ดาวน์โหลดฟรี..ชุดโปรแกรมเอ็กเซลช่วยวิจัยและจัดทำผลงานวิชาการครู


ดาวน์โหลดฟรี!! รวมชุดโปรแกรมเอ็กเซลช่วยวิจัยเพื่อช่วยจัดทำผลงานทางวิชาการ/วิจัยของครู

เป็นการรวบรวมชุดโปรแกรมที่มากที่สุดสมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งได้จัดสร้างขึ้นด้วยการเขียนสูตรคำนวณลงในตารางงานของโปรแกรมเอ็กเซล 2007 และได้บันทึกเป็นเอ็กเซล 97-2003 ด้วย (หากเปิดด้วยโปรแกรม 2007 แล้วมีปัญหาให้ใช้ไฟล์ 2007 แทน) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอนที่ไม่เป็นโปรแกรมวิเคราะห์สถิติอื่น ๆ เพียงแต่มีพื้นฐานของคอมพิวเตอร์บ้างหรือสามารถอาศัยเพื่อนครูบ้างหรืออาศัยลูกๆหลานๆ บ้าง ก็สามารถวิเคราะห์วิจัยตัวเลขที่ใช้ปฏิบัติงานทางการศึกษาที่ทำอยู่ตามปกติเหล่านี้ได้อย่างง่ายดายหรือไม่ยากเกินไปนัก ประโยชน์ที่จะได้รับ คือ
1. จัดทำผลงานทางวิชาการ/วิจัย/รายงานการใช้ผลงานทางวิชาการ
2. เขียนแบบแบบรายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะต่าง ๆ (ก.ค.ศ. 3/1 - 3/4)
3. ใช้ในการเรียนการสอนปกติ เช่น วิจัยในชั้นเรียน วิจัยพัฒนางาน วิจัยพัฒนาผู้เรียน ฯลฯ
4. ช่วยพัฒนาครู/ผู้เรียน และปฏิรูปการศึกษาไทย

โดยเริ่มกระบวนการเรียนการสอนตามปกติ แต่ต้องมีการวางแผนงานด้วย -รวบรวมเอกสารงานวิทยานิพนธ์/วิจัยที่เกี่ยวข้อง -ต้องออกแบบเครื่องมือ เช่น ข้อสอบ แบบประเมิน แบบสังเกต ฯลฯ -แล้วนำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล (ถ้ามี/ผ่านผู้ทรงวุฒิก็จะมีความเชื่อมั่นสูง) -วิเคราะห์ข้อมูลด้วยชุดโปรแกรมเอ็กเซลนี้ -แปลผลเขียนรายงาน -ให้ผู้รู้ช่วยตรวจสอบ -นำมาพัฒนา (วนรอบเก็บข้อมูลใหม่จนจบสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนางานวิจัยสูงขึ้น)

ท่านสามารถดาวน์โหลดชุดโปรแกรมเอ็กเซลเหล่านี้ (หรือถ้ามีการใช้สถิติทดสมมติฐานตัวอื่น) เดิมดาวน์โหลดได้ที่ http://e-learning.vec.go.th/elearning/ แต่ปัจจุบันให้มาดาวน์โหลดที่ https://sites.google.com/site/saksit2500/ หรือที่ http://202.29.238.187/saksit/ โดยมีโปรแกรมตามลำดับขั้นตอนดังนี้
1.การตรวจสอบเครื่องมือต่าง ๆ
- ข้อสอบ ใช้การวิเคราะห์ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ (IOC)
ใช้การวิเคราะห์ข้อสอบแบบเลือกตอบรายข้อ เพื่อหาความเชื่อมั่นหรือความเที่ยงตรง ความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก แบบอิงกลุ่มอิงเกณฑ์
และแบบกลุ่มเก่ง/ไม่เก่ง
- แบบประเมิน ใช้การวิเคราะห์การประเมิน 3 - 5 ระดับ, 3 ระดับ, 4 ระดับ, 5 ระดับ
- นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ ใช้การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ (E1/E2) และประสิทธิผล(E.I.)

2.การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
- การตรวจข้อสอบ
- การประเมินผลตามจุดประสงค์แบบอิงเกณฑ์ 8 ระดับ
- การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (t-score) เกรด 5, 8 ระดับ
3.การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน
- การสุ่มตัวอย่าง
- การวิเคราะห์ความถี่
- การวิเคราะห์ค่าร้อยละ
4.การทดสอบสมมติฐานด้วย t-test
- กลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่มเทียบกับเกณฑ์
- กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มเทียบคู่กันหรือไม่เป็นอิสระกัน เช่น ก่อน-หลังเรียน
- กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระกัน


หากโปรแกรมมีข้อผิดพลาดประการใด ช่วยกรุณาแจ้งให้ทราบด้วยนะครับ...จะได้ปรับปรุงให้สมบูรณ์...
เพื่อเป็นประโยชน์แก่เพื่อน ๆ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุก ๆ ท่านครับ {#emotions_dlg.q2} {#emotions_dlg.d3}

หมายเลขบันทึก: 379744เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2015 09:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอบคุณค่ะ

ดีค่ะ

น้องๆเพื่อนครูที่ยังคร่ำเคร่งจากการทำผลงานจะได้ใช้ประโยชน์ตรงส่วนนี้

ขอบคุณค่ะ

การวิเคราะห์ข้อมูล ไม่สามารถแก้ไขจากผู้เรียน เป็นผู้ตอบแบบสอบถามได้ และตัวหนังสือที่แทนค่าไปแล้วตัวเล็ก แก้ไขไม่ได้ค่ะ รบกวนบอกวิธีแก้ไขด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ K.natsu ที่ได้ให้ความสนใจในการใช้ชุดโปรแกรม..

ผมขอเรียนชี้แจงว่า ผมได้เขียนจากตัวอย่างการใช้ในงานการศึกษากรณีหนึ่ง โดยไม่ได้ใช้คำเขียนที่เป็นกลาง ๆ ให้ใช้ได้ทุกกรณี (ท่านจึงไม่ต้องคัดลอกมาหมดหรือคัดลอกมาก็เปลี่ยนคำให้ตรงกับงานวิจัยของท่าน) แต่ไม่ต้องกังวลหรอกครับ เพราะชุดโปรแกรมสถิตินี้ ยังไม่สามารถที่จะอ้างอิงได้ในทางวิชาการงานวิจัย เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยท่านคำนวณตามสูตรสถิติต่าง ๆ เท่านั้น ซึ่งหากนำมาใช้ในงานวิจัย ผมแนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้

1.บทที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูล ควรเขียนว่า จากเครื่องคำนวณหรือเครื่องคิดเลขหรือโปรแกรมเอ็กเซล ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ก็เขียนสูตรสถิติจากหนังสือต่าง ๆ หรือจากเอกสารวิชาสถิติของเว็บผมก็ได้ (http://e-learning.vec.go.th/elearning/)

2.บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ ก็คัดลอกตามมาใส่ให้ตรงกับรูปแบบการรายงานการวิจัยตามมหาวิทยาลัยฯนั้น ๆ แล้วก็เขียนหรือพิมพ์ตามงานวิจัยของงานท่านเอง (ท่านก็สามารถปรับขนาดอักษรได้ตามต้องการเลยครับ)

3. ภาคผนวก ก็นำค่าที่ได้จากชุดโปรแกรม มาแทนค่าตามสูตรในบทที่ 3 ซึ่งมีค่าคำนวณให้แล้ว เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน ค่าความแปรปรวน ค่าตัวทดสอบที เอฟ ที่ได้จากการคำนวณ จากตาราง นัยสำคัญ ฯลฯ

4.สรุปอีกครั้งนะครับ ไม่จำเป็นต้องอ้างชุดโปรแกรมนี้หรือชื่อผมก็ได้ ให้ใช้เสมือนเป็นเครื่องคำนวณเครื่องหนึ่งเท่านั้น

5.ถ้าพบมีโปรแกรมใดผิดพลาดช่วยกรุณาแจ้งให้ทราบด้วยครับ จะได้ปรับปรุงให้ถูกต้อง เดี๋ยวมีการใช้งานที่ผิด ๆ ครับ

สุดท้ายขอขอบคุณอีกครั้งนะครับ

ครูสิทธิ์

นางธันยภรณ์ ต้านคือ

ขอบคุณมากค่ะที่เผยแพร่สิ่งดีๆ เช่นนี้ นับว่าเป็นคุณูปการแก่ผู้ที่ไม่รู้เป็นอย่างยิ่ง ขอเป็นส่วนหนึ่งเล็กๆ ส่งกำลังใจให้ท่านได้ผลิตสิ่งดีๆ เช่นนี้ต่อไปค่ะ ขอขอบคุณอีกครั้งค่ะ


ขอบคุณในความเป็นครูของท่าน  อย่างสุดซึ้ง  เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างมากครับ

ขอนำโปรแกรมไปให้นักเรียนได้ใช้น่ะครับ ขอบคุณมาก

ขอบคุณมากค่ะ ใช้ประโยชน์ได้มากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท