สรุปสาระการเรียนรู้


ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในวันอังคารที่  4  กรกฎาคม  2549

จากกิจกรรมการเรียนการสอนของ  ศาสตราจารย์วิจารณ์       พานิช  ในเนื้อหาการสร้างหรือการปฏิรูปกระบวนการวัฒธรรมการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้  เพื่อธำรงอัตลักษณ์และปรับปรนพัฒนาอย่างเท่าทันและสมสมัย  สำหรับครั้งนี้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ดังนี้

1.สิ่งที่ได้รับจากการแนะนำตนเอง

จากการแนะของทุกคน   ทำให้ได้ทราบว่าได้ทราบจุดแข็งของตนเองและของเพื่อน ๆ  ซึ่งในบ้างครั้งศักยภาพที่เรามีอยู่  เราลืมคิดถึงและยังไม่ได้นำมาใช้อย่างน้อยในครั้งนี้เป็นการสะกิดให้หวนคิดและได้เห็นความสำคัญของตน    ยังได้ทราบศักยภาพของเพื่อน ๆ  เห็นจุดแข็งที่แตกต่างและหลากหลาย   ทำให้เห็นคุณค่าและเข้าใจกัน  ต่อไปจะเป็นประโยชน์มากหากเราสามารถนำจุดแข็งเรานี้มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

2.สิ่งที่ได้รับจากกระบวนการเรียนการสอน

จากการเรียนการสอนสอนในครั้งนี้ เป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง   ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างหลากหลาย   เริ่มตั้งแต่ก่อนเรียนผู้เรียนทุกคนต้องไปศึกษาได้รับบทเรียนจาก  VCD  ด้วยตนเอง   มาอภิปรายและตั้งประเด็นปัญหาร่วมกัน   แล้วแยกเนื้อหาไปศึกษาตามประเด็นที่กำหนด   ทำให้ทุกคนมีเวลาไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาอย่างเต็มที่3.สิ่งที่ได้รับจากบทเรียน  VCD1.การศึกษาผ่านจากสื่อต้องย้อนคิดในการบริโภคสื่อ  ในบ้างครั้งนั้นเราได้รับเฉพาะทางบวก   ดังนั้นเราต้องวิเคราะห์กับความให้เป็นจริงทางสังคม  กว่าจะเด่นถึงจุดที่ต้องอาจจะต้องพบกับอุปสรรคและปัญหา  ต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วยเสมอจึงเพิ่มความสมบูรณ์ในการมองสื่อ2.จากบทเรียนใน VCD  ทำให้ทราบการถึงกระบวนการและวิธีการจัดการความรู้ในของเกษตรกรจังหวัดพิจิตร  และโรงพยาบาลบ้านตาก  จังหวัดตาก   สร้างคุณภาพชีวิตดีขึ้น  เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น  เป็นการนำเอาความรู้ที่ควักมาจากข้างใน  และคว้ามาจากข้างนอก  มาปรับใช้ให้เหมาะสม โดยเฉพาะการดึงที่มีอยู่ในตัวบุคคล   ช่วยในการสร้างเกิดนวัตกรรมใหม่แก่ชุมชนและหน่วยงาน   ยังสร้างความเข้มแข็ง  ความรักความสามัคคี ให้กับชุมชนและหน่วยงาน   จึงอาจกล่าวได้ว่า  การทำสิ่งใด  ๆ ก็ตามกับการจัดการความรู้เป็นเรื่องเดียวกันและทำควบคู่กัน  ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดเวลาไม่ว่าความรู้จากภายในหรือภายนอก  และความรู้เหล่านั้นไม่ควรใช้ระบบการจัดการแบบแยกส่วนดังนั้นในองค์กร  หน่วยงาน  หรือชุมชน  ต่างมีความรู้ความสามารถในตนเองอาจจะจากประสบการณ์หรือจากทักษะการปฏิบัติโดยตรงเป็นความรู้ที่ไม่ได้ยึดติดแต่เฉพาะกับทฤษฎี  หากเราสามารถดึงความรู้นั้นมาปรับใช้  จะทำให้เกิดการสร้างงานนวัฒกรรมใหม่ ๆ  และแก้ปัญหาหน่วยงานและชุมชนได้เป็นอย่างดี   จากการศึกษาใน  VCD  จึงอาจเป็นแนวทางที่จะนำมาปรับใช้กับกระบวนการเรียนการสอนในระดับปริญญาเอกวัฒนธรรมศึกษา   จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนได้เป้นอย่างงดี

4.สิ่งที่ได้เจากการสรุปบทเรียนและการทำ AAR

                ในการทำงานหรือการเรียนสอนแต่ละครั้งหากเราได้มีการสรุปบทเรียนหรือทำ AAR เช่นนี้ทำให้เรารู้กระบวนการทำงานหรือการเรียนการสอนที่ผ่านมารวมทั้งประโยชน์ที่ได้รับ  ยังสามารถปรับปรุงแก้ไข   และกำหนดทิศทางในอนาคต   ทำให้เดินไปตรงตามเป้าหมาย   และก้าวสู่เป้าหมายสูงสุด   อย่างสง่างามและมั่งคง  จากสิ่งที่ได้รับในบทเรียนและที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาทั้งหหมด  สามารถนำไปสู่การสร้างหรือการปฏิรูปกระบวนการวัฒธรรมการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้   กล่าวคือโดยอาศัยกระบวนการจัดการเรียนรู้ (KM)  เพื่อธำรงอัตลักษณ์และปรับปรนพัฒนาอย่างเท่าทันและสมสมัย  ได้โดยไม่ใช้ระบบการจัดการแบบแยกส่วนเช่นในอดีต   นำไปสู่ที่วัฒนธรรมที่ยั่งยืน  เสริมฐานทางสังคม  อันได้แก่ ฐานปัญญานิยมโดยสามารถดึงปัญญาออกมาใช้อย่างถูกต้อง  ฐานจริยธรรมนิยมคือเคารพซึ่งกันและกัน  ฐานทุนนิยม เป็นทุนที่มีอยู่ในตัวบุคคลและเป็นทุนที่อยู่ในการปฏิบัติร่วมกัน    และฐานอำนาจนิยมเป็นการลดระบบ Top-Down  ไม่ต้องมีคนสั่งการ   รวมถึงเป็นการสร้างอัตลักษณ์ใหม่แก่สังคม  ทำให้คนในสังคมมีความสุข  เห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน  เห็นประโยชน์จากการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง  ลดเวลาทำงานและงบประมาณ  มีเวลาฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิม    
คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 38348เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2006 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ชื่นชมข้อสรุปนี้ครับ      เรียนแบบไม่สอนอีกครั้งวันที่ ๒๕ นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท