COP ท่าเรือกรุงเทพ


COP

 วันนี้ได้ไปร่วมสังเกตการณ์ในการทำ COP ของท่าเรือกรุงเทพฯ ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนามาตรฐานในการวินิจฉัยพิกัด

ซึ่งวันนี้มีผู้ร่วมในการสังเกตการณ์คือ สำนักงานเศรษฐกิจและสังคม ที่ต้องการมาเรียนรู้การทำ COP ของท่าเรือกรุงเทพ.

ซึ่งกิจกรรมวันนี้เริ่มจากการให้ผู้เชี่ยวชาญในการวินิฉัยพิกัดโดยผอ.ซึ่งเกษียนอายุราชการไปแล้ว มาให้ความรู้ก่อน (ซึ่งเป็นวาระที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการทำCOP แต่ละครั้งส่วนใหญ่จะคุยกันเองโดยไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ก่อน

ผอ.เริ่มจากการกล่าวถึงพิกัด 84 และ 87 พิกัด 84 คือเครื่องจักทั่วไป

ส่วนพิกัด 87 เป็นเครื่องจักที่เคลื่อนที่ได้นอกจากนี้ยังมีการยกตัวอย่างลักษณะที่คาบเกี่ยวกันระหว่างพิกัด 84 และ 87 พร้อมทั้งกล่าวถึงหลักในการวินิฉัย

จากนั้นก็จะเปิดโอกาสให้สมาชิกCOP  (ซึ่งมาจากเจ้าหน้าที่ 2 กลุ่มคือ เจ้าหน้าที่ประเมินอากร และ นายตรวจศุลกากร) แลกเปลี่ยนกันเอง โดยมีการกำหนด "คุณอำนวย" และ "คุณลิขิต" ขึ้นทำหน้าที่ ทั้งนี้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีการยกกรณีศึกษาและตัวอย่างเครื่องจักรที่เป็นปัญหาในการวินิจฉัย จากนั้นคนที่เคยมีความรู้ มีประสบการณ์ก็จะช่วยกันให้ความเห็น โดยที่คุณลิขิต ก็ยังมีบทบาทในการร่วมแลกเปลี่ยนด้วย

ซึ่งมีบางตัวอย่างที่สมาชิกCOP ไม่สามารถให้ความเห็นได้ ก็จะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ประกอบการมาร่วมCOP ในครั้งต่อๆ ไป

เมื่อแลกเปลี่ยนกันจนพอจะทำให้สมาชิกแยกแยะออกระหว่างสินค้าพิกัด 84 และ  87 แล้ว "คุณอำนวย" ก็จะนำสู่การทำ AAR  โดยมีคำถามว่า

 1.แต่ละคนได้ความรู้อะไรบ้าง

2.สิ่งที่สนทนาบรรลุเป้าหมายอะไรบ้าง

3.สิ่งที่เกินความคาดหวัง

4. สิ่งที่ทำให้ไม่บรรลุเป้าหมาย

5.จะทำอะไรต่อ

ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่จะตอบว่า ทำให้เข้าใจการแยกแยะสินค้าในพิกัด 84และ 87 ได้ มีความเข้าใจความแตกต่าง และจะนำไปบอกต่อ  ส่วนสิ่งที่ทำให้ไม่ได้ตามเป้าก็คือ พวกเขาไม่มีโอกาสเข้าไป ค้นหาความรู้ในอินเตอร์เน็ต เพราะที่ผ่านมาเมื่อเวลามีการทำCOP เมื่อเกิดข้อกังขาไม่แน่ใจ พวกเขาจะมีคอมพิวเตอร์ไว้ค้นหาข้อมูลอ้างอิงกัน แต่ในวันนี้เป็นการเปลี่ยนห้องการประชุม เนื่องจากมีแขกเข้ามาเยี่ยมชมสังเกตการหลายท่านจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนห้องและไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้

ซึ่งโดยรวมแล้ว COP ของการท่าเรือกรุงเทพ ทำได้ดีพอสมควร แต่ยังเห็นความเกร็งของคุณอำนวย และสมาชิกอยู่บ้าง อาจเป็นเพราะการเปลี่ยนห้องประชุมที่ใหญ่ขึ้นและมีแขกมาเยี่ยมชมจึงไม่เป็นธรรมชาติมากนัก ส่วนคำถามAAR นั้นยังรู้สึกว่า บางคำถามอาจทำให้ผู้ตอบคำถามต้องตอบคำถามแบบซ้ำซ้อน อาจเป็นเพราะคำถามไม่ชัดเจน หรือผู้ตอบไม่เข้าใจคำถาม แต่ก็มีการปล่อยให้ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว อาจเป็นเลยเวลาทานข้าวมามากทำให้ทุกคนมีใจจดจ่ออยู่กับมื้อเที่ยงก็เป็นได้ ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 37436เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2006 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท