AAR การดำเนินงาน Otop 2 ที่ผ่านมา


Patho Otop2 ได้เปิดตัวโครงการ และ มีการนำเสนอโครงการของทีมต่างๆ ติดต่อกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ในทุกวันพฤหัส ตั้งแต่ 25 พ.ค. ถึง 15 มิถุนายน ณ ห้อง M104 อาคารเรียนรวม เวลา 12.00-14.00 น.มีทีมพัฒนาเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 27 ทีม นำเสนอ 27 โครงการ

เพื่อประเมินผลการดำเนินงานในระยะเวลาที่ผ่านมาแบบ “ตีเหล็กกำลังร้อน”   ทีมงาน Otop2 ซึ่งประกอบด้วยตนเอง อ.เสาวรัตน์ อ.จำนงค์  อ.ปลื้มจิต พี่เม่ย คุณหล้า (อานุไร) และน้องแหม่ม (เพ็ญศิริ) จึงได้มาร่วมกันทำ AAR การดำเนินงาน Otop2 ที่ผ่านมา

ในที่นี้ ขอเป็นตัวแทนนำผลการทำ AAR ของทีมมาบอกกล่าวชาว blog ดังนี้ค่ะ


1. ความคาดหวังของทีมงาน

  • อยากเห็นโครงการดีๆ เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการเดิม หรือ เป็นโครงการที่มองภาพรวมเป็นระบบ หรือ เป็นโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ (อ.เสาวรัตน์เน้นว่า ไม่ใช่เพิ่มงาน แต่ควรลดขั้นตอน ลดเวลา ลดคน แต่ได้ผลงานดีขึ้น)
  • อยากเห็นการมีส่วนร่วมมากๆ
  • อยากได้ความเห็น และข้อเสนอแนะ จากผู้ร่วมฟังมากๆ

2. ส่วนที่ได้เกินความคาดหวัง

  • การนำเสนอทำได้ดี ทั้งความชัดเจนของเนื้อหา การพูด  สไลด์ ppt  การให้คอมพิวเตอร์  อยู่ในกรอบเวลาที่กำหนด
  • บุคลากรมีการพัฒนาการด้านความคิดขึ้นมาก สื่อได้จากการพึ่งพาพี่เลี้ยงน้อยลง
  • มีจำนวนโครงการมากกว่าที่คาดมาก
  • หลายโครงการ เป็นโครงการที่ดีมาก (หมายถึงทั้งความคิดดีๆ และมีประโยชน์)
  • บุคลากรระดับลูกจ้าง คนงาน มีส่วนร่วมมากขึ้น และ บางโครงการเป็นเจ้าของความคิด และเป็นหัวหน้าโครงการ
  • คนที่มีประสบการณ์จาก Otop1 มีส่วนชักชวนและให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานทำ Otop2
  • มีการถ่ายทอดทางทีวีวงจรปิด ทำให้คนที่ไม่ได้ไปร่วมฟัง ได้รับรู้ด้วย

3. ส่วนที่ได้น้อยกว่าที่คาด

  • การซักถาม ให้ความเห็น หรือข้อเสนอแนะ จากคนฟัง มีไม่น้อย แต่ส่วนใหญ่เป็นคนเดิมๆ และเป็นอาจารย์ คนอื่นๆ ยังถามน้อย ไม่หลากหลาย อาจเป็นเพราะไม่กล้าถาม ทั้งที่อยากถาม
  • ไม่ได้เห็นโครงร่างโครงการ ก่อนฟังนำเสนอ
  • อาจารย์และหัวหน้าหน่วยเข้าร่วมฟังน้อย
  • นักเทคนิคฯ นักวิทย์ ยังมีส่วนร่วมน้อย  ตรงนี้อาจสนใจเรื่องการวิจัยมากกว่า 
  • ไม่ตรงเวลา (ทั้งเวลาเริ่ม และเวลาเลิก)
  • คนฟังอยู่ฟังไม่ตลอด
  • บางโครงการ มีการเพิ่มงาน เพิ่มขั้นตอน (ส่วนน้อย)
  • บางโครงการ ไม่นำเสนอตัวชี้วัด

มีประเด็นที่ไม่แน่ใจว่าจะได้น้อยหรือมาก เพราะมีทั้งข้อดี ข้อเสีย เช่น การเปิดรับโครงการทุกรูปแบบ แบกกว้างมาก บางโครงการเล็กมาก ข้อเสียคือ ได้โครงการที่ไม่ตรงกับกรอบหรือวัตถุประสงค์ทีวางไว้   ข้อดีก็คือ บางเรื่องที่เราคิดว่าไม่ดีนักหรือเล็ก เพื่อได้นำเสนอ และ มีคำแนะนำจากผู้ฟัง ก็อาจนำไปสู่การปรับปรุงแนวคิด และกลายเป็นโครงการที่ดีขึ้นได้  สรุปแล้ว เสียงส่วนใหญ่ก็ยังอยากให้เปิดรับแบบแนวกว้าง ไม่จำกัดกรอบจนเกินไป

4. ข้อเสนอแนะ หากมีการนำเสนออีก และ รวมไปถึงการทำโครงการ Otop3

  • สถานที่ยังคงเป็นห้อง M
  • เวลา  กำชับให้ตรงเวลา คือ 12.00-13.30 อาจต้องลดจำนวนโครงการในแต่ละครั้ง  และสื่อสารถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมฟังตลอดการนำเสนอ
  • หากลยุทธ์ ให้อาจารย์ และหัวหน้าหน่วย มีส่วนร่วมมากกว่านี้ (ยังคิดไม่ออก ว่าทำอย่างไรดี)
  • เพิ่มความมีส่วนร่วมของนักเทคนิคฯ นักวิทย์ฯ  โดยอาจมีทางเลือก R2R 
  • การกระตุ้นให้มีการซักถาม และให้ความเห็นระหว่างการนำเสนอ ทำได้หลายวิธี เช่น แจกกระดาษให้ส่งคำถาม  จี้ตัวผู้ที่น่าจะให้ความเห็นดีๆ

  ใครมีความเห็นเพิ่มเติมอย่างไร  เสนอเข้ามาได้เลยค่ะ

 

คำสำคัญ (Tags): #aar#patho-otop2
หมายเลขบันทึก: 37919เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2006 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ไม่เชิงมีความเห็นเพิ่มเติมหรอกนะคะ ท่านเอื้อขา....เพราะได้เสนอไปตอนทำ AAR ไปหมดแล้ว
  • แต่จะเข้ามาถามว่า ทีมงาน otop2 ของท่านน่ะ .."ลืมพี่เม่ยไปหรือเปล่าคะ?" ว่าจะหารูปถ่ายมายืนยันก็ไม่มีเสียอีก เฮ้อ!
ขออภัยอย่างยิ่งยวดค่ะ   พี่เม่ยขา อย่าถือสานะคะ จะแก้ไขโดยทันใด
ยังไม่มีอะไรเสนอค่ะ แต่ขอมา (ยิ้ม ยิ้ม) กับพี่เม่ยและอาจารย์ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท