บทความภาวะผู้นำ


ส่งสรุปบทความภาวะผู้นำ3 เรื้อง

   เรื่องที่  1                ภาวะผู้นำกับการเป็นผู้บริหารที่ดี

 

การบริหารเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคนและงาน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการบริหารงานดังนั้นจึงต้องใช้การปกครองอย่างมี ศิลปะ เพื่อให้สามารถครองใจคนและได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพเกิดคุณภาพ ถือว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์และเป้า หมายที่วางไว้ การดูแล การจูงใจจะต้องนำก่อนทำเป็นตัวอย่างตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็น ที่ชื่นชมยินดี

ประเภทของผู้นำ

  • ผู้นำแบบเผด็จการ เป็นผู้นำที่มีความเด็ดขาดในตัวเองถือเรื่องระเบียบวินัย กฏเกณฑ์ข้อบังคับเป็นหลัก ในการดำเนินงานการตัดสินใจต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้นำแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ในแง่การบริหารงานทางด้านวิชาการด้านธุรกิจจะเปรียบเสมือนกิจการที่เป็นเจ้า ของบุคคลเดียว ที่มีการดำเนินการและตัดสินใจเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการเท่านั้น
  • ผู้นำแบบประชาธิปไตย ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในโลกปัจจุบัน ให้สิทธิ์ในการออกความคิดเห็น สิทธิในการเรียกร้อง รวมไปถึงการเคารพสิทธิของผู้อื่นด้วยการเป็นประชาธิปไตยจึงเป็นลักษณะหนึ่ง ที่สังคมค่อนข้างจะยอมรับกันมากกว่าผู้นำประเภทอื่น ๆ
  • ผู้นำแบบตามสบาย เป็นผู้นำที่ไปเรื่อย ๆ มีความอ่อนไหวไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นผู้นำที่เป็นที่รักของผู้ร่วมงานอย่างมาก ผู้นำประเภทนี้จึงมีมากมายตามแต่ละกิจกรรมต่าง ๆ บางครั้งอาจมองว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีจุดยืนเป็นของตัวเอง หรือมองโลกในแง่ดีซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขยันอาจจะไม่ชอบลักษณะผู้นำ ประเภทนี้

    ในทางปฏิบัติบางแห่งในตัวผู้นำอาจจะมีรูป แบบของการเป็นผู้นำทั้ง 2 ประเภทในคนเดียว อาจจะมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นออกมาแต่ละประเภท ซึ่งสามารถควบคุมการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลักษณะการใช้อำนาจของผู้นำแตกต่างกันออกไป เพราะในตัวผู้นำแต่ละคนมีอำนาจมีอิทธิพล สามารถดำเนินการหรือสั่งการได้ตามความเหมาะสม


    การใช้อำนาจ ของผู้บริหารแบ่งได้ดังนี้
  1. การใช้อำนาจเด็ด ขาด อาจจะเป็นในวงการทหารหรือตำรวจ จะเห็นได้อย่างเด่นชัดซึ่งจำเป็นจะต้องมีความเด็ดขาดในการสั่งการ เพราะทหาร ตำรวจ จะต้องมีวินัยในการปกครองซึ่งกันและกัน บรรดาตำรวจที่มีอาวุธอยู่ในมือด้วยแล้ว หากขาดวินัยก็จะเสมือนกับกองโจรที่สามารถกระทำผิดได้ตลอดเวลา
  2. การใช้อำนาจอย่างมีศิลปะ ผู้นำโดยทั่วไปเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีความอดทนรวมไปถึงประสบการณ์ในการบังคับบัญชาคน หากการทำงานโดยเอาใจเขามาใส่ใจเราแล้วผลงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นที่ยอมรับของคนโดยทั่วไป
  3. การใช้อำนาจด้วยวิธีการปรึกษาหารือ เป็นลักษณะของการใช้อำนาจวิธีการหนึ่งซึ่งใช้กันอย่างมากมาย เพราะผู้บริหารที่เปิดใจกว้างย่อมได้รับการยอมรับของผู้ร่วมงานด้วยกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการสอนงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในลักษณะการใช้อำนาจด้วย วิธีการปรึกษาหารือ
  4. การใช้อำนาจแบบมี ส่วนร่วม บางคนอาจจะบอกว่าการใช้อำนาจแบบมีส่วนร่วมถือเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เนื่องจากผู้บริหารเปิดใจกว้าง ผลผลิตที่ได้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดแต่จะต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของแต่ ละคน ในทางทฤษฎีแล้ว การใช้อำนาจให้เป็นประโยชน์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมรวม ถึงลักษณะของการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมนั้น ๆ


หน้าที่ ของผู้นำแบ่งออกได้ดังนี้

  1. ลักษณะของการควบ คุม คนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ใครมาควบคุม แต่ในทางปฏิบัติงานแล้ว การควบคุมอยู่ห่าง ๆ จะได้ผลดีตามมาในลักษณะของการติดตามผลงานอาจจะใช้การควบคุมด้วยระบบเอกสาร ระบบของงานที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันหรือเป็นการควบคุมในระบบด้วยตัวของมัน เองอย่างอัตโนมัติ
  2. ลักษณะของการตรวจ ตรา เป็นหน้าที่โดยตรงของผู้นำหรือผู้บริหารที่จะต้องติดตามความเคลื่อนไหวหรือ ผลการดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขในเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ทันการ
  3. ลักษณะของการประสานงาน การประสานงานของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งการประสานงานในเรื่องตำแหน่งหน้าที่การงานถือว่าเป็นความจำเป็นและ สำคัญอย่างมากในการปฏิบัติงาน
  4. ลักษณะ ของการวินิจฉัยสั่งการ การสั่งการของผู้นำถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะผู้นำที่ดีจะรู้จักการใช้คนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การวินิจฉัยสั่งการที่ดีนั้นจะต้องมีความชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที
  5. ลักษณะของการโน้มน้าวให้ทำงาน ผู้นำมีหน้าที่หลักอย่างหนึ่งคือการชักชวนให้สมาชิกมีความสนใจในการปฏิบัติ งานหน้าที่การงานด้วยความตั้งใจ มีความซื่อสัตย์สุจริต และเต็มใจที่จะทำงานนั้น ๆ ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากที่สุด
  6. ลักษณะของการประเมินผลงาน การพิจารณาความดีความชอบตลอดระยะเวลาการทำงานของพนักงานถือเป็นหน้าที่ที่ สำคัญอย่างหนึ่ง เป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจในการทำงาน การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดีควรกระทำเป็นระยะ ๆ และสามารถแจ้งผลให้ผู้ที่ถูกประเมินได้ทราบเพื่อจะได้แก้ไขในโอกาสต่อไป หากสามารถประเมินผลงานได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมแล้ว ปัญหาด้านการบริหารงานบุคคลย่อมลดน้อยลงไปด้วยเช่นกัน

 


คุณสมบัติ ที่ดีของผู้นำ

  1. มีความรู้ ความสามารถ การใช้สติปัญญานั้น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อมีสติปัญญาดีก็เกิด
  2. เป็น ผู้มีสังคมดี คำว่าสังคมดีคือจะต้องมีลักษณะของการเป็นผู้นำที่มีอารมณ์มั่นคงมีวุฒิภาวะ มีความเชื่อมั่นในตนเองมีความสนใจและใช้กิจกรรมต่าง ๆ อย่างกว้างขวางเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน

 

  1. เป็นผู้ที่มี แรงกระตุ้นภายใน คือมีจิตสำนึกเกิดขึ้นในตัวของผู้นำ เป็นแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ต่อแรงจูงใจที่จะโน้มน้าวให้ผู้ ปฏิบัติงานมีความปรารถนาที่จะทำงานตรงนั้นให้เกิดความสำเร็จ
  2. เป็น ผู้ที่มีทัศนคติที่ดีและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีผู้นำจะต้องตระหนักในคุณค่า และศักดิ์ศรีของตัวเอง ของลูกน้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน มองโลกในแง่ดีในการที่จะทำให้กิจการต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย

 


ลักษณะ ของผู้นำที่จะทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพสูงสุด

  1. ต้องเป็นนักเผด็จการ หมายถึงผู้บริหารสามารถจะสั่ง การได้อย่างเด็ดขาด ผลผลิตที่ได้มาส่วนใหญ่จะมาด้วยปริมาณ ส่วนเรื่องคุณภาพที่จะดีในช่วงแรก ๆ หากผู้นำสามารถสอดส่องดูแลอยู่ตลอดเวลา ผลผลิตก็อาจจะมีทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดีตามไปด้วย
  2. ต้องเป็นนักพัฒนา ผู้นำประเภทนี้จะต้องมีผู้ร่วมงานที่รู้ใจ สามารถสร้างสรรงานใหม่ ๆ ตลอดเวลา
  3. ต้องเป็นนักบริหาร ผู้นำประเภทนี้จะใช้การทำงานด้วยวิธีใหม่ ๆ เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ร่วมแสดงความคิดเห็นแม้กระทั่งในการวางนโยบายต่าง ๆ การทำงานโดยทั่วไปจึงเป็นไปในลักษณะประชาธิปไตย ผู้ร่วมงานจะต้องเป็นผู้มีคุณภาพเพียงพอ สามารถตอบสนองการทำงานในระบบใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี
  4. ต้องเป็นนักเผด็จ การอย่างมีศิลปะ ผู้นำประเภทนี้เป็นนักพูดที่เฉลียวฉลาด จะใช้การพูดเป็นการชักชวนให้เกิดการทำงานด้วยความเต็มใจ มีการเสนอแนะและหว่านล้อม ให้เห็นคล้อยตามไปโดยปริยาย

การ บริหารงานในปัจจุบันนี้ผู้บริหารทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาวะการเป็นผู้นำเข้ามา เกี่ยวข้องเพราะจะสามารถได้ใช้หรือพยายามชี้ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือพนักงานออกมาในการปฏิบัติงานให้มากที่สุด พึงระลึกไว้เสมอว่าพนักงานทุกคนมีความสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติงาน เป็นผู้ที่ผลักดันให้งานทุกอย่างของกิจการนั้นสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบ รื่น การบริหารงานที่ดีจะต้องมีผู้บริหารที่มีภาวะ ความเป็นผู้นำและเก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งการดำเนินชีวิตไปพร้อม ๆ กัน

 

สรุปเรื่องที่  1 

ประเภทของผู้นำ

    1. ผู้นำแบบเผด็จการ

      2.  ผู้นำแบบประชาธิปไตย

    3. ผู้นำแบบตามสบาย

 

คุณสมบัติ ที่ดีของผู้นำ

  1. มีความรู้ ความสามารถ การใช้สติปัญญานั้น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อมีสติปัญญาดีก็เกิด
  2. เป็น ผู้มีสังคมดี คำว่าสังคมดีคือจะต้องมีลักษณะของการเป็นผู้นำที่มีอารมณ์มั่นคงมีวุฒิภาวะ มีความเชื่อมั่นในตนเองมีความสนใจและใช้กิจกรรมต่าง ๆ อย่างกว้างขวางเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
  3. เป็นผู้ที่มี แรงกระตุ้นภายใน คือมีจิตสำนึกเกิดขึ้นในตัวของผู้นำ เป็นแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ต่อแรงจูงใจที่จะโน้มน้าวให้ผู้ ปฏิบัติงานมีความปรารถนาที่จะทำงานตรงนั้นให้เกิดความสำเร็จ
  4. เป็น ผู้ที่มีทัศนคติที่ดีและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีผู้นำจะต้องตระหนักในคุณค่า และศักดิ์ศรีของตัวเอง ของลูกน้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน มองโลกในแง่ดีในการที่จะทำให้กิจการต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย

 



 

 

 

 

 

 

เรื่องที่ 2

การบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา

ประเภท: ภาวะผู้นำ ทางการศึกษา, โดย: ครูฌอง | November 30, 2007 |   6,026 views


การเปลี่ยนแปลงการบริหาร Management Change คือ วิวัฒนาการของแนวคิดทางการบริหารตามภาวการณ์ต่างๆ อาทิ การบริหารแนววิทยาศาสตร์ มนุษยสัมพันธ์ เชิงระบบและตามถานการณ์ ภาวการณ์ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท (Context) ของสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ฯลฯ เป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องบริหารแบบรู้เท่าทัน ทันการณ์ มีวิสัยทัศน์ โดยใช้พื้นฐานความรู้เดิมเป็นตัวตั้ง แล้วนำมาวิเคราะห์เรียบเรียง เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจ แล้วจัดการกำจัดจุดอ่อน และเพิ่มจุดแข็ง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย “การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)”

รูปแบบการบริหารการ เปลี่ยนแปลง ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการพัฒนาองค์กร ซึ่งมีรูปแบบวิธีการที่ดีอย่างน้อย 3 รูปแบบ ดังนี้

  1. รูปแบบ 3 ขั้นตอน ตามแนวคิดของ Kurt Lewin ประกอบด้วย การคลายตัว (unfreezing) เนื่องจากเกิดปัญหาจึงต้องเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง (changing) คือ การเปลี่ยนจากพฤติกรรมเก่า ไปสู่พฤติกรรมใหม่ และการกลับคงตัวอย่างเดิม (refreezing) เพื่อหล่อหลอมพฤติกรรมใหม่ให้มั่นคงถาวร
  2. รูปแบบ 2 ปัจจัย ตามแนวคิดของ Larry Greiner ที่เห็น ว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากแรงบีบภายนอก กับการกระตุ้นผลักดันภายใน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยทั้งสองเกิดขึ้นตลอดเวลา จึงต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงโดย ศึกษาการเปลี่ยนแปลง ค้นหาวิธีการที่ดีกว่า ทดลองวิธีใหม่ หล่อหลอมข้อดีเข้าด้วยกัน เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. รูปแบบผลกระทบของปัจจัย ตามแนวคิดของ Harold J. Leavitt ที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอดเวลาของ งาน โครงสร้าง เทคนิควิทยาการ และคน ทั้ง 4 ประการนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบเกี่ยวพันกัน และการเปลี่ยนแปลงบางเรื่องอยู่เหนือการควบคุม ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องสนใจสิ่งที่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่เกิด หรือจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแต่ละปัจจัย

แนวโน้มของกระแสการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับองค์การ

  1. ด้านโครงสร้าง (Structure)
  2. องค์ประกอบของประชากร (Demographic)
  3. เกิดจริยธรรมใหม่ของการทำงาน (New work ethic)
  4. การเรียนรู้และองค์ความรู้ (Learning and knowledge)
  5. เทคโนโลยีและการเข้าถึงสารสนเทศ (Technology and access to information)
  6. เน้นเรื่องความยืดหยุ่น (Emphasis on flexibility)
  7. ต้องพร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (Fast-paced change)

สิ่งที่ต้องพิจารณา เปลี่ยนแปลงในองค์การ

  1. เป้าหมายและกลยุทธ์
  2. เทคโนโลยี (Technology)
  3. การออกแบบงานใหม่ (Job redesign)
  4. โครงสร้าง (Structure)
  5. กระบวนการ (Process)
  6. คน (People)

ผู้บริหารที่เป็นผู้นำการ เปลี่ยนแปลงสู่คุณภาพการศึกษา

  1. เป็นผู้นำวิสัยทัศน์( visionary Leadership ) และสามารถกระจายวิสัยทัศน์ไปยังบุคคล ต่าง ๆ ได้
  2. ใช้หลักการกระจายอำนาจ ( Empowerment ) และการมีส่วนร่วม ( Participation )
  3. เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับบุคลากร ทั้งภายในและนอกองค์กร
  4. มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
  5. ผู้นำคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีและ ใช้ข้อมูลสถิติ ในการวิเคราะห์และตัดสินใจ
  6. ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือลูกน้อง
  7. ความสามารถในการสื่อสาร
  8. ความสามารถในการใช้แรงจูงใจ
  9. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( Chang Leadership )

ความท้าทายการเปลี่ยนแปลง (Challenges of Change)
องค์การที่มีโครงสร้างองค์การชนิดที่มีสายการบริหารหลายขั้นตอนหรือสั่งการ หลายชั้นภูมิจะอยู่รอดได้ยาก ในอนาคตองค์การต่าง ๆ ต้องประสานความร่วมมือกันโยงใยเป็นเครือข่าย ในขณะเดียวกันโครงสร้างภายในองค์การก็จะต้องกระจายความสามารถในการตัดสินใจ ให้กับกลุ่มงานต่าง ๆ ให้มากที่สุด และมีลำดับชั้นการบริหารน้อยที่สุด และต้องเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อรองรับและก้าวให้ทันความเจริญก้าวหน้าของ เทคโนโลยี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งท้าทายและมีอิทธิพลต่อความอยู่รอดขององค์การในศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างมาก (ธวัช บุณยมณี, 2550)

แรงกดดันที่ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง (Force for Change) Robbins (1996, อ้างถึงใน ธวัช บุณยมณี, 2550: 142-144) ได้สรุปให้เห็นถึงปัจจัยกระตุ้น หรืแรงกดดันที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  1. ลักษณะของแรกกดดันจากงาน (Nature of the work force) เช่น ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ
  2. เทคโนโลยี (Technology) เช่น ความเจริญก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ แนวคิดเรื่องการจัดการคุณภาพ การปฏิรูปองค์การ
  3. ความชะงักงันทางเศรษฐกิจ (Economic Shocks) เช่น การตกต่ำของตลาดหลักทรัพย์ การแกว่งตัวของอัตราดอกเบี้ย
  4. การแข่งขัน (Competition) เช่น การแข่งขันแบบโลกาภิวัตน์ การรวมตัวกันของกลุ่มต่างๆ
  5. แนวโน้มของสังคม (Social Trends)� เช่น� การเข้าสู่สถาบันระดับอุดมศึกษามากขึ้น� การชะลอการต่างงาน
  6. การเมืองของโลก (World Politics) เช่น การเปิดประเทศ ความขัดแย้งหรือการรุกรานกันของประเทศต่าง ๆ

 

แบบจำลอง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการเปลี่ยนแปลงสามารถจำแนก ออกเป็น  3 ลักษณะ คือ� การเปลี่ยนแปลงจากบนลงล่าง จากล่างขึ้นสู่เบื้องบน และแบบบูรณาการ (Schermerhorn, 2002:480 อ้างถึงใน ธวัช บุณยมณี, 2550)

  1. การเปลี่ยนแปลงจากบนลงล่าง (Top-Down Change) เป็นการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงที่มาจากผู้บริหารระดับสูง ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับ ความสมัครใจหรือความเต็มใจของพนักงานระดับกลางและระดับล่าง ทางธุรกิจเรียกว่า ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงแบบอี (Theory E Change)
  2. การเปลี่ยนแปลงจากล่างขึ้นบน (Bottom-Up Change) เป็นการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงที่มาจากทุกระดับในองค์การและได้รับการสนับ สนุนจากผู้บริหารระดับต้นและระดับกลางในฐานะที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทางธุรกิจเรียกว่า ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงแบบโอ (Theory O Change)
  3. การบูรณาการภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Integrated Change Leadership) เป็นการนำประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงจากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบนมาใช้ การริเริ่มจากระดับบนมีความจำเป็นในการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงแบบแผนดั้งเดิม การริเริ่มจากระดับล่างเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างความสามารถของสถาบันเพื่อ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั้งยืน

โดย… วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล
ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

เอกสารอ้างอิง

  • ธวัช บุณยมณี. ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2550.

 

สรุปเรื่องที่  2

 

รูปแบบการบริหารการ เปลี่ยนแปลง ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการพัฒนาองค์กร ซึ่งมีรูปแบบวิธีการที่ดีอย่างน้อย 3 รูปแบบ

 

  1. 1.     รูปแบบ 3 ขั้นตอน ตามแนวคิดของ Kurt Lewin
  2. 2.     รูปแบบ 2 ปัจจัย ตามแนวคิดของ Larry Greiner
  3. 3.     รูปแบบผลกระทบของปัจจัย ตามแนวคิดของ Harold J. Leavitt

สิ่งที่ต้องพิจารณา เปลี่ยนแปลงในองค์การ

  1. เป้าหมายและกลยุทธ์
  2. เทคโนโลยี (Technology)
  3. การออกแบบงานใหม่ (Job redesign)
  4. โครงสร้าง (Structure)
  5. กระบวนการ (Process)
  6. คน (People)

ผู้บริหารที่เป็นผู้นำการ เปลี่ยนแปลงสู่คุณภาพการศึกษา

  1. เป็นผู้นำวิสัยทัศน์( visionary Leadership ) และสามารถกระจายวิสัยทัศน์ไปยังบุคคล ต่าง ๆ ได้
  2. ใช้หลักการกระจายอำนาจ ( Empowerment ) และการมีส่วนร่วม ( Participation )
  3. เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับบุคลากร ทั้งภายในและนอกองค์กร
  4. มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
  5. ผู้นำคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีและ ใช้ข้อมูลสถิติ ในการวิเคราะห์และตัดสินใจ
  6. ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือลูกน้อง
  7. ความสามารถในการสื่อสาร
  8. ความสามารถในการใช้แรงจูงใจ

 

 

 

 

 

 

 

เรื่องที่  3

 

 

ภาวะผู้นำทางการบริหาร 

ภาวะผู้นำ

ความหมายของภาวะผู้นำ (Leadership)

 1. หมายถึงความริเริ่มและธำรงไว้ซึ่งโครงสร้างของความคาดหวังและความสัมพันธ์ระหว่างกันของสมาชิกของกลุ่ม

 2. หมายถึงความสามารถที่จะชี้แนะ สั่งการ หรืออำนวยการ หรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้อื่นเพื่อให้มุ่งไปสู่จุดหมายที่กำหนดไว้

 3.หมายถึงศิลปในการชี้แนะลูกน้อง หรือผู้ร่วมงานให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกระตือรือร้นและเต็มใจ

 4.หมายถึงกระบวนการที่บุคคลใช้อิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุความต้องการของกลุ่ม หรือจุดมุ่งหมายขององค์การ

 5.หมายถึงศิลปของการใช้อิทธิพลหรือกระบวนการใช้อิทธิพลต่อบุคคลอื่น เพื่อให้มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานจนประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของกลุ่ม

 6.หมายถึงความสามารถในการใช้อิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้ประสบความสำเร็จตาม เป้าหมายหมายที่ตั้งไว้ 7. หมายถึงกระบวนการของการชี้แนะและอิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกของกลุ่ม

8.หมายถึงกระบวนการที่ผู้นำใช้อิทธิพลและอำนาจของตนกระตุ้นชี้นำให้บุคคลอื่นกระตือรือร้น เต็มใจทำในสิ่งที่ต้องการ โดยมีเป้าหมายขององค์การเป็นจุดหมายสำคัญ

             กล่าวได้ว่าภาวะผู้นำหมายถึง กระบวนการที่บุคคลซึ่งเป็นผู้นำ (Leader) มีอิทธิพลต่อผู้ตาม (Followers) หรือลูกน้อง (Subordinates) ยอมรับและปฏิบัติตามเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ (Objective) ของกลุ่ม

2. ความหมายของผู้บริหารและความสำคัญของการบริหาร

 2.1 ผู้บริหารหมายถึง ผู้ที่สามารถจัดการกระบวนการของการทำงานและการใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการวางแผน การจัดองค์กร การสั่งการ และการควบคุม เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหาร ความสามารถของผู้บริหาร สามารถวัดได้จากประสิทธิผลและประสิทธิภาพของงานที่เกิดขึ้น

 2.2 ผู้บริหารต้องเห็นภาพความเชื่อมโยงของหน่วยงานย่อย ๆ ภายในองค์กรว่า จะมีผลกระทบกันอย่างไร เพื่อให้การบริหารจัดการมีความราบรื่นมีเป้าหมายที่จะไปจุดที่ร่วมกัน ที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ (Vision)

 2.3 การบริหารจึงมีความสำคัญเพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้า (Input) ผ่านกระบวนการ (Process) ไปสู่ผลผลิต (Out put) และผลลัพธ์ (Out Comes)เป็นความพึงพอใจของผู้รับบริการ การบริหารจึงไม่มีสูตรสำเร็จ ทั้งศาสตร์(มีขั้นตอน มีระบบ วางแผน คิด ปฏิบัติ ตรวจสอบ)และศิลป์ (มีการยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนภายใต้หลักการที่ดี) การที่ผู้บริหารมีหลักการบริหารโดยอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ จึงเป็นผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ (Leadership)

 2.4 กระบวนการบริหาร Management Process (POLE) ที่สำคัญประกอบด้วย P (PLANNING) O (ORGANIZING) L (LEADERS) E (EVALUATION)

3. ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหาร 3.1 Drucker กล่าวว่า ผู้บริหารควรพิจารณาหลักการสำคัญ ดังนี้

3.1.1 จุดเด่นของเราคืออะไร

 3.1.2 แบบแผนการทำงานของตน

3.1.3 ค่านิยมของตนเอง และขององค์การ

3.1.4 นำจุดแข็งขององค์การเป็นจุดขาย

3.2 ผู้นำควรมีการปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm) ในการบริหารงานเสมอ เช่น การมีภาวะผู้นำแบบรวมศูนย์ คิดแล้วสั่งการ จะรู้คนเดียว ควรปรับแก้เป็นภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจ บริหารกระบวนการ ระดับกลางบริหารทีม ระดับล่างพัฒนาระบบ ก็จะได้ผลผลิต (Productivity) ที่ต้องการ

 3.3 ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารที่สำคัญ เช่น ความรับผิดชอบ การเสริมสร้างทักษะเฉพาะเรื่อง การรับมือกับเรื่องการเมืองขององค์กร การคิดอย่างมีกลยุทธ์ การรับมือกับความเครียด การบริหารจัดการทีม การสร้างแรงจูงใจ การเจรจาต่อรอง การระดมแนวคิดใหม่ๆ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การวางแผนด้านความก้าวหน้าในอาชีพการงานส่วนบุคคล การสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน การกำหนดเป้าหมายและแผนงาน ฯลฯ

4. ตัวอย่างภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารที่ใช้กระบวนการบริหาร Management Process (POLE) ประกอบด้วย P (PLANNING) O (ORGANIZING) L (LEADERS) E (EVALUATION)

 

สรุปเรื่องที่ 3

 

กล่าวได้ว่าภาวะผู้นำของผู้บริหารที่สำคัญ ได้แก่ การมีลักษณะเด่น (dominance) มีพลังตื่นตัวมุ่งความสำเร็จ (high energy) เชื่อมั่นในตนเอง (self confidence) เชื่ออำนาจแห่งตน (internal locus of control) อารมณ์มั่นคง (stable) น่าเชื่อถือและไว้ใจได้ (integrity) มีปฏิภาณไหวพริบ (intelligence) ยืดหยุ่น (flexibility) ไวต่อความรู้สึกของบุคคลอื่น (sensitive to others) มีวิสัยทัศน์ร่วม (shared vision) ทำงานเป็นทีม (team work) มีการกำกับติดตาม (following up) มีความไว้วางใจ (trusting) มีการเสริมพลัง (empowerment) และมีการสื่อสารที่มีประสิทธิผล (effective communication)ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของภาวะผู้นำที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ อ้างอิง 1. http://www.nrru.ac.th/article/leadership/page1.3.html

 

 

หมายเลขบันทึก: 376892เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 09:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท