ไม่ทานยา


เป้าในการทำงานที่ตั้งไว้ได้นั่นคือ ผู้ป่วยเรามีอาการดีขึ้นนั่นเอง

       ปัญหาหนึ่งที่เราพบในงาน คือ ปัญหาผู้ป่วยไม่ทานยาตามแผนการรักษา จะพบในผู้ป่วยหลายรายมาก ทำให้การดำเนินโรคไม่ค่อยดีนัก จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการไม่ดีขึ้นและไม่คงที่ แนวโน้มในการปรับลดยาจึงมีน้อยมาก จากปัญหานี้เราพยายามวิเคราะห์หาสาเหตุว่าเพราะอะไร อย่างหนึ่งล่ะที่เราพบแน่ๆนั่นคือ ผลข้างเคียงของยาที่ทำให้ผู้ป่วยทานยาแล้วรู้สึกไม่สุขสบายตัว บางรายจะมีอาการลิ้นแข็ง ตัวแข็ง แต่จากสาเหตุนี้ หมอก็พยายามปรับเปลี่ยนยาให้ นอกจากนี้สาเหตุสำคัญที่เราพบก็คือ ผู้ป่วยไม่มีใครดูแล หรือมีญาติแต่ก็ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ทั้งนี้เนื่องมาจากว่าผู้ป่วยป่วยมานานหลายปี จนบางครั้งญาติเกิดความเบื่อหน่ายต่ออาการเจ็บป่วยซึ่งก็มักจะไม่ปกติเหมือนผู้ป่วยด้วยโรคทางกายอยู่แล้ว จึงปล่อยปละละเลยและไม่สนใจ

       จากสาเหตุหลักๆ สองอย่างข้างต้น ก็ยังมีสาเหตุย่อยๆ..เพิ่มอีกหลายประเด็น เป็นต้นว่า ในผู้ป่วยชายมักดื่มสุราร่วมด้วย ทำให้ไปขัดขวางการออกฤทธิ์ของยา และการควบคุมกำกับตนเองไม่ดี จากการประมวลสาเหตุเหล่านี้แม้จะพยายามหากลยุทธ์ต่างๆ มากมายมาใช้ แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ยังไม่ดี แต่เราก็ยังทบทวนประเด็นปัญหานี้อยู่เสมอ เพราะว่าจากสภาพการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดภาระอย่างมากทางด้านสาธารณสุข และสุขภาวะจิตของผู้ป่วยก็ไม่ดี

       จากปัญหาข้างต้นดังกล่าว ก็เป็นอีกเป้าหนึ่งที่เรานำมาสู่การเดินเรื่องเชิงรุกในการทำงานที่ต้องลงไปชุมชน โดยเราต้องการอยากให้คนในชุมชน ครอบครัว และผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้องนี้มาร่วมด้วยช่วยกันหาหนทางเพื่อใช้ในการดูแลผู้ป่วยของเราต่อไป สิ่งที่ดิฉันนำมาเป็นตัวแบบ (Role Model) ในการเดินเรื่องคือ แนวคิด"ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน" ที่คุณชายขอบดำเนินการอยู่ที่ จ.พัทลุง หลักการดังกล่าวนั้นดิฉันนำมาในส่วนที่จะสามารถประยุกต์ใช้ได้ในพื้นที่และงานตน..ซึ่งเราคาดว่าน่าจะนำไปสู่ความสำเร็จของเป้าในการทำงานที่ตั้งไว้ได้นั่นคือ ผู้ป่วยเรามีอาการดีขึ้นนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 37993เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2006 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

คนในครอบครัวของดิฉันก็พบปัญหาจากการทานยาเช่นเดียวกันค่ะ  เนื่องจากเค้าป่วยเป็นโรคไมเกรนและทานยามากจนสมองเบลอ ทำให้ต้องเข้าไปรับการรักษาในโรงพยาบาล  และหลังจากหมอฉีดยาให้ก็เกิดอาการลิ้นแข็ง  ตัวแข็ง เดินไม่ได้  รักษากันอยู่เป็นเดือนเลยทีเดียว เสียค่าใช้จ่ายเยอะมาก  จนในที่สุดเมื่อออกจากโรงพยาบาล ก็พาลให้เป็นโรคกลัวยา  กว่าจะเคี่ยวเข็ญให้ทานยาที่หมอจัดให้จนครบได้ก็ลำบากพอควร  และปัญหาที่พบอีกอย่างคือการไปรับยาต่อเนื่อง  เพราะสังคมไทยส่วนใหญ่ยังเห็นว่าการเข้าไปรับการรักษาอาการทางจิตหรือประสาท  ก็เหมือนคนเป็นบ้า ทำให้มีการซุบซิบนินทาหรือคิดว่าจะมีการนินทา  และนั่นก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยไม่กล้าเข้าไปรับการรักษาค่ะ...(จากประสบการณ์จริง)

คุณ"orangecnx"...

เป็นกำลังใจให้..ซึ่งกันและกันนะคะ..

ดิฉันเชื่อว่า...ความรัก..ความเข้าใจ..

จะช่วยทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้...มีอาการดีขึ้น...

หากเป็นไปได้...การที่เราสามารถช่วยให้เขาลดยาได้

คือรางวัลของคนทำงาน...จิตเวช...เลยคะ...

     ผมมีรายงานวิจัยเรื่องนี้ที่พี่เอียด รพ.จิตเวชสงขลา ทำไว้ครับ เป็น Thesis ของหลักสูตร วท.ม.วิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข มอ. (รุ่นพี่ผม) ผมเคยได้อ่านแล้วดีมากเลย ว่าด้วยเรื่อง "ปัญหาการรับประมานยาไม่ต่อเนื่อง" นี่แหละครับ ผมจำได้คร่าว ๆ ว่า หากใช้ชุมชนบำบัดด้วย จะลดปัญหาได้อย่างมีนัยสำคัญ ครับ

ขอบคุณนะคะ...คุณ"ชายขอบ"...

อย่างไรจะขอรบกวน..ขอรายละเอียด..เพิ่มเติมนะคะ

สัปดาห์หน้า...คุยกับพี่เขียว...ว่าเราจะลองลงพื้นที่คุยเพื่อเตรียมพื้นที่...กันคะ..ได้ความว่าอย่างไรจะนำมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

     หากโทรประสานเองเลยครับ บอกว่ารุ่นน้องแนะนำ ลองดูนะครับ พี่เขาเป็นหัวหน้าศูนย์วิกฤติฯ จำชื่อศูนย์ไม่ค่อยได้ครับ รพ.จิตเวชสงขลา ครับ

คุณ"ชายขอบ" 

ขอบคุณ..อีกครั้งนะคะ...

ได้เครือข่าย...ขยายผล..อีกแล้วคะ (ยิ้มๆ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท