห่ง) และออกรายงานได้ทั้ง 6 เดือน และ 3 งวด อย่างต่อเนื่อง สำหรับคุณภาพของรายงานที่เกิดขึ้น พบว่ามีคะแนนเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 72.50</p><p align="center"></p><p align="left">     ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ คือ ควรจะจัดให้มีโครงการในลักษณะที่เป็นการส่งเสริมให้เครือข่ายหน่วยบริการพึ่งตนเองได้ และควรจะได้มีการประเมินผลทุกโครงการที่ดำเนินการเพื่อจะได้ทำการวิเคราะห์บริบทแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ของการดำเนินงานในภาพรวมขององค์การได้</p><p align="center">ดาวน์โหลด/อ่านเอกสารฉบับย่อ 19 หน้า</p>

หมายเลขบันทึก: 3849เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2005 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท