การแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด ความเสียหายที่ตามมา


การแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด ทำให้ปัญหาอื่นตามมาอีกพะเรอเกวียน จุดที่ยากคือการสะท้อนปัญหาอย่างนุ่มนวลเพื่อการแก้ไข

             การแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุดอาจทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมา เช้าวันนี้ดิฉันตั้งใจตั้งใจเล่าเรื่องนี้ เรื่องนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่มาทำให้ดิฉันหมดความอดทนจนเก็บมาเล่าให้ฟังเผื่อไปเป็นอุทาหรณ์ แก่คนอื่นๆ  
           ที่ทำงานของดิฉันใช้ระบบแชร์อุปกรณ์ในการทำงานโดยมีเครื่องคอมฯ ตัวแม่ข่ายแล้วตั้งปรินเตอร์ไว้ตามจุดต่าง ๆ โดยระบบที่วางไว้ดีมาก ดีที่เราสามารถสั่ง print งานจากเครื่องของเราไปเครื่องไหนก็ได้ เราสามารถตรวจงานพิมพ์ที่หน้าจอของเราที่ฝ่ายสนับสนุนส่วนกลางพิมพ์ จากเครื่องของเขาได้ตลอดเวลา นี่เป็นข้อดีสำหรับใช้ในสำนักงานใหญ่ ที่มีเครื่องปริ๊นไม่ครบคู่ กับเครื่องคอมฯ โดยมีงานธุรการเป็นฝ่ายสนับสนุนในการดูแลบำรุงรักษา ดิฉันชอบที่สามารถเรียกงานที่ ธุรการพิมพ์ โดยเราต้องรู้จักชื่อเครื่องของเขา  มีบ่อย ๆ ที่เวลาน้องคนพิมพ์ไม่อยู่ หรืออยู่แต่ยุ่งกับงานอื่นแล้วเราอยากแก้งานเพียงนิดหน่อย บางงานที่ส่งพิมพ์ไว้เป็น 10 หน้าอยากตรวจหน้าจอเองโดยไม่ต้อง print เราก็ทำได้
หลายครั้งที่ดิฉันและหลายๆคน นั่งทำงานเลยสี่โมงครึ่งไปมากแต่สั่ง print งานไม่ได้เพราะเครื่องแม่ข่ายปิดเนื่องจาก "เลิกงาน" ผู้รับผิดชอบเครื่องตัวนั้นจะกลับบ้าน ดิฉันไม่เคยละความพยายามเดินไปที่เครื่องแม่ข่ายเปิดเครื่องหวังว่าจะ print พบว่า "กรุณาใส่ password" ดิฉันไม่รู้ และเป็นอย่างนี้ทุกเครื่อง "รู้สึกขัดใจที่ไม่สะดวกในการทำงาน" ครั้งที่ 1  ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 และหลายๆ ครั้ง มีอีกครั้ง ที่หนักว่าจะทำงานช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ผงหมึกถูกถอดออกหมดทุกเครื่อง ดิฉันหมดความอดทน ทำยังไงหล่ะ หมดความอดทน "ร้องไห้ซิคะ ด้วยความขัดใจทำอะไรไม่ได้"  ดิฉันยังคงเข้ามาทำงานอย่างเป็นปกติในช่วงวันหยุด แม้พบความไม่สะดวกอย่างต่อเนื่องด้วยความเข้าใจทั้งผู้ดูแลรักษาของหลวง และเข้าใจตนเองว่าเราต้องรับผิดชอบงานให้สำเร็จอย่างดีในที่สุด และดิฉันตัดสินใจถามผู้ดูแลระบบในเช้าวันหนึ่งด้วยความขัดใจว่า "ทำไมเขาต้องใส่ password เครื่องกัน ในเมื่อมันเป็นเครื่องส่วนรวมและงานหลวงก็ไม่น่าจะมีความลับอะไร แล้วทำไมเขาต้องเก็บผงหมึกกัน ทุกเครื่อง" รู้มั๊ยว่ามันทำให้ไม่สะดวกกับคนที่จะทำงาน  ได้รับคำตอบว่า เขาป้องกันคนแอบ print งานส่วนตัวนอกเวลา เช่นรายงานที่เขาเรียนต่อ รายงานลูก ฯลฯ  ซึ่งจะทำให้หมึกที่ตั้งอยู่ที่แต่ละงานหมดแล้วกว่าจะสั่งซื้อมาได้ต้องใช้เวลานานเป็นเดือน
             ดิฉัน อุทานในใจ พุทธโธ!.... อุตส่าห์คิดกว้าง เพื่อเอื้อ อำนวยความสะดวกให้คนทำงาน แต่ต้องมาพังทลายทำให้ไม่สะดวกหนักไปอีกเพื่อป้องกันการขโมยใช้ของหลวงทำงานส่วนตัว ในความเห็นของดิฉันอาจมองในอีกมุมที่ต่าง"คนที่เรียนต่อ"คือคนที่ขวนขวายเรียนรู้ไม่มีหยุดและในที่ทำงานดิฉันมีไม่เกินปีละ 2 คน แล้วเขาก็ไปเรียนเอาความรู้มาเพื่อพัฒนางานที่รับผิดชอบ เรียนกับงานก็เนื้อหาเดียวกัน เอาโจทย์ในงานไปเรียน เอาเรื่องที่เรียนมาปรับปรุงงานและที่สำคัญคนเหล่านั้นก็มีชุดคอมพิวเตอร์ที่บ้านแทบทุกคน นี่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาไม่ตรงจุดทำให้บานปลายกลายไปเป็นปัญหาอื่น ตามมาอีกพะเรอเกวียน
เท่าที่ดิฉันคิดได้จากเรื่องนี้ 
              1. คนที่ทำงานเขาคาดหวังให้มีอุปกรณ์พร้อม คิดจะทำงานกี่ทุ่มกี่ยามก็สะดวก ทำได้ไม่มีเวลา เลิกงาน หรือช่วงวันหยุดมาเป็นอุปสรรค์ ให้หงุดหงิด กับเรื่องไม่เป็นเรื่อง กับการ lock password หรือเก็บผ้าหมึก ควรดำรงระบบที่เราคิดกว้างแต่แรกแล้วแก้ปัญหาเรื่องอื่นๆ ให้ถูกจุด
              2. คนที่มาที่ทำงานในช่วงวันหยุด ดิฉันให้เครดิต ว่าเป็นคนรัก ผูกพันรับผิดชอบงานล้วนเสียสละละเวลาที่เขาต้องดูแลครอบครัว พักผ่อนมาเพื่อทำงานที่รับผิดชอบให้เรียบร้อย มาที่ทำงานองค์กรก็ได้งานเพิ่มอย่าเอาวิธีแก้ปัญหา  "แบบกันคนที่มีเจตนาแอบแฝง แต่มีผลกระทบมาถึงคนที่ทุ่มเทและเสียสละเพื่อองค์กร" มาใช้รวมๆ กันเราจะเสียคนดีไป ระบบต้องเอื้อให้เขาทำงานได้ 
             3. การเก็บผงหมึกเป็น การสร้างอาณาจักรของกลุ่มคนที่แวดล้อมผงหมึกนั้น (วงละ 5-6 คน)เพราะคนเหล่านั้นจะรู้สึก"ทรมารร่วม" กับการที่ทำงานไม่สะดวกเมื่อหมึกหมด จึงทำให้กลุ่มรู้สึกหวงแหนผ้าหมึก แสดงอาการ วาจาไม่เหมาะสมกับ คนนอกกลุ่ม ทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมาคือแบ่งแยกเป็นกลุ่ม กลุ่มโดยไม่รู้ตัว  ทำร้ายระบบงานส่วนรวม  น่าจะแก้โดย "เร่งการหาผ้าหมึกมาให้ทันต่อความต้องการใช้"
            4.การมองโลกในแง่ร้าย แง่ลบ สร้างบรรยากาศไม่สร้างสรรค์ในที่ทำงาน ระแวดระแวงคนอื่นจนสร้างกฏ ระเบียบมา กักกัน ทำให้ไม่สะดวกกันไปหมด เสียบรรยากาศในการทำงานอย่างยิ่ง เป็น

            การมองได้เช่นนี้แต่ไม่ได้แก้ปัญหา ก็เหมือนบ่น ที่ต่อเนื่องจากนี้คือต้องมีเทคนิคในการสะท้อนปัญหา เพื่อการแก้ไข อย่างนุ่มนวล คนทำงานหลายคนคงสัมผัสได้ถึงปัญหาแต่ไม่รู้จะสะท้อนกันยังไงกลัวจะเป็นการชวนทะเลาะบานปลาย  ซึ่งดิฉันยังไม่ผ่านจุดนั้นเลย กำลังหาวิธีอยู่ค่ะ หากใครมีแนวทางช่วย ลปรร.ด้วยจะขอบคุณยิ่งค่ะ

หมายเลขบันทึก: 37984เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2006 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

พี่จิ๊บคะ

ขอเสนอแนวทางค่ะ คือ กำหนด printing quota ให้แต่ละบุคคลค่ะ

ทราบมาว่า ทางศูนย์คอมฯ ทำโปรแกรม printing quota เป็น open-source ค่ะ ลองติดต่อ พี่วิภัทร ดูนะค่ะ

    "แบบกันคนชั่ว แต่ทำให้คนดีมีปัญหา" ถ้าแก้เป็น "แบบกันคนที่มีเจตนาแอบแฝง แต่มีผลกระทบมาถึงคนที่ทุ่มเทและเสียสละเพื่อองค์กร" จะฟังแล้วดูดีกว่ากันหรือเปล่าครับ ด้วยความเคารพนะครับ เป็นเรื่องน่าขำมากๆนะครับที่องค์กรระดับนี้ ยังมีการใช้วิธีการป้องกันความสิ้นเปลืองของอุปกรณ์ด้วยวิธีการย้อนยุค ถ้ามีการประชุมขอให้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในประเด็นนี้นะครับ เพื่อหาทางออกร่วมกัน

"put the right man on the right job in the right time at the right place

ยังไงก็แล้วแต่ อย่าทำให้สิ่งเหล่านี้มาเป็นตัวบั่นทอนให้ความตั้งใจ ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และความเสียสละ ในงานของเราลดน้อยลงไปนะคะ  เป็นกำลังใจให้ค่ะ

ขอบคุณ อ.จันทวรรณค่ะ จะเร่งให้มีการเปิดประเด็นคุยกันเรื่องนี้ ค่ะ 
ขอบคุณ ท่าน ผอ.บวร ค่ะขอน้อมรับและแก้แล้วค่ะ บางครั้งเรารู้สึกอย่างนั้นจริงจึงเขียนไปแบบนั้นค่ะ คุณรัตติยา ก็ซับน้ำตากันไปรอบหนึ่งแล้วยังแวะเวียนมา ให้กำลังใจ tank หลายค่ะ
     ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ (จริง ๆ ผมเขียนยาวมาก แต่ความคิดเชิงบวกได้บอกให้ผมลบเสียครับ)
    
ขอบคุณ คุณชายขอบค่ะ กำลังใจเกิดได้สองทาง จากตัวเองและจากคนรอบข้าง สำหรับดิฉันกำลังใจเกินร้อยค่ะ บ่ ยั่น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท