เวลาไหลไปเหมือนสายน้ำ เราหยุดเขาไม่หยุด


"ให้ศูนย์สามารถบริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพตลอดปี 50"

                เมื่อวานนี้ (8 ก.ค.49)  ช่วงเที่ยงเศษ ออกจากบ้านเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่รับผิดชอบตำบลช้างซ้าย   อ.พระพรหม เพื่อทำหน้าที่เลขานุการในการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล  เนื่องจากมีหลายเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ และเป็นช่วงวันหยุดติดต่อกันถึง 4 วัน  ถึง อบต.ช้างซ้ายชั้นล่าง ก็พบกับคณะกรรมการบริหารศูนย์ รออยู่ก่อนแล้ว 3 คน ทักทายแล้วผมเดินขึ้นชั้นบนไปยัง สนง.ศูนย์ ฯ ซึ่งทาง อบต.จัดให้  ทั้ง 3 ท่านก็เดินตามไป  นั่งคุยเรื่องทั่วไปที่ศูนย์ ฯ สักพักคณะกรรมการก็มาครบองค์ประชุม ก็เข้าไปยังห้องประชุมสภา อบต.ช้างซ้าย
               ในการประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งนี้ ก็เป็นวาระพิเศษ เนื่องจากผมในฐานะเลขานุการ  ได้เสนอของบประมาณตามกรอบ  ของการถ่ายโอนภาระกิจของศูนย์บริการฯ  ให้ อปท. (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)  และได้รับแจ้งจาก อบต.โดยเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ฯ ทางโทรศัพท์ ว่า คณะทำงานพิจารณาการจัดทำแผนงบประมาณ 3 ปีของอบต.ช้างซ้าย(มีผมรวมอยู่ด้วยและเข้าร่วมประชุมพิจารณาด้วย)  ได้บรรจุกรอบงบประมาณที่ศูนย์บริการฯ เสนอไว้ในแผนแล้วให้รีบจัดทำโครงการ/รายละเอียดในแต่ละแผน ของปี 50 ให้อบต.  ภายในวันที่ 14 กรกฎาคม 2549 นี้เพื่อเตรียมนำเสนอในการประชุมสภาฯ  ผมจึงรีบติดต่อกับคณะกรรมการทางโทรศัพท์ได้เข้าร่วประชุมเร่งด่วนเพื่อช่วยกันพิจารณา จัดทำโครงการ/กิจกรรม  โดยยึดแผนพัฒนาการเกษตร ดูนโยบายจังหวัด นโยบายระดับกระทรวง / กรม  ประกอบ

                เซ็นต์ชื่อ รับวาระการประชุม  แล้วประธานศูนย์ ฯ
คุณสมทรง  สุขศรี กล่าวเปิดการประชุม   ดำเนินการตามวาระ 
จนมาถึงเรื่องแจ้งให้ทราบและพิจารณา  ก็นำเรื่องกรอบงบประมาณเข้ามาพิจารณาพูดคุย
                ซึ่งได้จัดทำกรอบงบประมาณ  ของปี 50 ไว้ 2 หมวด  คือ

                หมวดการบริหารจัดการอำนวยการ  งบประมาณ
136,000 บาท
                   ใช้จ่าย  เรื่องการประชุมคณะกรรมการ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ วัสดุสำนักงาน/วัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ นิทรรศการทางวิชาการ  เครื่องมืออุปกรณ์การตรวจวิเคราะห์  การจัดหาพัสดุ การจัดการข้อมูล
                   ที่พิเศษ มาในหมวดนี้ ปี 50 ได้ตั้งงบประมาณค่าตอบแทนคณะกรรมการบริหารศูนย์ ฯ (ผู้แทนชุมชน) เพื่ออยู่ประจำศูนย์ให้บริการแก่เกษตรกรไว้ด้วยครับ  ก็ไม่มากแค่วันละ 100 ต่อหนึ่งคน สับเปลี่ยนเวียนกันไปวันละ 1 คน  ก็เป็นค่าอาหารกลางวัน และเครื่องดื่ม
                หมวดส่งเสริมและพัฒนาอาชีพตามแผนพัฒนาการเกษตร   งบประมาณ 166,250  บาท
                     ใช้จ่ายในเรื่อง  การจัดเวทีชุมชน เพื่อปรับปรุงแผนพัฒนาการเกษตร   การถ่ายทอดเทคโนโลยี  เวทีการเรียนรู้  สำรวจวิเคราะห์  วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ  เพื่อฟื้นฟูทรัพยากร  ฝึกอบรม/ศึกษาดูงาน   จัดงานรณรงค์เกษตรอินทรีย์ของตำบล

                         รวมทั้ง 2 หมวด  302,250  บาท

                 ถึง ตอนพิจารณาการจัดทำโครงการ/กิจกรรม  ผมทดลองใช้กระบวนการ KM เข้ามาเป็นเครื่องมือ   เพื่อการเรียนรู้ของผมเองและคณะกรรมการบริหารแต่ผมไม่ได้บอกอะไรเขานะครับ  
                 ในแต่ละหมวดงบประมาณผมตั้งเป้าหมายกว้าง ๆ ให้ก่อน เพื่อจุดประกายประเด็น  โดยตั้งเป็น 2 เป้าหมาย  แล้วให้คณะกรรมการได้พิจารณาร่วมอีกครั้งว่าพอใจเป้าหมายหรือไม่ให้วิจารณ์  ก็มีการพูดคุยวิจารณ์เป้าหมาย หรือคำต่าง ๆ  และสรุปเป้าหมายเหลือ เป้าหมายเดียว   คือ 
                     "ให้ศูนย์สามารถบริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพตลอดปี 50" 
                  หลังจากนั้นได้แบ่งคณะกรรมการ ฯ ตามความสมัครใจและถนัด เป็น 2 กลุ่ม  ตามหมวดงบประมาณ 2 หมวด   เพื่อช่วยกันพิจารณาโครงการ/กิจกรรม   และบรรจุงบประมาณลงในกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่ลืมนึกถึง  การแก้ปัญหาความยากจน  และเกษตรอินทรีย์วาระแห่งชาติ  แล้วให้ผู้แทนกลุ่มนำเสนอในกลุ่มใหญ่  ซึ่งก็สนุกสนานดีไม่มีใครได้นั่งเฉย ๆ เหมือนเมื่อก่อน  
                 ผมได้เรียนรู้เพื่อนร่วมงานพฤติกรรมความต้องการที่เขาพอใจ เห็นความสามารถที่ไม่เคยแสดงออกได้แสดงออกมา เห็นแนวคิดของแต่ละคน ซึ่งผมต้องเอามาปรับจูนตัวผมเองให้กลมกลืน  ในการทำงานร่วมกันครั้งต่อ ๆ ไปอีกครับ
                  และงานการประชุมนี้แล้วเสร็จเมื่อวาน
เวลา 16 นาฬิกาเศษ 
                  ผมก็นำรายละเอียดกลับมาสรุปเรียบเรียงอยู่ตอนนี้
แหละครับ 
                          

คำสำคัญ (Tags): #เรารักในหลวง
หมายเลขบันทึก: 37908เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2006 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
     สุดที่จะชื่นชมเลยครับ อยากเอาแบบอย่างเช่นนี้ ให้ อสม.ในแต่ละตำบล ได้ดำเนินการ ขอเรียนจากบันทึกนี้แล้วจะนำไปเล่าให้ ทีมงานฟังต่อนะครับ

แวะเข้ามาชื่นชมและให้กำลังใจคุณชาญวิทย์ค่ะ นี่ละค่ะ KM ของแท้ ไม่ลองไม่รู้ ใช่ไหมค่ะ :)

ขอบคุณทั้ง 2 ท่าน ที่มาเยี่ยมให้กำลังใจชื่นชม

อยากจะเชิญคุณชาญวิทย์ มาช่วยจัดทำ Competency  ของ เกษตรตำบล ที่กรมฯ กำลังจะดำเนินการใน Workshop 4 ครั้ง   2-4 สค.  28-30 สค.  6-8 กย. และ 18-20 กย. 49 คุณชาญวิทย์  พอจะมีเวลาเข้าร่วมได้ไหมค่ะ.....

  • ยิ่งทำยิ่งเห็นนะครับ
  • อยากให้เลขาฯ ศูนย์บริการฯ ทุกคนได้ ลปรร.ผ่านบล็อก GotoKnow.org  จะได้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
  • คงขอฝาก CKO (แท้ๆ) ทุกระดับครับ  ว่าช่วยได้ จะหวังเพียงคุณอำนวยคงเหนื่อยหน่อย

เรียน พี่นันทา ครับ

          ขอบคุณมากครับที่เชิญ ใจจริงอยากร่วมมากครับ  เพราะได้ประสบการณ์และทักษะกลับไป แต่เนื่องจากในช่วงนี้  อำเภอ/ตำบล มีงานชุกมาก ๆ  ทุกตำบลเลยครับ  ทั้งโครงการปกติ(กรม)  โครงการจังหวัด(CEO)   โครงการงบ CEO ผ่านทางเกษตรและสหกรณ์จังหวัด โครงการอำเภอโดยนายอำเภอ(งบประมาณ CEO) ซึ่งอำเภอพระพรหมเป็นอำเภอนำร่องเกษตรอินทรีย์ของจังหวัด ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดก็อยู่ที่นี่ด้วยครับ  ถ้าจะมาร่วมได้คงช่วงปลายกันยายนนะครับ

            ขอบคุณอีกครั้งนะครับ

ขอบคุณ ท่านสิ่งป่าสักครับที่มาเยี่ยม 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท