น้ำกระด้าง


น้ำกระด้าง

น้ำกระด้างคืออะไร?

           น้ำกระด้าง หมายถึง น้ำที่ไม่เกิดฟองกับสบู่ หรือเกิดฟองสบู่น้อย และมีไคลสบู่เกิดขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งน้ำกระด้างหมายถึงน้ำที่มีแคลเซียมไอออน แมกนีเซียมไอออน หรือ ไอออนที่มีประจุบวกสอง ละลายอยู่ ตัวอย่างน้ำกระด้าง เช่น น้ำคลอง น้ำบ่อ น้ำประปา น้ำบาดาล น้ำทะเล เป็นต้น

น้ำกระด้างเกิดขึ้นได้อย่างไร?

     สาเหตุที่น้ำมีความกระด้าง เกิดจากน้ำฝนซึ่งมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่ทำให้เกิดเป็นกรดคาร์บอนิก ซึ่งเป็นกรดอ่อน เมื่อซึมลงใต้ดินผ่านชั้นดินซึ่งมีการสลายตัวของสารอินทรีย์ จะทำให้มีปริมาณกรดคาร์บอนิกมากขึ้น ซึ่งเมื่อน้ำที่ซึมผ่านชั้นดิน หรือสัมผัสกับชั้นหินโดยเฉพาะหินปูนซึ่งมีองค์ประกอบหลัก คือ แคลเซียมคาร์บอเนต และ แมกนีเซียมคาร์บอเนต น้ำจะสามารถละลายองค์ประกอบหลักเหล่านี้ได้ทำให้ปริมาณแคลเซียมไอออน และ แมกนีเซียมไอออนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นโดยทั่วไปน้ำบนผิวดิน เช่น แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ จะมีความกระด้างน้อยกว่าน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล

น้ำกระด้างมีประโยชน์หรือไม่?

           น้ำที่ใช้บริโภคได้ ถ้ามีคุณลักษณะเป็นน้ำค่อนข้างกระด้าง โดยเฉพาะเป็นน้ำกระด้างที่มีไอออนลบจำพวกคาร์บอเนตไอออนจะมีรสชาติดี ทำให้รู้สึกสดชื่น และโดยปกติอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ไม่สามารถทำให้น้ำที่มีความกระด้างเกิด ตะกอนหรือตะกรันอุดตันอวัยวะต่างๆ ได้ เราจึงดื่มน้ำที่มีความกระด้างได้นั่นเอง

           น้ำประปาที่ใช้อุปโภค ถ้ามีความกระด้างต่ำจะทำให้ใช้น้ำไม่สะดวก เช่น ในการอาบน้ำ หรือซักผ้า จะทำให้ล้างสบู่หรือผงซักฟอกออกยาก จึงมีกระบวนการในการเพิ่มความกระด้างของน้ำ เพื่อทำให้น้ำประปามีความสะดวกต่อผู้ใช้น้ำมากขึ้น

ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือนิตยสารสสวท. กับวิชาการดอทคอม
www.ipst.ac.th

คำสำคัญ (Tags): #น้ำกระด้าง#มจร.53
หมายเลขบันทึก: 376405เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2010 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท