เยี่ยมวิถีชีวิตชาวประมง "ชุมชนเกาะเตียบ"


"ธนาคารปู"

http://gotoknow.org/file/chumphon6/Picture 007.jpg

         สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร  นำทีมอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) จังหวัดชุมพร  จำนวน  ๔๕  คน  ศึกษา และเรียนรู้ กิจกรรม "ธนาคารปู" (กลุ่มฟื้นฟูทรัพยากรปูม้า)  ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ บ้านเกาะเตียบ ตำบลปากคลอง  อำเภอปะทิว  เป็นชุมชนที่ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการประมงชายฝั่ง  เช่น การทำอวนจับปูม้า  ทำลอบจับปูม้า  ซึ่งทำกันมาหลายปี  จนทำให้ในทะเลมีปริมาณปูม้าลดน้อยลง  ประชาชนมีรายได้น้อย  ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้อุปกรณ์จับปูที่ผิดขนาด   ด้วยความรักในอาชีพ และห่วงใยคนในชุมชนในอนาคต อาศัยการเรียนรู้ในอาชีพที่ทำมานานและภูมิปัญญาในการดำเนินวิถีชีวิตประมง  ของลุงจาง  ฟุ้งเฟื่อง  จึงได้คิดอนุรักษ์ และดำเนินกิจกรรมนี้ขึ้น  โดยการตั้งกลุ่มฟื้นฟูทรัพยากรปูม้า   ปัจจุบันมีสมาชิก  จำนวน  ๑๕  คน   โดยมี..ลุงจาง  ฟุ้งเฟื่อง  อายุ ๖๖  ปี  เป็นประธานกลุ่มฯ  และบริหารกิจกรรม "ธนาคารปู"  มีวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น การมีรายได้ที่ยั่งยืน  โดยการเพิ่มขนาดและปริมาณปูในทะเล  สร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานภาครัฐ  ชุมชน  ท้องถิ่น  โดยการรวมตัวกันดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามรูปแบบของเครือข่าย   และส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนในอนาคต   ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลปากคลอง ประมงจังหวัดชุมพร  และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภาคใต้ตอนบน(ชุมพร) กำลังให้การสนับสนุน  เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในอนาคต  
          "ธนาคารปู" แปลกกว่าธนาคารทั่ว ๆ ไป เพราะถ้าไปธนาคารก็ต้องไปฝากเงินหรือถอนเงิน   แต่ธนาคารปูเป็นสถานที่รับฝากแม่ปู  โดยเฉพาะ แม่ปูที่มีไข่นอกกระดอง  หรือ  "ปูไข่ลากทราย"   เมื่อสมาชิกจับได้จะมอบให้  ลุงจาง  ฟุ้งเฟื่อง  ประธานกลุ่มฯ   เป็นผู้รวบรวมจากสมาชิก  อย่างน้อยต้องได้ ๑ ตัว/สมาชิก ๑ คน/วัน  หรือมากกว่า และยังได้จากผู้ที่ไม่เป็นสมาชิกกลุ่มอีก  นำเก็บไว้ในธนาคาร (กระชังเพาะเลี้ยงแม่ปู) อยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ ๒  กิโลเมตร  ปัจจุบัน ชาวประมงที่มีอาชีพจับปูก็ยังมีรายได้แต่ละวันไม่น้อย  จับปูม้าได้ประมาณวันละ  ๓๐  กิโลกรัม   จากการเรียนรู้ในอาชีพและภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นสามารถทำให้อาชีพที่ทำมาตั้งแต่อดีตคงอยู่เลี้ยงชีวิตจนปัจจุบัน  มีบ้านหลังใหญ่ มั่นคงให้อาศัย  จากที่เคยอยู่แบบหมู่บ้านชาวประมงที่ตั้งอยู่ชายฝั่ง  จากการไปศึกษาดูงานทั้งคณะให้ความสนใจวิธีการบริหารกลุ่มของลุงจาง และได้รับความรู้คุ้มค่าเป็นอย่างมาก  แต่น่าเสียดายที่สมาชิก อส.มศ.และคณะ  ไม่ได้ลงเรือไปดูธนาคารปูในทะเล เนื่องจากฝนตก  หากผู้ใดสนใจจะไปศึกษาดูงาน ติดต่อที่ ลุงจาง  ฟุ้งเฟื่อง  โทร. ๐ ๑๐๘๑ ๗๓๐๒  หากมีโอกาสได้ลงเรือไปชมธนาคารปู จะเสนอให้ทราบในโอกาสต่อไป.......

หมายเลขบันทึก: 3805เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2005 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ดีใจครับ ที่ สวจ.ชุมพร ให้ความสนใจในวิถีของชุมชนบ้านเรา

อยากให้ สวจ.ชุมพร ทำวิจัยเรื่อง " วิถีชีวิตและความเปลี่ยนแปลงของชุมชนริมแม่น้ำ(คลอง)ท่าตะเภา " บ้าง

ขอเป็นกำลังใจให้ชาว สวจ.ชุมพร ทุกท่านครับ

การจัดธนาคารปู นับว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีคุณค่า

น่าส่งเสริม  จังหวัดชุมพร ควรหันมาสนับสนุนบ้างนะ   ชาวธนาคารปูจะขอขอบพระคุณยิ่ง 

เคยไปเที่ยวแถวนี้แล้วหลายครั้ง

ถือว่าสุดยอดมาก ประทับใจที่สุด

ชุมพรในแถบนี้มีที่เที่ยวสวยงามมาก

แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ ทำให้จุดอื่นที่งามไม่เท่าดังกว่า

เก็บไว้งามแบบธรรมชาติแบบนี้ก็ดีเหมือนกันนะ

จากคนอำเภอใกล้ๆ

บ่อยครั้งที่ผมกลับไปบ้านเดิมของภรรยาแถวบางสะพานน้อย... มักจะต้องแวะเที่ยวหมู่บ้านประมงบริเวณเกาะเตียบประจำ ทั้งซื้อปูซื้อปลาหรือไม่พาเด็กๆไปเล่นน้ำตรงหาดถ้ำธง บอกตรงๆว่าชอบบรรายกาศย่านนี้มาก สิ่งที่"ลุงจาง"ทำเกี่ยวกับเรื่องธนาคารปูนี่ ขอสนับสนุนและให้กำลังใจ คิดว่ารอบหน้าว่าจะพาเพื่อนไปดูสิ่งที่ชาวบ้านธรรมดาๆคนหนึ่งตั้งใจทำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท