ถอดความรู้เรื่อง การสรุปเพื่อสร้างปัญญา


ทำอย่างไร? ให้ทุกคนได้ร่วมกันคิด และเมื่อสิ่งที่ทำมันไม่ใช่หรือผิด ก็ให้นำมาเป็นคำแนะนำเพื่อพัฒนางานได้ต่อไป

เมื่อวันก่อน ดิฉันได้ไปร่วมกระบวนการเรียนรู้ที่จังหวัดกำแพงเพชร ก็เลยลองถอดเนื้อหาสาระออกมาโดยตั้งชื่อว่า   การสรุปเพื่อสร้างปัญญา 

ซึ่งกลุ่มบุคคลเป้าหมาย ได้แก่  1)  ผู้แทนเกษตรกรและเจ้าหน้าที่นำเสนองานของตนเองที่ได้ปฏิบัติ  และ  2)  ประเมินงานที่แต่ละบุคคลทำนั้น ทำอะไรบ้างแล้ว?  และสิ่งที่ทำนั้นทำอย่างไร?

ขณะที่ฟังแต่ละท่านเล่าข้อมูลและงานต่าง ๆ ที่ตนเองทำ ทีมงานจัดเวทีเรียนรู้ก็ได้แบ่งบทบาทหน้าที่  มอบหมาย  และแยกย้ายกันปฏิบัติ  เช่น  บันทึกและแสดงข้อมูล  บันทึกในคอมพิวเตอร์  บันทึกเป็นภาพถ่าย  และ บันทึกเป็นสื่อเอกสาร  โดยมีผู้ทำหน้าที่เป็นประธานและควบคุมชั้นเรียนหลังจากนั้นก็จะเปิดเวทีเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น  การเทียบงานที่ปฏิบัติกับเป้าหมายงานที่กำหนด  การให้คำแนะนำ  การประมวลสรุปข้อมูล  และ การเสริมความรู้  เป็นต้นสุดท้ายจะเป็นการประมวลเพื่อสรุปข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนทั้งหมดโดยมีเป้าหมายเพื่อ  สร้างปัญญา  การสร้างปัญญาในการคิดและสรุปความรู้ด้วยตนเองได้เริ่มจาก     ขั้นที่ 1  ดึงประสบการณ์เดิมที่ปฏิบัติ  นำความรู้ที่เจ้าหน้าที่ที่เล่าให้ฟังมาสะท้อนกลับสู่กลุ่ม ได้แก่  ทำอย่างไร? ถึงจะเพิ่มและลดต้นทุนการผลิตได้  โดยคำตอบที่ออกมาจะเป็น แนวทาง ที่ทำให้งานดังกล่าวบรรลุผลการใช้ข้อมูลที่ปฏิบัติจริงมาใช้โต้เถียงกัน เพื่อสรุปเป็นกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในการพิสูจน์หาคำตอบว่า.....ถ้าทำเช่นนี้แล้ว...จะเกิดผลสำเร็จได้จริงหรือ?   ขั้นที่ 2  สร้างความตระหนัก  การทำให้คนคิดจะต้องมาจากข้อมูลที่ปฏิบัติหรือตนเองทำผ่านมาแล้ว  ในการนำมาใช้ปรึกษาหารือร่วมกัน  เช่น  ข้อสงสัยที่เกิดขึ้นเมื่อทำการพิสูจน์ทราบแล้วไม่ได้ผลก็หยุดทำ เป็นต้น ขั้นที่ 3  เสริมกระบวนการทำงาน  นำข้อมูลทั้งหมดที่พบและเกิดขึ้นมาเชื่อมโยงให้เห็นเป็นตัวอย่างของการออกแบบงานวิจัย  เช่น  1)  ข้อสงสัย / ประเด็นปัญหา ,  ปฏิบัติ / ทดลองทำ  , *ผลการทดลอง  2) วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  , สรุปผลที่เกิดขึ้น  ,  * ทบทวน  และ 3)  เก็บข้อมูลและวิเคราะห์   ฉะนั้น  จึงควรสรุปและเชื่อมโยงให้ชัดเจนว่า  เราจะทำอะไร?  โดยทดลองจัดกลุ่มข้อมูล เช่น  พวกตระกูลแนวทาง  และ พวกตระกูลรูปแบบ  เป็นต้น   สิ่งเหล่านี้ คือ  งานที่พวกเราทำกันมาเยอะมากแล้ว  แต่จะคิดแบบ นักปราชญ์ นั้น  ถ้าเราทำผิดไปแล้วก็ถือว่า นำมาใช้เป็นข้อแนะนำ  เพราะการคิดและทำแบบปรัชญาจะอยู่ภายใต้หลักการ ทำอย่างไร? ให้ทุกคนได้ร่วมกันคิด  และ เรื่องเดียวกันก็นำมาจัดกลุ่มเดียวกัน  หลังจากนั้นจึงนำมาจัดเป็น กระบวนการ กลุ่ม  เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันขึ้น  สิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลที่ดิฉัน  "ถอดความรู้"  จาก  คุณศักดา  ทวิชศรี  ในช่วงของการเสริมและขมวดปมการเรียนรู้  ณ  เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แห่งนี้. 

 

หมายเลขบันทึก: 37412เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2006 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท