ขมิ้น


สรรพคุณทางยาของขมิ้น

สรรพคุณทางยาของขมิ้น

          ขมิ้น (Turmeric หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma longa) พืชตระกูลขิงข่าที่ส่วนรากและเหง้าถูกนำมาใช้ในการปรุงอาหาร ให้มีสีเหลืองและกลิ่นหอม สมุนไพรชนิดนี้พบทั่วไปในแถบเอเชีย ขมิ้นถูกเรียกว่า "ฮาลดิ" (Haldi) ในภาษาฮินดี (ภาษาของชายอินเดียทางตอนเหนือ) ภาษาจีนเรียกว่า "เจียง ฮวง" (jiang huang) และภาษาทมิฬเรียก "มอง จัล" (monjal) โดยมีประวัติสรรพคุณทางยายาวนานกว่า 5,000 ปี เริ่มต้นที่สรรพคุณในการรักษาแผล แก้พิษในเลือกและโรคกระเพาะ ในตำรายาอายุรเวชของอินเดีย (India's Ayurvedic system of medicine) ชาวฮินดูใช้รักษาอาการ เคล็ด ขัด ยอก และบวม ชาวจีนนำขมิ้นมารักษาอาการปวดท้อง ส่วนคนไทยเรานอกจากจะนำมาสมานแผลแล้วยังใช้ขัดผว พอกหน้าอีกด้วย

          ขมิ้น และสารประกอบ Curcumin ในขมิ้นรวมๆแล้ว เรียก Curcuminoids มีคุณสมบัติเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ (antioxidant) สารต่อต้อนการอักเสบ ต่อต้านไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งสามารถทำงานท้าทายโรคมะเร็ว โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ โรคเรื้อรังต่างๆ และที่สำคัญโรคอัลไซเมอร์ ที่ทำให้ขมิ้นโดดเด่นเตะตานักวิจัย

          อัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) ถูกตั้งชื่อตามผู้ที่ค้นพบ คือ ดร.อโลอิส อัลไซเมอร์ (Dr. Alois Alzheimer's) นักวิจัยเวชศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ซึ่งค้นพบอาการผิดปกติในสมองผู้ป่วย โดยอัลไซเมอร์จะทำลายสมองของผู้ป่วยไม่ให้ทำงานได้ตามปกติ ผู้ป่วยอาจหลงๆลืมๆ สูญเสียความทรงจำ และอาจทำให้พูดไม่ชัด

ขมื้น โดดเด่นในวงการวิจัย

          ในปี 2548 มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับขมิ้นปรากฏในฐานข้อมูล PubMed ของห้องสมุดทางการแพทย์ของสหรัฐ (NLM National Library of Medicine) จำนวนเกือบ 300 ฉบับในปีเดียว เปรียบเทียบกับก่อนหน้านี้ห้าปีซึ่งมีงานวิจัยเพียง 100 ฉบับเท่านั้น เนื่องจากขมิ้นเป็นที่นิยมในวงการศึกษาวิจัย จนนักวิจัยหลายคนตั้งชื่อตัวเองขำขำว่า "นักขมิ้นศาสตร์" (Curcuminologists)

          ขมิ้นให้ผลทางบวกกับร่างกายของคนเราและมีระดับความเป็นพิษต่ำ ขมิ้นนอกจากจะไม่เป็นแค่เพียงยารักษาเท่านั้นแต่ยังเป็นสารสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวมังเองอย่างช้าๆ และอาจนำไปสู่การบิดเบื่อนทางพันธุกรรมที่ซับซ้อน (Multiple Mutations) ได้เช่นกัน งานวิจัยบางชิ้นจากงานวิจัยทุกฉบับ (1700 ฉบับ) ในฐานข้อมูล Pubmed ได้เตือนให้ระวังเรื่องการนำสารขมิ้นไปใช้ในวงกว้าง เนื่องจากขมิ้นทำงานในระดับชีวโมเลกุล และบางทีขมิ้นอาจจะทำให้โรคแย่ยิ่งกว่าเดิมก็เป็นได้

          งานวิจัยชิ้นแรกที่พบในฐานข้อมูล PubMed เมื่อ 37 ปีที่แล้วเมื่อกลุ่มนักวิจัยชาวอินเดียพบว่าขมิ้นสามารถลดระดับโคเลสเตอรอลในหนูทดลองได้ อีกก้าวหนึ่งของการศึกษาใน 20 ปีต่อมา (ปี 2533) เมื่อนายบารัท อักการ์วาล (Bharat Aggarwal) ศิษย์เก่าจากสถาบันเจเนนเทค (Genentech) ได้วิจัยเพื่อค้าหาช่องทางในการรักษามะเร็งและงานชิ้นนั้นก็ได้พาเขากลับมาพบกับสารประกอบขมิ้น

          เมื่อปี 2523 บารัทและทีมงานจากเจเนนเทค เป็นกลุ่มแรกที่ได้กลั่นบริสุทธิ๋โมเลกุลสำคัญสองโมเลกุล คือ Tumor Necrosis Factor (TNF) alpha และ TNF beta ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นสารประกอบท่มีศักยภาพต่อต้านมะเร็งโมเลกุลเหล่านี้ที่จริงสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้เมื่อถูกนำไปใช้เฉพาะบริเวณที่เซลล์เป็นโรค แต่เมื่อปล่อยให้กระจายไปกับกระแสเลือดโมเลกุลเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติโดยช่วยสนับสนุนก่อใหเกิดเซลล์มะเร็ง โมเลกุล TNF จะไปกระตุ้นการทำงานของโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Nuclear Factor (NF) Kappa B ซึ่งเราสามารถเปิดการทำงานของกลุ่มยืนส์ที่ทำงานเกี่ยวกับ การอักเสบ (inflammation) และการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็ง (Cell Proliferation)

          ความสัมพันธ์ที่พบนี้ทำให้บารัทย้อนกลับไป ณ จุดเริ่มต้น ในปี 2532 เขาได้ย้ายไปที่ศูนย์มะเร็ง เอ็ม ดี แอนเดอสัน แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส (University of Texas M.D. Anderson Cancer Center) และเริ่มต้นศึกษาสารประกอบที่รักษาการอักเสบ เขาตัดสินใจจะทดลอง เอาขมิ้นจากในครัวมาโรยลงบนเซลล์ ปรากฏว่ามันสามารถหยุดการทำงานของ TNF และ NF Kappa B อย่างเหลือเชื่อ

          บารัท ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาเรื่องที่ขมิ้นสามารถยับยั้งการแตกตัวและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งหลายชนิดงานชิ้นนี้ทำให้เกิดจุดหักเหในวงการวิจัย จากการทดลองเล็กๆโดยใช้ขมิ้นเป็นองค์ประกอบในการรักษามะเร็งชนิดต่างๆ การทดลองเริ่มต้นที่ความพยายามจะป้องกันมะเร็งลำไส้ และโรคอัลไซเมอร์ และโรคอื่นๆ ในการทดลองกับสัตว์ทดลอง พบว่าขมิ้นสามารถยับยั้งโรคอักเสบต่างๆได้หลายชนิด เช่น ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) โรคข้ออักเสบ (Arthritis) โรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory Bowel disease) อาการลำไส้ใหญ่บวม (Colitis) โรคกระเพาะอักเสบ (Gastrtitis) อาการแพ้และไข้หวัด

          ศูนย์มะเร็ง เอ็ม ดี แอนเดอสัน ซึ่งเป็นศูยน์มะเร็งชั้นนำของโลก ได้เริ่มประชาสัมพันธ์เรื่องการใช้ขมิ้นมากกว่าที่คาดคิด ในเว็บไซต์ในหน้า "FAQ" ได้ระบุว่าผู้ป่วยจะได้รับสารขมิ้นวันละ 8 กรัม (ซึ่งในอาหารอินเดียที่บริโรคกันตามปกติมากกว่านั้นถึง 40 เท่า) ในบางส่วนถึงกับระบุว่า หลังจาก 8 สัปดาห์ที่สารขมิ้น ผู้ป่วยก็ถูกคาดว่าน่าจะมีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อถูกถามถึงผลค้างเคียง บารัทกล่าวว่า ในการทดลองเล็กๆโดยสถาบันอื่นๆ ที่พวกเขาใช้สารขมิ้นกับผู้ป่วยมากถึง 12 กรัม และถ้ามีอาการข้างเคียง จากขนาดที่ศูนย์แนะนำผู้ป่วยก็จะแจ้งให้เขาทราบ นักวิจัย (ผู้ซึ่งรับประทานขมิ้นอัดทุกวัน) หลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงการทดลองก่อนที่จะได้รับการศึกษาในวงกว้างกับผู้ป่วยและมีการควบคุมตัแปรเป็นอย่างดี ส่วนนายบารัทก็ยังยืนยังกรานว่า "คนเรารับประทานวิตามินเสริมอาหารอื่นๆตั้งหลายอย่าง แต่ถ้าคุณทางขมิ้นแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทานอย่างอื่นอีก"

แหล่งที่มาก : นิภาภรณ์ สีถาการ
: วิชาการ.คอม


ขมิ้น


ขมิ้น


ขมิ้น

ขมิ้นอาจส่งเสริมให้เกิดมะเร็งจริงหรือ??

ขมิ้นอาจส่งเสริมให้เกิดมะเร็งจริงหรือ??

          ทั้ง FAQ ของศูนย์ เอ็ม ดี แอนเดอสัน และเอกสารอื่นๆต่างละเลยที่จะกล่าวถึงส่วนเล็กที่เกี่ยวกับพิษภัยของขมิ้น ซึ่งมีส่วนสนับสนุนการมีชีวิตอยู่ของเซลล์มะเร็ง
          ในปี 2547 นายโยเซฟ (Yosef Shaul) จากคณะพันธุกรรมโมเลกุล ที่สถาบันวิทยาศาสตร์เวซแมน (Weizmann Institute of Science in Rehovot) ประเทศอิสราเอล ได้ศึกษาเกี่ยวกับเอนไซม์ NQO1 ซึ่งควบคุมปริมาณโปรตืน p53 พูดง่ายๆว่า NQO1 ป้องกันไม่ให้ p53 ทำงาน แต่เมื่อโปรตีน p53 ในเซลล์เพิ่มขึ้น โปรตีนจะกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งหรือเซลล์เนื้อร้ายยุติการแบ่งตัวหรือทำให้เซลลนั้นตายไป

          นายโยเซฟและทีมงานได้ค้นพบ สารป้องกันการแข็งตัว (Anticoagulant) สาร Dicoumarol และสารประกอบที่เกี่ยวข้องสามารถสกัดกั้นการทำงานของ NQO1 ได้

          นักวิจัยสงสัยว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าพวกเขาทดลอง p53 กับเซลล์ลูคีเมียปกติและเซลล์ลูคิเมียมีลอยด์ (Myeloid Leukemia เป็นลูคีเมียที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของไขกระดูกในกระดูกดำ) กับสารแอนตีออกซิแดนซ์เช่น ขมิ้นและสาร resveratrol ปรากฏว่าน่าประหลาดใจที่ขมิ้นนั้นขัดขวางการทำงานของ p53 ในการฆ่าเซลล์มะเร็ง และปล่อยให้มันลอยนวล รายงานการวิจัยฉบับนี้ปรากฏใน Proceedings of the National Academy of Sciences USA ในปี 2548 และนักวิจัยจากสถาบันอื่นก็ตีพิมพ์ผลการศึกษาคล้ายๆกัน ส่วนนายบารัทก็ตอบสนองการศึกษาพวกนี้โดยชี้ถึงผลการศึกษาที่ตรงกันข้ามที่เขาค้นพบว่า "ขมิ้นแท้จริงกระตุ้นการทำงานของ โปรตีน p53 ในการทำลายเซลล์ที่ติดเชื่อหรือมะเร็ง"

          นักวิจัยภาคสนามจึงจำเป็นที่จะต้องหาคำตอบที่แท้จริงว่าเกิดอะไรขึ้นภายในร่างกายของคนไข้เมื่อได้รับสารขมิ้น เพื่อดูว่าผลทีได้เกี่ยวข้อกับผมการศึกาของนายโยเซฟหรือไม่

          พูดถึงเรื่อง "ขนาด" (dose) สารสกัดจากขมิ้นที่ทีมงานจากสถาบันวิทยาศาสตร์เวซแมน ประเทศอิสราเอลใช้นั้นวัดได้ระหว่าง 10-60 ไมโครโมลาร์ (Micromolar,M) เทียบคร่าวๆแล้วก็ประมาณเดียวกันกับที่ศูนย์แอนดิสันใช้แต่เนื่องจากขมิ้นถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหารเข้าสู้กระแสเลือดได้ไม่ดีนัก [แต่เมื่อใช้ขมิ้นร่วมกับ Piperine หรือสารสกัดจากพริกไทยดำ 20 มก. ช่วยการเพิ่มการดูดซึมของขมิ้นได้ (Shoba G. et all, 1998) แต่ทั้งนี้ อาจมีผลกระทบหากมีการใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นอีก] และยังสลายตัวภายในร่างกายของคนไข้ได้อย่างรวดเร็ว คนไข้ที่ได้รับสารสกัดขมิ้น 8 กรัมเมื่อวัดระดับสารขมิ้นในกระแสเลือดก็จะมีหลงเหลืออยู่ประมาณ 2.0 ไมโครโมลาร์เท่านั้น แต่อาจมีมากกว่าในลำไสและตับ คงจะเป็นงานท้าทายในอีกระดับนักวิจัยสามารถพัฒนาให้สารสกัดขมิ้นอยู่ในกระแสเลือดได้นานขึ้น นายโยเซฟกล่าว แต่ "ขนาด" (dose) ยังคงเป็นประเด็นเมื่อกล่าวถึงการใช้ยาที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ยาบางชนิด (เช่นแอสไพริน) เมื่อรับประทานเกิดขนาดอาจเป็นโทษ และยิ่งขมิ้นที่พบในกระแสเลือดในปริมาณน้อยนิด (เมื่อเทียบกับขนาดที่ได้รับ) เมื่อรับประทานเกิดขนาดอาจเป็นโทษ และยิ่งขมิ้นที่พบในกระแสเลือดในปริมาณน้อย (เมื่อเทียบกับขนาดที่ได้รับ) ด้วยแล้ว นักวิจัยก็คงต้องทำให้แน่ใจว่าปริมาณที่น้อยนิดนั้นทำงานต่อต้านเชื้อโรคอย่างได้ผลและมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด ก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายต่อนักวิจัย

แปลและสรุปความจาก
- Gary Stix. "Spice Healer". In Scientific American, volume 296, number 2. pages 54-57; February 2007.
- John C.Martin. Can Curcumin Prevent Alzheimer's disease?
http://www.lef.org/magazine/mag2004/dec2004_report_curcumin_01.htm dated June 24,2007.
- Wikipediz. "Curcumin". http://en.wikipedia.org/wiki/Curcumin dated June 24, 2007.

แหล่งที่มา : นิภาภรณ์ สีถาการ
: วิชาการ.ดอทคอม

คำสำคัญ (Tags): #ขมิ้น
หมายเลขบันทึก: 373232เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2010 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายและได้นำภาพดอกไม้สวย ๆ มาฝากกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                         

เข้ามาเยี่ยม บล็อก ครับ ได้รับความรู้ดีๆ

เรื่องต่อไป คงไม่ใช่ "ปูน" นะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท