หลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศและการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่เหมือนหรือต่างกัน?


จากการที่ประเทศต่างๆโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนามักมีข้อกังขาว่าในการดำเนินนโยบายทางการค้า เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของประเทศมหาอำนาจนั้นเป็นการใช้มาตรการโดยมีเจตนาแอบแฝงในการกีดกันทางการค้า ในข้อเท็จจริงแล้วจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่ เพื่อที่จะสามารถตอบคำถามดังกล่าวได้เราควรที่จะต้องมาทำความเข้าใจถึงหลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเสียก่อน

       จากการที่ประเทศต่างๆโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนามักมีข้อกังขาว่าในการดำเนินนโยบายทางการค้า เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของประเทศมหาอำนาจนั้นเป็นการใช้มาตรการโดยมีเจตนาแอบแฝงในการกีดกันทางการค้า ในข้อเท็จจริงแล้วจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่ เพื่อที่จะสามารถตอบคำถามดังกล่าวได้เราควรที่จะต้องมาทำความเข้าใจถึงหลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเสียก่อน

       หลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศนั้นมีโดยสรุปดังนี้คือ

       1.หลักการหรือแนวความคิดเรื่องการพัฒนายั่งยืน(Sustainable development) โดยที่การพัฒนาที่ยั่งยืนหมายถึง การใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างมีเหตุผลและมีการบำรุงรักษาให้ดีที่สุดเพื่อการใช้ที่มีประสิทธิภาพ  ดังนั้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงต้องสัมพันธ์กับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม นโยบายเศรษฐกิจและสังคมด้วย

         2.หลักการห่วงกังวลร่วมกันแต่ความรับผิดชอบต่างกัน (Commom concern of humankind and common but differentiated responsibilities) ความหมายของหลักการนี้กฌคือ รัฐทั้งหลายมีหน้าที่ร่วมกันที่จะต้องรับผิดชอบระวังรักษาสิ่งแวดล้อมตามความสามารถ(capabilities)ของตน ซึ่งก็จะทำให้มีความรับผิดชอบแตกต่างกันออกไป

          3.การมีส่วนร่วม (Partnership)  กล่าวคือรัฐทั้งหลายย่อมมีพันธกรณีตามกฎบัตรสหประชชาติที่จะต้องให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในอันที่จะแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศต่างๆทั้งที่เป็นปัญหาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือมนุษยธรรม ซึ่งแนวคิดเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศนี้ได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ การปรึกษาหารือ  โดยในปัจจุบันหลักการนี้ถือเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศซึ่งผูกพันรัฐทุกรัฐแล้ว

           และจากหลักการพื้นฐานนี้เองที่ก่อให้เกิดพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมดังนี้

            1.หน้าที่ที่จะต้องให้ความร่วมมือ(duty to co-operate) เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องร่วมมือในการสำรวจหรือสอบสวน ชี้ปัญหา และหลีกเลี่ยงการก่ออันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยที่รัฐอาจสร้างกลไกความร่วมมือขึ้น เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูล(exchange of information)หรือการประสานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์(co-ordinate international scientific research) ยกตัวอย่างที่เข้าใจได้ง่ายก็เช่นในกรณีการที่รัฐร่วมกันใช้แม่น้ำระหว่างประเทศ รัฐริมฝั่งทั้งสองก็ย่อมได้รับผลกระทบจากการใชแม่น้ำนั้นทั้งสองฝ่าย รัฐริมฝั่งจึงต้องมีหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งกันและกันยกเว้นแต่ข้อมูลนั้นจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ

              2.หน้าที่ที่จะหลีกเลี่ยงการก่ออันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (duty to avoid environmental harm) โดยที่พันธกรณีนี้เกี่ยวเนื่องมาจากคำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการในคดี  ระหว่างแคนาดารกับอเมริกา ซึ่งในเรื่องนี้ควันที่พัดมาจากแคนาดาก่อให้เกิดอันตรายต่อทรัพย์สินและสุขภาพของชาวอเมริกา  คณะอนุญาโตตุลาการเห็นว่าในเรื่องนี้ต้องยึดหลักที่ว่า ไม่มีรัฐใดที่มีสิทธิจะใช้หรืออนุญาตให้ใช้ดินแดนของตนในลักษณะที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อรัฐอื่น (sic utere tuo et alienum non laedas) และรัฐก็ต้องใช้ความระมัดระวังล่วงหน้าเพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายอื่นๆด้วย (หลักการ precautionary priciple)  ซึ่งในปัจจุบันหลักการprecautionary priciple นี้เป็นหลักการที่ต้องคำนึงถึงเป็นแรกในการประกอบกิจกรรมใดๆก็ตามที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

              3.หน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับการก่อความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม (duty to compensate for harm)  หน้าที่นี้เป็นความรับผิดชอบของรัฐ(state responsibility) และหน้าที่นี้นำไปสู่เรื่องการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งอาจขยายตัวเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศไปก็เป็นได้

              ประเด็นปัญหาที่สำคัญทั้งต่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาการค้าเพื่อการค้าเสรีนั้นก็คือความคิดที่แตกต่างอันยากที่จะหาจุดร่วมระหว่างนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนักพัฒนาการค้า

              โดยที่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพยายามมองว่าการค้าเสรี(liberal trade)นั้นเป็นการทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตโดยที่ไม่มีการควบคุมการทำลายสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ผู้นิยมการค้าเสรีก็จะโต้แย้งว่าความคิดของนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้นเป็นเสมือนลัทธิการปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในอย่างหนึ่ง (disquised protectionism)

              แต่หากพิจารณาถึงจุดมุ่งหมายของการค้าที่อยู่ในวรรค1 ความตกลงจัดตั้งองค์การการค้าโลก มีส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในอารัมภบทที่ว่า การค้าต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ โดยสามารถใช้ทรัพยาการในโลกได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคส้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและหาทางคุ้มครองและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย("relation in the field of trade and economic endeavor should be conducted with a view to raising standard of living,.....while allowing for optimal use of the world's resoure in accordance with the objective of sustainable development, seeking both to protect and preserve the environment)

                 จึงเห็นได้ว่าแท้จริงแล้วจุดมุ่งหมายในการพัฒนาการค้านั้นมุ่งที่จะคุ้มครองสิ่งแวดล้อมด้วยเป็นหลักการสำคัญ  การพัฒนาการค้าจึงจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เพราะแท้จริงแล้วทรัพยากรที่มีค่ายิ่งต่อการพัฒนาการค้าก็ย่อมมาจากสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์  แต่ในบางครั้งจากการที่เรามุ่งประเด็นไปที่การพัฒนาที่ด้านใดด้านหนึ่งนั้น อาจทำให้เราหลงลืมที่จะคิดคำนึงถึงผลกระทบที่ตามมาต่อสิ่งแวดล้อม จนกระทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาหาช่องโหว่ตรงจุดนี้ และฉวยโอกาสนำไปเป็นข้ออ้างเพื่อกีดกันทางการค้าต่อประเทศที่กำลังพัฒนาเช่นไทย ทั้งๆที่ไทยเราเองก็ให้ความสำคัญต่อการบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมโดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของชนชาวไทยในรัฐธรรมนูญ  รวมถึงการตราพระราชบัญญัติต่างๆเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม  แต่ถ้าจะกล่าวถึงภาพรวมของไทยเองก็อาจมีปัญหาเรื่องการยกระดับมาตรฐานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ทัดเทียมกับนานาประเทศอันเนื่องมาจากการขาดแคลนซึ่งงบประมาณและการสนับสนุนจากรัฐบาลที่เพียงพอ

 

 

 

        

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 37696เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2006 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

   แท้จริงแล้วกฎหมายระหว่างประเทศทั้งการค้า สิ่งแวดล้อม และแรงงาน ต่างกระหวัดรัดเกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้ง ซึ่งนอกจากปัจจัยของความห่วงใยโลกและซึ่งกันและกันแล้ว ผลประโยชน์นั่นเองคือพลังขับสำคัญ

    ในทางด้านทฤษฎีแล้ว กฎหมายแทบทั้งหมดมีจุดประสงค์ไปในทางเดียวกันคือ Create welfare และเมื่อมองเฉพาะแต่ Concept แล้วย่อมทำให้คนอยู่ดีกินดีแทบทั้งสิ้น ซึ่งผู้รู้หลายท่านเองก็บอกเองว่ามันเกื้อกูลซึ่งกันและกัน แต่อย่างไรก็ดีกฎหมายทั้งสองยังคงต่างกันที่วิธีการไปสู่จุดหมาย

   แน่นอน... ว่าแนวคิดของกฎหมายเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่เรื่องผลประโยชน์นั้นย่อมไม่เข้าใครออกใคร และผู้ดำเนินนโยบายระหว่างรัฐ ในส่วนของแต่ละรัฐก็คือนักการเมืองที่ท่านๆเลือกมา

   ธรรมชาติของนักการเมืองท่านก็คงรู้ดี ยิ่งหากเป็นประเทศที่เน้นเศรษฐกิจระดับมหภาค และธุรกิจพวก Multi-National Enterprise เป็นปัจจัยคะแนนสนับสนุน เช่น ยักษ์ใหญ่จากโลกตะวันตกแล้ว วิธีการไปสู่จุดหมาย ย่อมถูกใช้เป็นบันไดไปสู่ดวงดาวของพรรค

   สังเกตุง่ายๆ จากการที่เจ้ายักษ์ตัวนั้น มีข้อกำหนดมากมายหลากหลายทางด้านสิ่งแวดล้อม และไฟโตฯ ต่างๆ ทั้งยังเคยทะเลาะกับแคนาดาเรื่องควันที่ลอยข้ามประเทศ เอาเป็นเอาตายกันเลยทีเดียว แต่กลับไม่มีความคิดสักเสี้ยวนาทีที่จะเข้าร่วม Kyoto Protocol ที่กำหนดอัตราและควบคุมการปล่อยก๊าซพิษจากภาคอุตสาหกรรม

   ทำไมล่ะ... ก็เพราะการเข้าร่วมนั้นจะทำให้ต้นทุนทางธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมที่สูงอยู่แล้วเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงผู้ประกอบการประสบภาวะลำบาก แต่ราคาที่สูงแค่ขายแข่งในประเทศก็ลำบากแล้ว เมื่อมีSupplyแต่ไม่สามารถจับDemand ได้อะไรจะเกิดขึ้น ธุรกิจระหว่างประเทศอาจเอาตัวรอดด้วยการ Race to the bottom คือย้ายไปยังประเทศด้อยหรือกำลังพัฒนาที่มีข้อบังคับต่ำ นั่นยิ่งแย่เพราะคนเขาต้องตกงาน

ดังนั้นในที่สุดกฎหมาย-ข้อตกลงต่างๆที่มีอยู่ในระดับระหว่างประเทศนั้น ประเทศที่มีอำนาจสามารถเลือกจะให้สัตยาบัณกับฉบับใดได้ และแน่นอน กฎหมายทั้งสองจะนำไปสู่จุดมุ่งหมายเรื่องผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจเป็นสำคัญตราบใดที่สำนึกของประเทศใหญ่ และกำลังภายในของประเทศเล็กยังไม่แปรสัมพัทธ์กัน

   ขอโทษครับ... เพื่อให้ทันสมัย ขอบอกว่า เพื่อประโยชน์ของ "ผู้มีบารมีเหนือการค้าระหว่างประเทศ" น่าจะอินเทรนด์กว่ากระมังครับ

บล็อก-ลามกจนได้ดี

ขอโทษที่มาแจมโดยมิได้รับเชิญ แค่อยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบ้างครับ

เหงามานาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท