การสอนอ่านภาษาไทย


การสอนอ่านภาษาไทย

การสอนอ่านภาษาไทย

          การอ่านเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่ยั่งยืนที่สุด การอ่านช่วยเสริมสร้างความเฉียบแหลมทางปัญญา แต่เนื่องจากสภาพในปัจจุบันยังพบว่า ผู้เรียนบางคนยังอ่านไม่ได้ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาไทยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และยังส่งผลให้เป็นปัญหาต่อการเรียนวิชาอื่น ๆ อีกด้วย สภาพและสาเหตุของปัญหาการจัดการเรียนการสอนอ่านภาษาไทยนั้น ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับตัวครูทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ครูยังคงยึดตัวเองเป็นสำคัญ การใช้สื่อการเรียนการสอนในระดับที่น้อยมาก รวมทั้งการวัดและประเมินผลให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากเรียนไม่เห็นความสำคัญและไม่สนใจทักษะด้านการอ่านรวมทั้งไม่มีนิสัยรักการอ่าน

          ปัจจุบันมีแนวคิดและทฤษฎีมากมายที่เกี่ยวกับกระบวนการสอนอ่าน (Teacher of Reading) แต่ทฤษฎีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ได้แก่

   1. ทฤษฎีทางจิตภาษาศาสตร์ (Psycholinguistics) เป็นการนำทฤษฎีทางจิตภาษาศาสตร์มาใช้อธิบายกระบวนการอ่าน ซึ่งมีจุดเน้น 3 ลักษณะ ได้แก่

          * มองภาษากับการอ่านเป็นเรื่องเดียวกัน (Reading is language) การอ่านภาษาใดก็ต้องใช้ระบบของภาษานั้น ผู้อ่านจึงจะเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนได้ถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือเอาไว้

          * ผู้อ่าน คือ ผู้ใช้ภาษา (Reading are users of language) ผู้อ่านเป็นผู้ใช้กระบวนการในการทำความเข้าใจโดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือ ผู้อ่านจะใช้ตัวชี้แนะต่างๆ ในการทำความเข้าใจ ซึ่งได้แก่ ตัวชี้แนะภายในคำพูด ตัวชี้แนะในตัวภาษา ตัวชี้แนะจากตัวผู้อ่านเอง และตัวชี้แนะจากภายนอก ดังนั้น จุดเน้นในการอ่านจึงอยู่ที่

                o ตัวภาษาที่อ่าน
                o กระบวนการค้นคว้าความหมายของผู้อ่าน โดยการสุ่มตัวอย่าง การคาดคะเนข้อความที่อ่าน การทดสอบโดยใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่ การย้ำเพื่อความมั่นใจ และการแก้ไขเมื่อมีความจำเป็นในกรณีที่คาดการคาดคะเน และการทดสอบผิดพลาด และ
                o เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาความหมาย ซึ่งได้แก่ ตัวชี้แนะต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว

          * ภาษาเป็นสื่อในการติดต่อสื่อสาร (Language is a tool for communication) ผู้อ่านจะใช้ระบบของตัวชี้แนะภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการอ่าน ซึ่งได้แก่

                o ระบบชี้แนะทางรูปคำและเสียง (Graphophonic Cueing System)
                o ระบบตัวชี้แนะทางไวยากรณ์ (Syntactic Cueing System)
                o ระบบความชี้แนะทางความหมาย (Semantic Cueing System)

   2. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) เป็นทฤษฎีอธิบายเกี่ยวกับการอ่าน คือ การอ่านที่ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเรื่องที่อ่านได้ก็ต้องอาศัยความรู้เดิม ของผู้อ่านมาปฏิสัมพันธ์กับบทอ่าน การทำความเข้าใจคำ ประโยค หรือบทอ่าน เป็นเพียงความเข้าใจที่ใช้ความรู้ทางภาษาศาสตร์เท่านั้น สำหรับกระบวนการตีความ แปลความ และสรุปความ ต้องอาศัยหลักการคิด โดยนำสิ่งที่อ่านมาคิดพิจารณากับความรู้เดิมโดยอาศัยกระบวนการทางสมองที่ผู้ อ่านมีโครงสร้างความรู้เดิมมาช่วย ทั้งนี้ ได้แบ่งชนิดของโครงสร้างความรู้เดิมเกี่ยวกับการอ่านไว้ 2 ลักษณะ คือ

          * โครงสร้างความรู้เดิมเกี่ยวกับรูปแบบ (Formal Schemata) คือ โครงสร้างของงานเขียนที่เป็นลักษณะต่างๆ กัน เช่น นิทาน บทความ บทกลอน เป็นต้น

          * โครงสร้างความรู้เดิมเกี่ยวกับเนื้อหา (Content Schemata) คือ โครงสร้างความรู้เดิมที่เกี่ยวกับเนื้อหาของสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง

   3. ทฤษฎีการสอนอ่านอย่างเป็นธรรมชาติ (Natural Approach) เป็นทฤษฎีที่เน้นการให้ปัจจัยป้อนเข้า (Comprehensible Input) โดยใช้กระบวนการเรียนการสอน (Process) ที่เหมาะสมกับการรับรู้ทางภาษาของผู้เรียน ผลของการเรียนรู้ (Output) จะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนว่าจะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของวิธีการให้ปัจจัย ป้อนเข้าที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่ผู้เรียน

นอก จากนี้ยังมีแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการสอนอ่าน (Teaching of Reading) ที่ได้รับความสนใจอยู่ในขณะนี้คือ การสอนจากความเข้าใจ ความคิดรวบยอด จากการเดาความ สรุปความ จากนั้นจึงลงลึกในรายละเอียดในลักษณะจากบนลงล่าง หรือ Top Down Processing ซึ่งถ้าผู้อ่านมีความรู้เรื่องที่จะอ่าน ก็จะอ่านได้ง่าย และเดาความได้ โดยสามารถดึงเอาความรู้เดิม (Schema) มาใช้เดาความ และตีความได้ง่าย นั่นคือ ผู้อ่านจะต้องตีความระดับยอด คือ ใจความสำคัญของเรื่องให้ได้

 

ตัวอย่างฝึกอ่านภาษาไทย

 

ยายสีเลี้ยงหอย ส่วนยายสอยเลี้ยงหมี ยายสีเลี้ยงหอยฟ้องยายสอยเลี้ยงหมีว่า หมีของยายสอย มากัดหอยของยายสี แต่ยายสอยที่เลี้ยงหมี ปฏิเสธและฟ้องกลับยายสีเลี้ยงหอยว่า หอยของยายสีกัดหมีของยายสอย ต่างหาก พร้อมกับอ้างว่า ที่ปากหมีของยายสอย ไม่มีหอยของยายสีให้เห็นเลย ตรงกันข้ามมีหลักฐานว่า ที่ปากหอยของยายสีนั้นกลับมีขนหมีของยายสอยติดอยู่

 

จะวินิจฉัยยังไงก็ว่ากันไปก็แล้วกัน

หมายเลขบันทึก: 384033เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2010 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

หากมองอีกมุมหนึ่ง ภาษา คือ การวางเงื่อนไขร่วมกัน ฉะนั้นการอ่านนั้นหมายความว่า คนเราต้องเราใจเงื่อนไข(รหัส)ที่วางไว้ร่วมกันจึงจะเกิดกระบวนการสื่อสารได้อย่างเต็มรูป แต่ปัญหาในการสอนการอ่านภาษาไทยมักมีปัญหามาจาก

๑. การไม่เข้าใจสัญญะ(เงื่อนไขที่เขียนในรูปอักษร)

๒. การไม่สามารถตีความความนัยของภาษา

๓. การที่ไม่สามารถถ่ายเสียงจากอักษรเป็นเสียง

๔. และที่สำคัญทั้งสามทฤษฎีที่คุณครูกล่าวมายังมีขอลืมไปว่า อักษร คือ เครื่องแทนเสียง ฉนั้นมุมมองของความเข้าใจสัญญะที่บ่งเสียงนั้นจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ครูควรจะให้ความสำคัญ

พี่อิ๊ด ภาพประกอบน่ารักมากคะ

สวัสดีค่ะน้องดา

ขอบคุณนะค่ะที่แวะมาเยี่ยม

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะค่ะ เป็นประโยชน์อย่างมากค๊า

เข้ามาอ่านตอนตี 1 ภาพน่ารัก เนื้อหาเป็นประโยชน์มาก เพลงไพเราะ สรุปว่า เยี่ยมมาก ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครู ดิฉันคิดว่าภาษาอังกฤษในวงเล็บควรได้รับการปรับปรุงอย่างที่สุดค่ะ เพราะมันไม่มีความหมายใดๆ ตรงกับภาษาไทย ไม่ถูกหลักไวยกรณ์ทางภาษาค่ะ (พูดง่ายๆ คือมั่วค่ะ) และอาจทำให้เยาวชนที่นำบทความไปอ้างอิงเข้าใจกันกันผิดๆ เช่น ผู้อ่าน คือ ผู้ใช้ภาษา (Reading are users of language) ลองพิจารณาหรือถามผูที่มีความรู้แน่ชัดทางภาษาดูนะคะ ขอบพระคุณที่รับฟังความเห็นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท