สถิติการใช้ฐานข้อมูล E-Book น้อยมาก : จะทำอย่างไรดี ???


มีคุณประโยชน์ แต่ใช้ไม่คุ้มค่า

เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ดิฉันได้รับ e-mail แจ้งจากคุณวีระชาติ มัตติทานนท์ ผู้ประสานงาน UNINET และ ThaiLIS ของสกอ. เรื่องการใช้งานฐานข้อมูล E-Book ที่สกอ. จัดซื้อให้สำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐใช้งานร่วมกัน ซึ่งทางคุณวีระชาติแจ้งมายังบรรณารักษ์ผู้ประสานงานแต่ละสถาบันว่า สถิติการใช้งานฐานข้อมูล E-Book ในรอบปีที่ผ่านมาน้อยมาก แต่ละรายชื่อมีการเข้าใช้งานเพียงเล่มละครั้ง 2 ครั้ง  เข้าใจว่าทางสกอ. คงกังวลว่ามีปริมาณการใช้งานน้อย จะไม่คุ้มค่ากับการลงทุนที่เสียไป  จึงแสดงข้อสังเกตและความคิดเห็นมาผ่านทาง e-mail ว่าแต่ละสถาบันมีความคิดเห็นอย่างไร และจะทำอย่างไรที่จะทำให้มีการใช้งานมากกว่านี้ดี  .... 

หมายเหตุ   สถิติการเข้าใช้ทั้งหมด Total Access  เดือนมีนาคม 325  ครั้ง  เมษายน 254 ครั้ง และพฤษภาคม 702 ครั้ง

แหล่งอ้างอิง  netLibrary    http://www.netlibrary.com

Kluweronline  http://ebooks.kluweronline.com/ 

ค้นข้อมูล e-book ของสกอ. http://www.2ebook.com/search/search.php?academic=6 

 

หมายเลขบันทึก: 37524เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2006 22:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • จริงๆ ถ้าในฐานะผู้ใช้นะครับ
  • อีบุ๊ค เข้าใช้ได้ยาก ช้า และที่สำคัญขีดจำกัดเรื่องภาษาเป็นอุปสรรคหนึ่งครับ
  • การพิมพ์ก็ลำบากครับ เมื่อเทียบกับการอ่านจากหนังสือ

เห็นด้วยกับอาจารย์หนึ่งคะ ebook เข้าใช้ยากคะ save ยาก print ยากคะ ก็คงเป็นเรื่องของบริษัทจะที่ต้องจัดการคะ  

ถ้าเป็น pdf หรือทำเป็นหน้าเพจไว้จะใช้ง่ายกว่าคะ ตัวอย่าง ebook ดีๆ มีเยอะคะ เช่น http://safari.oreilly.com เป็นต้นคะ

เห็นด้วยกับอจ ค่ะ เพราะข้อจำกัดหลายอย่าง จึงทำให้การใช้งานน้อย   ถ้าเป็น e-Book ภาษาไทย น่าจะมีการใช้งานมากกว่านี้ไหมคะ

รติวัฒน์ (ห้องสมุด ม.ราชภัฎพิบูลสงคราม)

ที่ ม.ราชภัฎพิบูลสงคราม ก็เหมือนกันครับ ตอนนี้กระตุ้นการใช้งานด้วยการจัดอบรมทั้งแบบตั้งรับ และ เชิงรุก (ส่วนใหญ่แบบตั้งรับครับ) ในการใช้ database  online นั้นพอมีบ้าง ส่วนการใช้ e-book นั้นมีน้อยครับ การใช้ลำบาก copy --> past ทำได้ทีละหน้า ผู้ใช้งานก็ไม่สนใจ อีกทั้งเป็นภาษาอังกฤษน.ศ ป.ตรีไม่ค่อยใช้  ส่วนใหญ่ก็จะเป็นป.โท

คงต้องให้ทาง สกอ. คิดและทบทวนอีกครั้งเรื่อง รูปแบบการใช้งาน และข้อจำกัดในการใช้งานแต่ละ e-book  

เจ้าหน้าที่ห้องสมุด

มีความคิดตั้งแต่แรกแล้วว่า...อยากให้มีห้องสืบค้นสำหรับสืบค้นฐานข้อมูล...และ e-book ไว้ต่างหาก...ซึ่งแยกจากคอมพิวเตอร์เพื่อสืบค้นทั่วไป...อาจจะเปิดหน้าเว็บ...ฐานข้อมูลนั้น ๆ ไว้เลย และในส่วนของ e-book อาจจะจัดทำบรรณานุกรมแยกตามสาขาวิชาไว้เป็นเล่ม ๆ เพื่อที่จะสะดวกในการค้นหา...ซึ่งอาจจะทำสำเนาเพิ่มในภายหลังหากมีผู้สนใจมากขึ้น หรืออาจจะทำเป็นบรรณานุกรมแยกส่งให้แก่คณะต่าง ๆ ตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง....ดิฉันคิดว่าน่าจะเป็นการบริการเชิงรุกที่น่าสนใจทีเดียวค่ะ

jjเจ้าหน้าที่ห้องสมุด

อีกความคิดนึงที่อยากทำ คือจัดนิทรรศการใกล้ ๆ กับประตูทางเข้าออก โดยจัดเตรียมคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นฐานข้อมูลและ e-book โดยเฉพาะ และมีแผ่นพับ คู่มือในการค้นหา และมีเจ้าหน้าที่คอยสาธิตการสืบค้น...ให้แก่ อาจารย์ และนักศึกษาที่สนใจได้ตอนนั้นเลย...น่าทำค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท