สุภาษิตไทย


นานาสัตว์ในสำนวนไทย

 

สำนวนสุภาษิตไทย

 

   " ขี่ช้างจับตั๊กแตน "

 

 

          ที่มาของสำนวน: ช้าง ในสำนวน “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” จะมองเห็นความแตกต่างระหว่างช้างกับตั๊กแตนได้ชัดเจน ตั๊กแตนเป็นแมลงตัวเล็กจับยาก ถ้าจะจับต้องใช้สวิงขนาดเล็กผูกกับไม้ปลายยาว ไล่ครอบจึงจะจับได้ ถ้าใช้มือไม่มีทางที่จะจับได้ เพราะตั๊กแตนบินไปได้ไกลๆ และรวดเร็วมาก ส่วนช้างเป็นสัตว์ตัวใหญ่เทียบไม่ได้กับแมลงอย่างตั๊กแตน และถ้าเราต้องขี่ช้างไปจับตั๊กแตน มันก็ไม่สมควร เพราะไม่จำเป็นที่เราจะต้องลงทุนลงแรงมากถึงขนาดนั้น

                  ความหมายของสำนวน: สำนวนขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง สิ่งที่เราทำใหญ่โตเกินความจำเป็นหรือเกินกว่าเหตุ ใช้เปรียบเทียบเพื่อชี้ให้เห็นว่า การลงทุนอย่างมหาศาลเพื่อทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ใหญ่โต แต่ได้ผลประโยชน์หรือผลตอบแทนพียงนิดเดียวนั้น ไม่คุ้มค่า ไม่สมควรที่จะทำ

" เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง "

 

 

            ความหมายของสำนวน:  “เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง” มีที่มาจาก คนเลี้ยงช้างของหลวงในสมัยโบราณที่เรียกว่า ตะพุ่น คือ คนเกี่ยวหญ้ามาให้ช้างกิน โดยเมื่อเกี่ยวหญ้าแล้วก็จะนำมาวางกองไว้ห่างๆ ไม่ให้ช้างเอางวงตวัดหญ้ากินเองได้ เมื่อช้างหิวก็ส่งเสียงร้องและฟวดงวงไปมา คนที่เดินผ่านมาก็เกิดความสงสัยถามว่าทำไมถึงไม่เอาหญ้าให้ช้างกิน คนเลี้ยงก็ตอบว่าถ้าอยากให้ช้างกินหญ้าก็ช่วยซื้อหญ้าให้ช้างกินหน่อยเถอะ ด้วยความสงสารคนที่เห็นดังนั้น ก็เลยต้องซื้อหญ้าให้ช้างกิน คนเลี้ยงช้างก็เลยได้เงินค่าหญ้าไปฟรีๆ

 

                     ที่มาของสำนวน: สำนวนเลี้ยงช้างกินขี้ช้าง หมายถึง หาประโยชน์จากงานที่ตนเองทำอยู่ ใช้เปรียบเทียบคนที่ทำงานชนิดใดแล้วพลอยมีส่วนได้ประโยชน์จากงานนั้น แต่เป็นประโยชน์ที่ไม่ถูกต้อง ไม่บริสุทธิ์

 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

 

 

 http://writer.dek-d.com/trutk/story/view.php?id=591957

 

http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/thai04/02/suriyothai/d1.htm

 

       ที่ได้อำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 383152เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2010 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท