ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสบู่ดำ


         ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสบู่ดำ
         ต้นสบู่ดำคืออะไร  มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์อย่างไร  มีระบบการปลูกอย่างไร  มีอัตราส่วนของการบีบน้ำมันเท่าไร  และคำถามยอดฮิต  คือ  คุ้มไหมสำหรับการปลูกเป็นพืชอุตสาหกรรม  วันนี้กระผมจะช่วยชี้แจงแถลงไขให้ทราบ 

         ข้อแรก  สบู่ดำ (Physic  nut) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Jatropha  curcas, Linn.  เป็นพืชอยู่ในวงศ์ไม้ยางพารา Euphorviaceae  เช่นเดียวกับสบู่แดง  ปัตตาเวีย  หนุมานนั่งแท่น  โป๊ยเซียน  มันสำปะหลัง  มะยม  มะขามป้อม  ฝักหวานบ้าน  ฯลฯ  ซึ่งมีความหลากหลายกันค่อยข้างมากทั้งในลักษณะต้น  ใบ  ช่อดอก  ดอก  ตลอดจนผลและเมล็ด   สบู่ดำเป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกากลาง  ชาวโปรตุเกสนำเข้ามาในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา     เพื่อรับซื้อเมล็ดไปอัดบีบน้ำมันสำหรับทำสบู่    เพราะมีฟองอันเป็นลักษณะพิเศษ 

        ข้อสอง   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง  สูงประมาณ 2-7 เมตร  อายุยืนไม่น้อยกว่า  20  ปี  ลำต้นและยอดคล้ายละหุ่งแต่ไม่มีขน  ลำต้นเกลี้ยงเกลาอวบอ้วนแต่อ่อน  ใช้มือหักออกได้ง่ายเพราะเนื้อไม้ไม่มีแกน  ใบคล้ายใบฝ้าย  ใบพุดตานแต่หนากว่า  ใบหยักคล้ายใบละหุ่งแต่หยักตื้นกว่า  มี  4  หยัก  ก้านใบยาว  เมื่อหักหรือเด็ดออกลำต้นจะมีน้ำยางใสไหลออกมา   ต้นสบู่ดำออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ข้อส่วนปลายของยอด  ขนาดดอกเล็กสีเหลืองมีกลิ่นหอมอ่อน มีดอกตัวผู้จำนวนมากและดอกตัวเมียจำนวนน้อยอยู่บนต้นเดียวกัน  เมื่อติดผลแล้วมีมีเขียวอ่อน   เกลี้ยงเกลา  เป็นช่อพวงมีหลายผล  เวลาสุกแก่จัดมีสีเหลืองคล้ายลูกจันทร์  ตั้งแต่วันออกดอกจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 60-90 วัน  รูปผลมี 3 ขนาด  คือ  ทรงกลมขนาดปานกลาง  เปลือกหนาปานกลาง  มีปลูกทางภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ภาคใต้    ทรงกลมยาวกว่าพวกที่ 1 เล็กน้อยแต่ขนาดเท่ากัน   มีปลูกในภาคเหนือ   พวกที่  3  ขนาดเล็กกว่าพวกที่ 1 และ 2  มีปลูกในภาคเหนือและภาคใต้บางจังหวัด   ผลหนึ่งส่วนมากมี 3 พู  ส่วน 2 พูมีน้อย   โดยแต่ละพูทำหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ดไว้   เมล็ดสีดำขนาดเล็กกว่าเมล็ดละหุ่งพันธุ์ลายขาวดำเล็กน้อย  สีตรงปลายเมล็ดมีจุดกำเนิดสีขาวเล็ก ๆ  ติดอยู่  เมื่อเก็บไว้นานจุดนี้จะหดตัวเหี่ยวแห้งลง  ขนาดของเมล็ดสบู่ดำเฉลี่ยความยาว 1.7-1.9 เซนติเมตร  หนา  0.8-0.9 เซนติเมตร  น้ำหนัก 100 เมล็ดประมาณ 69.8 กรัม  เมื่อแกะเปลือกนอกสีดำออกจะเห็นเนื้อในสีขาว  เนื่องจากต้น  ใบ  ผลและเมล็ดมีกรด  hydrocyanic  เหมือนมันสำปะหลัง  แต่เมื่อถูกความร้อนก็จะสลายตัวไป    นอกจากนี้เมล็ดสบู่ดำยังมีสาร curcin  ซึ่งหากรับประทานเข้าไปจะเกิดอาการท้องเดินคล้ายสลอด


       ข้อสาม  การดูแลรักษาเหมือนไม้ผลทั่วไป  เช่น  การให้ปุ๋ย  การให้น้ำ  และการจำกัดวัชพืช  แมลงศัตรูที่พบได้แก่  เพลี้ยหอย  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยแป้ง  ไรแดง  ไรขาวแดง  ปกติสบู่ดำจะให้ผลผลิตทั้งปี  หากมีการตัดแต่งกิ่งและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ  มีการจัดการและดูแลรักษาถูกต้อง  สามารถให้ผลผลิตในปีแรกไม่น้อยกว่า 300-500 กิโลกรัม/ไร่  แต่หากไม่มีการให้น้ำก็จะให้ผลผลิตประมาณ 100-150 กิโลกรัม/ไร่  สบู่ดำให้ผลผลิตสูงสุดปีละ 2  ครั้ง  คือระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม  และระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม  มีปริมาณน้ำมันในเมล็ดสบู่ดำร้อยละ 35 ของน้ำหนักเมล็ด   พื้นที่ปลูกสบู่ดำ  ควรเป็นพื้นที่ซึ่งระบายน้ำดี  น้ำไม่ท่วมขัง  และเป็นพื้นที่โล่งแจ้ง  หรือที่ดอนใช้ระยะปลูก ประมาณ 3x3 เมตร  หรือ  2.5x3 เมตร  ฤดูปลูกที่เหมาะสม  คือ  เดือนพฤษภาคม(ต้นฤดูฝน)


                ข้อสี่  ไหนไหนก็ไหนไหนแล้ว  เอาข้อมูลเปรียบเทียบกับปาล์มน้ำมันเลยแล้วกัน
เปรียบเทียบน้ำมันสบู่ดำและปาล์มน้ำมัน

คุณสมบัติ
สบู่ดำ
ปาล์มน้ำมัน
ผลผลิต
น้อยกว่า   ปริมาณผลผลิตในปีหลัง ๆ ยังไม่ชัดเจน
สูงกว่า  มีข้อมูลปริมาณผลผลิตชัดเจน
ระยะเวลาให้ผลผลิต
1 ปี
4 ปี
ปริมาณน้ำมัน
35 % 
19 %
สภาพภูมิอากาศ
สามารถทนสภาพร้อนและแห้งแล้งได้
ต้องการพื้นที่ที่มีความชื้นสูงเพียงพอ
ต้องการน้ำ
50 ลิตร/ตัน/วัน
200 ลิตร/ตัน/วัน
อัตราแลกเปลี่ยนน้ำมัน
สูงกว่า(4 กก. : 1 กก.)
ต่ำกว่า(5 กก. : 1 กก.)
ประโยชน์/โอกาสอื่น
-มีสรรพคุณทางยา  สร้างมูลค่าเพิ่มได้
-พัฒนาสายพันธุ์ได้หลากหลาย
-เป็นพืชอาหารใช้ได้กว้างขวาง
- มีข้อจำกัดในการพัฒนาพันธุ์

               
               
        ข้อห้า  คือ  คุ้มไหมสำหรับการปลูกเป็นพืชอุตสาหกรรม  ข้อนี้ตอบยากที่สุด  กระผมขอตอบเป็น 2 นัย ครับ
นัยแรก  หากถามว่าจะเพาะปลูกกันหวังเอารวย  ยากครับ  เพราะเท่าที่ดูผลผลิตต่อไร่ต่อปี  น้อยมาก  แม้ว่าจะมีรายงานจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าสามารถปลูกสบู่ดำได้ผลผลิต 800 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี(ดูแลกันอย่างดี  มีการเดินระบบน้ำในแปลงปลูก)  ลองนึกดูเล่น ๆ ต่อไปอีก หากผลผลิตมีการรับซื้อขายกันกิโลกรัมละ 5 บาท  เกษตรกรจะมีรายได้เพียงปีละ 4,000 บาทต่อไร่ต่อปี  ยังไม่หักค่าต้นทุนต่าง ๆ นะครับ  ไม่ว่าจะเรื่องแรงงานค่าเก็บ  ค่าปุ๋ยและค่ายา  ที่สำคัญขณะนี้ยังไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมใดรองรับ    กอรปกับนโยบายของรัฐบาลมุ่งเน้นการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเป็นหลักเพื่อหวังผลิตเป็นพืชพลังงานทดแทน  ดังนั้นโอกาสของสบู่ดำยังเลื่อนลางครับ


นัยสอง  ผมมองว่าขณะนี้สบู่ดำควรปลูกเป็นพระรองครับ  ไม่ใช่พระเอก  เหตุผลง่าย ๆ คือ  เราสามารถผลิตน้ำมันจากสบู่ดำได้มากเท่าไร  ก็เท่ากับว่าเราลดเงินตราที่ต้องสูญเสียไปกับการนำเข้าน้ำมันมากเท่านั้น   เพราะสบู่ดำเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในประเทศของเรา  เงินตราจากผู้ใช้น้ำมันจะหมุนเวียนไปสู่เกษตรกรแทนที่จะไหลออกนอกประเทศ  
 ขณะนี้ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร  ได้มีการทดลองปลูกสบู่ดำในพื้นที่ดินชายฝั่งทะเล  จากการสังเกตในเบื้องต้นพบว่า  ต้นสบู่ดำสามารถเจริญเติบโตทางลำต้นได้ดีมาก  ปลูกประมาณ 4 เดือน  สามารถติดดอกออกผลเป็นที่น่าพอใจ   สำหรับข้อมูลด้านผลผลิตเมื่อสิ้นสุดการทดลองจะแจ้งให้ทราบในวาระต่อไป  
รูปภาพสบู่ดำ

      

      ดอกสบู่ดำ               ผล                     ผลสุข

         

   ขนาดลำต้น 3-4 เดือน            ระยะการปลูก

               

                 ลักษณะการแตกยอด

                   
             อ.ประสาทพร  กออวยชัย
                                                                                                                              อ.ชัยวิชิต เพชรศิลา

                                

คำสำคัญ (Tags): #บทความวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 3828เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2005 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อย่างน้อยมันก็มีความรู้อยู่ ผมว่านะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท