การพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนชุมชนของไทยกับการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เศรษฐกิจชุมชน


  การประชุมเชิงปฏิบัติการภาคกลาง-ภาคใต้ ครั้งที่ ๒

โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการแลกเปลี่ยนชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองระยะที่ ๒ <p align="center">การพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนชุมชนของไทยกับการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เศรษฐกิจชุมชน ณ ท่าหารีสอร์ท ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช </p><p align="center">วันที่ ๘-๙ กันยายน ๒๕๔๘ </p><h5>หนู เค เอ็ม ได้หยิบยก บทความของ ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน จากเอกสารที่ใช้ประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการสร้างความเข้าใจในที่มาของโครงการ </h5><h3>ระบบแลกเปลี่ยนชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง คือ อะไร ?             </h3><p>ถ้าถามใคร ๆ ว่า ถ้าเราอยากจะได้อะไรโดยที่เราไม่สามารถทำได้เอง เราจะทำอย่างไรทุกคนจะตอบพร้อมกันว่าก็ต้องหาเงินไปซื้อของอของเขา  ความจริงในอดีตเคยมีทางเลือก คือ เอาของที่เรามีมากเกินพอไปแลกกับของที่เรามีความต้องการมากกว่า นี่คือ ความหมายของการแลกเปลี่ยน </p><p>           ข้อดีของระบบนี้คือ ถ้าหากเงินหายากกว่าของที่เรามีอยู่แล้วเราก็เอาของของเราไปแลกดีกว่า เพราะในความเป็นจริงนั้น  เงินหายากกว่าของที่เรามีอยู่เพราะอย่างน้อยก็ต้องเอาของที่เรามีอยู่ไปแลกกับเงินเสียก่อนที่จะได้เงินมา ขณะเดียวกัน เราก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินในบางกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การเดินทางไปรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือต้องส่งเสียให้ลูกหลานได้มีโอกาสทางการศึกษา เป็นต้น ถ้าสามารถประหยัดเงินโดยการแลกสิ่งของและบริการต่อกันได้ก็จะสามารถเก็บเงินเอาไว้ใช้ในยามจำเป็นจริงได้ในภายหลัง </p>            ในกรณีที่เราต้องติดต่อกับโลกภายนอกหรือคนนอกชุมชน โดยเราเอาแรงงานที่เรามีเหลืออยู่ หรือของที่เรามีเหลือจากความต้องการภายในชุมชนไปแลกเปลี่ยนกับภายนอกนี่คือการแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนลักษณะเช่นนี้ เราก็จะมีภูมิคุ้มกันที่ดีไม่ต้องรอให้รัฐบาลมาช่วย เพราะในความเป็นจริงรัฐบาลก็ช่วยใครไม่ได้มากนอกจากพวกของตัวเอง  <h5>            กิจกรรมวันที่ ๘-๙ กย. จัดแบ่งกลุ่ม ๑) เล่นเกมส์บัตรแลกเปลี่ยนชุมชน เพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างรูปแบบการใช้เงินในการแลกเปลี่ยน กับการใช้บุญ (ของชุมชนกุดชุม)แทนเงิน และการใช้ใจ (ของโคราช)แทนเงิน </h5><p>            ประโยชน์ที่ได้รับของการแลกเปลี่ยนแบบใช้บุญและใช้ใจ (แต่ก็ยังมีผสมกับการใช้เงินตราอยู่บ้าง เพื่อการติดต่อใช้กับคนนอกชุมชน ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร)</p><p>ด้านเศรษฐกิจ </p><p>๑)      จะมีเงินบาทหมุนเวียนอยู่ในชุมชนไม่รั่วไหลไปไหน</p><p>๒)     กระตุ้นให้เกิดการผลิต ,
๓)     ให้ชุมชนมีสินค้าเพิ่มขึ้น</p><p>๔)     กระตุ้นการใช้วัตถุดิบในชุมชน</p>๕)     ทรัพยากรหมุนเวียนในชุมชนมากขึ้น <p> </p><p>๖)      ส่งเสริมให้เกิดการแปรรูป </p><p>๗)     ลดการกู้เงินนอกระบบ </p><p>สังคม </p><p>๑)      ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมากขึ้น </p><p>๒)     ส่งเสริมให้คนในชุมชนรู้จักกันมากขึ้น </p><p>๓)     ทำให้คนขยัน รู้จักทำมาหากิน เกิดการผลิตมาก </p><p>๔)     ลดปัญหาเรื่องยาเสพติด </p><p>๕)     ชุมชนเข้มแข็ง </p><p>กิจกรรมนี้ทำให้ หนู เค เอ็ม และพี่แป้น (ทีมประสานฯ) เข้าใจในตัวโครงการวิจัยและพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองมากขึ้น (นอกจากการศึกษาทฤษฎีแล้วการปฏิบัติจะทำให้เข้าใจได้ดีทีเดียวคะ) และผลพวงอีกเรื่องก็คือ กิจกรรมนี้ได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมด้วยคะ </p><p>๒)  การสัมมนากลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดระบบแลกเปลี่ยนชุมชน : ผล ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา </p><p>กลุ่มที่ ๑  กลุ่มกรงนกและเครือข่าย กลุ่มหนองอ้อและเครือข่าย กลุ่มวัดเทวดาราม กลุ่มทอผ้าบ้านวังทองและเครือข่าย </p><p>กลุ่มที่ ๒  กลุ่มมิตรภาพและเครือข่าย กลุ่มเครือข่าย จ.ชัยนาท  กลุ่มอามาน๊ะ กลุ่มคีรีวง </p><p>(ผลจากการทำกิจกรรมกลุ่มนำมาเสนอในวันที่ ๙ กย.) ประเด็น คือ  </p>ผลที่ได้รับ <p>มีวิถีชุมชน ได้เพื่อนเครือข่าย บรรเทาปัญหาผลผลิตตกต่ำ  ดึงให้สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ ได้
ปัญหาที่พบ </p>

นักวิจัย

๑)  จำกัดเรื่องระยะเวลา  ๒)  นักวิจัยไม่มีจิตสำนึก  ๓)  นักวิจัยยังเป็นนักวิจัยแบบรับจ้าง ๔)  ระบบยังไม่เร้าใจพอ 

  <p>ชุมชน 
            ๑)  ยังไม่เข้าใจในโครงการที่ลงไปทำ ยังไม่เข้าใจในระบบแลกเปลี่ยน  ๒)  ชุมชนยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่ต้องทำมาก ไม่ค่อยมีเวลาที่จะมาสนใจกิจกรรมนี้(แลกเปลี่ยนเพื่อพึ่งตนเอง)  ๓)  ไม่มีศรัทธาในนักวิจัย  ๔)  หนี้สินมาก  ๕)  ไม่มีวิสัยทัศน์ </p>

กรรมการ 

มีงานเยอะหลายตำแหน่ง (สวมหมวกหลายใบ)

ระบบที่ใช้ 
            ๑)  ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่  ๒) เหมือนเอาระบบไปวางไว้ให้และให้ทำตามนั้นมันขัดกับความรู้สึกของประชาชน            
แนวทางการแก้ปัญหา 

            ทุกส่วนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา อย่างมีจิตสำนึก ทุ่มเท เพื่อพัฒนาทุนทางสังคม สร้างความสัมพันธ์ในชุมชน แก้ปัญหาเศรษฐกิจ และฟื้นฟูภูมิปัญญา

           นอกจากกิจกรรมในเวทีประชุมแล้ว ยังมีการลงพื้นที่เยี่ยมชมกลุ่มสมุนไพร (วันที่ ๘ กย.)อีกด้วยคะ ส่วนในวันที่ ๙ นั้นหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม (ปิดการประชุมเวลา ๑๒๐๐ น.)          ทีมประสาน และ ดร.ทิพวัลย์ กับทีมอาจารย์ส่วนหนึ่ง ก็ได้ไปเยี่ยมชมกลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติ บ้านคีรีวง ต.กำโลน  แวะดูกรรมวิธีการทำเกษตรอินทรีย์ ที่วัดป่ายาง  และศักการะพระบรมธาตุเมืองนครเพื่อเป็นสิริมงคล ปิดท้ายด้วยซื้อสินค้าที่ ศูนย์ OTOP เมืองนคร <p align="center"></p>  <p> </p></strong>

คำสำคัญ (Tags): #สรุปการประชุม
หมายเลขบันทึก: 3745เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2005 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
     ขอนุญาตนำเรื่องราวดี ๆ เช่นนี้ไปถ่ายทอด ณ เวที ตำบลคลองใหญ่ อ.ป่าพะยอม ในวันที่ 29 กันยายน 2548 นี้นะครับ "การพัฒนาทีมสุขภาพชุมชน โดยใช้ปัญหาไข้เลือดออก เป็นเครื่องมือฯ"
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท