เตรียม “ไม่สอน” นักศึกษาปริญญาเอก (ต่อ)


ให้คิดอย่างอิสระ อย่าติดกรอบทฤษฎีใด ๆ

เตรียม ไม่สอน นักศึกษาปริญญาเอก (ต่อ)

         ดังได้เล่าเรื่อง ไม่สอน นศ. ปริญญาเอกที่ มทษ. ไว้แล้วที่นี่    ผมเตรียมการเรียนการสอนครั้งต่อไปในวันที่ ๒๕ กค. ๔๙ โดยส่ง อีเมล์ ไปให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาดังนี้ 

เรียน  ดร. อุทัย  เอกสะพัง  ที่นับถือ    

       ผมขอกำหนดเรื่องการเตรียมตัวเรียนรู้วันที่ 25 ก.ค.49  ดังนี้   ให้นักศึกษาเข้าบล็อก http://gotoknow.org  แล้วค้นด้วย Google ด้วยคำหลักว่า โรงเรียนชาวนา   เลือกเฉพาะบทความหรือบันทึกเกี่ยวกับโรงเรียนชาวนาสุพรรณบุรี  ซึ่งคงจะมีหลายสิบบันทึก   ให้นักศึกษาแบ่งกันอ่านและช่วยกันตีความว่า      

     เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในเกษตรกร   จะต้องมีการดำเนินการอย่างไรบ้าง   มีปัจจัยอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยหลักสำหรับการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดังกล่าว     

      ขยายความว่าให้นักศึกษาสมมติตนเองเป็น

  • สมาชิก อบต. หรือ นายก อบต.
  • ผู้นำชุมชนที่มีส่วนในการทำแผนแม่บทชุมชน
  • เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของกระทรวงเกษตร
  • ครู
  • ผู้ว่าราชการจังหวัด
  • สมภารวัด
  • ชาวบ้านธรรมดา
  • โต๊ะอิหม่าม
  • อาจารย์มหาวิทยาลัย
  • ฯลฯ 

แล้วลองคิดเสนอว่าตนจะทำ/ไม่ทำอะไร  อย่างไร (คิดอย่างเป็นพลวัต  ไม่เป็นเส้นตรง) บ้าง   เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ขึ้นในชุมชน    

       คำแนะนำคือให้คิดอย่างอิสระ   อย่าติดกรอบทฤษฎีใด ๆ     

      วันที่ 25 ก.ค.49  ผมจะมา 2 คนกับคุณอุรพิณ  ชูเกาะทวด ผู้ช่วยของผม   เพื่อให้อุรพิณทำหน้าที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในฐานะตัวแทน สคส. ว่าเธอมองเรื่องนี้อย่างไร   โดยผมจะออกค่าตั๋วเครื่องบินให้เธอเอง   และทาง มทษ. ไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่มอีกครับ

                                   วิจารณ์  พานิช 

                                    5 ก.ค.49  

     ต่อมา วันที่ ๖ กค. ๔๙  ผมมี อีเมล์ ไปอีกหนึ่งฉบับ ดังนี้  

   เรียน  ดร. อุทัย  เอกสะพัง ที่นับถือ   

        ผมมีทางเลือกประเด็นศึกษาให้นักศึกษาใช้เป็นกรณีตัวอย่างเพื่อศึกษาทำความเข้าใจเรื่องวิธีการพัฒนาวัฒนธรรมเรียนรู้ขึ้นในตัวเองและในชุมชน/องค์กร    

       ประเด็นใหม่ให้เลือกคือเรื่อง แผนที่คนดี ซึ่งถ้าเข้าไปใน gotoknow.org แล้วค้นด้วย Google ก็จะได้บทความเรื่องนี้มากมาย   โดยเฉพาะเรื่องโครงการแผนที่คนดีที่เกาะลันตาใหญ่ จ.กระบี่   

        สามารถติดต่อขอรายงานผลการวิจัยฉบับเต็มได้จาก รศ. ประภาภัทร  นิยมหรือจากศูนย์พัฒนาแผ่นดินเชิงคุณธรรม ww.moralcenter.or.th   โทรศัพท์ 0-2282-7318-21    

       นศ.สามารถเลือกว่าจะใช้โจทย์โรงเรียนชาวนาหรือแผนที่คนดีก็ได้   โดยจะรวมตัวกันทั้ง 12 คนเลือกเรื่องเดียวหรือแบ่งเป็น 2 กลุ่ม   เลือกกลุ่มละเรื่องก็ได้   มอบให้ตัดสินใจกันเอง   โจทย์สมมติตัวเองเป็นคนในท้องถิ่นต่างบทบาทก็ยังเหมือน e-mail เมื่อวาน    

       คุณอุรพิณ (อ้อม) จะช่วยให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ 

                                         ขอแสดงความนับถือ

                                          วิจารณ์  พานิช          

        นี่คือตัวอย่างวิธี สอนแบบไม่สอน แก่ นศ. ปริญญาเอก    ผมก็ไม่ทราบว่าวิธีนี้จะดีหรือไม่    เดาว่าในด้านให้ได้เนื้อหา คงสู้การบรรยายไม่ได้    แต่ในด้านการได้วิธีเรียนรู้   ได้ฝึกเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้กันเองในหมู่ นศ. วิธีของผมน่าจะดีกว่า    ผมมีความเชื่อว่า นศ. ปริญญาเอก ควรเน้นการเรียนวิธีเรียนรู้ วิธีสร้างความรู้ วิธีประเมิน ประมวล ความรู้     ไม่ใช่เน้นเรียนเนื้อวิชา

 วิจารณ์ พานิช

 ๘ กค. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 37795เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2006 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
     หากการเรียนในระดับ ป.เอก มีการเรียนการสอนอย่างนี้ ผมคงไม่นึกกลัวอย่างที่เคยนึก และคงไม่กลัวหากมีโอกาสบ้างครับ
  • โรงเรียนชาวนามีประเด็นที่น่าศึกษาหลายประเด็นเลยครับ ถ้านักศึกษาได้เรียนวิธีเรียนรู้ วิธีสร้างความรู้ วิธีประเมิน ประมวล ความรู้  
  • ฝากคนข้างบนไปสมัครเรียนด้วยครับ

หลักสูตรปริญญาเอกแต่ละที่จะต่างกันและจะได้ผลลัพธ์สร้างคนที่แตกต่างกัน ผมขอ ลปรร. หลักสูตรที่ผมผ่านมานะรับ

ดร.จันทวรรณ และผมเรียนจบปริญญาเอกมาโดยไม่เคยถูก "สอน" เลยครับ

ที่ IS, UMBC ในวิชาที่เรียนมาทั้งหมดไม่มี lecture เลย ยิ่งกว่านั้นไม่มีการ "สอบ" ด้วยซ้ำ การเรียนคือ "active learning" ซึ่งออกแบบมาเพื่อสร้างนักวิจัยครับ

หลักสูตรนี้วัดผลกันที่ papers ที่ published ได้ใน journals หรือ conferences ครับ เริ่มต้นปีที่สองก็มี independent studies ถึง 4 ตัวเพื่อเปิดโอกาสให้ทำ papers ถ้าผลงานใช้ได้ผ่าน dossier reviews มาในแต่ละปีก็ส่งไปเข้ากระบวนการทำ dissertation เลย ถ้าไม่ผ่านก็ลง independent studies ซ้ำต่อเรื่อยๆ ไปเพื่อทำ papers ตีพิมพ์จนกว่าจะผ่าน ดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่นี่

ผมคิดว่าหลักสูตรแบบนี้มีข้อดีคือสร้างนักวิจัยที่มีความคิดอิสระเป็นของตัวเองได้ แต่มีข้อเสียคือคนจบมาจะ "สอน" ไม่เป็น และไม่เข้าใจว่าทำไมต้อง "สอน" ด้วยครับ

จากการทำงานมาถึงวันนี้ ผมคิดว่าข้อเสียก็ไม่ได้เลวร้ายเท่าไหร่นักเมื่อเทียบกับข้อดีที่ได้รับจากหลักสูตรแบบนี้

ผมเชื่อว่าประเทศไทยเราต้องมีหลักสูตรแบบ "ไม่สอน" บ้าง เราจะได้สร้างคนที่หลากหลายมากขึ้นครับ

  ผู้ใหญ่ที่ผมเคารพนับถือเคยลุ้นให้ผม สมัครเรียน ป.เอกที่เปิดใหม่ ณ ที่แห่งหนึ่ง ... ผมเกือบตัดสินใจ ช่วยเรียน ให้สักคนหนึ่งแล้ว  และกะว่าจะไม่ทำให้เสียชื่อ "รุ่นแรก" แต่พอเห็นหลักสูตรแล้วก็เปลี่ยนความคิดทันที เพราะ มี Coursework มากไป ผมกลัวถูกสอนมาก เลยไม่เรียนครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท