รายงานการศึกษาวรรณกรรมเรื่องโรเมโอและจูเลียต (แนวคิดของเรื่อง)


๔. แนวคิดของเรื่อง
          สายทิพย์ นุกูลกิจ(๒๕๔๓:๒๒๐-๒๒๑) กล่าวว่า
   ความคิด(Though)หรืออาจเรียกว่า แก่นของเรื่อง(Theme)หรือจุดมุ่งหมายของเรื่อง(Permise)
หมายถึงแง่คิดหรือหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารต่อผู้ชมและสามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าเป็นจริงจากเรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในละคร แต่การให้ความคิดในบทละครต้องแนบเนียน กลมกลืนกับโครงเรื่องและลักษณะนิสัยของตัวละคร ไม่ใช่เป็นการสั่งสอนผู้ชมตรง ๆ เพราะถ้าผู้ชมเกิดความรู้สึกว่าถูกสอนแล้ว ผู้ชมมักเกิดความคิดต่อต้านละครเรื่องนั้น ๆ ทันที
                บทละครเรื่องโรเมโอและจูเลียตนี้แต่งขึ้นตามปรัชญาแนวสัจนิยม(Realistic) ปรัชญาแนวนี้จะมีความคิดความเชื่อว่า ชีวิตมนุษย์มีทั้งสุขและทุกข์ หรือมีทั้งดีและชั่ว ดังนั้นผู้แต่งบทละครตามแนวนี้จึงพยายามที่จะนำชีวิตจริงของคนใจสังคมมาถ่ายทอดให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยยึดหลัก
ความสมจริง
                ผู้แต่งเรื่องโรเมโอและจูเลียตได้พยายามชี้ให้เห็นถึงอำนาจของอารมณ์ความรู้สึกที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในด้านที่ให้คุณและให้โทษ ดังนี้
                ๑.อำนาจของความรัก ความรักสามารถบันดาลให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ได้มากมาย ทำให้กล้าทำในสิ่งที่อันตราย ดังเช่นตอนที่โรเมโอแอบปีนกำแพงเข้าไปในสวนคาปุเล็ต :-
            จูเลียต.      คุณมานี่อย่างไร, และเหตุใดจงบอกฉัน. กำแพงแห่งขวัญก็แสนสูง
                           ฃ้ามลำเค็ญ, อีกเป็นเช่นคุณนี้, แม้พี่น้องฉันพบเห็น ที่นี่จะกลายเปน
                           ที่ตายของคุณแน่แท้.
             โรเมโอ.    ด้วยปีกของรักฉันได้ปีนฃ้ามกำแพงแน่, เพราะรั้วศิลาแผ่บ่มิอาจกันรักไว้,
                            สิ่งใดรักอาจทำรักทะนงลองทำได้; เช่นนั้นพี่น้องใดของหล่อนฤาจะห้ามฉัน.
             จูเลียต.     แม้ว่าเฃาพบคุณ, คงพิฆาตเปนแม่นมั่น.
             โรเมโอ.    อ้าอันตรายนั้นมีมากมวล ณ นัยนา ของหล่อนยิ่งกว่าดาพญี่สิบเล่ม:
                            หล่อนเมตาฉันแล้วก็ความอาฆาฏของเฃาแคล้วกายี.
              จูเลียต.    ดิฉันไม่อยากเลยให้ใครพบคุณแห่งนี้.
              โรเมโอ.    ผ้าดำแห่งราตรีปกป้องฉันจากตาเฃา; ขอเพียงให้หล่อนรัก,
                             ใครพบฉันก็ทำเนา: ชีวิตวอดลงเล่าเพราะความชังของเฃาไซร้,
                             ดีกว่าชีวิตยืดแต่ไร้รักของยาใจ.
                               (องก์ที่ ๒ ตอนที่ ๒ หน้า ๓๒ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๓)
               

            ทำให้คนผู้เข้มแข็งกลายเป็นคนอ่อนไหว อ่อนโยน ดังคำกล่าวของโรเมโอตอนที่วิวาทกับติบอลล์ว่า:-
               โรเมโอ.      ......โอ้จูเลียตสวาทศรี, ความงามของหล่อนนี้ทำฉันกลายเปนหญิงไป,
                                และหล่อนบันดาลความกล้าหาญอ่อนหย่อนลงได้.
                             (องก์ที่ ๓ ตอนที่ ๑ หน้า ๕๗ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๓)
         

           หรือแม้กระทั่งในตอนจบ ที่ทั้งสองตระกูลหันมาปรองดองกันก็ด้วยความรักที่เกิดขึ้นระหว่างโรเมโอและจูเลียต

                ๒. อำนาจของความโกรธ ความโกรธทำให้คนเราทำสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ยั้งคิด จนนำมาซึ่งความหายนะเมื่อรู้สึกใดก็สายสายเกินไป ดังเช่นตอนที่โรเมโอวิวาทกับติบอลล์จนติบอลล์ต้องตาย:-
              เบ็น.      ติบอลล์เจ้าโทโษเดินกลับมาอีกแล้วนี่.
              โรเมโอ.  อยู่ดี, และอวดดี! และเมอร์คิวชิโอมรณ! ไปสู่สวรรค์เถิด, ความใจดีอย่าง
                          โอนอ่อน, และโกรธเหมือนไฟฟอนเปนกิจกูแต่นี้ไป! นี่แน่, ติบอลล์,
                          จงรับคืนคำว่า จัญไร ซึ่งมึงเมื่อกี้ให้! อันวิญญาณเมอร์คิวชิโอเหนือของเรา                   มิเท่าใดดอก, อโห, คอยมึงผู้พาโลเพื่อเปนเพื่อนเดินทางไป :
                           ไม่มึงก็กู, หรือทั้งคู่ต้องไปด้วยไซร้.
              ติบอลล์.    มึง, เด็กอัปรีย์ใหญ่, ตัวมึงเคยเปนเกลอมัน, จะไปกับมันซี.
              โรเมโอ.    บัดเดี๋ยวนี้ได้เห็นกัน.
[ต่อสู้กัน; ติบอลล์ล้ม]
               เบ็น.       โรเมโอ, รีบไปพลัน! เร็ว ๆ พี่,จงรีบไป! พวกนาคะระอึง, และติบอลล์
                             ก็บรรลัย: ยืนงงอยู่ทำไม: เจ้าคงสั่งผลาญชีวี แม้เฃาจับพี่ได้! ไป! รีบไป!
                             ไปบัดนี้!
              โรเมโอ.     โอ้, เคราะห์ทำแก่พี่เหมือนของเล่น!
              เบ็น.           คงอยู่ใย?
(องก์ที่ ๓ ตอนที่ ๑ หน้า ๕๗ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๓)

          ๓. อำนาจของความเกลียดชัง ความเกลียดชังนี้เองที่ทำให้ละครเรื่องนี้จบลงด้วยโศกนาฎกรรมอันสลดใจ และเพราะความชังนี้เองเป็นเหตุให้ผู้คนในเรื่องต้องจบชีวิตลงมากมายไม่ว่าจะเป็น เมอร์คิวชิโอผู้รักเพื่อนฝูงและเกียรติยศกว่าสิ่งอื่นใด ติบอลล์ผู้มีความเกลียดชังอันรุนแรงและไร้เหตุผล ปารีสชายหนุ่มผู้มีรักอันบริสุทธิ์ต้องตายโดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความชังที่เกิดขึ้น คุณหญิงมอนตะคิวตรอมใจตายเพราะลูกชายถูกเนรเทศ และโรเมโอกับจูเลียตที่ยอมตายเพื่อหลีกหนีความเกลียดชังไปพบรักแท้ความหายนะทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะอำนาจของความเกียดชังทั้งสิ้น
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3838เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2005 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท