ครู พันธุ์พิเศษ


ครู พันธุ์พิเศษ

 หลักสูตรผลิตครูระดับปริญญาตรีปัจจุบันต้องดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐาน 2 เกณฑ์ ดังนี้ 
1.    ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ  เรื่อง  เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี  พ.ศ. 2548  กำหนดจำนวนหน่วยกิต  และระยะเวลาการศึกษา  ดังนี้
1.1  หลักสูตรปริญญาตรี  4 ปี  ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต  ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 8 ปีการศึกษา                      
1.2  หลักสูตรปริญญาตรี  5 ปี  ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 150 หน่วยกิต  ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 10 ปีการศึกษา
               

2.  หลักเกณฑ์การรับรองปริญญาทางการศึกษา  ตามมาตรฐานของคุรุสภา  หลักสูตร 5 ปี                    
2.1  โครงสร้างหลักสูตร  ประกอบด้วย
2.1.1  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป              ไม่น้อยกว่า  30  หน่วยกิต
2.1.2  หมวดวิชาชีพครู                       ไม่น้อยกว่า  50  หน่วยกิต
2.1.3  หมวดวิชาเฉพาะด้าน              ไม่น้อยกว่า  64  หน่วยกิต
2.1.4  หมวดวิชาเลือกเสรี                   ไม่น้อยกว่า    6  หน่วยกิต

2.2   หน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า  150   หน่วยกิต

ครูพันธุ์แท้  กับครูพันธุ์ผสม  
จากอดีตถึงปัจจุบัน  มีหลักสูตรครู  2  รูปแบบ  ดังนี้
               

รูปแบบที่ 1  ครูพันธุ์แท้  หมายถึง ครูที่เรียนหลักสูตรครูล้วน ๆ โดย หลักสูตรในอดีต  คือ  ครูพันธุ์เก่า  กับหลักสูตรปัจจุบัน คือ ครูพันธุ์ใหม่  มีความแตกต่างกันดังนี้             

รายการ ครูพันธุ์เก่า ครูพันธุ์ใหม่
1.  ระยะเวลาเรียน 4  ปี 5  ปี
2.  จำนวนหน่วยกิต ไม่น้อยกว่า  120  หน่วยกิต ไม่น้อยกว่า 160  หน่วยกิต
3.  ระยะเวลาฝึกประสบการณ์ 1  ภาคเรียน 2  ภาคเรียน

                 สรุปแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงจากครูพันธุ์เก่า  เป็นครูพันธุ์ใหม่ เพื่อให้เป็นครูเก่ง ครูดี คือ                               
1.  เรียนน้อย 120 หน่วยกิต  (ทำให้ไม่เก่ง) ต้องเรียนเพิ่ม 150 หน่วยกิต (น่าจะเก่ง)
                               
2.  ฝึกน้อย 1 ภาคเรียน (ประสบการณ์ไม่พอ)  ต้องฝึกเพิ่ม 2 ภาคเรียน (น่าจะพอ)  
                  
3.  เรียนเพิ่ม + ฝึกเพิ่ม  จึงต้องเพิ่มเวลาเรียน  จาก 4 ปี  เป็น 5 ปี
หมายเหตุ  เพื่อให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจเป็นครูพันธุ์ใหม่  ที่ต้องเรียนถึง 5 ปี รัฐบาลจึงให้ทุนเรียน (แต่ผู้เรียนได้ทุนเพียง 1 รุ่นก็ถูกตัดไป)               

รูปแบบที่  2  ครูพันธุ์ผสม  หมายถึง ครูที่เรียนหลักสูตรอื่นแล้วเรียนหลักสูตรต่อยอดภายหลัง เช่น  ผู้เรียนที่จบปริญญาตรี 4 ปี  จากสาขาอื่น อาทิ  วท.บ., ศศ.บ. แล้ว เรียนต่อ  ป.บัณฑิตทางการสอน  อีก 1 ปี  จำนวนไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต  เรียกว่า  หลักสูตร 4+1 (แต่จากข้อกำหนดของคุรุสภาที่ให้ฝึกประสบการณ์ 1 ปี  หลักสูตรนี้จึงต้องเป็นอย่างน้อย  1 ½ ปี )                ครูพันธุ์ผสม  (ใช้ความรู้ทางครูต่อยอด) มีข้อดี  และข้อเสียโดยสรุปดังนี้         
ข้อดี 
1.  ได้ครูที่มีความเก่ง (เชี่ยวชาญ) ในศาสตร์ตรง (เนื่องจากมีข้อวิจารณ์ว่าหลักสูตรครูขาดความเข้มข้นในศาสตร์ตรง  และเรียนจำนวนหน่วยกิตน้อยกว่า)
2.  เพิ่มทางเลือกของวิชาชีพให้ผู้เรียนจากศาสตร์อื่น  มาเป็นครูด้วยอีก 1 อาชีพ               

ข้อเสีย
1.  มีระยะเวลาปลูกฝังความรู้  และประสบการณ์ของวิชาชีพครูจำกัด  คือ  1  หรือ     1
½   ปี
2.  เรียนวิชาชีพครูน้อยเกินไป  คือ  24  หน่วยกิต  ต้องทั้งเรียนรายวิชา  และฝึกประสบการณ์  เมื่อเปรียบเทียบกับครูพันธุ์แท้ที่เรียนวิชาชีพครูไม่น้อยกว่า 50 หน่วยกิต  และเรียนต่อเนื่องตลอดหลักสูตร 5 ปีรูปแบบที่ 3  ครูพันธุ์พิเศษ   หมายถึง ครูที่เรียนหลักสูตรครูและหลักสูตรศาสตร์ตรงไปพร้อม ๆ กัน โดยนำข้อดีของหลักสูตรครูพันธุ์แท้  และครูพันธุ์ผสม  มาประยุกต์ใช้สร้างหลักสูตรใหม่คือ  หลักสูตรปริญญาตรีคู่ขนาน (Dual Degree)  โดยมีการเทียบโอนระหว่างหลักสูตร  ก็จะได้หลักสูตรคู่ขนานของครูพันธุ์พิเศษ ดังนี้

รายการ ครูพันธุ์แท้(1 ปริญญาตรี) ครูพันธุ์ผสม(1 ปริญญาตรี + ป.บัณฑิต) ครูพันธุ์พิเศษ (2 ปริญญาตรี)
ระยะเวลาเรียน 5  ปี 4+1 ½ ปี = 5 ½ ปี 5  ปี
จำนวนหน่วยกิต (อย่างน้อย) 160  หน่วยกิต 120+24 = 144 หน่วยกิต 30+50+80+ อย่างน้อย 20   =  อย่างน้อย       180 หน่วยกิต
ฝึกประสบการณ์ 1  ปี 1  ปี 1  ปี
การเรียน (ปีละ) 2  ภาคเรียน 2  ภาคเรียน 3  ภาคเรียน
หมายเหตุ  ปัจจุบันหลักสูตรของศาสตร์ตรงมากกว่า 120 หน่วยกิต  อยู่ระหว่าง 130140 หน่วยกิต

                 หลักคิด  การบริหารจัดการครูพันธุ์พิเศษ               
1.  ผู้เรียนต้องเรียนหลักสูตรศาสตร์ตรงทั้งหมด  ซึ่งรายวิชาของศาสตร์ตรงส่วนหนึ่งจะเทียบโอนไปเป็นรายวิชาของหลักสูตรครู  หรืออาจกล่าวว่าเทียบโอนจากหลักสูตรครูไปเป็นรายวิชาของหลักสูตรศาสตร์ตรงส่วนหนึ่งก็ได้  ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 15  วรรคสาม  ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542 
ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกัน  หรือต่างรูปแบบได้  ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม  รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ  ตามอัธยาศัย  การฝึกอาชีพ  หรือจากประสบการณ์การทำงาน               
2.  การจัดแผนการเรียนอยู่ที่ข้อตกลงการบริหารทางวิชาการ  ระหว่างหลักสูตรครูกับหลักสูตรศาสตร์ตรง  ทั้งนี้แผนการเรียนจะต้องจัดให้เรียนปีละ 3 ภาคเรียน  และใช้เวลาเรียน 5 ปี (รวมทั้งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1 ปี)
                แนวคิดของครูพันธุ์พิเศษ (2 ปริญญา) มีข้อดีและข้อเสียดังนี้               
ข้อดี
1.  ผู้เรียนจะมีความเข้มข้นทางด้านวิชาการ  เนื่องจากเรียนหลักสูตรศาสตร์ตรงทั้งหลักสูตร
2.  ผู้เรียนจะมีความเข้มข้นทางด้านวิชาชีพครู  เพราะเรียนมากถึงอย่างน้อย 50 หน่วยกิต  และเป็นการเรียนต่อเนื่องตลอด 5 ปี
3.  ผู้สำเร็จการศึกษามีทางเลือกในการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น  เป็นการผลิตที่ไม่สูญเปล่า  และไม่ว่าจะประกอบอาชีพใดก็สามารถใช้ความรู้ที่ได้เรียนทั้ง 2 ศาสตร์  ไปบูรณาการได้
4.  เป็นการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน  ระหว่างต่างคณะภายในมหาวิทยาลัยเดียวกัน
ข้อเสีย
1.  ผู้เรียนต้องเรียนหนักตลอด 5 ปี  จึงต้องมีการวางแผนการเรียนที่เหมาะสม  และรับเฉพาะผู้สนใจ  ใฝ่เรียนจริงๆ
2.  ผู้เรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น  เนื่องจากจะต้องลงทะเบียนเรียนทั้ง 2 ปริญญา  ตัวอย่างเช่น  ค่าธรรมเนียมรวมตลอดหลักสูตรของปริญญาศาสตร์ตรง 80,000 บาท  และปริญญาหลักสูตรครูอีก 80,000 บาท  เมื่อเทียบโอนแล้วผู้เรียนอาจต้องจ่ายรวมประมาณ 120,000 บาท  (เนื่องจากสามารถเทียบโอนรายวิชาได้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของหลักสูตรทั้งสอง)

ข้อเสนอ  หากหลักสูตรครูพันธุ์พิเศษ  ได้รับการสนับสนุนเข้าเป็นแนวทางการพัฒนาครูของกระทรวงศึกษาธิการ อีกทางเลือกหนึ่งเห็นสมควรสนับสนุนดังนี้               
1.  จัดสรรทุนการศึกษาให้ผู้เรียน
               
2.  จัดสรรอัตราบรรจุ  แต่งตั้งเมื่อสำเร็จการศึกษา
               
3.  กำหนดอัตราเงินเดือนให้เหมาะสมกับการเรียนสำเร็จปริญญาตรี  2  ปริญญ
สรุป  หลักสูตรครูทั้ง 3 รูปแบบ  ควรเป็นอิสระในการเลือกจัดหลักสูตรของคณะครุศาสตร์  ศึกษาศาสตร์แต่ละสถาบันตามความพร้อมและความเหมาะสม  และควรมีการทำวิจัยติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรทั้ง 3 รูปแบบ

หมายเลขบันทึก: 37891เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2006 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่อยากให้ใช้คำว่า พันธุ์ เท่าไหร่เลยครับ

ฟังแล้ว มันแปลก ๆ

 

ดูแบ่งแยกชนชั้น ยังไงไม่รู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท