ตัวชี้วัดคุณภาพ : ในกิจกรรมหัวหมู่เบาหวาน


ปรมาจารย์หลายๆท่านจึงพยายามบอกว่า ไม่ได้เน้นว่าตัวชี้วัดสำคัญที่สุด แต่ต้องมี พอมาทำงานก็เลยยิ่ง แจ่ม.....ก็เลยอยากเขียนบันทึกบอกเล่า ประสบการณ์ที่ผ่านมา ....ถึงจะยังไม่ปลายทางแต่ก็มาได้กลางๆ ทาง แล้ว....

ตัวชี้วัดคุณภาพ : ในกิจกรรมหัวหมู่เบาหวาน 

 การทำงานมีหลากหลายรูปแบบการทำงาน แต่ทุกๆอย่าง ถ้าไม่มีตัววัดก็จะบอกอะไรกับใครๆได้ไม่เต็มปาก เต็มคำ คนทำงานร่วมทีม ก็อาจเดินกันไปสะเปะสะปะ   งานหัวหมู่เบาหวานนี่เป็นอีกตัวอย่าง เพราะทำงานกันหลายพื้นที่ หลายระดับ “ คนป่วย แกนนำในชุมชน ชุมชน PCU และรพ”  ปรมาจารย์หลายๆท่านจึงพยายามบอกว่า ไม่ได้เน้นว่าตัวชี้วัดสำคัญที่สุด  แต่ต้องมี  พอมาทำงานก็เลยยิ่ง แจ่ม.....ก็เลยอยากเขียนบันทึกบอกเล่า  ประสบการณ์ที่ผ่านมา  ....ถึงจะยังไม่ปลายทางแต่ก็มาได้กลางๆ ทาง  แล้ว....    

เข้าเรื่องละนะ  ตัวชี้วัดของหัวหมู่มี 3  ประเภท  

1. ตัวชี้วัดเชิงปัจจัยนำเข้า  (Input indicator)  มีจุดประสงค์เพื่อประเมินความพร้อมในการให้บริการ     

  • จำนวนหัวหมู่เบาหวานเหมาะสมกับจำนวนประชากร  (จัดไว้ 1:10 ขั้นต่ำ  บางพื้นที่ขอ  1: 20  )
  • มีรูปแบบการดำเนินการของหัวหมู่ที่ชัดเจน : ซึ่งรูปแบบได้จากการประชาคม  รูปแบบจึงไม่เหมือนกันสักแห่ง แต่มีความคล้ายในประเด็นหลักๆ  ที่วางไว้ 
  • มีแนวปฏิบัติระดับหัวหมู่ และ ทีมพี้เลี้ยง  :  คู่มือเบาหวาน / แบบบันทึกประจำตัวหัวหมู่  
  • มีอุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็นในการให้บริการ : ความรู้ / เครื่องglucometer / เครื่องวัดความดัน
  • หัวหมู่เบาหวานผ่านการอบรม ฝึกทักษะการให้คำปรึกษา/การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

2. ตัวชี้วัดเชิงกระบวนการ (Process indicator)   ข้อนี้มีให้เราคัดสรรการวัดเยอะแยะมากมาย ถ้าหลงทางก็จะวัดกันหูดับตับไหม้จนไม่เป็นอันทำการทำงาน  วัดแหลกๆๆ    555 ที่พูดมา หนะ เคยเป็นมาแล้ว  ...วัดแหลก  จนเดี้ยง...   ...ในกิจกรรมหัวหมู่เบาหวานของเรา เราเลือกบางตัว เพื่อใช้เป็นการควบคุมคุณภาพการให้บริการของหัวหมู่ ซึ่งเราคาดหวังว่าการมีกระบวนการที่ดี  จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี เช่นกัน ดังเช่น

ผลงานพี่ลบ หัวหมู่เขื่อนขันธ์  หนุกหนาน  เชียวหละ

  • การรวมกลุ่มของหัวหมู่เบาหวานและสมาชิกและมีกิจกรรมต่อเนื่อง
  • หัวหมู่เบาหวานมีการดำเนินทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้
  • มีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโดยหัวหมู่เบาหวาน
  • อัตราการใช้บริการที่PCU ลดลง
  • ความครอบคลุมของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการดูแลโดยหัวหมู่เบาหวาน
  • ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้ถูกต้อง
  • ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล ใช้ยาได้ถูกต้อง

ป้าณา หัวหมู่ หมู่ 8 เจ๋งมากเรื่อง อาหาร  

(ประกบลูกทีม เซียนเบาหวาน ซะ  ค่าน้ำตาลสวยงามแบบไม่เคยปรากฏในOPD card ของเซียนท่านนั้นมาก่อน   )

3. ตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ (Output indicator)  เพื่อใช้เป็นการประเมินผลลัพธ์การให้บริการ   คือ

3.1   ตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ระยะสั้น หรือ (intermediate outcome indicator)  ซึ่งสามารถวัดผลโดยใช้ช่วงเวลาที่ไม่นานนัก  เช่น 1 เดือน 3 เดือน 1 ปี  ก็ว่ากันไป ...ตามความเหมาะสม ...ทำไป ทำมา มันจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ....เพราะใจเราจะบอกว่า อยากรู้  เรามาถูกทางเปล่านะ  "ป้าๆลุงๆหัวหมู่ที่เคารพ"  ยังทำงานระเบิดระเบ่อ ...แรงดีไม่มีตก ไม่นอกลู่นอกทาง    ต้องเบรกตรงไหน เพิ่มอะไร ลดอะไร ปรับตรงไหน  แก้ตรงไหน  .... เพราะทิ้งไว้นานไม่ตามดู จะแก้ไขลำบาก ....ประมาณนั้น    ตัวชี้วัดข้อนี้ เช่น

  • ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล มีระดับ Hba1c ลดลง
  • ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล มีระดับน้ำตาล FPG ลดลง
  • ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล มีระดับน้ำตาล PPD ลดลง
  • ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล ที่มีระดับน้ำตาลเฉลี่ยน้อยกว่า 140 mg%
  • ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล ที่มี HbA1C < 7 %

(2 ข้อนี้อาจเอาออก เพราะมันไม่ค่อยบอกอะไร เพราะ ค่า a1c และน้ำตาลตั้งต้นของแต่ละคนต่างกัน  บางคน a1c 13 %  ลงมาเหลือ 8 % ก็เอาแล้ว หรือถ้าหัวหมู่จัดการเอาลงได้< 7% ก็ต้องเรียกขั้นเทพ   น่าจะเอาแค่ลดลงก็ OK   ....รอ  ...จาน นิพัธ มา ...commentก่อน)

  • ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล ที่มีออกกำลังกายประจำ
  • คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวาน

ผลงานหัวหมู่เขื่อนขันธ์

6.1.1          ตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ระยะยาว หรือ (long-term outcome indicator)   ตัวนี้สำคัญที่สุด และหลายกิจกรรมมักไปไม่ถึงฝัน   ต้องใช้เวลาที่ติดตามผู้ป่วยอย่างยาวนานเพื่อได้ผลลัพธ์ที่แสดงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผลหรือความคุ้มค่าคุ้มทุนของงาน   แต่ด้วยเราสามารถเกาะติดงานได้นาน  เพราะหัวหน้าของเราเก่ง    เราจึงเกาะติดงานได้นาน  ยิ่งนาน ยิ่งวัดได้ดี มีคุณค่า   และผลลัพธ์ระยะยาวเป็นตัวชี้วัดที่มีน้ำหนักที่สุดในการประเมินผลกิจกรรมหัวหมู่เบาหวาน 

  • สถานการณ์ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมโรคไม่ได้ในพื้นที่ลดลง ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานลดลง
  • อัตราตายของผู้ป่วยจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
  • อุบัติการณ์ของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนระบบต่างๆรายใหม่

 

 เล่าเรื่องตัวชี้วัดแล้วมันเครียด ยังไง พิกล  วันนี้พอก่อน ดีกว่า 

ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์    

"ประกาศ  ประกาศ  ..'จานนิพัธกะพี่โต้ง  หายไปจากblog  ใครพบเห็น  สะกิดด่วน  ..."

คำสำคัญ (Tags): #หัวหมู่เบาหวาน
หมายเลขบันทึก: 379429เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2010 00:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท