สรุปรายงานการวิจัยเบื้องต้น(PAR อาหารปลอดภัย) กรมส่งเสริมการเกษตร


ได้นำเสนอความก้าวหน้าของการวิจัยกระบวนการ โดยยึดหลักคิดที่ว่า "พูดอย่างที่ทำ"และสิ่งที่จะต้องกลับไปเนินการต่อก็คือการเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งคงต้องยึดหลักคิดที่ว่า "เขียนอย่างที่ทำ"
การสรุปกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมPAR ณ ห้องประชุม ชั้น 5 กรมส่งเสริมการเกษตรวันที่ 27 – 28 มิถุนายน  2549             เมื่อวันที่  27-28 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมา ทีมงานโครงการวิจัย "กระบวนการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน" (PAR อาหารปลอดภัย) ของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร  ซึ่งประกอบไปด้วย

ทีมงาน KM&Food Safety กำแพงเพชร

     จากซ้ายไปขวา คุณเสนาะ ยิ้มสบาย สนง.กษอ.พรานกระต่าย ,คุณเชิงชาย  เรือนคำปา จาก สนง.กษอ.เมืองกำแพงเพชร, ผู้บันทึก , คุณสายัณห์  ปิกวงค์ จากสนง.กษจ.กำแพงเพชร  และคุณรังสรรค์ เลิศสูงเนิน จาก สนง.กษอ.ไทรงาม

  • ตอนเช้าก่อน 2 โมง ทีมงานเราเดินทางจากโรงแรมที่พัก(มารวยกาณ์เด้น) พบกับคุณประสาร จากจังหวัดนครศรีธรรมราช(คนนั่ง) ก็เลยได้ทักทายและ F2F แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานกันพอหมอปากหอมคอก่อนเข้าห้องประชุม


เสวนากันก่อน กำแพงเพชร&นครศรีฯ

     สำหรับกิจกรรมที่สำคัญๆ ของการมาร่วมนำเสนอสรุปความก้าวหน้างานวิจัยฯ ที่กรมส่งเสริมการเกษตร มีดังนี้ครับ

วันที่ 27 มิถุนายน  2549

  • ประมาณ 09.00 น. เริ่มต้นด้วยการดูวีซีดี นำเสนอภาพกิจกรรมของทั้ง 4 จังหวัดนำร่อง
  • พิธีเปิดการประชุมโดยโดยนายมนตรี  วงศ์รักษ์พานิช ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร  และการถ่ายภาพร่วมกันของทีมงานทั้งหมด


       การถ่ายภาพร่วมกัน  

  • การแนะนำตัวผู้เข้าร่วมการประชุม โดยการแนะนำตัวเองทีละคน
  • รศ.บำเพ็ญ เขียวหวาน และ ผอ.สุกัญญา ทบทวนและสรุปภาพรวม
  • การนำเสนอความก้าวหน้าของจังหวัดนำร่อง โดยมี รศ.บำเพ็ญ เขียวหวานเป็นผู้ดำเนินกระบวนการ ซึ่งมี 4 จังหวัดร่วมนำเสนอคือ     1.  จังหวัดกำแพงเพชร   2.      จังหวัดนครพนม  3.      จังหวัดอ่างทอง และ 4.     จังหวัดนครศรีธรรมราช  


บรรยากาศการนำเสนอความก้าวหน้า   

 ภาคบ่าย           

           เป็นการแบ่งกลุ่ม เป็น 5 กลุ่ม เพื่อวิเคราะห์/สรุปบทเรียนกระบวนการส่งเสริมFS และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ใน 5 ประเด็น คือ

กลุ่มที่ 1 การจำแนกพื้นที่ ประเด็นการเตรียมการ/ประเมินสถานการณ์
กลุ่มที่ 2 จำแนกพื้นที่ ประเด็นเก็บข้อมูล/วิเคราะห์ข้อมูล
กลุ่มที่ 3 จำแนกพื้นที่ ประเด็นการจัดเวที/ประชาสัมพันธ์
กลุ่มที่ 4 บูรณาการแผนและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
กลุ่มที่ 5 กระบวนการเสริมหนุน

          โดยแต่ละกลุ่มทั้ง 5 กลุ่มนักส่งเสริมจาก 4 จังหวัดได้กระจายอยู่ทุกกลุ่ม และทุกกลุ่มมีประเด็นวิเคราะห์ดังนี้

  1. แผนที่กำหนดไว้ตามคู่มือโครงการFS(สิ่งที่คาดหวัง)
  2. สิ่งที่ได้ดำเนินการจริงเป็นอย่างไรให้ระบุรายละเอียดเทคนิค/วิธีกระบวนการส่งเสริมFS
  3. ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น มีเงื่อนไข/ปัจจัยเสริมหนุนหรือเป็นอุปสรรคอะไร
  4. ผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร(ทั้งด้านกระบวนการและผลผลิต/ผลลัพธ์
  5. ปัญหาและการแก้ไข
  6. ข้อเสนอแนะต่อไป/องค์ความรู้ที่ได้

 


การแบ่งกลุ่มวิเคราะห์/สรุปบทเรียน

  วันที่ 28 มิถุนายน 2549   

  • เริ่มภาคเช้า ด้วยการนำเสนอผลการวิเคราะห์/สรุปบทเรียนของแต่ละกลุ่มที่ได้ดำเนินการในช่วงบ่ายของวันที่ 27 ทั้ง 5 กลุ่ม
  • หลังจากนั้น รศ.บำเพ็ญ เขียวหวาน จาก มสธ.ได้ให้ข้อเสนอแนะ และองค์ความรู้ที่ได้ และบรรยายให้ความรู้การเขียนรายงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR)
  • ในภาคบ่าย เป็นการแบ่งกลุ่มรายจังหวัด เพื่อร่วมกันประเมินผลการวิจัยกับโจทย์วิจัยที่ตั้งไว้ และจัดทำแผนดำเนินการวิจัยในช่วงต่อไปของแต่ละจังหวัด

 


การประเมินและวางแผนดำเนินการวิจัยในช่วงต่อไป
  • พิธีปิด โดยนายมนตรี  วงศ์รักษ์พานิช ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร

สรุปบทเรียนของทีมงานที่ได้มาร่วมสัมมนาครั้งนี้

  • ได้ประเมินตนเอง/ทีมงาน/ความก้าวหน้าของงาน เพราะได้เปรียบเทียบกับแต่ละจังหวัดที่ได้ร่วมนำเสนอ
  •  ได้สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับทีมงานของเราเป็นอย่างดียิ่ง ในการทำความเข้าใจกระบวนการ PAR
  • การทำทุกเรื่องให้เป็นเรื่องที่เชื่อมโยงหรือเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่แยกส่วน ทำให้การทำงานต่อเนื่อง ไม่เหนื่อยและมีความสุข (PAR & KM & งานประจำ & ฯลฯ)
  • ทีมงานได้เรียนรู้อุปสรรคหรือข้อจำกัดของแต่ละจังหวัด ซึ่งจะเป็นการนำบทเรียนไปวางแผนป้องกันปัญหาไว้ล่วงหน้าต่อไป
  • ได้นำเสนอความก้าวหน้าของการวิจัยกระบวนการ โดยยึดหลักคิดที่ว่า "พูดอย่างที่ทำ"
  • สิ่งที่จะต้องกลับไปเนินการต่อก็คือการเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งคงต้องยึดหลักคิดที่ว่า "เขียนอย่างที่ทำ"
  • โชคดีที่ทีมงานของเราเป็นทีมเดียวกันทั้ง KM & Food Safety เลยบูรณาการกันได้อย่างผสมกลมกลืน และทำให้เป็นเรื่องเดียวกัน ทำงานอย่างมีความสุขครับ
  • ทุกกิจกรรมหากเราเข้าใจอย่างลุ่มลึกจะเห็นว่า "เอื้ออำนวยและหนุนเสริมกันเป็นอย่างดี" เพราะ "เราช่วยเสริมกันแต่ไม่ได้แข่งขันกัน" เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 37242เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2006 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียน คุณวีรยุทธ

  • ขอบคุณที่ได้สรุปบทเรียนให้ได้อ่านครับ
     เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณวีระยุทธ  ให้เราสรุปและรายงานตามที่ทำ  เพราะผมเองก็รู้สึกว่าเราจะเกร็งๆกัน  เวลาเราสรุปเราจะยึดคู่มือโครงการเล่มเหลืองมากเกินไป  บางทีสิ่งที่เราทำและคิดไม่ได้มีการสรุปจำนวนมากมาย แต่สิ่งเหล่านั้นแหละคือ หัวใจของงาน PAR  ผมยกตัวอย่างให้เห็น  ในส่วนของกลุ่มผมโจทย์ การเตรียมการ/ประเมินสถานการณ์  ความคาดหวังที่แต่ละจังหวัด  ได้กำหนดไว้มีมากกว่าที่กำหนดในคู่มืออีก  เพราะในกระบวนการทำงานในขั้นตอนนี้ หลายพื้นที่ต้องการให้กรรมการบริหารศูนย์ เกิดความตระหนักว่างานนี้เป็นภารกิจของเขาเอง/หรือมีความสำคัญกับเขา  ผลที่เกิดขึ้น  เขา(กรรมการศูนย์) มีการวางแผนในการจัดเก็บข้อมูลกันเอง  มีการช่วยกันหาข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องความปลอดภัยในการผลิต  แต่เหล่านี้เราไม่ได้นำเสนอไว้ในรายงานการวิจัย  

เมื่อเราเรียน....เราก็ต้องเรียนรู้ให้จบวิชา

เมื่อเราทำ...เราก็ต้องทำอย่างคนรู้จริง

เมื่อเราเป็น...เราก็ต้องเป็นตัวเราที่สัมผัสได้

ฉะนั้น เราจะเป็นอย่างงู ๆ ปลา ๆ หรือ เราจะเป็นอย่าง "นักปรัชญา"

  • ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น หรือได้แวะมาอ่านแต่ไม่ได้ทิ้งร่องรอยไว้ครับ
  • PAR นั้นผมก็เรียนรู้ไปกับการปฏิบัติ แต่สิ่งที่เราอาจเคยชินก็น่าจะเป็นการคิดว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นเป็นของเรา ซึ่งอาจจะถูกเพียงส่วนเดียว
  • PAR สิ่งสำคัญก็คือต้องเป็นปัญหา หรือเป็นเรื่องของชาวบ้านที่ได้ร่วมกันคิด - ลงมือปฏิบัติ-เทียบ/ประเมิน-แล้วนำมาคิดกันใหม่หมุนวนไม่รู้จบ
  • สำหรับนักส่งเสริมฯ น่าจะเป็นการเรียนรู้กระบวนการหรือวิธีทำงานที่ส่งผลให้เกิดกระบวนการนั้นต่างหาก  ที่เป็นหัวใจของการเรียนรู้จากกิจกรรมนี้ แล้วนำมา ลปรร.กัน จะเรียกว่า KM ก็ไม่น่าจะแปลก
  • เห็นด้วยกับคุณสำราญที่ว่า ทำตั้งมากมายแต่เกรงว่าจะผิดเพราะไม่ตรงกรอบ(ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะนั่นคือวัฒนธรรมการทำงาน) ก็คงต้องขอสรุปว่า PAR ทุกประเด็นคงกำหนดกรอบไว้ตายตัวไม่ได้ ทุกอย่างสามารถปรับได้ แต่การปรับ..ปรับอย่างไร..นั่นคือสิ่งที่ได้เรียนรู้และจะออกมาเป็นรายงานการวิจัย
  • ในการนำเสนอถ้าทุกท่านสังเกตดีๆ จะเห็นว่าผมไม่พูดคำว่า KM แม้แต่ครั้งเดียว เพราะเราเข้าใจและได้ทำให้มันเนียนไว้ในกระบวนการทำงานอยู่แล้ว   เพราะเราทำ PAR แต่เราใช้KM เป็นเครื่องมือทำงานมาตั้งแต่การเลือกคนมาทำงานแล้วล่ะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท