บทความภาวะผู้นำทางการศึกษา


สรุปสาระบทความ : ภาวะผู้นำทางการศึกษา

 

จาก  ครูฌอง | November 30, 2007 |   2,899

 


ความหมายของคำว่า “ผู้นำ (Leader)”

ผู้นำ หมายถึง หัวหน้ากลุ่ม ทีม หรือองค์กรที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้น (O’Leary, 2000: 1 อ้างถึงในชัยเสฏฐ์ พรหมศรี, 2549)

ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่มีบารมี และสามารถตัดสินใจได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถกระตุ้นบุคคลอื่นให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ (O’Leary, 2000: 1 อ้างถึงใน ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี, 2549)

ความหมายของคำว่า “ภาวะผู้นำ (Leadership)”

ภาวะผู้นำ หมายถึง กระบวนการในการชักจูงให้พนักงานทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร (อ้างใน Lussier, 1996: 212 อ้างถึงใน ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี, 2549)

ภาวะผู้นำ หมายถึง ความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่น และการสนับสนุนให้เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร (Dubrin, 1998: 2 อ้างถึงใน ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี, 2549)

ภาวะผู้นำ หมายถึง การกระทำระหว่างบุคคล โดยบุคคลที่เป็นผู้นำจะใช้อิทธิพล (Influence) หรือการดลบันดาลใจ (Inspiration) ให้บุคคลอื่นหรือกลุ่ม กระทำหรือไม่กระทำบางสิ่งบางอย่าง ตามเป้าหมายที่ผู้นำกลุ่มหรือองค์การกำหนดไว้ (ธวัช บุณยมณี, 2550)

จากความหมายดังกล่าวอาจตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับภาวะผู้นำได้ดังนี้ (หฤทัย ปุตระเศรณี, ม.ป.ป.6-7 อ้างถึงใน ธวัช บุณยมณี, 2550)

  1. ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการ ไม่ใช่ตัวบุคคล
  2. ภาวะผู้นำแสดงให้เห็นถึงระดับอำนาจของผู้นำด้วย
  3. ภาวะผู้นำเป็นเรื่องของการนำไปสู่จุดมุ่งหมายของกลุ่ม

แหล่งของอำนาจ (The Source of Power)

แหล่งของอำนาจโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (Daft, 2002 อ้างถึงใน ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี, 2549) อันได้แก่

อำนาจโดยตำแหน่ง (position power) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ อำนาจโดยชอบธรรม (Legitimate power) คืออำนาจที่มาจากตำแหน่งที่เป็นทางการ อำนาจในการให้รางวัล (Reward power) คืออำนาจในการให้คุณแก่พนักงานในองค์กรในขอบเขตที่ตนสามารถกระทำได้ และ อำนาจในการขู่บังคับ (Coercive power) คืออำนาจในการให้โทษหรือลงโทษพนักงาน

อำนาจส่วนบุคคล (personal power) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ อำนาจทางความเชี่ยวชาญ (Expert power) คืออำนาจที่ได้จากความรู้ความสามารถพิเศษของผู้นำ และ อำนาจอ้างอิง (Referent power) คืออำนาจที่ได้มาจากคุณลักษณะทางบุคลิกภาพ

การแบ่งระดับของผู้นำ (Classifying Leaders)

มีผู้เสนอวิธีการในการจัดลำดับ หรือแบ่งระดับของผู้นำไว้มากมายหลายวิธี แต่ที่นิยมโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 วิธีด้วยกัน (Mosley, Pietri และ Megginson, 1995 อ้างถึงใน ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี, 2549) ได้แก่

  1. ตามวิธีที่ผู้นำใช้หรือแสดงออก (approach used) โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ได้แก่
    • ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic or Authoritarian) คือผู้นำที่ตัดสินเรื่องต่าง ๆ ทั้งหมดเองเพียงผู้เดียว
    • ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic or Participative) คือผู้นำที่ให้ความเอาใจใส่กับความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชา และเปิดโอกาสให้เขาเหล่านั้นได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
    • ผู้นำแบบตามสบาย (Laissez-faire or Free-rein leader) คือผู้นำที่ไม่เข้มงวดและปล่อยให้ลูกน้องทำตามที่เขาต้องการ
  2. ตามการมุ่งเน้นต่อการทำงานให้สำเร็จลุล่วง (orientation toward job) เป็นการแบ่งโดยใช้ทัศนคติของผู้นำที่มีต่อการทำงานให้ลุล่วง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
    • ผู้นำที่มุ่งเน้นงาน (Task-oriented or Production-oriented Leaders) คือผู้นำที่มุ่งเน้นไปในการทำงานให้สำเร็จลุล่วง มุ่งเน้นที่การวางแผน และกระบวนการทำงาน พยายามที่จะควบคุมอย่างใกล้ชิด
    • ผู้นำที่มุ่งเน้นคน (People-oriented or Employee-centered Leaders) คือผู้นำที่คำนึงถึงสวัสดิการ และความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชา

 

คำสำคัญ (Tags): #ภาวะผู้นำ
หมายเลขบันทึก: 375531เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2010 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท