จรรยาบรรณของนักปกครองท้องถิ่น


จรรยาบรรณของนักปกครองท้องถิ่น

จรรยาบรรณของนักปกครองท้องถิ่น

 

คำว่า  จรรยาบรรณ  นั้น  หากยึดตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “ประมวลความประพฤติที่ ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก  โดยอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้”  ซึ่งแม้จะให้ความหมายสอดรับกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Ethics (มีรากศัพท์จากภาษากรีก  etos =  custom and habits )  ที่เรารับมาใช้ในความหมายของ Professional Ethics   แต่ก็ไม่ถึงกับตรงความหมายเสียทีเดียวนัก ยังคงมีการเหลื่อมความหมายระหว่างคำศัพท์ทั้งสองนี้อยู่ค่อนข้างมาก  เพราะคำว่า  Ethics อาจถูกนำไปใช้ในความหมายอื่นๆ  ได้ด้วยนอกเหนือไปจากเรื่องจรรยาบรรณ  

ในยุคสังคมปัจจุบันระบบการปกครองมีความหลากหลายการกระจายอำนาจก็มีมากขึ้นแต่ในขณะเดียวกันองค์กรการปกครองปัจจุบันมีองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนมีการแข่งขันสูงจนบางครั้งนักปกครองท้องถิ่นก็ขาดจริยธรรมในการปกครองมักจะมองนายทุนหรือหัวคะแนนมากกว่าความอยู่ดีกินดีของประชาชนซึ่งบางท้องถิ่นมักจะมองคะแนนเสียงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพราะหวังอำนาจที่จะเกิดขึ้นในอนาคตระบบการซื้อเสียงก็มีมากขึ้นแม้กระทั้งการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นระดับล่างจะเห็นได้ว่าถ้าเป็นแบบนี้คนที่ขึ้นมาเป็นผู้นำที่เป็นคนดีมีคุณธรรมก็จะหายากขึ้นแต่กลับกลายเป็น ใครมีเงินมากก็สามารถขึ้นมาเป็นผู้นำได้  ผู้นำวัดกันที่เงินหรือวัดกันด้วยความดี ทั้งนี้เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมและมีการติดต่อสื่อสารระหว่างทั่วโลก มีผู้สำรวจพบว่า องค์กรที่มีอายุยืนยาวและชนะคู่แข่งขันต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม องค์กรที่ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องจะอยู่ไม่ได้ ทั้งนี้ได้มีการกล่าวถึงเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม ของผู้มีอำนาจ หรือผู้บริหารในภาครัฐ รวมไปถึงผู้บริหารระดับสูงขององค์กรในภาคเอกชน อย่างกว้างขวาง หลาย ๆ องค์กรพยายามที่จะสรรหา ควานหา แย่งตัว ซื้อตัว "คนเก่ง" ที่เป็นทั้ง "คนเก่ง" และ "คนดี" แต่ถ้าองค์กรใด ได้คนเก่งที่เป็นคนไม่ดีแล้ว คงจะไม่เป็นผลดีแก่องค์กรแน่ ความจริงอย่างหนึ่งคือ องค์กรต่าง ๆ มักจะมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรระดับกลาง ถึง ระดับล่าง มากเกินไป จนละเลยการพัฒนาฝึกอบรม ผู้บริหารระดับสูง ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ควรมีการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง ในด้านหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม หรือจรรยาบรรณในการบริหาร

ผู้บริหาร ที่ดีนั้นควรจะมี หลักธรรมที่เรียกว่า พรหมวิหาร 4 (Holy Abiding) ได้แก่

. เมตตา (Living Kindness) แปลว่า ความรัก หมายถึง รักที่มุ่งเพื่อปรารถนาดี โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ และหวังให้ผู้อื่นมีความสุขทั้งกายและใจความสุขอันเกิดจากความรักเป็นความสุขที่ดีที่สุด

. กรุณา (Compassion) แปลว่า ความสงสาร หมายถึง ความปรานี ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ สงเคราะห์สรรพสัตว์ที่มีความทุกข์ให้หมดทุกข์ตามกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์ความสงสารนั้นอาจมองได้หลายอย่าง เช่น

. มุฑิตา (Sympathetic Joy) แปลว่า มีจิตอ่อนโยน หมายถึง จิตที่ไม่มีความอิจฉาริษยาเจือปน มีอารมณ์สดชื่นแจ่มใสตลอดเวลา

. อุเบกขา (Neutrality)แปลว่า ความวางเฉย นั่นคือ มีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่มากระทบ และทรงความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อผู้ใดผู้หนึ่ง

หลักพรหมวิหารเป็นหลักธรรมที่นักปกครองต้องนำมาปฎิบัติเพราะนั้นคือหลักขั้นพื้นฐาน

          ผู้บริหาร ที่ดีนั้นควรจะมี ธรรมะที่เรียกว่า สังคหวัตถุ 4 (Base of Sympathy) ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจผู้อื่น หรือธรรมเพื่อให้คน เป็นที่รักของคนทั่วไป อันได้แก่

. ทาน (Giving Offering) คือการให้ เสียสละสิ่งของที่เหลือใช้หรือมีมากอยู่แล้วก็ควรแบ่งปันแก่อ    

            ผู้อื่นที่เขามีความลำบากมากกว่าเราเพราะการให้ทานที่เป็นประโยชน์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นการ  

            ให้ทานแบบใหนถ้าผู้ให้พอใจผู้รับพอใจก็ถือว่าเป็นการให้ทานที่บริสุทธิ์

. ปิยวาจา (Kindly Speech) คือ พูดจาด้วยถ้อยคำสุภาพ นุ่มนวล เหมาะแก่ บุคคล เวลา สถานที่ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ พูดในทางสร้างสรรค์ พูดให้เกิดเกิดพลังใจเพราะการเป็นนักปกครองคำพูดคืออาวุธที่สำคัญที่สุดบางครั้งคำพูดเพียงคำเดียวอาจทำให้อำนาจที่มีอยู่หายไปเลยก็ได้เขาถึงบอกว่าอาวุธที่รายแรกที่สุดก็คือคำพูด ถ้าผู้บริหารสามารถที่จะพูดดี ทำดี คิดดี ก็จะเป็นนักปกครองที่ดีได้เช่นกัน

. อัตถจริยา (Useful Conduct) ทำตนให้เป็นประโยชน์ ตามกำลังสติปัญญา ความรู้ ความ สามารถ กำลังทรัพย์ และเวลาที่มี อย่างไม่เป็นที่เดือนแก่ตน หรือผู้อื่น   เมื่อพร้อมจะมาเป็นนักปกครองแล้วก็ใช้ความรู้ความสามารถให้เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่นนั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้การที่นักปกครองอาสาประชาชนเข้ามาบริหารหรือปกครองท้องถิ่นก็ควรทำตนให้เป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่นนั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เพราะนั้นคืออำนาจที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเมื่อผู้ที่ต้องการอำนาจได้อำนาจมาแล้วก็ต้องรักษามันไว้ให้นานที่สุด

. สมานัตตตา (Even and Equal Treatment) คือวางตนให้เสมอต้น เสมอปลาย วางตนเหมาะสมกับ

           ฐานะ ตำแหน่งหน้าที่การงาน ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ร่วมทุกข์ร่วมสุข สม่ำเสมอหรืออาจมองใน

           แง่ก็คือการมีพวก คำว่า พวก  สามารถแยกออกมาเพื่อความเข้าใจว่าทำไม่เรามักจะเรียกเพื่อที่

           สนิทสนมกันว่าพวก   พ = พอใจ  ว= ไว้ใจ   ก= เกรงใจ เมื่อการทำงานอย่างไดอย่างหนึ่งถ้า

           เรามีพวกมากการทำงานนั้นก็จะประสบผลสำเร็จเร็วขึ้นฉนั้นนักปกครองที่ควรจะเป็นคนที่  

           “โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ปวงชน วางตนได้เหมาะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 377362เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2010 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทำงานได้ดีมากๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท