"วันนี้....เราใช้เครื่องมือKMถูกทางแล้วหรือยัง?(3)"


"แล้ววันนี้...เราน่าจะย่างก้าวเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 แล้วนะครับ"

สวัสดีครับ

            วันนี้ผมอยู่ที่เชียงใหม่  ในวันนี้น้ำปิงกำลังล้นตลิ่งเป็นครั้งที่ 2 ในรอบไม่ถึงเดือน(ตอนนี้ไหลเข้าท่วมอำเภอรอบนอกแล้ว     ในเขตเทศบาลเมืองเหลือประมาณ30 เซ็นต์  ก็จะล้นตลิ่ง)โดยปรกติ ทุก1 -2 เดือน ผมมีภารกิจที่จะต้องขึ้นเชียงใหม่ประมาณ  1 สัปดาห์ (เป็นมา 8 ปีแล้วละครับ)  แล้วทุกครั้งที่ขึ้นมาเชียงใหม่ก็จะต้องใช้เวลาในหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประมาณวันละ 3 - 4 ชั่วโมง  มันเหมือนกับการชาร์ตแบ็ตเตอรี่เลยครับ  พอไฟเต็มก็ลุยได้เต็มที่ละครับ  วันนี้ในหอสมุดของม.ช. นั่งอ่านหนังสือที่สนใจก็เลยอ่านเรื่องราวของ KM ก็พบว่าในโลกกว้างของการจัดการรู้ในระดับนานาชาติมีบริษัทยักษ์ใหญ่(บริษัทซีเมนต์ มีพนักงานมากกว่า 120,000 คนใน160 ประเทศและแม้กระทั่งยักษ์คอมพิวเตอร์อย่างบริษัทไมโครซอฟฟ์มีพนักงานมากกว่า  20,000 คน) ที่ใช้ KM ในการบริหารจัดการองค์การ  เลยนำมาทบทวนการจัดการความรู้ในบ้านเรา  ก็มีข้อสังเกตุต่อเนื่องจากคราวที่แล้วมาฝากดังนี้

             จากที่เคยฝากประเด็นปัญหาการจัดการความรู้ของส่วนราชการว่า

              1.การไม่สามารถนำไปเชื่อมโยงกับการปฏิบัติงานจริง (ที่ส่งผลชัดเจนต่อการเพิ่มขีดสมรรถนะของหน่วยงาน)  ทำให้บางคนรู้สึกว่าเป็นเครื่องมือที่ขาดพลังที่จะนำไปสู่การปฏิบัติจริง

           2.มุ่งเน้นในส่วนการจัดการความรู้อย่างแยกส่วนอยู่ในกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย (ไม่สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกันทั้งหมด) มีการดำเนินการแบบแยกส่วนในองค์การ

           3.ขาดทิศทางในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในระยะยาว (ไม่สามารถกำหนดตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ในระยะสั้น  ระยะกลาง  ระยะยาวได้อย่างชัดเจน) ทำให้ไม่รู้ว่าที่ผ่านจะวัดความสำเร็จอย่างไร

            และเคยฝากถึงสาเหตุหลักดังนี้

             1.การมุ่งเน้นเทคนิคการจัดการความรู้ที่ขาดความเชื่อมโยงบริบทของการปฏิบัติงานที่แท้จริงของหน่วยงาน

             2.การมองและพิจารณาการจัดการความรู้อย่างแยกส่วนขาดการมีส่วนร่วมของบุคลากรขององค์กร

             3.การขาดการวางแผนยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ในภาพรวมของหน่วยงาน(การนำการจัดการความรู้ไปเชื่อมโยงกับการวางแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน)

             และเคยฝากถึงขั้นตอนของกระบวนการ KM ดังนี้

             1.จำเป็นต้องมีการสร้างเครื่องมือ KM ที่เหมาะสม(เหมาะสมไม่ใช่สมบูรณ์แบบ) 


           2.จำเป็นต้องฝึกฝนผู้ใช้เครื่องมือ KM ชิ้นนั้นพอสมควร(สามารถใช้งานได้ไม่ใช่เชี่ยวชาญ)


            3.จำเป็นต้องให้นำมาใช้ในงานจริง(การปฏิบัติงานจริงไม่ใช่วาดความฝัน)     

     

            ถึงตอนนี้ ก็ยิ่งมั่นใจมากขึ้นครับและคิดว่าเราน่าจะก้าวเข้าสู่ขั้นตอนที่  3 ได้แล้วนะครับ  ทั้ง  3 ประเด็นเลยนะครับ

              1.การสกัดขุมความรู้จากการปฏิบัติงานจริง(Knowledge Assets)

              2.การจัดทำแผนที่ความรู้(Knowledge Mapping)ของหน่วยงาน

              3.การกำหนดความเชื่อมโยงและการประเมินสมรรถนะหลักของหน่วยงาน(นำไปสรุปเป็นข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงของหน่วยงานในส่วนของบุคคลากร)

             มีประเด็นที่อยากจะฝากเพิ่มเติม  ก็คือ ขอให้ผู้ดูแลบล็อกของส่วนราชการของชุมชน Chumphon-KM-Station ทุกบล็อก กรุณากำหนดคำหลักในแต่ละบันทึกเพื่อจัดหมวดหมู่ของบันทึกนั้นๆ  ทั้งในส่วนของคำหลักของชุมชนฯและคำหลักของบล็อก   และขอให้กำหนดให้ถูกต้องกับประเภทของบันทึกด้วยเช่น

              - ข่าวประชาสัมพันธ์  ขอให้ใช้ คำหลัก "ข่าวสารส่วนราชการเพื่อ...แจ้งประชาชน"

              - ความรู้ที่ต้องการเผยแพร่  ขอให้ใช้ คำหลัก " ความรู้เพื่อประชาชน"

              - ขุมความรู้จากการปฏิบัติงาน  ขอให้ใช้ คำหลัก "ขุมความรู้จากประสบการณ์" (ระบุด้าน..........., ทั่วไป)

               - กิจกรรม KM  ขอให้ใช้ คำหลัก " บันทึกกิจกรรม KM"

               - ประเด็นปัญหาข้อสงสัย  KM  ขอให้ใช้ คำหลัก "ถาม ตอบ ข้อสงสัย"

               ในอนาคตอันใกล้  ปัญหาที่พวกเราจะต้องร่วมกันแก้ไขป้องกัน คือ การคัดกรอง บันทึกที่เป็นประโยชน์สำหรับสมาชิก     เพราะในบันทึกจำนวนมหาศาลจะต้องถูกแยกแยะเพื่อสะดวกต่อการใช้งานจริง   ในปีหน้าเราจะเชื่อมโยงเครือข่ายการจัดการความรู้ลงสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ   ชุมชนฯนี้จะเป็นสะพานเชื่อมโยงการจัดการความรู้ลงสู่ระดับพื้นที่  

               ขอให้ผู้ดูแลบล็อกพิจารณาให้ดีว่า   ใครคือผู้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล ข่าวสารที่ต้องการสื่อออกไปในบันทึกในแต่ละครั้ง   (ประชาชน,เพื่อนขรก.,หน่วยงานอื่นที่ควรรับรู้ข่าวสาร,ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง) เพื่อจะกำหนดคำหลักให้สามารถแยกแยะ ค้นหาบันทึกที่ต้องการได้ในระยะยาว   วันนี้ชุมชนของเรามีบล็อก 72 บล็อก  มีบันทึกหลายร้อยบันทึก(น่าจะถึงหลักพันในปีหน้า)    การเขียนบันทึกในระยะต่อจากนี้น่าจะก้าวผ่านกิจกรรมในขั้นตอนที่ 2   ควรจะดำเนินการในระดับของกิจกรรมในขั้นตอนที่ 3       ในเดือนกันยายนนี้ การร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้     น่าจะเป็นประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องในสมรรถนะหลัก 2 ด้าน (ด้านบริหารจัดการองค์การ  ด้านการบริการประชาชน)  ตามสมรรถนะย่อยต่างๆ  

               หวังเป็นอย่างยิ่ง  การขับเคลื่อนขบวนการจัดการความรู้ KM ของจังหวัดชุมพร จะส่งผลชัดเจนต่อการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานต่างๆในอนาคตอันใกล้นี้

                            

                                    พรสกล  ณ ศรีโต

                                     12/9/2548


หมายเลขบันทึก: 3798เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2005 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านข้อความของอ.พรสกล  ตอนนี้อยู่ที่จังหวัดหนองคายกับทีมงาน กศน.อเมืองชุมพร ..โชคไม่ดีเลยนะคะที่ จ.เชียงใหม่มีน้ำท่วมอีก  แต่คงผ่านพ้นไปได้ด้วยดี  พวกเรา กศน. ก็ยังจัดหมวดหมู่สับสน.อย่างที่ อาจารย์ว่า .แต่จะพยายามแยกค่ะ 

อ่านข้อความแล้ว  ก็ได้แต่หวังว่า  KM คงจะคืบหน้าไปไวไว.....นะครับ   เอาใจช่วยครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท