R2R : ทำเรื่องให้ง่าย...ไม่ยุ่งยาก


คนไข้น่าจะมามีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วยว่าเขาอยากรู้เรื่องอะไรบ้าง

       จากการพบปะกันในทีม R2R กลุ่มสูติ-เด็ก ดิฉันได้พบพี่แดงอีกครั้ง มาคราวนี้พี่แดงมีเรื่องเล่าและคำถามมาเป็นประเด็นให้เราได้พูดคุยกันอีกครั้ง สิ่งที่พี่แดงกังวล คือ วิธีการเก็บข้อมูลที่พี่แดงจะใช้ "จำเป็นไหมว่าต้องสร้างเครื่องมือและหาผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบ หากยุ่งยากขนาดนั้นพี่แดงก็ชักจะท้อ..เพราะพี่แดงไม่ได้จบโทมา มันต้องยุ่งยากแน่ๆ" ดิฉันจึงขอให้พี่แดงเล่าวิธีการที่ตนเองทำว่าที่ทำอยู่ทุกวันนี้ทำอย่างไร...

       พี่แดงเล่าว่า : เมื่อคนไข้หลังคลอดมาถึงที่ตึก พี่แดงก็จะเข้าไปให้คำแนะนำ ก่อนให้คำแนะนำพี่แดงก็จะสอบถามก่อนว่า เขามีความรู้ในการดูแลลูกและปฏิบัติตนหลังคลอดอย่างไรบ้าง จากนั้นพี่จึงค่อยอธิบายในเบื้องต้นให้คนไข้ทราบ แล้วพี่แดงก็จะไปลงข้อมูลไว้ในบันทึกของตัวเองที่ทำขึ้นมาเอง เพื่อเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของคนไข้ในแต่ละราย จากนั้นพี่แดงก็จะให้คนไข้ดูวีดีโอเกี่ยวกับความรู้ของหญิงหลังคลอด โดยดูกันเป็นกลุ่มจากนั้นเมื่อดูเสร็จก็จะมีการพูดคุยเสมือนว่าเป็นการซักถามข้อสงสัย และถือโอกาสประเมินความรู้ที่คนไข้ได้รับด้วย..จากนั้นก่อนคนไข้แต่ละรายกลับบ้านพี่แดงก็จะประเมินอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าตนเองได้ให้ความรู้แก่คนไข้ครบถ้วนหรือเปล่า

       จากนั้นพี่แดงก็หยิบแบบบันทึก หรือจะเรียกได้ว่าเป็นสมุดบันทึกที่ว่านั้นให้พวกเราดู...โห! พี่แดงบันทึกอย่างละเอียดมาก ดิฉันเลยเสนอไปว่าพี่แดงไม่ต้องสร้างเครื่องมืออะไรอีกเลย ใช้สิ่งที่มีอยู่นี่แหละเป็นตัวเก็บข้อมูลการสอนสุขศึกษา แต่ก็อยากให้เพิ่มในส่วนที่ว่าคนไข้น่าจะมามีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วยว่าเขาอยากรู้เรื่องอะไรบ้าง และมีโอกาสเลือกสื่อที่เขาสนใจ บางคนอาจจะชอบอ่าน บางคนอ่านจะชอบดู บางคนอาจจะเรียนรู้ได้ดีจากการพูดคุย..ซึ่งพี่แดงและทางกลุ่มก็รับข้อเสนอไป..อย่าง Happy Ending

หมายเลขบันทึก: 38032เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2006 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท