สิ่งที่เราสังเกตเห็นนั้น มีอยู่จริงหรือ ?


นักวิจัยทางสาขาวิทยาศาสตร์จะตอบว่า มีอยู่จริง

       คำตอบอาจจะเป็นดังนี้

       ๑. ถ้าเป็นคนทั่วไปจะตอบว่า  ถ้าเราเห็นโต๊ะตัวนั้น ๆ ก็ต้องมีอยู่จริงนะซี !  ถ้าเราไปเตะมัน   เราก็จะรู้สึกเจ็บเท้าแน่ ๆ   แล้วเราจะว่ามันไม่มีอยู่จริงตรงนั้นได้อย่างไร?

       ๒. ถ้าถามนักฟิสิกส์  เขาก็คงตอบว่า  ไม่มี  ไม่มีอะไรเลยนอกจากอะตอม ซึ่งเรามองไม่เห็น   และตัวเราก็ไม่มีใครมองเห็นอีกด้วยครับ  แล้วใครจะไปมองเห็นใครเล่า?  ก็ไม่มีอะไรเลยซีครับ  นอกจากอะตอม!  มันมหัศจรรย์จริง ๆ

       ๓. ถ้าเป็นนักปรัชญา  ก็คงมีคำตอบดังนี้

            ถ้าให้  A  เป็นโต๊ะตัวนั้น  และ  B  เป็นภาพโต๊ะตัวนั้นที่เกิดในความคิดของเรา  ภายในกะโหลกศีรษะของเราเอง  หรือภายในห้องมืด  เรียกสั้นๆว่า  ภาพในจิตของเราที่ขณะนั้นจัดอยู่ในระดับ  การรับรู้(Perception)   แล้วคำตอบจะเป็นดังนี้

            ๓.๑  นายแดงจะตอบว่า  ไม่มี  A  โดยให้เหตุผลว่า

                    ถ้า  A  แล้วละก้อ  B 

                    แต่  B  อยู่ในห้องมืด  จิตในห้องมืดไม่เคยเห็น A จริงๆเลย  แล้วจะว่ามี A  อยู่จริงภายนอกโน่นได้อย่างไร?   ไม่มีโต๊ะตัวนั้น มีแต่  B เท่านั้นที่มีอยู่จริง

            ๓.๒  นายดำจะตอบว่า  มี  A อยู่จริง  โดยให้เหตุผลว่า

                     ถ้า  A เป็นสาเหตุของ  B 

                     ดังนั้น  จะต้องมี A  ที่ทำให้เกิด  B  ถ้าไม่มี  A  แล้วจะเกิด B ได้อย่างไร?  ดังนั้น  จะต้องมี A อยู่จริงภายนอกโน่น  เพื่อที่จะทำให้เกิด  B  ขึ้นในหัวของเรา

       ถ้าเช่นนั้น  เราผู้เป็นนักวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์  จะเป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  หรือวิทยาศาสตร์สังคม ก็ตาม  จะต้องเห็นด้วยกับคนในข้อ ๑, และ ๓.๒

       นอกจากนี้  เรายังได้เสริมสร้างความเป็น  วัตถุวิสัย (Objectivity) ของ A  ให้เพิ่มขึ้น  โดยการหาพยานให้มากๆ  คือ  ให้มี  Subjects - Ss  ให้มากๆ  หรือให้  n  .ใหญ่ๆเข้าไว้  ตามวิชาสถิตินั่นแหละ  เพราะว่า  การที่มีคนเห็น A  กันหลายๆคน  แสดงว่า  A  มีจริงไงละครับ.  และเราเรียกความเป็นวัตถุวิสัยนี้ว่า  ปรนัย.

หมายเลขบันทึก: 37654เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2006 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เยี่ยม..!! หนูชอบบทความนี้คะ  และเห็นตามจริงอย่างที่กล่าวทุกประการ...

 

ขอบคุณครับ
เรื่องนี้ทำให้รู้ว่า คนเรามีมุมมองที่ต่างกัน ตามชุดความรู้ ประสบการณ์ หากการมองสิ่งหนึ่งที่แตกต่างไปจากที่เรามอง ก็เป็นเรื่อง "ธรรมดา"
ครับ  แต่มุมมองของนักฟิสิกส์ที่กล่าวข้างบนนี้ ไม่ธรรมดา นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท