กฎหมายการลงทุนที่สำคัญในประเทศไทย


ลดช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุน

                  การที่ประเทศไทยจะพัฒนาและเจริญเติบโตด้วยความมั่นคงและมีเสถียรภาพประการหนึ่งคือ ประเทศไทยต้องมีการลงทุนภายในประเทศไม่ว่าผู้ประกอบการจะเป็นประชาชนคนไทยหรือนักลงทุนต่างชาติเพราะจะทำให้มีการจ้างงาน ประชาชนมีรายได้ มีการจับจ่ายใช้สอยเงิน ทำให้มีเงินหมุนเวียนภายในประเทศ และเมื่อมีการลงทุนประชาชนมีรายได้ก็จะมีเงินออมเก็บเอาไว้เลี้ยงชีพ ยามชรา หรือยามจำเป็นที่ต้องใช้เงิน และหากมีเงินเหลือมากก็มีเงินไปลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์ตอบแทน เป็นการลดช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุนที่ประชาชนคนไทยเคยได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างงานในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540-2541   

                  ดังนั้นในการลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์ตอบแทนจึงต้องเลือกวิธีการลงทุนที่ปลอดภัยแต่ได้ผลตอบแทนสูงซึ่งในปัจจุบันมีกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนที่สำคัญได้แก่

                   1. พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 เป็นพระราชบัญญัติที่ใช้บังคับกับผู้ประกอบการที่จ้างลูกจ้างในสถานประกอบการโดย เปิดโอกาสให้ลูกจ้างสามารถเลือกวิธีการลงทุนด้วยตนเองได้ ทั้งนี้การจะได้ผลตอบแทนสูงหรือต่ำ ขึ้นกับการศึกษาข้อมูลการลงทุนของลูกจ้าง        

                  2. พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539  เป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการลงทุนที่ใช้บังคับกับข้าราชการ  พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ . ศ . 2539  ได้จัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ( กบข .) ขึ้น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 27 มีนาคม 2540 ภายใต้วัตถุประสงค์ ดังนี้ 

                      (ก)  เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์เมื่อออกจากราชการ 

                        (ข)  เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ 

                      (ค)  เพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิกนอกเหนือจากที่ทางราชการกำหนดให้ 

                       เมื่อพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ . ศ .2539 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2540 แล้ว  ข้าราชการที่บรรจุใหม่ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2540 ต้องเป็นสมาชิกกองทุน และข้าราชการที่บรรจุอยู่ก่อนแล้วสามารถจะเลือกเป็นหรือไม่เป็นสมาชิกกองทุน  ก็ได้ 

                       สมาชิกกองทุน ส่งเงินสะสม เข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ( ปัจจุบันกำหนดที่ ร้อยละ 3 ของอัตราเงินเดือน ) 

                               สิทธิประโยชน์ 

                        1. รัฐจ่าย เงินสมทบ เข้าบัญชีของสมาชิกเท่าจำนวนที่สมาชิกสะสม ( รัฐจ่ายให้อีก ร้อยละ 3 ของอัตราเงินเดือน ) 
                        2. สวัสดิการเพิ่มเติมจาก กบข . ที่นอกเหนือจากที่รัฐกำหนดไว้ให้แก่สมาชิก 
                               

                               สิทธิประโยชน์เมื่อพ้นสมาชิกภาพ

                        1. สมาชิกจะได้รับ เงินสะสม และ เงินสมทบ ที่รัฐสมทบไว้ให้ทั้งหมด พร้อมผลประโยชน์ 

                        2. สมาชิกจะได้รับ เงินชดเชยพร้อมผลประโยชน์ หากเลือกรับบำนาญ ( เงินชดเชย คือเงินที่รัฐ นำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายแก่สมาชิกซึ่งรับ

บำนาญ )                      

                         3. พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 เป็นพระราชบัญญัติเพื่อกำกับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศไทย ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2535 แทน พระราชบัญญัติ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ซึ่งแก้ไขในปี พ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติ หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้จัดตั้ง คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ ทั้งระบบ ซึ่งรวมถึงการออกหลักทรัพย์จำหน่าย ในตลาดแรก การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดรอง การดำเนินงานของตลาดหลัก ทรัพย์และองค์กรต่าง ๆ เกี่ยวกับ อุตสาหกรรมหลักทรัพย์ รวมถึงการพัฒนาตลาดทุนให้ก้าวหน้า ทันสมัยและมีเสถียรภาพ 

หมายเลขบันทึก: 37458เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2006 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ลงทุนธุรกิจถ้าไม่ได้ศึกษาไว้บ้างนี่แย่เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท