การวิจัยทางสังคมศาสตร์


ชาติพันธุ์วิธีวิทยา
จากที่เคยเกริ่นว่าจะไปอ่านหนังสือเพื่อทำความเข้าใจกับคำว่า ชาติพันธุ์วิธีวิทยา นั้น ได้ไปอ่านวารสารทางวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในบทความของคุณวสันต์  ปัญญาแก้ว ท่านกล่าวว่า ในการศึกษาชีวิตวัฒนธรรมของ คนอื่น ชาติพันธุ์วิธีวิทยา เสนอว่าในฐานะนักชาติพันธุ์วรรณา จะต้องศึกษาชีวิตเหล่านั้นด้วยการสร้างความรู้สึกผูกพันอย่างเต็มตัว ศึกษาด้วยการเข้าไปเป็นสมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มวัฒนธรรมเหล่านั้นให้ได้ ใช้ชีวิตร่วมอยู่ในสังคมของพวกเขา  ดำเนินการสืบสวนค้นคว้าหาความเข้าใจในระบบภาษา สัญลักษณ์ และความหมายต่าง ๆ ทั้งชีวประวัติ เรื่องราวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงความคาดหวังต่อชีวิตในอนาคตของพวกเขา ในขณะเดียวกันก็ให้ลืมทฤษฎีทางสังคมต่างๆไปก่อน เพื่อจะได้สืบสวน วิถีปฏิบัติ วิธีการตีความทำความเข้าใจของกลุ่มผู้ถูกศึกษาเกี่ยวกับชีวิตของพวกเขาเองอย่างทุ่มเทเต็มตัว การศึกษาวิเคราะห์ในแนวชาติพันธุ์วิธีวิทยาจึงเป็นเสมือน การสืบซ้ำ ( rediscovery) เพื่อค้นหาการให้เหตุผลระดับสามัญสำนึกตลอดจนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตผู้คนที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาจากประสบการณ์ชีวิตของพวกเขาเอง ผ่านการศึกษากิจกรรมการกระทำทางสังคมต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขบริบทซึ่งพวกเขาเผชิญอยู่จริงในระดับชีวิตประจำวัน            จากบทความดังกล่าวทำให้เข้าใจได้ว่า การวิจัยทางสังคมศาสตร์นั้น นักวิจัยควรให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของแต่ละชุมชน  นักวิจัยไม่ควรยึดติดอยู่กับทฤษฎีทางสังคมศาสตร์มากเกินไป เพราะบางครั้งทฤษฎีที่สวยหรูกับไม่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาอะไรได้ในสังคมแห่งความเป็นจริง
หมายเลขบันทึก: 38343เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2006 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท