ประวัติเรือตำบลเตาปูน


เรือยาวตำบลเตาปูน

ประวัติเรือยาวของวัดเตาปูน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

เรือยาวลำนี้เป็นเรือแข่งขุดด้วยไม้ตะเคียนทองทั้งลำ จึงเป็นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ อายุเรือลำนี้ประมาณ  90 ปี ความยาวยาวจากหัวจรดท้าย 25 เมตร กาบเรือหรือแคมเรือของเดิมเป็นไม้สักชิ้นเดียวทั้งลำ ปัจจุบันเป็นไม้ตะเคียน 3 ชิ้น เนื่องจากกาบไม้เดิมสึกชำรุดมาก  ความจุไม่ลงแข่งบรรทุกคุนได้ 80 คน  เวลาลงแข่งจริง ลงได้ 55 ฝีพาย  จัดว่าเป็นเรือแข่งขนาดกลาง เวลาลงแข่งจะมีสาวพรมจรรย์ รำฟ้อนก่อนจพลงน้ำ มี ย่าลา สุขศิลา  (เป็นคุณย่าของตาผู้เขียน) ปัจจุบันเสียชีวิตแล้วเป็นคนฟ้อนและเลี้ยงทุกทั้งไป เมื่อเรือลำนี้ท้องกลมวิ่นแล่นเร็วมากจนไม่มีใครสู้ได้ในแม่น้ำป่าสัก  จึงได้ชื่อว่า “ทองย้อย เลิศป่าสัก” โดยมีพระมหาจำรัส หรั่งกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดเตาปูน เป็นคนให้สร้อย คือต่อจาก “ทองย้อย” เป็น “เลิศป่าสัก” 

          ต่อมามีการซ่อมแซมใหญ่ ในปี พ.ศ.2497  โดยพระมงคลเทพมุณี เจ้าอาวาสวัด อนงคาราม ธนบุรี ให้ทุนซื้อไม้ตะเคียนมาทำกงเรือ 3,000 บาท  ช่างอินทร์  การทำนา และช่างหลี่  อันจิตร  ได้แบะออกเพราะเห็นว่าเรือวิ่งดี ถือท้ายยาก เรือโคลงล่ม และนายท้ายตกน้ำบ่อย จึงแบะออกกว้างจากเดิม 1.00 เมตร เป็น 1.40 เมตร  เรือจึงแล่นไม่เหมือนเดิม

          การเก็บรักษาเรือ มีการย้ายที่เก็บ 4 ครั้ง แต่เดิมตั้งอยู่ตรงกับอุโบสถวัดเตาปูน   เคลื่อนย้าย ครั้งที่ 1 ตั้งไว้อยู่เลยต้นโพธิ์ ไปบ้านยายสงวน  โยธานารถ ภายในวัดเตาปูน  ครั้งที่ 2 จอดอยู่ท่าน้ำวัดเตาปูน ปัจุบันตลิ่งพังไปหมดแล้ว ครั้งที่ 3 เมื่องจากน้ำท่วมใหญ่ในปี 2507  เรือยาวถูกลากขึ้นมาไว้ข้างศาลาการเปรียญวัดเตาปูนด้านหลังศาลา  ซึ่งศาลายังมุงด้วยกระเบื้องดินเผา ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกระเบื้องโมเนีย ครั้งที่ 4  คือที่อยู่ปัจจุบันนี้เดิมมุงสังกะสี  เมื่อปี 2551 ได้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องลอนคู่ใหญ่สีแดง นำโดนคุณวรพจน์ โสนน้อย นำผ้าป่าหาทุนมามุงหลังคา ส่วนพื้นได้รับการสนับสนุนจากโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 เป็นผู้อุปถัมภ์ เป็นเงินแสนเศษ

          ก่อนที่จะลงแข่งจะมีกลอนเซิ้งเรือยาว  เพราะชาวเตาปูนมีบรรพบุรุษเป็นคนไทยเชื้อสายลาว มาขากเวียงจันทน์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2322  จึงถนัดในทางการเซิ้ง เหมือนคนภาคอีสาน ซึ่งเป็นการอธิบายประวัติความเป็นมาของเรือยาวลำนี้ได้เป็นอย่างดี  ดังกลอนเซิ้งต่อไปนี้

                                                     เฮือเตาปูน          ชื่อนางทองย้อย

                                         เพิ่นไปซื้อมาจาก              บ้านพะเยาว์

                                         เพิ่นไปเอา                      สองร้อยบาท                     

                                         บ่ได้ขาด                        จักเฟื่องจักไพ

                                         เฮือเฮาคูณ                     เตาปูนบ้านใหญ่

                                         จัดแจงได้                      เข้าไม้ใส่โครง

                                         ใจประสงค์                     ลงไปบ้านซ้าง

                                         สาวแม่ฮ้าง                     ขึ้นนั่งหงอยหวี

                                         บ่มีผัว                           เพิ่นบ่ให่ขี่       

                                         เฮ็ดก้นซี้                       ไปบอกคำสิงห์

                                         คำสิงห์เอ้ย                    ล่องลงไปใต้

                                         เฮือสีทา                       ขึ้นมาบ่อได้

                                         ติดกอไคร้                     อยู่แก่งขนุน

                                         เฮือเตาปูน                    ปานลมปานแล้ง

                                         เฮือบ้านแก้ง                  ปานแก่ขอนยาง

                                                              ฯลฯ

                                                         เซิ้งต่อไปเรื่อยๆ

          สาเหตุที่เรือลำนี้จะได้ขึ้นมาอยู่ที่วัดเตาปูน อำเภอแก่งคอย จัวหวัดสระบุรี  จากวัดพะเยา อำเภอเสาไห้ เพราะวัดพะเยาว์ มีคนน้อย เรือลำใหญ่ มีฝีพายไม่พอ จึงได้ขายให้วัดเตาปูน ราคาในสมัยนั้นก็สูงมาก เปรียบเทียบราคากับสมัยนี้ก็คงเรือนแสน  และเป็นเรือหนึ่งเดียวในเขตอำเภอแก่งคอยที่ยังคงเหลืออยู่   สมัยก่อนจะมีเรือทุกๆ วัด  ตั้งแต่วัดหาดสองแคว ตำบลท่าคล้อ แต่ขายลงไปทางใต้บ้าง พุพังตามกาลเวลาบ้าง  แม้แต่วัดแก่งคอย  วัดสองคอน วัดสีทา วัดตาลเดี่ยว ก็เคยมี  ท่ามหาโพธิวงษ์ศาจารย์ หรือเจ้าคุณสาลี อินทโชติเถระ ท่านสั่งไว้ไม่ให้ทำลายหรือขาย  เรือจึงยังอยู่คู่บ้านเตาปูน จนทุกวันนี้  สมควรลูกหลานชาวเตาปูนควรจะอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาวเตาปูนสืบไป

 

อภิธานศัพท์ 

            ปานแก่ขอนยาง  คำว่าแก่เป็นภาษาลาว แปลว่าลากจูง หนักเหมือนซุงไม้ยาง  ไม่ใช่แปลว่าแก่ชรา

            กอไคร้  เป็นพืชน้ำชนิดหนึ่ง เป็นกออยู่ตามแก่งมักขึ้นตามแก่งหิน ปัจจุบันไม่มีให้เห็นอีกแล้วเพราะน้ำขึ้นอยู่ตลอดเวลา

            บ่ได้   คือไม่ได้

            แก่งขนุน คือชื่อบ้าน อยู่เหนือโรงพยาบาลสระบุรี ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

 

ของ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเตาปูน  


ผลิตภัณฑ์ เครื่องต้มยำอบแห้ง

รายละเอียดผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์เครื่องต้มยำอบแห้ง เป็นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป มีส่วนผสมของข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก ต้นหอม ผักชี อบแห้ง ไม่ใช้วัตถุกันเสีย

วัตถุดิบที่ใช้
ข่า, ตะไคร้, ใบมะกรูด, พริก, ต้นหอม, ผักชี, น้ำเกลือ

กระบวนการผลิต
นำส่วนผสมของข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก ต้นหอม ผักชี โดยลวกในน้ำเกลือ แล้วนำเข้าตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิไม่เกิน 50 องศาเซลเซียส บรรจุภัณฑ์จำหน่าย

การใช้/ประโยชน์
ใช้ทำต้มยำ

หมายเหตุ/ อื่น ๆ
ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณจาก ไอ.ที.วี และการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพ (สาธารณสุข)

สถานที่จำหน่าย
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเตาปูน
เลขที่ 2 หมู่ 6 บ้านมอญ ต.เตาปูน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 18110
ติดต่อ : นางสำราญ ศรีวารินทร์
โทร : 036 361199


 

 

 
  วัดเตาปูน
 
 
   
 
 
วัด
 
หมายเลขบันทึก: 379240เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2010 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท