beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เรื่องเล่าเกี่ยวกับเซลล์ (๐) : หน้าหลัก (เมนูหลัก)


จะต้องจัดการ การเรียน-การสอนเสียใหม่ ให้เหมาะกับเวลา ดังนั้นจึงต้องพึ่งพา GotoKnow

   วันนี้เป็นวันแรกที่ได้ไปสอนวิชา Cell and Molecular Biology รหัสวิชา 258211 ต่อจาก อาจารย์ศิริพงษ์ เปรมจิต (รศ.ดร.) โดยเนื้อหาที่จะต้องสอนมีดังนี้

  1. Cells in perspective (2 h)
  • the cell theory
  • structural organization of the cell
  • prokaryotic cell organization
  • eukaryotic cell organization
  • major investigative methods of cells and molecular biology
  • Membrane structure and function (2 h)
    • molecular organization of the membrane
    • transport of melecules across the membrane
  • Organization of the cytoplasm (6 h)
    • endeplasmic reticulum and Golgi Apparatus
  • The cell surface (3 h)
    • cell juntions & extracellular matrix

       วิชานี้มีผู้ลงทะเบียนเรียน 4 section เป็นจำนวนทั้งสิ้น 684 คน (สายวิทยาศาสตร์การแพทย์) สอนวันอังคาร เวลา 15.00-17.00 น. และวันศุกร์เวลา 16.00-17.00 น. รวมเวลาทั้งหมดที่จะต้องสอน คือ 13 คาบ แต่เวลาที่เหลืออยู่ก่อนสอบ Mid term (31 ก.ค.-4 ส.ค.49) เหลือเพียง 2+3+3 = 8 คาบเท่านั้น (หายไป 5 คาบ) ซึ่งจะต้องมีการจัดการการเรียน-การสอนเสียใหม่ ให้เหมาะกับเวลา ดังนั้นจึงต้องพึ่งพา GotoKnow version ใหม่ ดังนี้

    • วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2549 เวลา 16.00 น. ไปที่ห้อง 311 อาคารเรียนรวมคณะวิทยาศาสตร์ ขณะเดินไปฝนก็ตกลงพอดี นิสิตห้อง 311 ไม่เต็มห้อง (จุได้สัก 300 คน)  มีนิสิตเดินมาหา 2 คน เพื่อขอวาง Handy drive แบบอัดเสียงได้ และขออนุญาตอัดเสียง ผมก็บอกว่าไม่ต้องอัดก็ได้ เพราะว่าจะสอนแบบไม่ต้องอัดเสียง แต่เมื่อจะอัดก็ไม่ขัดข้อง พอนิสิต 2 คนนี้วางเครื่องอัดเสียง อีก 20 คนก็ออกมาอัดเสียงบ้าง ซึ่งเป็นภาพที่ไม่ได้พบในปีก่อน ที่ได้สอนวิชานี้ (มีการพัฒนาในการใช้สื่อเพื่อการเรียนแบบ teaching mode กันอย่างเต็มที่)
    • ผมเริ่มเปิด GotoKnow ให้ดูในศูนย์รวมข้อมูลของ beeman และเข้าไปค้นหาคำ ใน Google search โดยค้นหาใน Gotoknow เพื่อหาเรื่องเกี่ยวกับเซลล์ ซึ่งผมใช้เป็นเลขรหัส (258211) แต่หาไม่พบ ต้องหาคำว่า "ชีววิทยา โมเลกุล" (เขียนคำแยก) จึงจะพบเรื่องที่ผมเตรียมไว้ 2 เรื่อง แต่ถ้าค้นหาด้วยป้าย (ค้นหาด้านล่าง) ไม่ว่าใส่คำไหน ก็จะพบเรื่องที่เขียนไว้ เพราะเป็นการค้นหาด้วย Keyword ใน GotoKnow ครับ
    • ต่อจากนั้น ผมก็สอนวิธีเรียนชีววิทยา แบบที่เคยเขียนบันทึกไว้ในบล็อก "เติมเต็มความรู้" ในชื่อบันทึก วิชาชีววิทยาไม่ใช่วิชา"ท่องจำ" แต่เป็นวิชาที่"ต้องจำ" โดย ยกตัวอย่างวิธีเรียน 2 วิธีดังนี้
    1. Etymology : นิรุกติศาสตร์ ว่าด้วยรากศัพท์ เช่น คำว่า "Prokaryote" มาจากคำว่า Pro (before) + Karyon (เกี่ยวกับ nucleus) รวมกัน ก็มีความหมายว่า "นิวเคลียสที่มีมาก่อน"  หมายถึงเซลล์พวกหนึ่งซึ่งนิวเคลียสไม่มีเยื่อหุ้ม เช่น เซลล์ของแบคทีเรีย เป็นต้น (ดู Prokaryote ใน Wikipidia) คำที่ใช้คู่กันกับ Prokaryote คือ "Eukaryote" มาจากคำว่า Eu (True แท้จริง) + karyon พอรวมกันก็มีความหมายว่า "มีนิวเคลียสที่แท้จริง" ได้แก่เซลล์ส่วนใหญ่ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเซลล์พืช เซลล์สัตว์ หรือเซลล์ของเห็ดรา เป็นต้น (ดู Eukaryote ใน Wikipidia)
    2. Depict : เป็นการเรียนโดยการดูภาพและคำบรรยายภาพ คำว่า "Depict" มาจากคำ 2 คำ คือ คำว่า "Describe" (บรรยายหรือพรรณนา) และ "Picture" (รูปภาพ) รวมความหมายว่า "พรรณนาด้วยภาพ" นั่นเอง หมายความว่า ภาพ 1 ภาพ แทนอักษรได้เป็นล้านตัวอักษร แล้วแต่ว่าเราจะตีความว่าอย่างไร อย่างเช่นภาพตัวอย่างเซลล์ (สัตว์) ดังต่อไปนี้ (แทนคำบรรยายได้สัก 3-4 หน้ากระดาษ A4) ครับ
         
       
     

     คลิกขยายภาพ

     
         
    • ต่อไปนี้จะเป็น หน้าหลักที่จะเชื่อมโยงไปสู่เรื่องเซลล์ แต่ละตอนครับ ที่เกี่ยวเนื่องกับวิชา Cell and Molecular Biology เป็นตอน ๆ นะครับ (คลิกเข้าไปอ่านได้ ครับ)

    ตอนที่ ๑

    ตอนที่ ๒ 

    ตอนที่ ๓ 

    ตอนที่ ๔

    ตอนที่ ๕

    ตอนที่ ๖

    ตอนที่ ๗

    ตอนที่ ๘

    ตอนที่ ๙

           หมายเหตุ ตอนใกล้จะเลิกสอน ผมเหลือบไปมองนาฬิกา เกือบ 5 โมงเย็นแล้ว ผมก็บอกว่า "วันนี้ยังไม่สอนอะไร" นะครับ สอนวิธีเรียน กับการเข้าไปอ่าน GotoKnow และวิธีค้นหา และบอกเลิกสอน นิสิตก็เดินมาเอาเครื่องอัดเสียงออกไป และบางคนก็พูดว่า "อาจารย์ไม่บอกว่า ไม่สอน หนูจะได้ไม่ต้องอัดเสียง" วันนี้ ก็เลยเป็นบทเรียนของ "การสอน" ที่ "ไม่สอน" ครับ

     

    หนังสืออ่านประกอบ

    หมายเลขบันทึก: 37706เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2006 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (23)
    ดีจับครับ ต่อไปนายบอนจะได้เข้ามาทบมทวนความรู้เก่าๆ บ้างแล้ว ผมเคยเรียนแต่วิชา Cell Biology ครับ (รุ่นเดียวกับท่าน รองฯ ฝ่ายกิจการนิสิต) ยังไม่ได้เรียนลึกถึง Molecular ครับ
    ดีจังเลยค่ะ จะได้มาทบทวนความรู้ และยังสามารถอ่านข้อคิดและความรู้เพิ่มเติมจากอาจารย์ได้อีก NU นี้Hi Technologyจริงๆค่ะ ขอบคุณนะค่ะที่ทำเวปนี้ขึ้นมาค่ะ ปล.อาจารย์ค่ะ Textชื่อว่าอะไรนะค่ะของCampbell?
    • โปรดดูตอนท้ายบันทึก แล้วกดที่ ตอน ๑ และ ตอน ๒ ซึ่ง Active อยู่
    • จะไปพบบันทึกต่อไป ที่มีหนังสืออ้างอิง

    อาจารย์คับ เนื้อหาที่สอนในอาทิตย์นี้คือตอนที่ 1กับ 2ใช่ไหมคับ ส่วนตอนที่ 3.....เอาไปสอนอาทิตย์ต่อๆไปใช่ไหมคับ

    • ไม่ถูกเสียทีเดียว คือ เนื้อหาบทที่ 1 และ 2 ให้อ่านทบทวนสำหรับสัปดาห์ก่อน
    • ส่วนตอน 3 และ 4 ซึ่งยังไม่ได้เขียน เอาไว้ทบทวนในสัปดาห์นี้ (18,21 ก.ค. ครับ)

    อาจารย์ค่ะ หนูอยากให้อาจารย์บอกสิ่งที่จะต้องเรียนมาเป็นบท ๆ เลยค่ะไม่งั้นชาตินี้ก็คงอ่านไม่พบข้อสอบหรอกค่ะ

    หนูก็คิดเหมือนกันกับคนนั้นค่ะ หนูคิดว่าอาจารย์น่าจะบอกเนื้อหาให้ชัดเจน ถ้าไม่งั้นชาตินี้ก็คงอ่านไม่พบข้อสอบจริงๆแหละค่ะ ขอความกรุณาด้วยค่ะ

                                        ด้วยความเคารพ

                           นิสิตคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

    • ในมุมมองของคน พยายามมองในแง่บวก หรือ Positive thinking ให้มากเข้าไว้
    • อย่าพยายามมองเฉพาะตนเอง ให้มองเผื่อคนอื่นด้วยครับ
    • ความรู้ก็คือความรู้ ไม่ใช่มีไว้เพื่อสอบอย่างเดียว
      อาจารย์ครับ  ตอนที่ 4 5 6 7 8 9  ที่จะสอบอ่ะ ครับ ไม่มีอ่ะ เดี๊ยว อาจารย์ จะเอา ลง ใช่ไหมครับ 

    อาจารย์คับ เวลาสอบอ่านเฉพาะที่อาจารย์ลงเว็บจะทำข้อสอบได้หมดเลยรึป่าวคับ หรือต้องอ่านเพิ่มข้างนอกด้วย ถ้าต้องและต้องอ่านเล่มไหนคับ

     

     

    เห็นด้วยกับข้อความนี้คับ  แล้วอยากให้อาจารย์ช่วยลงเนื้อหาที่ 5 6 7 8 9 เร็วๆอ่ะครับผมว่ารูปภาพมันชัดเจนดีเข้าใจง่าย ใกล้สอบแล้ว
    ขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ  :)
    • ข้อสอบคงไม่เกินจากเนื้อหาที่ลงไว้ครับ
    • ตอนนี้ทำงานเต็มที่อยู่แล้วครับ
    ขอบพระคุณอาจารย์มากเลยคับ
    ขอบพระคุณอาจารย์มากเลยครับสำหรับเนื้อหาที่ลงในweb เพราะช่วยให้ผมย่นระยะเวลาในการอ่านหนังสือเรื่องเซลล์ที่เล่มใหญ่มาก  อาจารย์สรุปเนื้อหาที่อ่านเข้าใจง่ายครับ

    ขอพระขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งสำหรับการเล่าเรื่องที่ยากให้เป็นเรื่องที่ง่าย แถมยังตอบข้อสงสัยทำให้คนที่ได้เข้ามาอ่านเกิดความรู้ลึกรู้จริงยิ่งขึ้น รวมทั้งตัวกระผม หากมีใครสนใจหรือต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเซลล์ผมจะได้แนะนำให้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์  และหากมีเวลากระผมจะขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยนะครับ

    ไม่ได้เรียนนาน ชักจะลืมจริงๆๆ

    แบบนี้ต้องอาศัย แรงของอาจารย์ชวยเคาะสนิมบางแล้วหละ....

    ขอบคุณมากนะคะ

    • อ่านวิธีการให้กำลังใจของคุณ วุฒิชัยแล้วก็ใจชื้น มีกำลังใจขึ้นอีกเป็นกอง 
    • ยินดีครับที่จะเข้ามา ลปรร. 

    ขอบคุณ คนอะไรชื่อยาวจริงๆ เจ้าหญิงจอมแก่น มีหนังสติกเป็นอาวุธ+ธนูคู่ใจ+ม้าตัวน้อยๆ ที่แวะมาเคาะสนิมที่นี่ ตอนนี้จะต้องเริ่มสอนใหม่อีกแล้ว กับนิสิตใหม่ ๕๑๗ คน

    ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

    ดีมากเลยหนูอ่านแล้วทำให้ได้ทบทวนความรู้...(เอาไปสอนนักเรียน)

    สวัสดีครับ คุณครู sarunya

    • แวะเข้าไปดูภาพเจ้าของประวัติแล้วหน้าตาคุ้นๆ ครับ
    • bio รหัสเข้าปีไหนครับ
    • สิ่งที่มีประโยชน์ในบล็อก ยินดีให้นำไปประยุกต์ใช้ครับ

    อาจาย์ครับ

    ผมได้อ่านหนังสือ ชีววิทยา 1 ของมหาวิทยาลับขอนแก่น

    รอยต่อระหว่างเซลล์สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด

    1.tight junction

    2.gap junction

    3.adhering junctions

    อาจารย์ที่สอนผมบอกว่ามี 4 ชนิด

    อยากทราบว่าชนิดที่ 4 คืออะไรครับ

    รอไปอีกสักนิด จะค้นคำตอบมาให้ครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท