เทคโนโลยีกับการศึกษา


เทคโนโลยีกับการศึกษา

      ผมจบปริญญาตรี โท เอกทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา ในความรู้สึกตอนแรกคิดว่าดีที่เราจบปริญญาสามใบทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาจะได้รู้ลึกไปเลยในด้านนั้น แต่พอมาทำงานพบว่าความรู้แค่เพียงปริญญาไม่ใช่เพียงความรู้ที่จะนำมาใช้ได้ทั้งหมด แต่ยังมีสิ่งอื่นอีก ผมจำได้ว่าผู้ใหญ่มักจะพูดว่าอาบน้ำร้อนมาก่อน หรือเวลาที่ไปเรียนต่อปริญญาโท เค้าจะรับคนที่มีประสบการณ์ทำงานมาเรียน เพราะเค้าต้องการความรู้และประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกัน ไม่ใช่แค่ความรู้จากหนังสือตำราเท่านั้น เมื่อก่อนผมไม่เข้าใจว่าทำไมคนจึงคิดเช่นนั้น แต่เดี๋ยวนี้รู้แล้วว่าประสบการณ์หรือสิ่งที่มันสั่งสมผ่านเข้ามาในชีวิตมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่คนๆ หนึ่งจะเรียนรู้และถ่ายทอดออกมา การพูดมันง่ายกว่าการทำ การเขียนสิ่งที่พูดยิ่งยากกว่า และที่สำคัญการถ่ายทอดประสบการณ์จากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งใช้เวลาในการเรียนรู้เป็นปีๆ

    ในปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้ามาก สิ่งต่างๆรอบตัวก้าวหน้าและพร้อมที่จะทยานไปข้างหน้า ผมจำได้ว่าเมื่อสมัยที่ผมเริ่มเรียนคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ พวกพี่ที่เรียนปริญญาโทด้วยกันในรุ่นที่เป็นผู้ใหญ่กว่าหลายคนยอมรับละพร้อมที่จะศึกษา หลายคนปฏิเสธและกลัวว่าจะทำไม่ได้ สมัยก่อนนั้นสิ่งที่พูดกันมากคือเรื่องของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ถัดมาอีกสี่ห้าปี หลายคนพูดถึงเรื่องมัลติมีเดีย พูดถึงเรื่องการศึกษาทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเร้น อีก 1 ปีถัดมามีคนพูดและศึกษาเรื่องอินเทอร์เน็ต เผลอแพล็บเดียวอินเทอร์เน็ตและเว็บเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เหมือนวันไหนไม่ได้เข้าเว็บ เหมื่อนวันนั้นมันขาดอะไรไปสักอย่าง เทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

    "ลูกศิษย์ผมมารอพบอยู่ที่หน้าห้องครับ" กลุ่มนี้ทำเรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องปูทูลกระหม่อม เค้านำเรื่องปูทูลกระหม่อมซึ่งมีถิ่นฐานอยู่แถวมหาสารคามมาเป็นเคสให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรียนเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องของสิ่งแวดล้อม และให้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม โดยกิจกรรมการเรียนรู้ที่เค้ามีคือ 1. ให้ศึกษาเรื่องปูทูลกระหม่อมโดยการดูวิดีโอ 2.ให้ศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อม ความหมาย ประเภท ควาสำคัญโดยมีชุดกิจกรรม 3.พาไปศึกษาดูงาน เดินป่า ศึกษาธรรมชาติ ชีวิตของปู พันธ์ไม้ สมุนไพร วัฏจักรของธรรมชาติ ชีวิตของปู โดยในกิจกรรมให้นักเรียน ฝึกเรื่องของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือการสังเกต การตั้งคำถาม การหาคำตอบ 4 ให้นักเรียนสรุปความรู้ด้วยเพลง และการเขียนผังความคิด การวาดภาพ ผมว่าถ้ากิจกรรมนี้นำไปสอนจริงๆ เด็กๆ คงมีความสุขและได้ความรู้มาก

     ผมคุยกับนิสิตถึงเรื่องการทำงานว่าทำไมเงียบๆไปก็เพิ่งรู้ว่าที่โรงเรียนเค้ามีครู 1 คน ผอ.1 คนอยู่ที่อำเภอนครไทย เวลาเรียนหรือสอน เรียนจากโทรทัศน์ของไกลกังวลเป็นส่วนใหญ่ ครูส่วนใหญ่จัดการนักเรียน 8 ห้องให้สนใจเรียนก็แย่แล้ว ผมฟังแล้วอยากให้นิสิตที่เรียนระดับปริญญาตรีได้ไปสัมผัสชีวิตในโรงเรียนแบบนี้บ้างจัง

ยังเขียนไม่จบเลยนะครับวันหน้าค่อยมาเขียนต่อ

หมายเลขบันทึก: 3780เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2005 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (47)
ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก

ยินดีด้วยที่ยังติดตามและพัฒนางานเทคโนโลยีการศึกษา อีกทั้งยัง share ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

ขอบคุณที่สมัครเข้าชุมชน เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ฝากบอกเพื่อนๆและนิสิต เข้าร่วมชุมชนนี้ด้วย

วันนี้จะรีบประชุมวันหลังจะ Knowledge sharing ด้วย

ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก

เรียน ดร.รุจโรจน์ ที่เคารพ

     อยากจะบอกว่า...ขอบคุณสำหรับความรู้สึกดี ๆ ที่อาจารย์เคยเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาให้หนูค่ะ.....//  อืมม..ฝากถามความคิดเห็นนิ๊ดนึงค่ะ..คือว่าอาจารย์คิดว่าการที่อาจารย์เรียนจบทางด้านเดียวกันหมดเลย 3 ใบ เนี่ย !! ดีหรือไม่ดีค่ะ..เหอ ๆ สำหรับหนูนะ เรียนตรี - โท - เอก (กำลังเรียนเอก) ไม่เหมือนกันซักใบเลย ..เหอ ๆๆ  ม่ายรู้ว่าจะรอดหรือเปล่าเลยค่ะ...อิอิ...ถ้าเป็นไปได้ก็อยากเรียนทางด้านเดียวกันหมดเลยเหมือนอาจารย์ค่ะ... แต่ด้วยหน้าที่การงานอะไรหลาย ๆ อย่างทำให้บางครั้งต้องเบนเข็มไปเรียนในสาขาที่ขาดแคลนแทน...แง ๆๆๆ...

 

จาก คนสวย ป.โท..เทคโน รุ่น 2 (ภาคปกติ)

เห็นด้วยอย่างยิ่งที่บอกว่าความรู้ไม่ได้มาจากหนังสือหรือตำราอย่างเดียว ที่สำคัญประสบการณ์ที่สั่งสมจากการมีชีวิตในวันหนึ่ง ๆ แต่บางคนก็หายใจทิ้งไปวัน ๆ โดยไม่ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์...อาจารย์คิดว่าในฐานะที่เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษา ในส่วนตัวของอาจารย์ได้พัฒนาอะไรไปบ้างในของการพัฒนาการศึกษาในปัจจุบัน
ลูกศิษย์ ป.โท เทคโน รุ่น 7 (ภาคพิสดาร)

เรียน ดร.รุจโรจน์ ที่เคารพเหมือนกันค่ะ
การศึกษาในระดับเดียวกัน ไม่สามารถดึงไปพร้อมกันได้ เพราะตัวเทคโนโลยีนี้แหละค่ะ นักเทคโนฯ มักทำงานอยู่ในเมืองเพราะมีอุปกรณ์ช่วย จนละเลยสถานศึกษานอกเมือง (ชนบท) ที่ขาดแคลนเครื่องมือไฮเทค ทำให้การศึกษาไปพร้อมกันไม่ได้ความแตกต่างของการศึกษาจึงแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน ตราบใดที่รัฐไม่มีเงินสนับสนุนให้กับโรงเรียนชนบท การศึกษาของไทยก็คงจะฉุดดึงกันอย่างแตกต่างอย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้แหละค่ะ .... เคยเข้าอบรมเรื่อง การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของครู ... วิทยากรบอกว่าต่อไปนี้ครูเราต้องพัฒนาตัวเอง ทุกคนต้องมีโน๊ตบุ๊ค สั่งงานนักเรียน สอน เรียน ผ่านระบบเครือข่าย เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาให้เทียบเท่าต่างประเทศ หรือให้เป็นเลิศนะเอง...แต่ท่านอาจจะลืมไปว่า แล้วกว่าที่เราจะได้โน๊ตบุ๊คมา จะเอาเงินที่ไหนไปซื้อมันมาใช้เพราะหนี้สินของครูที่เป็นอยู่ปัจจุบันก็จะตายกันอยู่แล้ว แล้วถ้ามีปัญญาซื้อมา แล้วเรียนสอนกันผ่านระบบเครือข่ายทั่วประเทศ โรงเรียนในชนบทพร้อมหรือไม่ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีมาให้โรงเรียนละเครื่องนั้น มีบุคลากรที่มีความพร้อมมีความรู้ที่จะใช้มันมากน้อยแค่ไหน ดีไม่ดี ผอ.ยกเครื่องคอมฯ ไปให้ลูกเล่นที่บ้านดีกว่า (อิอิ) แล้วโอกาสที่เด็กจะได้เรียนรู้จากคอมพิวเตอร์จะเกิดขึ้นได้อย่างไร.... ที่ร่ายยาวมาเพราะอยากให้เราได้มองเห็นจุดบอดของการศึกษาของไทยที่ยากจะแก้ไข ตราบใดที่เงิน คน เทคโนโลยี ยังเข้าไม่ถึงชนบท ก็ยากจะแก้ปัญหาได้ ที่เข้ามาบล๊อกของอาจารย์รุจโรจน์เพราะชอบบทบาทของอาจารย์ค่ะ ถึงแม้ว่าอาจารย์จะไม่ค่อยมีเวลาเข้ามาพบกับลูกศิษย์ ป.โท รุ่น7 ภาคพิศดารที่อาจารย์เป็นที่ปรึกษาเท่าไร แต่คิดว่าอาจารย์เป็นคนหนึ่งที่จะสามารถจุดประกายให้หลาย ๆ คนมองเห็นความสำคัญของการศึกษา ช่วยกันว่าจะทำอย่างไรให้การศึกษาลดระดับความแตกต่างกันดีมั๊ยค่ะ

เห็นด้วยกับที่ว่าเทคโนโลยียังเข้าไปไม่ถึงชนบทที่แท้จริง

ตามนโยบายที่ว่าต่อไปครูต้องสั่งงานนักเรียน สอน เรียน ผ่านระบบเครือข่าย เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาซึ่งมีความเป็นไปได้ยากมาก เพราะปัจจัยหลาย ๆ ด้านไม่พร้อม เช่น ความพร้อมของสถานศึกษา ความพร้อมของครู ความพร้อมของผู้เรียน ซึ่งเป็นไปได้ยากมากสำหรับโรงเรียนระดับมัธยมประจำอำเภอ ฉนั้นโรงเรียนชนบทไม่มีทางเป็นไปได้เลย สรุป การศึกษาไม่มีวันเท่าเทียมกันได้ (ด้านเทคโนโลยี)

ด้วยความเคารพครับ

     ผมก็มีความรู้สึกเหมือนกับ ดร.รุจโรจน์ครับประสบการณ์มันต้องหาเองไม่สามารถหาซื้อได้ทุกอย่างที่เราศึกษาผมว่ามีประโยชน์ทั้งนั้น

 

คนที่มองเห็นอีกคน
ไม่ว่าเทคโนโลยีจะพัฒนาไปมากน้อยสักแค่ไหนก็ตาม  มันก็ยังเป็นแค่เพียงกระบวนการ  และวิธีการเท่านั้น  แต่ถ้าคนนำไปใช้ไม่รู้จักคุณค่าของมัน  เทคโนโลยีก็คงไม่มีความหมาย   เราจะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างไรให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ   สำนึกของนักเทคโนโลยี.
แชมป์กับน้ำตาล ป.โท รุ่น 8

เรียน  อาจารย์ดร.รุจโรจน์

เทคโนโลยีนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจริง ๆ บางครั้งเราศึกษาเทคโนโลยีเรื่องหนึ่งยังไม่เข้าใจก็มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา  บางทีเราก็ตามไม่ทันกับความก้าวหน้าของมัน  แต่เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมานั้นจะมีคุณค่าแค่ไหนคงอยู่ที่ผู้ใช้ได้ใช้เทคโนโลยีนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ?

ลูกศิษย์เทคโน ปี 49 รุ่น 8
เห็นด้วยกับอาจารย์  เพราะเทคโนฯมีบทบาทมากในชีวิตประจำวันทั้งเรื่องการทำงาน  และชีวิตส่วนตัว  ถ้าขาดไปก็ไม่สะดวก  มาเรียนเทคโนไม่ผิดหวังแน่นอน
นางสาวเนาวรัตน์ รอดเกตุ

เห็นด้วยกับ ดร.รุจิโรจน์ ที่ว่าความรู้แค่เพียงปริญญาไม่ใช่เพียงความรู้ที่จะนำมาใช้ได้ทั้งหมด แต่ยังมีสิ่งอื่นอีกมากมายที่จะนำมาพัฒนาความรู้ของเรา การศึกษาในระบบไม่สามารถพัฒนาคนให้มีความรู้ได้มากพอ ต้องอาศัยประสบการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน สังคม การเรียนคอมพิวเตอร์ไม่ได้จบแค่หลักสูตรเท่านั้น แต่เป็นการศึกษาตลอดชีวิตเลยก็ว่าได้ เพราะเราต้องก้าวทันยุคของเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา

เรียน ดร.รุจโรจน์ ที่เคารพ

                    สำหรับหนู ในฐานะสายครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ ยอมรับว่าต้องจากประสบการณ์มาก ๆๆๆๆๆ ค่ะ และปัจจัยสำคัญคือต้องมีเงินค่ะ สำหรับการจัดซื้อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โรงเรียนในเมืองส่วนใหญ่ค่อนข้างจะมีความพร้อม ส่วนในโรงเรียนที่ห่างไกล นอกจากสภาพพื้นที่แล้ว สิ่งสำคัญคือ งบประมาณ ถ้ามีเงินอะไรก้อทำได้ เหมือนโครงการโรงเรียนในฝันน่ะค่ะ อย่างน้อยต้อง 4 ล้าน ในการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนในฝัน ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ ด้าน ict ซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่น้อยสำหรับหาเงินซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่น้อยกว่า 100 เครื่องรวมทั้งอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำเพื่อพัฒนาการศึกษา การเรียนรู้ และการค้นคว้าของเด็กทั้งนั้น แต่ลืมนึกถึงตัวเงิน และที่สำคัญอีกตัวหนึ่งก็คือ ความพร้อมของบุคลากรในโรงเรียนที่ควรมีความรู้พอสมควรกับการใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาการศึกษาอย่างแท้จริงและเต็มศักยภาพ

เรียน  ดร.รุจโรจน์ 

  • ครูอ้อยเคยอ่านบทความและศึกษาในเว็บไซต์ของอาจารย์
  • ตัวเองมีความสนใจในเรื่องเทคโนโลยี  มีความสามารถเบื้องต้น  กำลังศึกษาในสาขาเทคโนโลยีการศึกษา  กำลังท้อแท้บ้างในบางวันที่ยังไม่ได้หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ 
  • บางวันมีกำลังใจเพราะรุ่นพี่บอกว่า  ปี 2 ก็ทันที่จะศึกษาหาข้อมูล  ตอนนี้ 
  • ครูอ้อยกำลังทบทวนวรรณกรรมเรื่อง e-Learning  ไม่ถึงกับเก่ง  แต่สนใจและพร้อมที่จะเรียนรู้ค่ะ 
  • อาจารย์มีอะไรแนะนำครูอ้อยด้วย  เป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

ดิฉันเห็นด้วยกับอาจารย์เป็นอย่างยิ่งในเรื่องของประสบการณ์การทำงานที่ว่ามีผลต่อการศึกษาต่อหรือสมัครงาน  เพราะความรู้จากประสบการณ์มันมีค่าและหายากกว่าการเรียนรู้จากหนังสือ  แต่ถ้าหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ยังไม่มีประสบการณ์มาทำงานแล้วคนเหล่านั้นจะหาประสบการณ์มาจากไหน

ณัฐพล รักเสนาะ 49072183

 ด้วยความเคารพอย่างสูง

   ผมคิดว่าเทคโนโลยีนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไปแล้วแต่คนจะนำไปใช้ในทางด้านใหน

ลูกศิลย์    

 49072183

ศุภเชษฐ์ ปั้นประเสิรฐ

ผมว่าเทคโนโลยีสามารถช่วยลดภาระทางการสอนให้กับครูได้ถ้าหากการนำไปใช้ให้ถูกต้องตามวัถุประสงและความจำเป็นของเทคโนโลยีประเภทนั้นๆ

           

ใช่ค่ะในปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้ามาก สิ่งต่างๆรอบตัวก้าวหน้าและพร้อมที่จะทยานไปข้างหน้า แต่การพัฒนาคนให้ทันกับเทคโนโลยีนั้นไม่ทันกับเทคโนโลยี เพราะคนที่ใช้เทคโนโลยีอยู่ในวงแคบ ๆ เพราะยังขาดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี เพราะไม่มีการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรในการใช้และผลิตเทคโนโลยี
อนงค์นาถ สถิตย์น้อย ป.โท ปี 1 รุ่น 9

เนื่องจากในยุคปัจจุบันทางด้านเทคโนโลยีได้เจริญก้าวหน้ากันไปมาทำให้บ้างครั้งเราจัดการเรียนการสอนต้องนำสื่อทางด้านเทคโนเข้าช่วยเพื่อให้ทันยุคทันสมัยและเพื่อความรวดเร็วในการจัดการเรียนการสอน และยังช่วยให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้รวดเร็วกว่าเดิมและสนุกสนานกับการเรียนการสอนแบบสัยที่ไม่ใช้การท่องจำบทกระดานการดูภาพถ่ายธรรมดาโดยที่ไม่ได้มีการทดลองลงมือปฏิบัติจริง

กุลชาดา โตโภชนพันธุ์ 49072015(แอน)รุ่นที่8

เห็นด้วยว่าการเรียนเทคโนโลยีควรเรียนจากในห้องเรียนและนอกห้องเรียนในอินเทอร์เน็ตได้และควรมีประสบการณ์ในการได้ทำจริงจนคล่องสามารถทำได้ง่ายจากที่ไม่ได้เลยนำไปใช้ในการทำงานด้วยได้ยิ่งดี ความก้าวหน้าของเทคโนโลมีมากขึ้นจนตามไม่ทันเกิดสิ่งใหม่ๆของเทคโนฯมากมาย แต่ในชนบทก็ยังขาดแคลนความเป็นจริงในชีวิตที่ว่าคนในสังคมยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก ทั้งด้านการเรียน การเงิน และที่สำคัญคือโอกาสในการเรียนรู้สิ่งต่างๆไม่เท่ากัน อยากให้มีการพัฒนาด้านจิตใจมากๆควบคู่ไปกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะนำมาช่วยให้ชีวิตเราง่ายขึ้นถ้าเรารู้จักใช้ให้เป็นเพราะเทคโนโลยีก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่เราต้องเป็นผู้เลือกที่จะรับเอง

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากๆ ถ้าให้วิ่งตามให้ทันในทุกๆเรื่องนั้นก็คงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นในการใช้เทคโนโลยีให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น บางครั้งก็ต้องอาศัยความสนใจของผู้ใช้เหมือนกัน

เล่นของสูง เทคโนฯ รุ่น 8

เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์เราตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถีงเข้านอนโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ที่มีอิทธิพลมากสำหรับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ตั้งแต่เด็กอนุบาล-อุดมศึกษา ซึ่งเทคโนโลยี ได้เข้ามาในวงการศึกษามากขึ้นจากการสนับสนุนของภาครัฐ แต่การเรียนการสอนในระดับประถมตามชนบท จะมีปัญหาและขาดความพร้อมในด้าน อาคารสถานที่ อุปกรณ์ ครูผู้สอน และผู้เรียนที่ยังขาดความสมดุลในการศึกษาที่ไม่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกับการศึกษาในเมือง

การที่คนเราจะรู้รอบ รู้ลึก ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าลืมว่า ความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้นไม่สามารถนำเอาไปใช้ในชีวิตได้ทั้งหมด จะต้องนำเอาความรู้อื่น ๆ เข้ามาประกอบด้วย เพราะฉะนั้นในความคิดเห็นของข้าพเจ้าแล้วคิดว่า ควรเป็นการหาความรู้ในลักษณะที่หลากหลาย แล้วนำมาบูรณาการให้เข้ากับการดำรงชีวิต ให้มีความสุข ก็จะดีที่สุด

เทคโนโลยีช่วยสอนให้คนเป็นคนที่ทันสมัยและก้าวนำไปพร้อมกับโลกเทคโนฯจริงๆ

นางยุพาพิน ตาลเลี้ยง เทคโน รุ่น 8 เมื่อ 07 ต.ค. 2549 @ 12.00

เห็นด้วยกับ ดร.รุจิโรจน์ คะ  เพราะเทคโนโลยีมีส่วนทำให้เรารู้จักพัฒนาตนเอง ทำให้เรารู้จักใช่เทคโนโลยี่เข้ามาช่วยในการศึกษา และการทำงาน

   เทคโนโลยีมีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อมนุษย์  มีทั้งข้อดีและข้อเสียควรใช้ให้เหมาะสมและถูกทาง 
วิชัย สิทธิพันธ์ 49072688

เรียน...ดร.รุจโรจน์

เห็นด้วยกับอาจารย์และความเห็นอื่นๆ ที่ว่ายุคนี้อะไรๆก็เป็นเทคโนโลยีไปซะหมด ทุกอย่างมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก จนบางทีการที่เราไม่เดินตามมันก็อาจทำให้เราล้าสมัยหรือตกยุคไปเลย การเรียนรู้จึงไม่มีคำว่า "จบ" การศึกษาเป็นการให้โอกาสคนได้พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ การเรียนจึงเป็นส่วนหนึ่งของสร้างประสบการณ์ และประสบการณ์และความรู้ที่เราได้รับนี่แหละที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานต่อไป ดีใจครับที่ได้มาเรียน เทคโน ที่นี่ ซึ่งจะไม่ได้แค่เพียงกระดาษหนึ่งใบ

เรียน อาจารย์ ดร.รุจโรจน์ เห็นด้วยครับกับอาจารย์ การเรียนรู้ไม่ใช่ได้อยู่แค่ที่ในห้องเรียนเท่านั้นการเรียนมันต้องเรียน เวลาไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเป็นครูผู้สอนเราได้หากเรารู้จักที่จะเรียนรู้จากสี่งนั้น
วราภรณ์ สุทธหลวง รหัส 49072657
การศึกษาปัจจุบันเป็นการศึกษาที่ควบคู่ไปกับเทคโนโลยี และเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วทำให้เราต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มขึ้น  การที่คนเราจะมีความรู้ลึกในเรื่องต่าง ๆ นั้นอาจไม่จำเป็นที่จะต้องมีใบปริญญาในสาขานั้น ๆ หลายใบ การแสวงหาความรู้และศึกษาในเรื่องต่าง ๆ มากกว่าจะนำให้ตนเองมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน บางคนมีใบปริญญาแต่อาจจะไม่ได้มีความรู้ลึกในเรื่องนั้น ๆ ก็ได้ ดิฉันเห็นด้วยกับอาจารย์ที่ประสบการณ์ทำให้คนเรามีความรู้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการคบเพื่อนที่ห้องเรียน หรือที่ทำงาน ทำให้เรามีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ได้มากขึ้น สังคมอาจสอนเราให้เรามีความรู้ในเรื่องที่เราไม่รู้ และสามารถนำมาใช้ในอชีวิตได้ และประสบการณ์ตรงนี่แหละที่ดิฉันคิดว่า มีประโยชน์ในการศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างมาก  ขอบคุณค่ะ
กุลชาดา (แอน)ป.โท ปี1 เทคโนฯ 49072015

เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในหลายๆด้านรวมทั้งด้านการศึกษาด้วย ซึ่งก็มีทั้งผลดีมากมายและผลเสียก็มี แล้วแต่จะเลือกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์   การเรียนรู้โดยได้ทำจริงอย่างปูทูลกระหม่อมก็น่าสนใจ เด็กๆจะได้เรียนรู้และกระตือรือร้น สนุกกับการเรียนมากขึ้น  การเรียนบางครั้งก็ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้สำเร็จอย่างเต็มความรู้ ไม่ว่าจะความพร้อมด้านเงิน ร่างกายจิตใจฯลฯ เพราการเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ต้องเรียนรู้ไปตลอดชีวิต

เขมรัฐ วัลลังกา 49072022
เหมือนที่เคยได้ยินอาจารย์ท่านหนึ่งที่พูดไว้อย่างกินใจว่า ใบปริญญานั้นเปรียบได้สองอย่างคือ 1.ใบการันตี ความฉลาด ก็เป็นได้  หรือถ้าคิดอีกแง่หนึ่ง คือ 2. ใบการันตี ในความโง่ก็ได้   คนที่จบไปไม่ใช่ว่าจะรู้หมด หรือบางทีอาจจะไม่ใช่คนที่เก่งไปซะหมดทุกเรื่อง คอมพิวเตอร์มันเป็นศาสตร์สาขาวิชาที่กว้างขวางมาก ยิ่งเป็นเรื่องของเทคโนโลยีมันไม่มีที่สิ้นสุด มีการพัฒนาขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา  คิดจะใช้เทคโนโลยีเราก็ต้องตามเทคโนโลยีให้ทัน อย่าคิดว่าจะจบป.โท หรือ ป.เอกแล้ว  เราจะอยู่ค้ำฟ้า ถ้าเราไม่ตามเทคโนโลยีตราบนั้นความรู้และโลกทัศน์ของเราก็จะอยู่แต่เพียงห้องแคบๆ  เท่านั้น เห็นด้วยกับความคิดของท่านอาจารย์นะครับ  (เหมือนจะสอบผ่านปรัชญาเลยนะ  แต่ก็ตก  ขอบอก  คิคิ)
เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ  สิ่งที่สำคัญคือประสบการณ์และการเรียนรู้
เห็นด้วยกับอาจารย์นะคะ การศึกษาไม่ได้อยู่ที่สถาบันเพียงเดียวแต่การศึกษาเป็นการเรียนตลอดชีวิต เราศึกษาตั้งแต่อยู่ในท้อง ศึกษาในสถาบันการศึกษา และศึกษาเพื่อใช้ในการทำงาน การศึกษาเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตเท่ากับเราศึกษาภาคทฤษฎีเท่านั้น มันจะไม่สามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาแนวทางให้กับเรา

เทคโนจะมีคุณค่าเมื่อผู้ใช้รู้จักใช้ รู้คุณค่าของเทคโน และมีคุณธรรม

ผู้ใช้ต้องรู้จักเทคโน และสามารถถ่ายทอดได้
ปรีชญา เทคโนฯ ปี 1 (49072459)

การศึกษาไม่ใช่มีอยู่เพียงแค่ในห้องเรียนเท่านั้น เพราะการศึกษาคือชีวิต แม้เราจะเีรียนจบมาแล้ว ก็ยังต้องมาเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อหาประสบการณ์ในชีวิตประจำวันอีก  ดังนั้นเพียงแค่ใบปริญญาจึงไม่สามารถบอกได้ว่าคุณเรียนจบแล้ว  หากแต่ว่ายังคงต้องเรียนรู้จากการดำเนินชีวิตประจำวันอีก

คงต้องยอมรับอย่างหนึ่ง เทคโนโลยี ไม่ใช่การท่องจำ แต่เป็นการแสวงหา และหมั่นฝึกฝน ปริญญาไม่ใช่สิ่งที่วัดว่าคุณเก่งได้ แต่วัดได้ว่าคุณสนใจแค่ไหน การเรียนเทคโนฯไม่ใช่สิ่งที่บอกได้ว่าคุณกำลังจะเป็นสุดยอดของเทคโนโลยี แต่แสดงว่าคุณกำลังเริ่มเข้าสู่การแข่งขันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ความทันสมัยของเทคโนโลยี   การเป็นนักเทคโนที่เก่งยาก... แต่การนำเทคโนฯมาใช้ให้เกิดประโยชน์เท่านั้น ยากยิ่งกว่า .... '_'

การศึกษามีอยู่ทั่วไป  มีอยู่ในทุก ๆ  ที่  โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีเข้ามามีทบบาทในการศึกษาของยุคเรามากขึ้น  ยุคที่เทคโนโลยีแทบมาเป็นส่วนหนึ่งคู่กับการศึกษา  มีทั้งกระแสที่ดี  และไม่ดี  นักเทคโนโลยีจึงจำเป็นต้องมีสามัญสำนึกในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่ดีต่อไป 

จุฑารัตน์ อุ่นไพร

ไม่ว่าการศึกษา  และเทคโนโลยีจะพัฒนาไปมากน้อยแค่ไหนก็ตาม  นั้นก็เป็นเพียงแค่เครื่องมือที่จะนำไปใช้เท่านั้น  มนุษย์เราที่ใช้เทคโนโลยีนี่แหละที่สำคัญ  ว่าเราจะใช้มันอย่างมีคุณค่ามากแค่ไหน  และใช้อย่างไรให้มีค่าเอื้อประโยชน์ให้มากที่สุด  สำนึกที่ดี  กับความซื่อสัตย์ในหน้าที่  เป็นสิ่งที่ต้องมีอยู่คู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน

เทคโนโลยีจะถูกนำมาใช้ให้มีประโยชน์กับกลุ่มที่ให้ความสำคัญเท่านั้น  คนที่ใช้เทคโนโลยีได้ดี  ก็ต้องรู้ด้วยว่ามันมีผลดี  และเสียอย่างไร  และเราต้องปรับอย่างไรให้เหมาะกับสภาพที่เป็นอยู่  ตามสภาพจริง ๆ 

ครูหนึ่งคน กับนักเรียนอีก 8 ห้องเรียนถ้าเราจะพูดกันเล่น ๆ ใครเขาก็ยากจะเชื่อ  แต่ความเป็นจริงแล้วมันก็ยังคงมีอยู่ในสังคมของการศึกษาของเรา  เทคโนโลยีถ้าถูกนำมาใช้ได้จริง ๆ  และทั่วถึง  เทคโนโลยีก็จะช่วยให้ตัวนักเรียนได้ความรู้ที่กว้างขวางขึ้น  และคุณภาพก็คงจะดีขึ้นเช่นกัน  คาดว่าวันพรุ้งนี้ก็คงจะมาถึง  หวังไว้อย่างนั้นจริง ๆๆ

การเรียนรู้เทคโนโลยีอย่างมีขอบเขตและรัดกุม จะนำพาสังคม ไปในทางที่เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ การที่คนเราคิดว่าวัตถุอยู่สูงกว่าจิตใจ

คือ การผิดพลาดในความคิด  แต่ให้เรารู้จักว่าสิ่งนั่นคือวัตถุ ที่ต้องใช้อย่างพอเพียงและไม่สิ้นเปลือง

ถามว่าภัยที่เกิดจากน้ำท่วม คอมพิวเตอร์ช่วยให้เราเอาตัวรอดได้มั้ย ถ้าว่ายน้ำไม่เป็น เราต้องฝึกให้ทุกคนรู้จักคิด รู้จักใช้   การเรียนเทคโนโลยีคือการฝึกฝนที่ไม่ใช่อยู่ในตำราเรียนอย่างเดียว เพียงเล่มเดียว หรือ แค่สังคมเดียว  จบโทมาแล้วคุณได้อะไร จะทำอะไรเพียงเพื่อตัวเอง  หรือจะทำเพื่อสังคม นี่คือคำถาม

ใครจะไปรู้ว่ายุคนี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีอย่างมาก มันเข้ามามีบทบาทกับชีวิตเราหลายอย่างจนเราไม่รู้ตัว บางครั้งก็งง ว่าเป็นกี่ยวข้องกันได้อย่างไร ประโยชน์ก็เยอะโทษก็มหันต์ ต้องระวังการใช้อย่างมาก รู้สึกดีที่ใช้เทคโนโลยีเป็น แต่ความก้าวหน้าความล้ำนำสมัยของมันไม่หยุดอยู่กับที ต้องมีการพัฒนาไปเรื่อย ๆ ไม่งัยเป็นคนตกยุคแน่

จุฑารัตน์ ทาทิพย์

เทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็นกับชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะพูดหรือทำอะไรจะต้องมีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องตลอด มันสามารถทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในโลกนี้เจริญขึ้นจริง ๆ มันสามารถสอนคนโง่ให้เป็นคนฉลาดได้ สอนให้คนฉลาดเป็นคนโง่ได้ แปลกจริงแฮะ เทคโนโลยี

สวัสดีก่อนครับ

คนทั่วๆไปส่วนมากจะเน้นอะไรที่ได้มาง่ายๆและส่วนนั้นก็จะจากไปแบบรวดเร็วแต่ไม่เข้าใจว่าแก่นแท้ของเนี้อหาสาระนั้น มันมีความรู้มากมายน่าค้นหา น่านำเอาความรู้เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาที่แท้จริง ประสบการณ์ในการทำงาน สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราก็คือพลังแห่งความรู้ที่จะนำเอาไปใช้ในการเรียนการสอน ที่สำคัญคือผู้ใช้จะต้องมีแนวคิด และส่วนต่างๆก็จะตามมา

                                              

สุรศักดิ์ บินดาโอ๊ะ

จริงอย่างที่พูด

อ่านแล้วก็พอเข้าใจครับว่า เทคโนโลยี วิ่งเร็วมากๆ 
ผมวิ่งตามได้เท่าที่สนใจและได้ใช้งานประจำครับ  
ที่เหลือปล่อยให้แซงไปก่อน  ตามไม่ไหว...

ส่วน การศึกษาสำหรับผมเกิดขึ้นได้ทุกวัน
โดยเฉพาะศึกษาในเทคโนโลยีที่ผมวิ่งตามครับผม

 

จาก เด็ก ม.น. ป.โท..เทคโนฯ รุ่น 6 (เสาร์-อาทิตย์)

ภัทราภรณ์ ป.โทเทคโนฯรุ่น10

เห็นด้วยกับอ.หนึ่งค่ะ การศึกษาทุกอย่างนั้นก็ต้องมีความรู้ 2 อย่างนั่นคือความรู้จากตัวครูและความรู้จากตัวเราเอง นอกจากนี้อาจจะเป็นความรู้รอบโต๊ะอีกด้วยค่ะ ความรู้เป็นสิ่งที่ไม่มีวันสิ้นสุด... การเรียนเทคโนโลยีนั่นไม่จำเป็นท่องจำมากขึ้นอยู่กับความเข้าจัย..แสวงหาและหมั้นฝึกฝนนัยเทคโนโลยีม๊ากมาก...ก็จะดีเอง การที่จะเป็นนัก

เทคโนฯนั้นว่ายากแล้ว แต่การที่จะนำเทคโนฯไปใช้นั้นย๊ากยาก...ยิ่งกว่าอีกนะ

จาก เหมียวเทคโนฯรุ่น10(เสาร์-อาทิตย์)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท