Coarctation of the Aorta


coarctation

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่คอดรุนแรง 

Coarctation of the Aorta

คง          บุญคุ้ม                    อนุ.รังสีเทคนิค

วิชุดา      สิริเมธาธโนปกรณ์       วท.บ.รังสีเทคนิค

สุรีย์         พึ่งผลงาม               วท.บ.รังสีเทคนิค

วันชัย      ศรีประภาภรณ์           วท.บ.รังสีเทคนิค

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

คง บุญคุ้ม, วิชุดา สิริเมธาธโนปกรณ์, สุรีย์ พึ่งผลงาม, วันชัย ศรีประภาภรณ์. โรคหลอดเลือดแดงใหญ่คอดรุนแรง.วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2552 ; 3(2) :79-89

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่คอดรุนแรง (Coarctation of Aorta) เป็นภาวะความผิดปกติของระบบหลอดเลือดแต่กำเนิด มีรายงานการมีโอกาสเกิดได้ 5-8% ในชาวผิวขาว และ <2% ในชาวเอเชีย การคอดอย่างรุนแรงของหลอดเลือดแดงใหญ่ จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงในร่างกายท่อนบน การวินิจฉัยพบก็เมื่อผู้ป่วยมีอาการแล้ว ในเด็กทารกจะพบร่วมกับอาการของโรคหัวใจล้มเหลว และในเด็กโตจะพบร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง

ระดับการคอดมีหลายระดับ และเกิดได้ในหลายตำแหน่งของ aorta แต่มักพบในตำแหน่ง thoracic aorta ที่ต่อกับ left subclavian artery หากพบในตำแหน่ง thoracic aorta ช่วงต่อกับ abdominal aorta มักจะเป็น fusiform และจะเกิดเนื่องจกาการติดเชื้อ หรือเกิดจากโรค Takayasu artitis ในขณะเดียวกันตำแหน่งต่อจากรอยคอดจะมีการขยายของหลอดเลือด และจะมีหลอดเลือด collateral vessels มาต่อเชื่อมกับร่างกายส่วนบนในตำแหน่งที่ต่ำกว่ารอยคอดด้วย กลไกการเกิดรอยคอดนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีสมมติฐานทางด้าน hemodynamic และทฤษฎีทาง ectopic ductal tissue ที่พอจะอธิบายได้

  1. Hemodynamic อธิบายว่าเกิดจาก abnormal preductal flow หรือ เกิด abnormal angle ระหว่าง  ductus และ aorta ซึ่งทำให้เพิ่ม  ductal flow จากขวาไปซ้าย  และลด  isthmic flow ซึ่งจะทำให้มีแนวโน้มในการพัฒนาไปเป็นรอยคิดได้
  2. ectopic ductal tissue อธิบายว่าเกิดจาก ductal tissue ที่ยื่นขยายไปอย่างผิดปกติเข้าไปใน aorta  ทำให้เกิดรอบคอด แต่แนวคิดนี้ไม่สามารถอธิบายระดับของการเกิดรอยคอดที่ต่างกันได้

สาเหตุอีกอย่างหนึ่งในการเกิดรอยคอดนี้ก็คืออุบัติเหตุ โดยทำให้เกิด aortic dissection ซึ่งจะมีความคล้ายกับ coarctation แต่จะมีการลดลงของแรงดันเลือดที่ขา ซึ่งจำเป็นที่จะต้องทำการถ่างขยายหลอดเลือดด้วยวิธีการทางรังสีร่วมรักษา

อัตราการเสียชีวิตเนื่องจากภาวะรอยคอดของหลอดเลือดแดงใหญ่พบว่า จะทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนอายุ 50 ปี ได้ราว 90% โดยมีค่าเฉลี่ยอายุผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้ที่ 35 ปี โดยมีรายงานว่า 25% ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเสียชีวิตก่อนอายุ 20 ปี และ ราว 50% จะเสียชีวิตก่อนอายุ 30 ปี โดยสาเหตุของการเสียชีวิตคือผู้ป่วยจะมีอาการความดันโลหิตสูงทำให้เกิดเกิดเลือดออกในสมอง หรือ aortic rupture or dissection , ภาวะ  endocarditis  และ หัวใจล้มเหลว  

ความชุกในการเกิดโรค พบว่าจะเกิดโรคนี้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิ ง 2:1 และพบว่าตำแหน่งในการเกิดที่ thoracic aorta จะเกิดมากกว่าตำแหน่ง abdominal aorta ถึง 1000 เท่า

การตรวจพบจะเกิดกับผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ซึ่งมีภาวะความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง การพบในผู้ป่วยเด็กมักจะพบในช่วงอายุ 5 ปี ขึ้นไป สาเหตุเกิดจากบริเวณส่วนโค้งของหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบแคบ (Coarctation of aorta; CoA) ชึ่งทำให้มีข้อจำกัดในการนำเลือดไปเลี้ยงร่างกายส่วนล่าง และทำให้ความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้

 

การตรวจวินิจฉัย 

การตรวจร่างกาย อาจสังเกตจากความดันโลหิตในส่วนของหลอดเลือดแขนขาที่แตกต่างกันได้ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะไม่แสดงความแตกต่างในเด็กโต

สำหรับผู้ใหญ่จะพบ left ventricular hypertrophy  และสำหรับเด็กเล็ก จะพบ right ventricular hypertrophy หรือ biventricular hypertrophy

 

การตรวจวินิจฉัยทางรังสี  

การตรวจ Chest X-ray จะสามารถสังเกตเห็นรอยคอดได้ ดังภาพที่ 2  แต่ไม่แน่ชัด จึงมักส่งตรวจทางรังสีอื่นเพื่อการยืนยัน

 

 

การตรวจ CTA of Aorta เป็นการตรวจเพื่อประเมินรอยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างเร่งด่วน เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต  การตรวจ CTA of Aorta สามารถเห็นรายละเอียดภายในหลอดเลือด, ผนังหลอดเลือด , หลอดเลือดข้างเคียง รวมทั้งอวัยวะที่อยู่รอบๆได้อย่างละเอียด ใช้เวลาในการตรวจสั้น ได้ผลการตรวจที่ถูกต้องและรวดเร็ว

การตรวจจำเป็นต้องใช้เครื่อง CT แบบ MDCT ชนิดความเร็วสูง และใช้ร่วมกับเครื่องฉีดยา แบบอัตโนมัติ

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  • งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  • เปิดหลอดเลือดดำของแขนข้างขวา
  • ทำการตรวจด้วยท่านอนหงายและยกแขนทั้ง 2 ข้าง

  เทคนิคการตรวจ

  • Scout view เพื่อกำหนดตำแหน่ง
  • Scan axialก่อนฉีด Contrast media
  • ฉีด Contrast media จำนวน 100 mlด้วยอัตรา Fr 4ml /s โดยใช้เทคนิค bolus tracking  ร่วมกับ saline flush
  • Scan axial  Arterial phase

 

 

 

สำหรับการส่งตรวจทาง angiogram นั้น ในปัจจุบันส่งตรวจน้อยลง เนื่องจากพัฒนาการของ CTA และ MRA อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายที่พบความผิดปกตินี้ก็จะต้องทำการตรวจ โดยการใช้ catheter เช่น vertebral 4 Fr. หรือ อาจเป็น pigtail catheter ก็ได้วางไว้ในตำแหน่ง arch of aorta แล้วถ่ายภาพ ด้วยความเร็ว 3-6 Frame/sec ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี 40 mL ที่อัตราฉีด 12 mL/s

 

การรักษาผู้ป่วยภาวะ coarctation นั้น แพทย์ศัลยกรรมหลอดเลือด มีทางเลือกในการรักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัด หรือการใส่สายสวนที่มีลูกโป่งอยู่ตรงปลาย เพื่อขยายส่วนที่ตีบแคบหรือ ใส่ Vascular stent graft ซึ่งวิธีการหลังเป็นที่นิยมกว่า และเพื่อการติดตามผลการรักษาผู้ป่วยจะถูกส่งมาตรวจ CTA of aorta เพื่อยืนยันผลการรักษา

 

บรรณานุกรม

  1. _____. Coarctation of the aorta. http://en.wikipedia.org
    /wiki/Coarctation_of_theaorta
  2. 2.       P Syamasundar Rao, Paul M Seib. Coarctation of the Aorta. http://emedicine.
    medscape.com
  3. Neil K. , Kaneshiro. Coarctation of the aorta. www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000191.htm
  4. Cincinnati Children's Hospital Medical Center. Coarctation of the aorta. www.
    cincinnatichildrens.org/health/heartencyclopedia/anomalies/coarctation.htm
  5. ___________. Thoracic Protocol. www.mrprotocols.
    com/MRA/Thoracic/Thoracic.htm
คำสำคัญ (Tags): #aorta#coarctation#diagnosis
หมายเลขบันทึก: 380968เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2010 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท