ไพล...การดูแลผิวเบาหวาน


ซึ่งเป้าหมายการดูแลเท้าเบาหวานคือการป้องกันแผลและสร้างเกาะคุ้มกันให้แข็งแรงหลายๆ ชั้นมากขึ้น แทนการสูญเสียออกจากร่างกายนะคะ การนวดโลชั่นเป็นการเติมเข้าไป การเติมที่ดีและถูกต้องจะช่วยสุขภาพเท้า
ดิฉันเคยเขียนบทความในอดีตถึงเรื่องการใช้โลชั่นดูแลผิวเบาหวาน และได้มีผู้สอบถามถึงการใช้ไพลจะได้ประโยชน์แค่ไหน? เพราะชาวบ้านโดยทั่วไปกำลังนิยมใช้กันมาก ดิฉันจึงได้พยายามศึกษาและในวันนี้ขอถือโอกาสมาแลกเปลี่ยนความรู้ที่ค้นคว้ามาให้ทราบนะคะ ต้องขออภัยท่านที่สอบถามมา ณ ที่นี้ด้วย ที่ตอบได้ช้าไปหน่อย ตามหลักการที่ถูกต้องของการดูแลทุกเรื่อง เราต้องค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา ก่อนที่จะไปเลือกตัวแก้ที่เหมาะสม มันจะต้องลงล็อคกันพอดี มันจึงจะเกิดประโยชน์ อย่างบอกว่าผิวแห้งให้เพิ่มความชุ่มชื้น ผู้ป่วยบางคนถามเลยว่าแล้วจะให้ทาอะไรดี .จะเลือกอะไรให้ก็ต้องรู้ว่าสาเหตุที่ทำให้ปัญหาเกิดคืออะไร เราจะแก้ตามสาเหตุเชื่อมต่อออกไปจนถึงปลายทางของปัญหา จึงจะเป็นการแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง สาเหตุของปัญหาที่พบในเท้าผู้ป่วยเบาหวานมี Neuropathy และ Artherosclerosis ผิวแห้งเกิดจาก ๒ ปัจจัยดังนี้ ๑) ปัจจัยภายใน ได้แก่ - ภาวะ Peripheral Neuropathy การรับความรู้สึกเจ็บปวดที่เท้าลดน้อยลง ทำให้เดินและใช้งานนานกว่าปกติ ทำให้มีแรงกด และ แรงเสียดสี เพิ่มความร้อนแก่ผิวภายในรองเท้า ทำให้ผิวแห้ง - ภาวะ Autonomic Neurophthy การควบคุมต่อมเหงื่อเสื่อมลงทำให้สร้างเหงื่อน้อยลง ผิวหนังของเท้าจะแห้ง และลีบลง - หลอดเลือดที่ตีบตันลง ทำให้ผิวหนัง และกล้ามเนื้อได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ร่วมกับมีการใช้งานจากการเดิน/วิ่งที่มาก ทำให้กล้ามเนื้อต้องเครียด จึงดึงสารอาหารมาใช้ - อายุที่มากขึ้น การสร้าง Collagen ที่ผิวหนังจะลดลง Collagen ทำหน้าที่กักเก็บความชุ่มชื้นแก่ผิว ทำให้การกักเก็บความชุ่มชื้นลดลง ๒) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ - รองเท้าที่เลือกใส่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เพิ่ม คือ รองเท้าฟิตทำให้เกิดแรงกด รองเท้าหลวมทำให้เกิดแรงเสียดสี และแรงเฉือน ทั้ง ๓ แรงจะทำให้เกิดความร้อน เท้าจะสูญเสียน้ำสูง และถ้าวัสดุรองเท้าไม่ดีจะกักเก็บความร้อนในรองเท้าเพิ่มขึ้นอีก - ใช้บริการนวดเท้าต่างๆ มักจะมีการแช่เท้าในน้ำอุ่น หรือการห่อเท้าด้วยผ้าอุ่นๆ เพิ่มความร้อนทำให้รูขุมขนเปิด สูญเสียความชุ่มชื้นจากภายในร่างกายเพิ่มขึ้น ซึ่งเป้าหมายการดูแลเท้าเบาหวานคือการป้องกันแผลและสร้างเกาะคุ้มกันให้แข็งแรงหลายๆ ชั้นมากขึ้น แทนการสูญเสียออกจากร่างกายนะคะ การนวดโลชั่นเป็นการเติมเข้าไป การเติมที่ดีและถูกต้องจะช่วยสุขภาพเท้า ทีนี้เรามาดูว่าไพลจะมีประโยชน์แค่ไหนต่อเท้าเบาหวาน ไพล (Zingiber Cassumnar) ส่วนที่ควรใช้ คือ เหง้าไพลแก่ สดหรือแห้งก็ได้ ซึ่งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย มีกลิ่นหอม ส่วนใหญ่ใช้ในทางสมุนไพรเป็นยารักษาอาการปวด เมื่อย เคล็ด ขัดยอก ฟกช้ำ เพราะเหง้าไพลที่แก่จัดมีน้ำมันหอมระเหยที่สามารถลดอาการอักเสบและปวดได้ เนื่องจากมีฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนเลือด และกระตุ้นให้มีการหลั่งเอ็นโดรฟินเพิ่ม จึงลดอาการอักเสบ และเจ็บปวด ถือเป็นยาชาเฉพาะที่ ขนาดและวิธิใช้: - ใช้ทา ถู นวด โดยใช้เหง้าไพลสดที่สะอาด ๑ เหง้า ตำเติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำมาถูนวดบริเวณที่เจ็บบ่อยๆ ซึ่งวิธีนี้น่าจะใช้ในเท้าเบาหวานได้ แต่ต้องระวังเรื่องแรงถูนวดควรให้ผู้ป่วยทำด้วยตนเองจึงจะดี ในผู้ป่วยที่มี Peripheral Neuropathy จะได้สังเกตตรวจเท้าไปด้วย - ใช้ประคบ โดยใช้เหง้าไพลมาตำให้ละเอียดผสมเกลือเล็กน้อย นำมาห่อเป็นลูกประคบอังไอน้ำ ให้ความร้อน ใช้ประคบบริเวณปวดเมื่อย และฟกช้ำจนกว่าจะเย็น ค่อยนำไปอังไอน้ำใหม่ ทำวันละ ๒ ครั้ง เช้า-บ่าย จนกว่าจะหาย วิธีนี้อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานที่มี Peripheral Neuropathy นะคะ พบว่ามักจะ Burn มาเพราะไม่รู้สึกว่าร้อนแค่ไหน แถมยังเป็นการเอาความชุ่มชื้นออกจากร่างกายและเสี่ยงต่อการเกิดแผลได้ง่าย ยุวดี มหาชัยราชัน
คำสำคัญ (Tags): #phai
หมายเลขบันทึก: 37434เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2006 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท