มาตรฐานงานชุมชน


ผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กรชุมชน เครือข่ายและชุมชน

  มาตรฐานงานชุมชน

วันที่  ๘ กย.ทีมประสาน ได้เข้าร่วมงานระบบมาตรฐานงานชุมชน (มชช.) ซึ่งจัด ขึ้นใน   วันที่ ๗-๘ กย. ณ โรงแรมทักษิณ จ.นครศรีธรรมราช (เข้าร่วมสังเกตุการณ์ครึ่งวันเช้าวันที่ ๘ เนื่องจากมีงานที่คีรีวงด้วยคะ ๘-๙ กย.) ผู้เข้าร่วมจะเป็นตัวแทนจาก มชช.อำเภอ มชช.จังหวัด ผู้นำชุมชน และตัวแทนจากเครือข่ายที่มีความเข้มแข็ง มีมาตรฐานการทำงานชุมชนที่เข้าข่ายมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จาก ๒๓ อำเภอ ของ จ.นครศรีฯ  

            “ระบบมาตรฐานงานชุมชน” เรียกย่อ ๆ ว่า มชช. นี้นะคะ ก็เป็นเครื่องมือสำหรับผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน และชุมชน ที่จะใช้ประเมินตนเอง และพัฒนาศักยภาพ     ของตนเอง ที่เป็นกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนร่วมกับภาคีพัฒนา โดยผ่านกระบวนการ่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา และร่วมสรุป ถอดบทเรียน รวมทั้งกำหนดทิศทางการพัฒนา ที่ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างเป็นระบบ       

หลักการสำคัญของมาตรฐานงานชุมชน คือ ๑) การมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนเป็นเจ้าของ ประชาชนเป็นผู้รับประโยชน์ ๒)  ชุมชนมีความสมัครใจในการพัฒนาตนเอง  ๓) กระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง  ๔) ความยืดหยุ่น สอดคล้องเหมาะสมกับชุมชน และ ๕) ความร่วมมือและยอมรับเป็นเครื่องมือเชื่อมประสานการทำงานการพัฒนาศักยภาพ

สรุปส่วนหนึ่งจากการทำกิจกรรม
ประโยชน์ของ มชช.
๑)      รู้เขารู้เรา ปรับใช้กับตนเอง/ชุมชน
๒)     ผู้นำรู้จักตนเอง๓)     สร้างการยอมรับ/ภาคภูมิใจ
๔)     เกิดความคิดหลากหลาย
๕)     การพัฒนาทที่ยั่งยืน
๖)      ความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันในชุมชน

๗)     มีแบบปฏิบัติที่ชัดเจน

๘)     สร้างความเชื่อมั่น
๙)     รู้จักประเมินตนเอง

๑๐)  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ <p>๑๑)  รู้ศักยภาพของตนเอง </p>๑๑)  <p>๑๒)รู้เป้าหมาย/ทิศทาง</p><p>ประสบการณ์ </p><p>๑)      ยกระดับคุณภาพของตนเอง</p><p>๒)     สร้างการมีส่วนร่วม/จิตสำนึกร่วม </p><p>๓)     โอกาสในการกำหนดตัวชี้วัด</p><p>๔)     การทำงานร่วมกับภาคี
๕)     การบริหารจัดการตนเอง </p><p>๖)      เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง </p><p>วิธีการดำเนินการ </p><p>๑)      สร้างการเรียนรู้</p><p>๒)     จัดเวทีกำหนดตัวชี้วัด </p><p>๓)     จัดทำแผน/งบประมาณ </p><p>๔)     ลงมือปฏิบัติ </p><p>๕)     ประเมินผล </p><p>-  ประเมินตนเอง </p><p>-  ประเมินจากภายนอก </p><p>ปัญหา </p><p>๑)      ความยุ่งยากด้านการจัดทำเอกสาร </p><p>๒)      ลดขั้นตอนการประเมิน/ทำในระดับตำบล </p><p>๓)     ระยะเวลาพัฒนาน้อย</p><p>๔)     ขาดงบประมาณ/ไม่มีค่าตอบแทน
๕)     ตัวชี้วัดยังไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิต </p><p>๖)      ชาวบ้านมักไม่แสดงความคิดเห็น </p><p>๗)     ขาดการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างจริงจัง </p><p>๘)     ขาดทักษะในการปฏิบัติ </p><p>ข้อเสนอแนะ
๑)      ชุมชนกำหนดตัวชี้วัดเอง </p><p>๒)     มีการประชาสัมพันธ์ </p><p>๓)     การมีส่วนร่วมของภาคี </p><p>๔)     ควรมีตัวแทนในการทำงาน </p><p>๕)     ควรมีค่าตอบแทนเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน </p><p>๖)      ควรมี มชช.ตำบล </p><p>๗)     มชช.เป็นเป้าหมาย/เครื่องมือ </p><p>ประเมินตนเองเป็นระยะ </p><p>เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการประเมินตนเอง ในแบบที่มีมาตรฐานตัวชี้วัดที่ชัดเจน ฟังดูแล้วเหมือนกับงานที่หน่วยจัดการความรู้ ฯ กำลังขับเคลื่อนในเรื่องของการจัดการความรู้ในขณะนี้     นะคะ การมาร่วมสังเกตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้สามารถมีเครือข่ายการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันในระดับจังหวัดเพิ่มขึ้นคะ </p><p align="center"></p><p> </p>

คำสำคัญ (Tags): #สรุปการประชุม
หมายเลขบันทึก: 3744เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2005 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท