ห้องฟันบ้านโฮ่ง
ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง ห้องฟัน โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง

ข่วงวัฒนธรรมปกาญอหล่อเกล่


ปกาญอหล่อเกล่

     เมื่อวานมีโอกาสไปเที่ยวงานประเพณีของชาวกระเหรี่ยงบ้านห้วยหละ

                                       อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน 

     วันที่ 12 กค.53 ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวกระเหรี่ยงบ้านห้วยหละ  กิจกรรมหลักคือผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านจะผูกข้อไม้ข้อมือให้ลูกหลานเพื่อเป็นศิริมงคล

         เวลาผูกข้อมือ คนโดนผูกจะต้องหยิบข้าวเหนียว 2 สี (สีขาว และ สีแดง)   

ฉีกเนื้อไก่ต้ม 2 ตัวอย่างละนิด กล้วยสุกเล็กน้อย อ้อยนิดหน่อย กำไว้ในมือ แล้วผู้เฒ่าก็จะบริกรรมคาถา(อย่างยาว) เสร็จ 1 ข้าง ก็ต้องย้ายข้าวมากำไว้อีกข้าง ทำเหมือนเดิมจนเสร็จ แล้วท่านผู้เฒ่าก็จะเอาเศษด้ายที่เหลือเด็ดมาใส่บนหัว แล้วเราก็เอาข้าวในกำมือยัดใส่ปาก กินให้หมด ห้ามคาย  ส่วนด้ายบนหัวถ้าหล่นก็ไม่เป็นไร แต่ด้ายที่ผูกข้อมือต้องเอาไว้ 3 วัน ห้ามถอดออกก่อน

        จริงๆในงานพิธีจะมีการทำนายดวงชะตาชีวิต โดยการดื่มเหล้า (ที่ต้มเอง) จนเหลือก้นแก้วเล็กน้อย แล้วผู้เฒ่าคนเดิมก็จะทำนายจากปริมาณเหล้าที่เหลือ

(จริงๆแล้วอยากทำนายด้วยอ่ะ แต่เปลี่ยนเป็นกินน้ำไม่ได้อ่ะ)

       

        ในวันที่ 11 กค. 53 ก่อนวันงาน 1 วัน ทางหมู่บ้านห้วยหละร่วมกับ รพ.บ้านโฮ่ง ได้จัดงานข่วงข่วงวัฒนธรรมปกาญอหล่อเกล่เป็นครั้งแรก เพื่อเป็นการรณรงค์ให้มีการฟื้นฟูวัฒนธรรมประจำถิ่น โดยใช้ลานเอนกประสงค์กลางหมู่บ้านเป็นสถานที่จัดงาน

      

เวทีหลัก

การแสดงของหญิงสาวในหมู่บ้าน

นิทรรศการภาพถ่ายในอดีต

การแต่งกาย

เด็กๆ

ชุดหญิงสาว

ชุดหญิงแต่งงานแล้ว

ผู้ชายนุ่งเสื้อผ้าทอ โสร่งสีแดงเท่านั้น

                                                                                

                                                                                 มีต่อบันทึกหน้าค่ะ.....

หมายเลขบันทึก: 374422เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2010 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบอ่านเรื่องปกากะญอ รออ่านอีกครับ ตะบลือ

น่าสนใจมากครับ เพียงแต่เราไม่ค่อยทราบความเป็นมาว่า ทำไมต้องใช้ของสิ่งนั้น ทำแบบนั้นเป็นต้น คนรุ่นต่อมาจึงทราบเพียงแต่ว่า ทำต่อๆ กันมา อย่างไรก็ตาม ความเชื่อและประเพณีเหล่านี้มีคุณค่าทางจิตใจอย่างสูงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท