เงินตราชุมชน


ระบบเงินตราชุมชนจะทำให้ชุมชนมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

รศ.ดร.ปัทมาวดี  โพชนุกูล ซูซูกิ หัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองและศ.ดร.อภิชัย พันธเสน หัวหน้าชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบเศรษฐกิจพอเพียงโดยการสนับสนุนของสกว.ลงมาจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายภาคกลาง-ภาคใต้ครั้งที่ 2       ที่บ้านคีรีวง นครศรีธรรมราช ผมได้เข้าร่วมประชุมด้วย วันแรกอยู่ในกลุ่มที่1แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดระบบแลกเปลี่ยนชุมชน มีอ.ตุ้ม ดร.ทิพวัลย์ สีจันทร์เป็นวิทยากรกระบวนการ   หลังจากนำข้อสรุปที่ได้จาก 2 กลุ่มแลกเปลี่ยนเล่าให้ที่ประชุมใหญ่ฟัง และได้รับฟังคำชี้แจงของหัวหน้าโครงการในคำถามและวัตถุประสงค์ของการวิจัย ทำให้ผมเข้าใจสถานะภาพของโครงการมากยิ่งขึ้น ซึ่งน่าสนใจมาก 
ช่วงเสาร์-อาทิตย์ ผมเกิดแรงบันดาลใจอ่านหนังสือ"เงินตราแห่งอนาคต"ซึ่งอ.ปัทมาวดีให้ไว้นานแล้ว ทำให้เห็นความสำคัญของโครงการวิจัยของอ.ปัทมาวดีมากยิ่งขึ้นซึ่งผู้เขียนหนังสือมองว่าระบบเงินตราเสริมเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่สังคมอุดมสมบูรณ์ที่ยั่งยืน ทลายกำแพงของปัญหาหลัก 4 ประการที่นำมนุษย์ไปสู่วิกฤตคือ1)ประชากรสูงอายุ2)ความผันผวนของระบบการเงิน3)การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ4)การปฏิวัติสารสนเทศ

ผมมองเชื่อมโยงกับโครงการวิจัยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนที่กำลังดำเนินการอยู่ด้วย ความคิดที่ผุดบังเกิดขึ้นตอนนี้คือ กลุ่มการเงินชุมชนโดยแนวคิดออมเพื่อกู้ใช้ระบบการเงินเป็นเครื่องมือสร้างสวัสดิการ แต่เนื่องจากเครื่องมือดังกล่าวอาศัยดอกเบี้ยซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของระบบทุนนิยม จึงขัดแย้งในตัวเอง กองทุนสัจจะวันละ 1 บาทไม่มีแนวคิดเรื่องดอกเบี้ยอยู่เลยน่าจะเป็นเครื่องมือที่สอดคล้องกับเป้าหมายการสร้างชุมชนสวัสดิการมากกว่า และหากเติมเต็มด้วยระบบเงินตราชุมชนก็จะทำให้ชุมชนมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
เรื่องนี้ต้องแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูชบ ยอดแก้วแล้วละครับ

หมายเลขบันทึก: 3754เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2005 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท