สรุปงานแปล e-learning


ความหมาย e-learning

e-learning เป็นนวัตกรรมที่มีการออกแบบการส่งข้อมูลความรู้เป็นอย่างดี ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ     มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน สนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล  สื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับสภาพแวดล้อมการเรียนที่เปิดโอกาส มีความยืดหยุ่น และกระจายโอกาสเป็นการเรียนรู้แบบแพร่กระจาย เป็นโมเดลการเรียนการสอนที่ผู้สอน ผู้เรียน และเนื้อหา มิได้อยู่ที่เดียวกันก็ได้ เพื่อการสอนและการเรียนรู้จะเป็นอิสระต่อกันทั้งด้านสถานที่และเวลา รูปแบบการเรียนรู้แบบแพร่กระจายเป็นการผสมผสานรายวิชาในห้องเรียนแบบดั้งเดิม  และรายวิชาการเรียนรู้ทางไกลสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาส ยืดหยุ่น และแพร่กระจาย  การเรียนรู้แบบแพร่กระจาย เป็นโมเดลการเรียนการสอนที่ผู้สอน ผู้เรียน และเนื้อหา มิได้อยู่ที่เดียวกันก็ได้ เพื่อการสอนและการเรียนรู้จะเป็นอิสระต่อกันทั้งด้านสถานที่และเวลา รูปแบบการเรียนรู้แบบแพร่กระจายเป็นการผสมผสานรายวิชาในห้องเรียนแบบดั้งเดิม  และรายวิชาการเรียนรู้ทางไกลแบบดั้งเดิม หรืออาจเป็นห้องเรียนเสมือนอินเทอร์เน็ตสนับสนุนการเรียนรู้แบบเปิด เนื่องจากเป็นอิสระทั้ง อุปกรณ์ เวลาและสถานที่ รวมทั้งสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นสำหรับผู้เรียน การเปิดโอกาสจะเกี่ยวข้องกับทางด้านเทคนิค ส่วนความยืดหยุ่นจะเกี่ยวข้องด้านการออกแบบ สิ่งที่สนับสนุนอินเทอร์เน็ตได้แก่เทคโนโลยีดิจิตอลอันหลากหลายที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้แบบเปิด ยืดหยุ่น และแพร่กระจายลักษณะของ E-learning  ได้แก่  การมีปฏิสัมพันธ์ การควบคุมผู้เรียน สิ่งอำนวยความสะดวก ความตั้งใจเรียน ความง่ายในการใช้งาน  สิ่งสนับสนุนออนไลน์  ความปลอดภัยในรายวิชา  ความคุ้มประโยชน์ การเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจ สภาพแวดล้อม ผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลาย การประเมินผลออนไลน์    การค้นหาออนไลน์ การถึงโดยทั่วไปการมีปฏิสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรม
องค์ประกอบ ของ E-learning   มีองค์ประกอบ 7 ประเภท ได้แก่
1.การออกแบบการสอน                       
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการสอน                       
1.2 เทคนิคและวิธีสอน
            
2. องค์ประกอบสื่อประสม
                       
2.1 ข้อความและรูปภาพ
                       
2.2 เสียง
                       
2.3 วีดิทัศน์
                       
2.4 เชื่องโยง
(link)           
3. อินเทอร์เน็ต
                       
3.1 เครื่องมือสื่อสาร
                                   
3.1.1 อะซิงโครนัส ได้แก่
E-mail                                    
3.1.2 ซิงโครนัส ได้แก่ วิดีโอคอนเฟอร์เรนท์
                       
3.2 เครื่องมือเกี่ยวกับการเข้าถึงในระยะไกล เช่น
telnet, ftp                      
3.3 เครื่องมือในการใช้อินเทอร์เน็ต Web Browser
                       
3.4 เครื่องมือในการค้นหา Search Engine
                       
3.5 อื่น ๆ
           
4. คอมพิวเตอร์ลุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ได้แก่
4.1 คอมพิวเตอร์ พร้อมด้วยระบบปฏิบัติการ
4.2 ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี           
5. การติดต่อ และการให้บริการ
                       
5.1 Modem                       
5.2 Dial-in
                       
5.3 Mobile technology
                       
5.4 ASP, ISP
           
6. โปรแกรม ซอฟต์แวร์ มาตรฐาน
                       
6.1 HTML                        
6.2 LMS
           
7. Server 
                       
7.1 HTTP
                       
7.2 ภาษาสคริปต์
                       
7.3 WAP

กรอบแนวความคิดของ E-learning ประกบด้วย 8 มิติ ได้แก่ สถาบันการศึกษา   การจัดการ เทคโนโลยี ด้านการเรียนการสอน จริยธรรม การออกแบหน้าจอ การสนับสนุนแหล่งทรัพยากร และการประเมินผลมิติสถาบันการศึกษาจะเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหน่วยงานการศึกษา และการให้บริการผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนมิติด้านการจัดการจะแสดงถึงวิธีการดำเนินการจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้และกระจายข้อมูลสารสนเทศมิติด้านเทคโนโลยี จะตรวจสอบประเด็นเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี ของสภาพแวดล้อม E-learning รวมทั้งการวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน ด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มิติด้านการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้ เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เนื้อหา ผู้เรียน สื่อการสอน การออกแบบ องค์กร การจัดการ และกลวิธีการเรียนรู้มิติด้านจริยธรรม   จะมีความสัมพันธ์กับอิทธิพลทางสังคมและนโยบาย ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความลำเอียง ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ ความแตกต่างระหว่างผู้เรียนมิติด้านการออกแบบหน้าจอจะเกี่ยวข้องกับลักษณะในภาพรวมและการใช้โปรแกรม E-learning มิติด้านการออกแบบหน้าจอจะรวมถึงการออกแบบในแต่ละจอภาพ การออกแบบเนื้อหา ตัวนำทาง ความสามารถในการเข้าถึง และการทดสอบมิติด้านแหล่งทรัพยากรที่สนับสนุนจะตรวจสอบทรัพยากรและการสนับสนุนออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างมีความหมายมิติด้านการประเมินผลจะเป็นการประเมินผลทั้งผู้เรียน และการประเมินผลสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน  

หมายเลขบันทึก: 37709เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2006 18:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท