การให้คำปรึกษาเรื่อง การลดปวด


การให้คำปรึกษาเรื่อง การลดปวด Pain management

2 กค. 2553 การให้คำปรึกษาเรื่อง การลดปวด แก่นักศึกษาหลักสูตร พย.บ. ชั้นปีที่ 2 สาขาการพยาบาลผดุงครรภ์ขั้นสูง 255 796 ปฏิบัติการผดุงครรภ์ขั้นสูง 3 ซึ่งสนใจเรื่องการลดปวดของกลุ่มมารดาในระยะรอคลอด และสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ที่สนใจพัฒนาบทบาทสู่ APN (pain field)

ฉันถามวัตถุประสงค์ของน้อง เพื่อประเมินความต้องการประเด็นขอคำปรึกษา พอสรุปได้ว่า

"ต้องการทราบบริบทการจัดการความปวดในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่ฉันดูแล คือเด็กมะเร็ง เพื่อมองเห็นภาพในการนำไปประยุกต์ใช้ในกลุ่มมารดาระยะรอคลอด"

"กำลังศึกษาปรากฎการณ์  ค้นหาปัญหา เพื่อตั้งคำถามการวิจัย และหา intervention เพื่อลดความปวด ที่ไม่ใช่การใช้ยา (pharmacological pain management) แต่เป็นวิธีที่ไม่ใช้ยา เช่น หลักปฏิบัติทางศาสนาพุทธ การผ่อนคลาย การสะกดจิต เป็นต้น"

ฉันได้ให้หลักการแก่น้องๆ เรื่องการจัดการความปวด Gold standard คือ การใช้ยา แต่การบำบัดเสริม ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม น่าสนใจ และมีงานวิจัย support ช่วยลดปวดได้ เช่น ดนตรี สมาธิ การเบี่ยงเบนความสนใจ สมาธิ การสะกดจิต ฯลฯ ที่สำคัญ Research question ชัดหรือยัง หากยังไม่ชัด หนทางเดินต่อจะลำบาก

อย่างไรก็ตาม ฉันพูดคุยแลกเปลี่ยนกับน้องๆ ว่า ในบริบทเรื่องการจัดการความปวด ฉันขออ้างอิง The pain master class ที่ฉันพึ่งเข้า attended ที่อเมริกา 12-18 มิย. 53 ที่ผ่านมา ผนวกกับประสบการณ์การปฏิบติงานในคลินิคร่วมกับทีมในกลุ่มการดูแลเด็กมะเร็ง ดังนั้นการมองเรื่องการจัดการความปวด ลำดับแรกเราต้องทราบวัตถุประสงค์เรื่องการจัดการความปวด (Pain management)

Objectives  เช่น

1. Describe best practice strategies for management of acute and complex/chronic pain in ....กลุ่มผู้ป่วยที่ดูแล ในที่นี้ของนักศึกษาคือมารดาที่รอคลอด กล่าวคือ ต้องอธิบายกลวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในการจัดการความปวด แบบ acute เช่นเจ็บท้องคลอด หรือ Chronic อาจจะหมายถึงเจ็บท้องคลอดนานๆ ในหญิงหลังคลอด เป็นต้น

2. Learn best practice recommendations for use of opioids, including rationales for drug selection, novel routes of administration, opioid rotation, and contraindications

(เรียนรู้ข้อแนะนำเรื่องการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม Opioid เหตุผลการเลือกใช้ยา ข้อห้ามใช้)

3. Learn how to use adjuvant analgesia for management of neuropathic pain and complex pain (เรียนรู้การใช้ adjuvant analgesia เพื่อบรรเทาปวดในคนไข้ที่มี neuropathic pain และปวดเรื้อรัง)

4. Describe pharmacological, integrative, and non-pharmacological symptom management at ........?

(อธิบายกลไกทางเภสัชวิทยา บูรณาการ และการจัดการอาการด้วยวธีไม่ใช้ยา)

5. Discuss guidelines for implementing sedation to unconsciousness for intractable pain in ............?

(อภิปราย แนวปฏิบัติในการระงับปวดในคนไข้ไม่รู้สึกตัวที่มี pain)

6. Identify ethical decision making frameworks and strategies for complex pain management needs in .............?

(แยกแยะ ประเด็นทางจริยธรรม และกลวิธีในการบรรเทาปวดที่ซับซ้อน)

7. Explore an interdisciplinary model for management of complex/chronic  pain (migraines and tension headaches, functional abdominal pain, CRPS, musculoskeletal pain, conversion disorders, etc.)

(ค้นหารูปแบบการดูแลที่เป็นสหสาขาวิชาชีพเพื่อจัการความปวดซับซ้อน/เรื้อรัง)

8. Identify implications of diverse family system dynamics, and psychosocial considerations in care planning and implementation

(ระบุความหมาย ของการเปลี่ยนแปลงระบบครอบครัวที่เกี่ยวข้อง ประเด็กจิตสังคม ในการวางแผนการดูแล)

9. Identify integrative and complementary strategies for pain and symptom management, including massage, biofeedback, hypnosis, aromatherapy, etc.

(ระบุการบูรณาการการบำบัดเสริมทางเลือก เพื่อจัดการความปวด เช่น การนวด การสะกดจิต กลิ่นบำบัด ฯลฯ)

10. Identify rational approaches to post-operative pain control

(ระบุเหตุผลวิธีการดูแล การจัดการความปวดหลังผ่าตัด ในที่นี้อาจหมายถึงหลังคลอด)

11. Describe best practice approaches to neuroirritability

(อธิบายวิธีการดูแลที่ดีที่สุดในneuroirritability  )

12. Evaluate comprehensive pain assessment strategies for patients with diverse abilities and levels of consciousness

(การประเมินผลกลวิธีประเมินความปวดที่ครอบคลุมในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระดับความรู้สึกตัว)

13. Identify psycho-social and spiritual dimensions in pain and symptom management (ระบุปัญหาด้านจิตสังคม จิตวิญญาณที่มีผลต่อการจัดการความปวด)

14. Learn innovative approaches to procedural pain, including nitrous oxide administration (เรียนนวัตกรรมดูแลขณะคนไข้ได้รับหัตการทางการแพทย์ที่ก่อให้เกิดความปวด รวมทั้งการดมกาซ Nitrous oxide เพื่อลดปวดระหว่างทำหัตถการ)

15. Learn how to address opioid-induced hyperalgesia (เรียนรู้ถึง opioid ทำให้เกิดความhyperalgesia )

16. Discuss interdisciplinary strategies for effective pain and symptom management in diverse situations (อภิปรายการจัดการความปวดที่มีประสิทธิภาพโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ)

17. Identify the broad continuum of pain and symptom management challenges and strategies in ..patients care (ระบุกลวิธีและความท้าทายในการจัดการความปวดในผู้ป่วย)

18. Learn strategies for developing an interdisciplinary team approach to pain and symptom management (เรียนรู้กลยุทธการพัฒนาทีมในการดูแลผู้ป่วยที่มีความปวด)

19. Evaluate strategies for networking with colleagues in this growing specialty field

(ประเมินกลยุทธการสร้างเครือข่ายเพื่อการจัดการความปวด)

หลังให้หลักการ แลกเปลี่ยนพูดคุยเรื่องการจัดการความปวด นักศึกษาบอกว่าได้อะไรเยอะ มองเห็นภาพการจัดการความปวดภาพรวม ซึ่งจะนำไปใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่ดูแล และพัฒนาหัวข้องานวิจัยต่อไป

Dsc09707

Kesanee..updated July 10,10..10:51 pm

 

หมายเลขบันทึก: 373690เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2010 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะคุณเกด

   ขอบคุณสำหรับบทความที่มีประโยชน์นี้นะคะ ได้ฟื้นฟูสมองให้กลับมาทำงานจะได้ไม่หลงลืมค่ะ

P
คุณยาย ยินดีค่ะ ไม่บันทึกไว้ ก็ลืมเลือนและหายไปค่ะ

บางทีเรื่องของหมอ-พยาบาลนี่คนทั่วไปได้มาศึกษาเรียนรู้มีประโยชน์นะครับ

P
เบดูอิน ขอบคุณค่ะ ความปวดเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ทุกกลุ่ม ทุกวัยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท