การแข่งขัน การสร้างผลงานด้วยโปรแกรม GSP ปี การศึกษา 2553


กรุณาคลิกสารบัญ ดู ทั้งหมด และ กด Ctrl + F ค้นหาที่ต้องการ

การแข่งขันการสร้างผลงานด้วยโปรแกรม GSP 2553 เดี๋ยวจะตกข่าว เลยรีบนำมาเผยแพร่ คาดว่าส่วนใหญ่คงจะรู้ข่าวและส่งผลงานเข้าประกวดกันแล้ว โหลดได้ที่นี่
สำหรับการแข่งขันการแข่งขันก็เริ่มจัดกันแล้ว

กิจกรรมการประกวด/แข่งขันทักษะความสามารถนักเรียน

ปีการศึกษา 2553

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 

สรุปกิจกรรมการประกวด/แข่งขันกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 

ชื่อกิจกรรม 

ระดับชั้น 

ประเภท 

หมายเหตุ 

ป.1-3

ป.4-6

ม.1-3

ม.4-6

1. การแข่งขันอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์

/ 

/ 

/ 

/ 

เดี่ยว

 

2.การแข่งขันโครงงานคณิตศาสตร์

 

/ 

/ 

/ 

ทีม 3 คน

 

3.การแข่งขันผลงานสร้างสรรค์คณิตศาสตร์

โดยใช้โปรแกรม GSP

 

/ 

/ 

/ 

ทีม 2 คน

 

4.การแข่งขันคิดเลขเร็ว

/ 

/ 

/ 

/ 

เดี่ยว

 

รวม 

2

4

4

4

 

 

 

เกณฑ์การประกวด/แข่งขันทักษะความสามารถนักเรียน งานมหกรรมวิชาการชายแดนใต้ 

 ปีการศึกษา 2553

1. การแข่งขันอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ 

1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

                                1.1 นักเรียนเรียนระดับชั้น ป.1-ป.3

                                1.2 นักเรียนเรียนระดับชั้น ป.4-ป.6

1.3 นักเรียนเรียนระดับชั้น ม.1-ม.3

1.4 นักเรียนเรียนระดับชั้น ม.4-ม.6

                2. ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน

                                2.1 แข่งขันประเภทเดี่ยว

                                2.2 จำนวนผู้เข้าแข่งขันระดับชั้นละ 1 คน

                3. วิธีดำเนินการและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน

                                3.1 ส่งรายชื่อนักเรียนผู้เข้าแข่งขัน พร้อมชื่อครูผู้ฝึกสอนจำนวน 1 คน

ตามแบบฟอร์มที่กำหนด

3.2 กิจกรรมการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันต้องทำแบบทดสอบวัดสมรรถภาพ 4 สมรรถภาพ คือ

                - ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตสาสตร์

               - ทักษะการคิดเร็ว

                - ทักษะการคิดคำนวณ

                - ทักษะการแก้โจทย์ปัญหา

3.3 แบบทดสอบในแต่ละระดับชั้นใช้เนื้อหาคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลาง

ของสสวท. นักเรียนที่เข้าแข่งขันทุกระดับชั้น ทำแบบทดสอบทั้งหมด 4 ฉบับ ดังนี้

ฉบับที่ 1 แบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ วัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ

คณิตศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ เวลา 30 นาที

ฉบับที่ 2 แบบทดสอบปรนัยชนิดเติมคำ วัดทักษะการคิดเร็ว จำนวน 20 ข้อ

เวลา 10 นาที

ฉบับที่ 3 แบบทดสอบปรนัยชนิดเติมคำ วัดทักษะการคิดคำนวณ จำนวน 20 ข้อ

                เวลา 40 นาที

ฉบับที่ 4 แบบทดสอบปรนัยชนิดเติมคำวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหา

จำนวน 15 ข้อ เวลา 45 นาที

                4. เกณฑ์การให้คะแนน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

ฉบับที่ 1 แบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน

รวม 30 คะแนน

ฉบับที่ 2 แบบทดสอบปรนัยชนิดเติมคำ จำนวน 20 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน

รวม 20 คะแนน

ฉบับที่ 3 แบบทดสอบปรนัยชนิดเติมคำ จำนวน 20 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน

รวม 20 คะแนน

ฉบับที่4 แบบทดสอบปรนัยชนิดเติมคำ จำนวน 15 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน

รวม 30 คะแนน

5. เกณฑ์การตัดสิน

ถ้าคะแนนรวมเท่ากัน ให้พิจารณาจากคะแนนแบบทดสอบฉบับที่ 4 ฉบับที่ 3 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 1 ตามลำดับ   แล้วนำคะแนนรวมมาคิดเทียบเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้

                ร้อยละ 80-100   ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง

                ร้อยละ 70-79      ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน

                ร้อยละ 60-69       ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง

                ต่ำกว่าร้อยละ 60  ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการจะเห็นเป็นอย่างอื่น

                ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด

                6. คณะกรรมการการแข่งขัน ระดับชั้นละ 3-5 คน

                คุณสมบัติของคณะกรรมการ 

                                - เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

                                - เป็นครูที่ทำการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

                                - ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านคณิตศาสตร์

  1. 2.       การแข่งขันโครงงานคณิตศาสตร์ 

1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

                1.1 ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักเรียนระดับชั้น ป.4-ป.6

                1.2 ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักเรียนระดับชั้น ม.1-ม.3

1.3 ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักเรียนระดับชั้น ม.4-ม.6

                2. ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน

                                2.1 แข่งขันประเภททีม ทีมละ 3 คน

2.2 จำนวนผู้เข้าแข่งขัน ระดับชั้นละ 1 ทีม

                3. วิธีดำเนินการและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน

3.1 ส่งรายชื่อผู้เข้าแข่งขัน พร้อมชื่อครูที่ปรึกษาโครงงานทีมละ 2 คน ตามแบบฟอร์มที่กำหนด

3.2 รายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขันโครงงานที่เข้าร่วมแข่งขันมี 4 ประเภท ดังนี้

                1) โครงงานคณิตศาสตร์ประเภททดลอง

2) โครงงานคณิตศาสตร์ประเภทสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูล

3) โครงงานคณิตศาสตร์ประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์

4) โครงงานคณิตศาสตร์ประเภทสร้างทฤษฎีหรือคำบรรยาย

3.3 โรงเรียนสามารถส่งโครงงานเข้าแข่งขันประเภทใดก็ได้ โดยจะแข่งขัน

โครงงานประเภทเดียวกัน

3.4 ส่งรายงานโครงงานเป็นรูปเล่มล่วงหน้าก่อนการแข่งขันโครงงานละ 5 ชุด

3.5 นำแผนโครงงานมาแสดงตามเกณฑ์มาตรฐาน

60 ซม.

 

 

 

 

120 ซม.

60 ซม.

 

                 ค      60 ซม.

 

3.6 อุปกรณ์อื่นๆที่นำมาสาธิตอาจวางบนโต๊ะ โดยไม่ยื่นออกมาจากโต๊ะเกิน60ซม.

3.7 นำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการและตอบข้อซักถามใช้เวลาประมาณ

10 นาที

                3.8 สื่อ ผู้ส่งโครงงานเข้าแข่งขันจัดเตรียมมาเอง

                3.9 พื้นที่จัดวางแผงโครงงาน คณะกรรมการจัดให้เท่ากันไม่เกิน 1.50 ม.× 1.00 ม.

4. เกณฑ์การให้คะแนน 100คะแนน

                4.1 การเลือกหัวข้อโครงงาน                                                                              5 คะแนน

4.2 ความสำคัญของโครงงาน                                                                          10 คะแนน

4.3 จุดมุ่งหมาย และสมมตฐาน (ถ้ามี)                                                          10 คะแนน

4.4 เนื้อหา ความสอดคล้องเหมาะสม ถูกต้องตามหลักคณิตศาสตร์       20 คะแนน

4.5 วิธีดำเนินงานและผลที่ได้รับ                                                                     10 คะแนน

4.6 ขนาดแผงโครงงานและการแสดงผลงานตามเกณฑ์มาตรฐาน         10 คะแนน

4.7 การนำเสนอปากเปล่าและการตอบข้อซักถาม                                       15 คะแนน

4.8 การเขียนรายงานโครงงานถูกต้องตามรูปแบบ                                      10 คะแนน

4.9 การนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า                                                        5 คะแนน

4.10 ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์                                                                           5 คะแนน

 

 

                5. เกณฑ์การตัดสิน

                ร้อยละ 80-100   ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง

                ร้อยละ 70-79      ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน

                ร้อยละ 60-69       ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง

                ต่ำกว่าร้อยละ 60  ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการจะเห็นเป็นอย่างอื่น

                ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด

                6.คณะกรรมการการแข่งขัน ระดับชั้นละ 3-5 คน

คุณสมบัติของคณะกรรมการ 

                                - เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

                                - เป็นครูที่ทำการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความสามารถด้าน

                โครงงาน

                                - ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านคณิตศาสตร์

 รายละเอียดในเล่มประกอบด้วย

บทคัดย่อ

                                กิตติกรรมประกาศ

                                สารบัญตาราง

                                สารบัญรูปภาพ

                                บทที่ 1  บทนำ

บทที่ 2   เอกสารที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3   วิธีดำเนินการ                       ความยาวไม่เกิน 20 หน้า

บทที่ 4   ผลการดำเนินการ

บทที่ 5   สรุปผลการดำเนินการ

                /อภิปรายผลการดำเนินการ

                                ภาคผนวก   ไม่เกิน 10 หน้า

                                บรรณานุกรม

หมายเหตุ

                1. ขนาดของกระดาษเขียนรายงานให้ใช้กระดาษพิมพ์ขนาด เอ4 พิมพ์หน้าเดียว ความยาวไม่เกิน 20 หน้า เฉพาะบทที่ 1-5 รวมสรุปผลการดำเนินการ อาจมีภาคผนวกได้อีกไม่เกิน10 หน้า และทำรายงาน 5 ชุด (ส่งให้คณะกรรมการก่อนแข่งขัน)

                2. รายงานฉบับใดที่มีความยาวเกินกว่าที่กำหนดจะถูกตัดคะแนน

 
   
  1. 3.       การแข่งขันผลงานสร้างสรรค์คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP

1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

                1.1 ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักเรียนระดับชั้น ป.4-ป.6

                1.2 ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักเรียนระดับชั้น ม.1-ม.3

1.3 ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักเรียนระดับชั้น ม.4-ม.6

                2. ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน

                                2.1 แข่งขันประเภททีม ทีมละ 2 คน

2.2 จำนวนผู้เข้าแข่งขัน ระดับชั้นละ 1 ทีม

3. วิธีดำเนินการแข่งขัน และรายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน

                3.1 ส่งรายชื่อนักเรียนผู้เข้าแข่งขันพร้อมชื่อ ครูผู้ฝึกสอนทีมละ 1 คน ตามแบบฟอร์มที่กำหนด

3.2 กำหนดโจทย์การแข่งขัน จำนวน 5 ข้อ ข้อละ 20 คะแนน รวมคะแนนเต็ม

100 คะแนน

3.3 เวลาที่ใช้แข่งขัน ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที

                4. เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 100 คะแนน กำหนดรายละเอียด ดังนี้

4.1 โจทย์แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ GSP จำนวน 4 ข้อ ข้อละ 20 คะแนน รวม 80 คะแนน ซึ่งแต่ละข้อใช้เกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

1) ความสมบูรณ์และถูกต้องของผลงาน                                        10 คะแนน

2) ขั้นตอนไม่ซับซ้อน                                                                          5 คะแนน

3) ความสวยงาม                                                                                    5 คะแนน

4.2โจทย์กำหนดให้ใช้เครื่องมือที่กำหนดให้ สร้างสรรค์งานคณิตศาสตร์ จำนวน

                1 ข้อ 20 คะแนน

                                1) มีความเป็นพลวัต มีแนวคิดริเริ่ม สร้างสรรค์                           10 คะแนน

2) มีการนำเสนอที่สื่อความหมายได้สอดคล้องและ

เชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง                                                                                 10 คะแนน

5. เกณฑ์การตัดสิน

                ร้อยละ 80-100   ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง

                ร้อยละ 70-79      ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน

                ร้อยละ 60-69       ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง

                ต่ำกว่าร้อยละ 60  ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการจะเห็นเป็นอย่างอื่น

                ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด

 

                6.คณะกรรมการการแข่งขัน ระดับชั้นละ 3-5 คน

คุณสมบัติของคณะกรรมการ 

                                - เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

                                - เป็นครูที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความเชี่ยวชาญ

โปรแกรม GSP

                                - ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านคณิตศาสตร์

 

  1. 4.       การแข่งขันคิดเลขเร็ว 

1. คุณสมบัติผู้สมัคร

1.1 ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักเรียนระดับชั้น ป.1-ป.3

1.2 ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักเรียนระดับชั้น ป.4-ป.6

                1.3 ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักเรียนระดับชั้น ม.1-ม.3

1.4 ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักเรียนระดับชั้น ม.4-ม.6

2. ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน

2.1 แข่งขันประเภทเดี่ยว

2.2 จำนวนผู้เข้าแข่งขัน ระดับชั้นละ 1 คน

3. วิธีดำเนินการและหลักเกณฑ์การแข่งขัน

                3.1 ส่งรายชื่อนักเรียนผู้เข้าแข่งขัน พร้อมชื่อครูผู้ฝึกสอนระดับชั้นละ 1 คน ตามแบบฟอร์มที่กำหนด

3.2 สุ่มตัวเลขจากโปรแกรม GSP เป็นโจทย์ และผลลัพธ์ แล้วใช้การดำเนินทางคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง ถอดราก เพื่อหาผลลัพธ์ ในระดับชั้น ม.4-ม.6 ให้เพิ่ม

ซิกมา และแฟกทอเรียล (ในการถอดราก ถ้าเป็นรากอื่นไม่ใช่รากที่ 2 ต้องใส่อันดับของรากจากเลขที่สุ่มมา) และต้องใช้ตัวเลขให้ครบทุกตัว โดยใช้ได้ตัวละ 1 ครั้ง  ซึ่งตัวเลขที่สุ่มได้ต้องไม่ซ้ำตัว เกิน 2  ตัว และเลข 0 ต้องมีเพียงตัวเดียวเท่านั้น

3.3 จัดแข่งขัน 2 รอบ ดังนี้

ระดับชั้น ป.1-ป.3

รอบที่ 1 จำนวน 30 ข้อ ใช้เวลาข้อละ 45 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 3 ตัวเลข ผลลัพธ์ 2 หลัก

รอบที่ 2 จำนวน 20 ข้อ ใช้เวลาข้อละ 30 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 4 ตัวเลข ผลลัพธ์ 3 หลัก

ระดับชั้น ป.4-ป.6

รอบที่ 1 จำนวน 30 ข้อ ใช้เวลาข้อละ 45 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 4 ตัวเลข ผลลัพธ์ 2 หลัก

รอบที่ 2 จำนวน 20 ข้อ ใช้เวลาข้อละ 30 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 4 ตัวเลข ผลลัพธ์ 3 หลัก

ระดับชั้น ม.1-ม.3

รอบที่ 1 จำนวน 30 ข้อ ใช้เวลาข้อละ 45 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 5 ตัวเลข ผลลัพธ์ 2 หลัก

รอบที่ 2 จำนวน 20 ข้อ ใช้เวลาข้อละ 30 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 5 ตัวเลข ผลลัพธ์ 3 หลัก

ระดับชั้น ม.4-ม.6

รอบที่ 1 จำนวน 30 ข้อ ใช้เวลาข้อละ 45 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 5 ตัวเลข ผลลัพธ์ 2 หลัก

รอบที่ 2 จำนวน 20 ข้อ ใช้เวลาข้อละ 30 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 5 ตัวเลข ผลลัพธ์ 3 หลัก

3.4 วิธีการแข่งขัน

                3.4.1 กรรมการแจกกระดาษคำตอบตามจำนวนข้อ

3.4.2 เมื่อหมดเวลาแต่ละข้อให้กรรมการเก็บกระดาคำตอบ

3.4.3 เมื่อหมดรอบแรกให้พัก 10 นาที

                4. เกณฑ์การให้คะแนน

                                4.1 ผู้ที่ได้รับคำตอบเท่ากับผลลัพธ์ที่กำหนดให้ ได้คะแนนข้อละ 1 คะแนน

                                4.2 ถ้าข้อใดไม่สามารถหาคำตอบได้เท่ากับผลลัพธ์ที่กำหนดให้ ผู้ที่ได้คำตอบ

                ใกล้เคียงกับผลลัพธ์มากที่สุด เป็นผู้ได้คะแนน

                5. เกณฑ์การตัดสิน

                คณะกรรมการรวมคะแนนรอบที่1 และรอบที่ 2 แล้วนำคะแนนรวมมาเทียบเกณฑ์

การตัดสิน ดังนี้

ร้อยละ 80-100   ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง

                ร้อยละ 70-79      ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน

                ร้อยละ 60-69       ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง

                ต่ำกว่าร้อยละ 60  ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการจะเห็นเป็นอย่างอื่น

                ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด            

                6. คณะกรรมการการแข่งขัน

                                6.1 ระดับชั้น ป.1-ป.3 และ ป.4-ป.6 คณะกรรมการการแข่งขัน เป็นชุดเดียวกัน

                จำนวน 5-7 คน

                                6.2 ระดับชั้น ม.1-ม.3 และ ม.4-ม.6 คณะกรรมการการแข่งขัน เป็นชุดเดียวกัน

                จำนวน 5-7 คน

คุณสมบัติของคณะกรรมการ 

                                - เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

                                - เป็นครูผู้สอนมีความเชี่ยวชาญกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์หรือ

โปรแกรม GSP

                                - ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านคณิตศาสตร์

คำสำคัญ (Tags): #gsp
หมายเลขบันทึก: 382958เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2010 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กรกฎาคม 2012 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

อาจารย์คะ ขอเทคนิควิธีการคิดเลขเร็วจากการสุ่มเลขโดย 4 ตัวเลข ระดับ ป.3 และ ป.6 ด้วยค่ะ

ลองคลิกสารบัญ หาหัวข้อและดูวิธีการคิด และโหลดไฟล์ GSP ไปฝึกครับ

ติดตามงานของอาจารย์ ได้รับความรู้ ที่เป็นประโยชน์ในการสอนมาก

ขอตัวอย่างข้อสอบ GSP ระดับชั้น ป.4-6 ครับ

ขอตัวอย่างข้อสอบ gsp ะดับชั้น ป.4-6 ครับ เหมือนกันค่ะ

จะลองไปฝึกเด็กดู

[email protected]

นางวรัญญาศรีโนนยาง

เป็นเรื่องที่ดี ทำให้มีความรู้ ขอบคุณมากๆที่นำมาเผยแพร่

ขอสอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับเกณฑ์การแข่งขันคิดเลขเร็วค่ะ

ในการแข่งขันเพื่อคัดเลือกตัวแทนกลุ่ม สุ่มโจทย์ได้ 1 1 4 8 เด็กเขียนคำตอบดังนี้     4-1-1 = 2, 82 = 64 กรรมการไม่ให้คะแนน โดยให้เหตุผลว่า โจทย์ไม่มี 2 ไม่สามารถนำ 2 มาเป็นเลขชี้กำลังได้ ถ้าจะนำ 2 มาใช้ ต้องนำมาใช้เป็นฐานเท่านั้น ในระดับเขตพื้นที่ ระดับภาค ก็ใช้เกณฑ์นี้เหมือนกัน แต่ถ้าอ่านจากเกณฑ์แล้ว ไม่มีรายละเอียดตรงนี้ และคำตอบที่เด็กเขียนก็เข้าเกณฑ์ทุกข้อ ในข้ออื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน เช่น สุ่มโจทย์ได้   9 4 2 1 สุ่มคำตอบได้ 729 นักเรียนเขียนคำตอบดังนี้ (4x2)+1 = 9  และถอดรากที่สองของ 9 ได้ 3 และ นำไปเป็นเลขชี้กำลัง จะได้

93 = 729 อย่างนี้ก็ไม่ได้คะแนน ด้วยเหตุผลเดียวกัน

จึงขอคำอธิบายจากผู้ที่รู้จริง หรือผู้ที่ออกเกณฑ์การแข่งขัน เพื่อความเข้าใจตรงกัน และสามารถฝึกนักเรียนได้ถูกทาง เพราะถ้าคำตอบที่เด็กเขียนมานั้นถูกต้อง แต่ไม่ได้คะแนน ซึ่งเป็นผลเสียมากกว่าผลดี และวันนี้ไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนให้กับเด็ก เนื่องจากในหลักเกณฑ์ไม่ได้ระบุไว้ จะมีแนวทางแก้ไขให้ทุกคน (ทั่วประเทศ) เข้าใจตรงกันได้อย่างไร ขอบคุณค่ะ

เพิ่มเติมความเห็นที่ 6

82  คือ 8 ยกกำลัง 8

93 คือ 9 ยกกำลัง 3

ในที่นี้พอส่งข้อมูลขึ้นมาแล้ว ตัวเลขกลับไปอยู่ในระดับเดียวกัน แต่มีขนาดต่างกัน

และไม่สามารถแทรกสัญลักษณ์รากที่สองได้ (ต้องขออภัย)

แก้ไขความเห็นที่ 7

82 คือ 8 ยกกำลัง 2

เป็รเรื่องที่มีเนื้อหาสาระดีมากตะ

อาจารย์คะ

ขอตัวอย่างข้อสอบ gsp ระดับ ม. ต้น ด้วยนะคะ

จะไปให้นักเรียนทำดู

[email protected]

ขอบพระคุณมากๆคะ

ต้องเขียนแบบนี้ 

   (4-1-1)

8             =64

จะได้ว่าแปดยกกำลังสี่ลบหนึ่งลบหนึ่ง เท่ากับหกสิบสี่

ขอตัวอย่างข้อสอบ gsp ระดับ ประถม ด้วยนะค่ะ จะไปให้นักเรียนฝึกทำดู

[email protected]

ขอบคุณมากๆ คะ

น่าจะได้คะแนนนะผมว่า

ขอสอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับเกณฑ์การแข่งขันคิดเลขเร็วค่ะ

ในการแข่งขันเพื่อคัดเลือกตัวแทนกลุ่ม สุ่มโจทย์ได้ 1 1 4 8 เด็กเขียนคำตอบดังนี้ 4-1-1 = 2, 82 = 64 กรรมการไม่ให้คะแนน โดยให้เหตุผลว่า โจทย์ไม่มี 2 ไม่สามารถนำ 2 มาเป็นเลขชี้กำลังได้ ถ้าจะนำ 2 มาใช้ ต้องนำมาใช้เป็นฐานเท่านั้น ในระดับเขตพื้นที่ ระดับภาค ก็ใช้เกณฑ์นี้เหมือนกัน แต่ถ้าอ่านจากเกณฑ์แล้ว ไม่มีรายละเอียดตรงนี้ และคำตอบที่เด็กเขียนก็เข้าเกณฑ์ทุกข้อ ในข้ออื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน เช่น สุ่มโจทย์ได้ 9 4 2 1 สุ่มคำตอบได้ 729 นักเรียนเขียนคำตอบดังนี้ (4x2)+1 = 9 และถอดรากที่สองของ 9 ได้ 3 และ นำไปเป็นเลขชี้กำลัง จะได้

93 = 729 อย่างนี้ก็ไม่ได้คะแนน ด้วยเหตุผลเดียวกัน

จึงขอคำอธิบายจากผู้ที่รู้จริง หรือผู้ที่ออกเกณฑ์การแข่งขัน เพื่อความเข้าใจตรงกัน และสามารถฝึกนักเรียนได้ถูกทาง เพราะถ้าคำตอบที่เด็กเขียนมานั้นถูกต้อง แต่ไม่ได้คะแนน ซึ่งเป็นผลเสียมากกว่าผลดี และวันนี้ไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนให้กับเด็ก เนื่องจากในหลักเกณฑ์ไม่ได้ระบุไว้ จะมีแนวทางแก้ไขให้ทุกคน (ทั่วประเทศ) เข้าใจตรงกันได้อย่างไร ขอบคุณค่ะ

เป็รเรื่องที่มีเนื้อหาสาระดีมากตะ

อาจารย์คะ

ขอตัวอย่างข้อสอบ gsp ระดับ ม. ต้น ด้วยนะคะ

จะไปให้นักเรียนทำดู

[email protected]

ขอบพระคุณมากๆคะ

ไม่แสดงตน [IP: 125.27.112.227] เมื่อ 08 ธันวาคม 2553 11:01

รวบรวมไว้ตรวจสอบข้อมูล ว่าเป็นใคร คัดลอกของคนอื่นมาป่วน

ขอตัวอย่างข้อสอบ GSP ระดับชั้น ป.4-6 ค่ะ

ทำตามแถบสีฟ้าดูนะ มีหลายหัวข้อ ค้นดู

ขอข้อสอบ gsp ป.4-6 กับ ม. ต้นหน่อยครับรบกวนจริงๆ

ขออนุญาตตอบนะคะ [IP: 125.27.86.37]

                               16 กันยายน 2553 10:22
                                #2176837

คือว่าการแข่งขันคิดเลขเร็วต้องใช้ตัวเลขที่กำหนดมาเท่านั้นคะ เช่นที่ถามมาว่าสุ่มได้ 1 1 4 8 นั้น คำตอบคือ 64 ใช่มั้ยคะ การเขียนแสดงคำตอบ ควรจะเป็น 8 ยกกำลัง (4-1-1) = 64 ถึงจะถูกต้องคะ

แล้วอีกข้อ 9 4 2 1 สุ่มคำตอบได้ 729 การเขียนแสดงคำตอบ ควรจะเป็น (4+2+1) ยกกำลัง (รากที่สองของ 9) = 729 ถึงจะถูกต้องคะ

หมายเหตุ : ไม่สามารถพิมพ์สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ให้เห็นชัดได้คะ ขออภัยด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท