คุยโทรศัพท์กับคนที่เรารัก...กิจกรรมยามว่างนี้สำคัญต่อจิตสังคมอย่างไร?


การหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาโทรคุยเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หรือแลกเปลี่ยนความรู้สึกที่ดีต่อกัน เช่น ความห่วงใยเมื่อคู่สนทนาไม่สบายกายหรือใจ
 

เมื่อวานนี้ผมอ่านเอกสารวิชาการเกี่ยวกับ “ประโยชน์ของการคุยโทรศัพท์”  ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ครับว่า...ในยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีกำลังครอบครองการดำเนินชีวิตของคนเรา ประมาณเกือบ 60% ของการใช้เวลาตลอดหนึ่งวันของคนเราคือ “การติดต่อสื่อสารด้วยโทรศัพท์และอุปกรณ์โทรคมนาคมต่างๆ”

 

ผมไม่ปฏิเสธหรอกครับว่า มนุษย์กับสังคมนั้นต้องดำเนินควบคู่กันไปด้วยการประกอบกิจกรรมต่างๆนานา เช่น กิจกรรมของการติดต่อสื่อสาร แต่ในส่วนลึกๆของแต่ละกิจกรรมดังกล่าว ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย ทัศนคติ ความพึงพอใจและการใช้บทสนทนา ที่เหมาะสมทั้งเวลา สถานที่ และบุคคลที่ต้องการติดต่อสื่อสารด้วย

 

ผมกำลังจะยกตัวอย่างของ “การคุยโทรศัพท์กับคนที่เรารัก” เริ่มจากการให้นิยามของคนที่เรารักแตกต่างกันไป ในส่วนตัวของผม ขณะที่กำลังใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ คนที่ผมรักคือ คุณพ่อ คุณแม่ น้องชาย และคนรัก (แฟน)  ในแต่ละอาทิตย์ผมต้องติดต่อกลับเมืองไทย โดยใช้การ์ดโทรระหว่างประเทศ อย่างน้อยก็สามครั้งต่อสัปดาห์ โทรแต่ละครั้งก็ใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ตกราคาประมาณ 30 กว่าบาท ผมเองยอมรับว่ากิจกรรมยามว่างของผมในขณะนี้ คือ การหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาโทรคุยเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หรือแลกเปลี่ยนความรู้สึกที่ดีต่อกัน เช่น ความห่วงใยเมื่อคู่สนทนาไม่สบายกายหรือใจ เป็นต้น

 

ในช่วงเวลาเกือบสี่ปีที่ต้องจากคนที่ผมรัก จริงอยู่ที่คนเราทุกคนต้องต่อสู้กับสิ่งแวดล้อมขณะกำลังดำเนินชีวิต โดยเฉพาะความพยายามที่จะรับผิดชอบการงานให้ดีที่สุดของแต่ละคน จุดนี้คือเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้กลายเป็นบุคคลที่มีความสำเร็จในชีวิต ตามหลักจิตวิทยาทางสังคมเราเรียกว่าเป็นระดับความต้องการสูงสุดของชีวิต (Need of self-actualization or successful aging) อย่างไรก็ตามคนเราทุกคนต้องการ “กำลังใจทางจิตสังคม (psychosocial supportive motivation)” เพื่อประคอบประคองให้ประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ คราวนี้ท่านผู้อ่านลองคิดดูซิครับว่า คุยโทรศัพท์กับคนที่เรารักเป็นกิจกรรมยามว่างที่ส่งผลต่อการพัฒนาจิตสังคมของคุณได้อย่างไร?

 
หมายเลขบันทึก: 37986เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2006 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

บอกเลยว่าเข้ามาเพราะสะดุดหัวเรื่องมากเลยค่ะ พอเข้ามาอ่านถึงได้รู้ว่าอยู่ประเทศเดียวกันนั่นเอง


อ่านจากบันทึกรู้สึกเห็นด้วยนะคะ เพราะจากการใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศมาสักระยะ ถึงแม้จะได้พบเจอสิ่งใหม่ๆ เพื่อนใหม่ๆ ผู้คน ธรรมชาติ วัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่าง ที่ทำให้ตื่นตาตื่นใจ ซึมซาบ เรียนรู้ และเปรียบเทียบ แต่เมื่อเวลาท้อแท้ หรือมีความสุข เราก็ยังอยากจะแชร์ความรู้สึกให้กับคนที่เรารัก และคนที่รักเรา

โชคดีที่สมัยนี้การสื่อสารมีความสะดวกอย่างยิ่ง และราคาค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับที่รับได้ สมฐานะนักศึกษาจนๆ ที่ไม่มีปัญญาหาเงินเรียนเอง ไม่เหมือนนักเรียนนอกสมัยก่อน คงจะลำบากในการติดต่อสื่อสารกลับประเทศพอสมควร

ทุกวันนี้ติดต่อกับครอบครัวโดยใช้ MSN โดยก่อนหน้าที่จะมาเรียนต่อ สอนแกมบังคับให้คุณแม่หัดพูดคุยผ่าน MSN เอาไว้ ที่บอกว่าแกมบังคับ เพราะแกมบังคับจริงๆ เนื่องจากคุณแม่ไม่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ตเลย สอนเด็กก็ว่ายากแล้ว สอนคนสูงอายุที่กลัวทำเครื่องพังถ้ากดอะไรไปแล้วมีกล่องแปลกๆ ขึ้นมาเนี่ยนะ มันยากยิ่ง

ต้องบังคับให้คุณแม่จดใส่กระดาษถึงขั้นตอนการเปิดคอมพิวเตรอ์ เข้าเน็ต ส่งจดหมาย ต่างๆ นานา คิดดูนะคะว่า ต้องให้แกจดเองด้วยนะ เพราะถ้าจดให้เดี๋ยวคุณแม่อ่านไม่เข้าใจ ให้จดจากความเข้าใจเอาเลย ไม่อยากจะบอกว่าสอนให้ใช้กล้อง webcam เลยนะ (บังคับคุณแม่เนี่ย ถือเป็นปาบมั้ยน้า) เพราะการคุยกันทางเน็ตดูจะถูกกว่าคุยทางโทรศัพท์ ในความรู้สึกก่อนที่จะมาที่ออสเตรเลีย

เวลาผ่านมาหกเดือน ตอนนี้คุณแม่พัฒนาฝีมือถึงขั้นใส่ emotion เป็นด้วย พร้อมล๊อกอินเข้ามาไม่เจอเรา ก็จะอ่านหนังสือพิมพ์ อ่านจดหมาย ตอบจดหมายได้เองเลย (ตอนแรกยังเข้าไปหน้าเว็บต่างๆ ไม่เป็นเลย)

พอมาอยู่ที่นี่จริงๆ ก็ได้ใช้บัตรโทรศัพท์เช่นกัน จะว่าไปค่าโทรศัพท์กลับไปประเทศไทยไม่ได้แพงมากนัก ประมาณนาทีละบาทเท่านั้นแหละ เหตุผลในการโทรมักเป็นเพราะเหนื่อยกับงาน ช่วงที่ต้องการกำลังใจ ต้องการคุยโม้ในเรื่องที่พบเจอใหม่ๆ ต้องการสอบถามสารทุกข์สุขดิบของคนที่รัก

ส่วนการใช้เน็ตคุยกับคุณแม่ จะเป็นกิจกรรมประจำ โดยจะนัดเวลาไว้ ว่าประมาณอาทิตย์ละวัน เพื่อไม่ให้มีการรอว่าเมื่อไหร่จะเข้าซะที นัดเวลาไว้เลย แต่โทรศัพท์เนี่ย เมื่อยามนึกถึง โทรเพราะอยากจะคุย อย่างคุณ POP จะบอกว่าเป็นกิจกรรมยามว่าง ซึ่งก็ใกล้เคียงกัน

พอได้คุยเสร็จ ไม่ว่าจะนาที สองนาที หรือเป็นชั่วโมง ความรู้สึกส่วนนึง เหมือนเราไม่ได้อยู่ไกลกันเลย แค่แอบมาเที่ยวต่างจังหวัดเอง เพราะยังติดต่อกันสม่ำเสมอ จะว่าไปรู้สึกว่าคุยกับคุณแม่มากกว่าตอนอยู่เมืองไทยซะด้วยซ้ำ ก็ดีนะคะว่ามั้ย ได้พัฒนาจิตสังคมที่ว่านั่นเลย

thanks for your visiting krab khun IS

Impressive way of communication! Once your mom have learnt how to use internet and been willing to give a distance contact her daughter.

All the best to your study in Australia krab.

......การสื่อสารทำให้เราใกล้กันเยอะขึ้น ผูกพันกันมากขึ้น เหมือนโฆษณาของ ผู้ให้บริการรายหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นความผูกพันระหว่างแม่และลูกผ่านโทรศัพท์มือถือ น่ารักมากครับ...จะมีสิ่งที่ห่วงอย่างหนึ่ง ที่เมืองไทย ตอนนี้อัตราการโทรมือถือสุ.มากโดยเฉพาะใจกลุ่มเยาวชน ผมทราบมาว่า บางคนโทรแล้วไม้วางสาย (เพราะต่อโทรศัพท์ครั้งหนึ่งก็ ๓ บาท ...เป็นต้น) การต่อสายหลายครั้งก็เสียเงินเพิ่ม ทำให้ต้องเปิดสายรออย่างนั้น กรณีแบบนี้เกิดขึ้นมากเลยครับ มันส่งปัญหาถึง การร่วมใช้สัญญาณของคนอื่นด้วย....เอ..หรือว่าผมผิด concept ในการให้ข้อคิดเห็นเรื่องนี้ ออกจะชุ่มชื่นหัวใจ เมื่อได้อ่านบันทึกและข้อคิดเห็นของคุณ is ด้วยแล้ว น่ารักมากครับ...ขอให้พลังใจที่มี ส่งผลให้อาจารย์ Pop ทำวิทยานิพนธ์เสร็จสิ้นเร็วๆครับ

Thanks krab Khun Jatuporn, well your opinion remains important issue krab!

That why we need to promote 'Talking on the phone' is a leisure for improving social skills. It means teaching youths to understand how talking on the phone is only for a short and beneficial contact during their free time.

Thank you for your cheering up to my PhD work krab!!!! Best wishes to you as well...

แฟนอยู่คนละประเทศเหมือนกันเลย แต่เจอกัน2 เดือนครั้ง เข้าใจดีครับ ถ้าไม่มีโทรศัพท์ หรือ MSN แย่แน่

ของอาจารย์ป๊อป  เจอกันปีละครั้ง คิดถึงกันแย่เลยเนอะ เค้าเป็นอาจารย์เหมือนกันรึปล่าวครับ ถ้าเป็นอาจารย์เหมือนกันอาจจะเข้าใจกันได้ง่ายขึ้นนะ ว่าต้องเสียสละเพื่อนอนาคตก่อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท