สอนนักศึกษาปริญญาเอกแบบไม่สอน


แต่ถ้า นศ.ได้เรียนรู้วิธีเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียน/ฝึกให้มีนิสัยหรือวัฒนธรรมเรียนรู้ติดตัวไป ก็จะสามารถเรียนรู้ติดตามความรู้ใหม่ ๆ ได้ตลอดชีวิต

         ผมไป "สอน" นักศึกษาปริญญาเอกของ ม.ทักษิณตามที่เล่าแล้วในบันทึกเรื่องวิธีเรียนรู้ของนักศึกษาปริญญาเอก (click)  เป็นการ "สอนแบบไม่สอน"  เมื่อวันที่ 4 ก.ค.49

         ความประทับใจก็คือนักศึกษา 12 คน  เขาทำการบ้านกันอย่างจริงจังมากกว่าที่ผมคิด   และเขาก็ส่งการบ้านมาแล้วด้วย  แต่ผมดูไม่ออกว่าเป็นการส่งการบ้านเพราะมีแผนผังอยู่แผ่นเดียว   ผมคาดหวังว่าการส่งการบ้านนั้น นศ.จะส่งเป็นรายงาน   ไม่ใช่รวมกันส่ง 1 แผ่นเป็นผลงานของ 12 คน

         เอาเป็นว่าผมชื่นใจที่ นศ. เขาเข้าใจว่า นศ.ปริญญาเอกต้องเรียนแบบ active learning คือเรียนเอง   เรียนกันเองหรือเรียนร่วมกันในกลุ่ม นศ.ด้วยกัน   ไม่ใช่มุ่งหวัง passive learning ให้อาจารย์มาสอนแบบป้อนความรู้   เพราะความรู้เหล่านั้นไม่ถึง 10 ปีก็ล้าสมัยแล้ว  แต่ถ้า นศ.ได้เรียนรู้วิธีเรียนรู้ด้วยตนเอง  เรียน/ฝึกให้มีนิสัยหรือวัฒนธรรมเรียนรู้ติดตัวไป   ก็จะสามารถเรียนรู้ติดตามความรู้ใหม่ ๆ ได้ตลอดชีวิต

         หัวข้อที่ผม "สอน" คือเรื่องวัฒนธรรมการเรียนรู้   ผมส่ง VCD การจัดการความรู้เครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษ จ.พิจิตร  กับการจัดการความรู้ รพ.บ้านตากไปให้ นศ.ดูล่วงหน้า   แล้วร่วมกันตีความว่าเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้เพื่อดำรงอัตลักษณ์และปรับปรนการพัฒนาอย่างเท่าทันและสมสมัยอย่างไรบ้าง   แล้วมานำเสนอในชั่วโมงเรียนวันนี้

         นักศึกษาเขามี 12 คน  จึงแบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 2 คน  ตีความมากลุ่มละหัวข้อ   โดยใช้ผังความคิดเชิงระบบ (System Approach) คือมองเป็น Input, Process, Output/Outcome ของกระบวนการจัดการความรู้ใน 2 บริบท (พิจิตรและ รพ.บ้านตาก)

         นศ. เขานำเสนอทีละกลุ่มตามด้วยการอภิปราย  ซักถามและเสนอความเห็นเพิ่มเติมของเพื่อน นศ.ด้วยกัน   ผมทำหน้าที่ "คุณอำนวย" ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้

         ในตอนท้ายเราทำ AAR กัน  ดู นศ.เขาพอใจ   และอาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชานี้คือ ดร. อุทัย  เอกสะพัง ก็บอกว่า นศ.ได้เรียนรู้มาก   แต่ผมยังมองว่านักศึกษายังเข้าใจเรื่อง "วัฒนธรรมการเรียนรู้" ไม่ชัดและวิธีคิดยังติดกรอบติดรูปแบบ  หรือลากเข้าหาทฤษฎีบางทฤษฎีมากเกินไป   ยังคิดแบบอิสระไม่เป็น   จึงต้องคิดออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ในวันที่ 25 ก.ค.49  ซึ่งผมจะลงไป "ไม่สอน" อีกครั้งหนึ่ง

         ตกลงกันว่า มทษ. จะไปเชิญ ดร. อโณทัย โภคาธิกรณ์ จาก มอ. มาสอนบล็อก (และ KM) แก่ นศ.   แล้วให้ นศ.แต่ละคนสรุปการเรียนรู้ของตนในวันนี้คนละ 1 - 2 หน้าเอาขึ้นบล็อก   ผมจะตามไปอ่านและ comment   ถ้าการเขียนสรุปนี้ขึ้นบล็อกได้ภายในช่วงปิดยาว 4 วัน   ผมก็จะได้อ่านและทราบจุดแข็งจุดอ่อนของ นศ.เพื่อออกแบบการเรียนรู้ของวันที่ 25 ก.ค.49 ให้ชัดเจนกว่าที่ได้อีเมล์มาแจ้งแก่ ดร. อุทัยแล้ว

                           

รูปหมู่ นศ. - อจ. คนยืนซ้ายสุดคือ ดร. อุทัย เอกสะพัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชา

                           

                                      บรรยากาศในห้องเรียน

วิจารณ์  พานิช
 4 ก.ค.49

หมายเลขบันทึก: 37229เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2006 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

ไม่ทราบว่าอาจารย์สอนในสาขาวิชาใดครับ ผมสนใจในการศึกษาต่อ เพราะอยู่แถว ๆ นี้ เผื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมตัวศึกษาต่อ

หรือมหาวิทยาลัยทักษิณจะช่วยตอบก็จะขอบคุณมากครับ เกรงใจอาจารย์เหมือนกันที่ต้องตอบคำถามที่ไม่มีสาระมากนัก(แต่อยากรู้)

 

ขอบคุณครับ

  • ในข้อเขียนของอาจารย์ตอนท้าย ยัง แสดงให้เห็นทางอ้อมถึงแนวทางการให้ นักศึกษา ส่งงานทาง blog ที่ควรจะเป็นด้วยนะครับ (ตามความคิดของผม)
  •  อาจารย์ไม่ได้ห้ามส่งการบ้านทาง blog อย่างที่บางท่านอาจรู้สึก จากข้อเขียนที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ของอาจารย์ก่อนหน้านี้

         ท่าน Panda ครับ ของผมใช้วิธีต่อไปนี้ครับ ...

  • งานแบบเดิมๆที่ยังต้องมีอยู่ เช่นการสืบค้น วัตถุดิบ มาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เพื่อเตรียมนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ส่ง Online เข้าเก็บในพื้นที่ที่จัดให้ใน Server  ที่คณะ จัดเป็น Folder เป็นชั้นๆไป จาก วิชา  หมู่เรียน กลุ่มที่ และ Folder ชื่อนศ.แต่ละคน ซึ่งต้องจัดระบบการเก็บงานในกล่องของตัวเองอย่างเป็นระบบ ส่วนนี้ เขาส่งจากที่ไหนก็ได้  ผมตรวจที่ไหนก็ได้ หากมีเอกสารที่จะแนะนำอะไรเพิ่มเติม ผมจะไปวางไว้ใน Folder ตามระดับที่เหมาะสม ว่าสิ่งนั้น เพื่อทุกคนในระดับ วิชา หมู่เรียน กลุ่มย่อย หรือระดับบุคคล  ส่วนนี้ไม่รบกวนใคร เป็นเรื่องวงใน ระกลหว่าง ผู้เรียนกับผู้สอน
  • การสื่อสารรายบุคคลกับผู้สอน ใช้ E-mail ซึ่งใน Mailbox ผมจะจัด Folder เพื่อเก็บ Mail ของแต่ละกลุ่มไม่ให้ปะปนกัน  วางเงื่อนไขให้เขาส่ง Mail แบบได้มาตรฐาน และ หลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบธรรมดา  แบบแนบไฟล์ และ แนบ Link
  • การสื่อสารสู่สาธารณชน เผื่อเผยแพร่แลกเลี่ยนความรู้ ผมจัดทำ Website โดยอาศัยของฟรี เช่นที่ geocities และ  pantown  มี webboard ให้ฝึกตั้ง-ตอบกระทู้กันเอง โดยเน้นการเสนอสิ่งที่เป็นความเห็น ความคิด และสิ่งที่เป็น Tacit K. ตน เมื่อมั่นใจแล้วจึง ...
  • เปิด Blog ที่ Gotoknow และ Mail บอกผู้สอนทุกครั้งที่ไปเสนอบันทึกของตน หรือไปต่อยอดความรู้กับใคร โดยแนบ Link ไปด้วยทุกครั้ง

    กำลังทำอยู่กับ ป.ตรี 1 กลุ่ม  ป.โท 2 กลุ่ม และผู้บริหาร รร.อีกกว่า 50 คนครับ  จะออกหัวออกก้อย อีกไม่นานคงได้เห็นครับ
ขอบพระคุณสำหรับบันทึกที่มีประโยชน์มากชิ้นนี้ ของท่านอาจารย์ และขออภัย ที่พลาดพลั้ง มีข้อความซ้ำปรากฏสองรอบ กรุณาลบด้วยนะครับ
  • ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์  Handy ที่ช่วยมา ลปรร. และเสริมต่อ
  • เมื่อก่อนผมก็เคยใช้ web site ของฟรีนะครับ แต่ตอนนี้ทางภาควิชา มี web Server ของตัวเอง เลยหันมาใช้ ระบบการจัดการเรียนการสอน หรือที่เรียกว่า LMS (Learning Management System) open sources (Moodle) ที่จะมี Features ที่จำเป็นให้ค่อนข้างครบครับ 
  • รอดู blog ของนักศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณ
  • มหาวิทยาลัยเก่าของผมสมัยเรียนปริยญาตรีครับ
  ไม่ใช่ อ.ขจิตคนเดียวครับ ผมก็ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยทักษิณ ตั้งแต่ครั้งยังเป็น วิทยาลัยวิชาการศึกษา (สงขลา)  เป็นรุ่น 3 ที่โชคดี มีความกันดาร ความขาดแคลน ช่วยเสริมสร้างความแกร่ง และความรัก ความเสียสละในหมู่พวกเรา ทั้งนักศึกษาและอาจารย์ ผูกพันกันดุจสมาชิกในครอบครัว

        ท่านอาจารย์ Panda ครับ

  • ขอบคุณครับ ได้ลองเข้าไปเยี่ยมชม LMS ที่ภาควิชาของท่านแล้วครับ  ผมเองเคยลองจับเรื่องนี้นิดหน่อย แบบคลำๆเอาเอง มีสหายรุ่นน้องคือ ดร.ไพทูรย์ ศรีฟ้า ไปดำเนินการไว้ให้ แต่ไม่มีเวลาศึกษา  เท่าที่ดูๆ น่าสนใจมากอยู่  แต่ก็เห็นความยุ่งยากอยู่บ้าง  มีโอกาสคงจะขอความรู้จากท่านเพิ่มเติมครับ
  • เรื่อง Free Server ข้างนอกนั้น แม้ผมจะมี Server ของคณะให้ใช้ ก็ยังไม่เลิก ของฟรีข้างนอก  เนื่องจากต้องการแสดง ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมให้ผู้เรียน และกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เห็นว่า แม้เขาไม่มีความพร้อม ด้าน Hardware ขาดงบประมาณ ก็ยังมีช่องทางแก้ปัญหา โดยไม่ต้องใช้เงินอยู่ด้วย ... เคยพบโรงเรียนใหญ่ในจังหวัดหนึ่งไม่ไกลกรุงเทพฯ ที่ยังสื่อสารด้วย Fax. เป็นหลัก ทั้งที่มีคอมพิวเตอร์อยู่มากมายในโรงเรียน โทรศัพท์ก็มี แต่เรื่องติด Modem เพื่อสื่อสารทาง Internet กลายเป็นเป็นเส้นผมบังภูเขาไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ  Fax เอกสาร 20 หน้า ไปพิมพ์กันใหม่เพื่อใช้แจกจ่ายในการอบรมก็ทำกัน ทั้งที่ ไฟล์ Word ต้นฉบับสามารถแนบไปกับ E-Mail ได้อย่างที่เราทำๆกัน แต่เขานึกว่าจะมี Internet ใช้ต้องรองบประมาณก้อนโตนั้นก่อน จึงจะทำได้

 อีกรอบ ... 
   ท่านอาจารย์ Panda ครับ อยากให้ท่านไปดู คห.ที่ 8 ทีนี่ด้วยครับ .. http://gotoknow.org/blog/handyman/36813 

เรียน อาจารย์หมอวิจารณ์

พี่โอ๋ (ดร. อโณทัย โภคาธิกรณ์ ในบันทึกนี้เขียนผิดคะ เป็น อโณชา) เป็น Expert user ของ GotoKnow ค่ะ คือ สามารถใช้ระบบได้อย่างแคล่วคล่อง และเข้าใจเรื่องการนำระบบไปใช้เพื่อการจัดการความรู้ได้เป็นอย่างดีทีเดียวคะ

และใน มอ. ยังมีอีกหลายคนนะค่ะที่สามารถช่วยสอนเรื่องการใช้ GotoKnow ได้คะ ติดต่อที่ คุณเมตตา ได้เลยคะ

ขอบคุณคะ

จันทวรรณ

การเรียนรู้ยุทธศาสตร์การจัดการงานวัฒนธรรม และวัฒนธรรมกับการพัฒนา

จากศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์  พานิช

วันที่   4  กรกฎาคม  ..  2549

      

พระครูภาวนาสมาธิคุณ

 

                ตามที่นิสิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้เสนอ  รูปแบบ (MODEL)  ศึกษากรณีความสำเร็จในการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลบ้านตาก  และเครือข่ายเกษตรธรรมชาติ จังหวัดพิจิตร  โดยใช้การวิเคราะห์ตามทฤษฎีระบบ  (System  Theory)  และ  SWOT นั้น ทำให้ทราบจุดบกพร่องที่ต้องปรับปรุงแนวความคิด (Concept)  และเสริมสร้างปัญญาจากการแลกเปลี่ยนความรู้หลายประการ  จะกล่าวเป็นลำดับสืบต่อไป

 

                ประการที่  1    ทฤษฎีรูปแบบ  ประกอบด้วย  INPUT, PROCESS, OUTPUT  และ  OUTCOME  เป็นลักษณะการวิเคราะห์เชิงวิศวกรรม หรือวิทยาศาสตร์มากกว่าเป็นการวิเคราะห์ทางสังคมศาสตร์

                การวิเคราะห์ทางสังคมศาสตร์ จะเน้นไปยังบุคคล หรือชีวิต หรือวิถีชีวิต ซึ่งมีการพลวัตเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามปัจจัย และสิ่งแวดล้อม  ทำให้ไม่สามารถควบคุมได้ และมีระบบซับซ้อน  จึงควรจะวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีไร้ระเบียบ (CHAOS  THEORY) หรือ  DYNAMIC  COMPLEX  SYSTEM  จะเหมาะสมกว่า

                ทำให้ทราบว่า  คนเป็นผู้สร้างความไร้ระเบียบในสังคม ความเป็นคนย่อมแตกต่างจากความเป็นมนุษย์

 

                ประการที่  2    ปัจจัยนำเข้า (INPUT)  ของทฤษฎีระบบ  เป็นต้นเหตุของปัญหาที่ต้องแก้ไข  ยังเจาะลงไปไม่ได้ลึกอีกหลายสาเหตุ  ที่ต้องเอาเข้ามาวิเคราะห์ด้วย  เช่น  โครงการของรัฐบาลที่เข้าสู่องค์กร,  การทำงานของหน่วยงาน NGO,  ระบบการทำงานของข้าราชการ  เหล่านี้เป็นต้น  ที่มีผลกระทบต่อการทำงานขององค์กรทั้งสอง  แต่ใน VCD  ไม่ได้กล่าวถึงความจำเป็นที่ผู้วิเคราะห์ระบบจะต้องเจาะลงไปให้ลึกกว่านี้ โดยนึกถึงสภาพที่เป็นจริงที่เคยพบด้วยตนเอง

                ทำให้ทราบว่า  สรรพสิ่งในสากลโลก  ไม่มีสิ่งใดที่สมบูรณ์ครบถ้วนทุกประการ

   

                ประการที่  3    แนวความคิดในเรื่องวัฒนธรรม  หรือกระบวนการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม  อย่าไปยึดติดกับเหตุการณ์ในอดีต  ต้องมองวิเคราะห์สภาวะปัจจุบัน  และสืบสาวไปยังอนาคต  เพราะว่า สภาวะการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมในสังคมมนุษย์มีการพลวัตอย่างต่อเนื่อง

                ทำให้ทราบว่า  วัฒนธรรมไม่ใช่เรื่องล้าสมัย  แต่ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย เพื่อให้เกิดความ          สมสมัยตามยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

 

                ประการที่  4    การวิเคราะห์โดยใช้  SWOT  ที่วิเคราะห์จุดอ่อน,  จุดแข็ง,  ภัยคุกคาม  และโอกาส ควรจะใช้วิธีคิดเชิงบวกเสริมเข้าไปด้วยในการยกย่อง  เยินยอ  (APPRECIATION)  เข้ามาวิเคราะห์ด้วย ซึ่งมีข้อดีมากกว่า  SWOT  ในแง่ที่มีความยืดหยุ่น  มีลักษณะการค้นหาความสำเร็จมาวิเคราะห์ เป็นการเสริมสร้างแรงบวก เพื่อให้เกิดความตื่นเต้น และปิติ  นับว่าเป็นจิตวิทยาการกระตุ้นให้ทำงานอย่างภาคภูมิใจ

                ทำให้ทราบว่า การยกย่องเยินยอผู้อื่นมากเกินไป ต้องระวังในการตกขอบอย่างขาดสติสัมปชัญญะ

 

                ประการที่  5    ทุนนิยม  อย่าไปตีความหมายว่า  ทุนคือเงินตรา  แต่ทุนในที่นี้ หมายถึง ความรู้หรือปัญญาที่มีอยู่ในตัวเอง เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน  เสมือนเป็นอริยทรัพย์ หรือทรัพย์ภายในทางหลักพุทธศาสนา

                ทำให้ทราบว่า ทุนนิยม   ในที่นี้  หมายถึง  ทุนทางด้านปัญญา

 

                ประการที่  6    เรื่อง  KM  (KNOWLEDGE  MANAGEMENT)   ถ้าทำได้ผลสำเร็จ  ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการรู้สึกผ่อนคลาย  มีความสุข  เห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน  รู้การเรียนรู้มีการเปลี่ยนแปลงไม่สิ้นสุด และสามารถบริหารเวลาทำให้สร้างปริมาณงานได้มากขึ้น

                ทำให้ทราบว่า เรื่อง  KM  ต้องรู้จริงจากการปฏิบัติ  ไม่สามารถเข้าใจได้ภายในวันเดียวฉันใด     พระพุทธเจ้าทรงใช้เวลา  6  พรรษา ในการตรัสรู้  จึงสามารถสอนผู้อื่นได้

 

                ประการที่  7    การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะ หรือ เครื่องมือการจัดการความรู้ในบล็อก (BLOG)  โดยผ่านเทคโนโลยี  IT  เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะ  และการจัดการความรู้ซึ่งกันและกัน  นับว่าเป็น        ขุมทรัพย์ความรู้ไว้ใช้งาน  และหมุนเวียนเกลียวความรู้อย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด

                ทำให้ทราบว่า วัฒนธรรมการเรียนรู้ในยุคนี้  มีการปฏิวัติไปตามยุค  IT  ถ้าสามารถฝืนทวนกระแสในยุคนี้  เรียนรู้ไม่ใช้  IT  นับว่าเป็นเลิศในทักษะการเรียนรู้

  

                ประการที่  8    บทสุดท้าย  คือ  การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้หลังจากทำงานเสร็จแล้ว  (AAR  -  AFTER  ACTION  REVIEW)  โดยตั้งคำถาม  5  ข้อ  และให้ตอบตามความคิดของตนเอง

                ทำให้ทราบว่า “AAR  เป็นเครื่องมือประเมิน หรือ ตัวชี้วัดการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งกันและกัน       ชี้วัดถึงประสบสำเร็จหรือล้มเหลว  หลังจากเรียนรู้เสร็จ

 

บทสรุป      สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ในการเสริมสร้างปัญญา

 

1.       การใช้ทฤษฎีระบบ

2.       หลักการใช้ทฤษฎีไร้ระบบ

3.       วิธีการคิดในเชิงบวกในการยกย่อง เยินยอ

4.       การจัดความรู้ (KM)

5.       เครื่องมือการจัดความรู้ในบล็อก (BLOG)

6.       การแลกเปลี่ยนความรู้หลังจากทำงานเสร็จแล้ว  (AAR)

7.       ความสุขในการเรียนรู้ที่ไม่ต้องใช้ตำราเรียน  (TEXT  BOOK)

สรุปการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ การเรียนรู้ในวันนี้กลุ่มผู้เรียนได้นำเสนอข้อศึกษาของแต่กลุ่มโดยมีอาจารย์คอยทำหน้าที่ คุณอำนวย ซึ่งตัวผู้เรียนพอสรุปผลการเรียนรู้ของตนได้ดังนี้ ๑.ได้ศึกษาขบวนการเรียนเกี่ยวกับการนำขบวนการเรียนรู้มาใช้กับวัฒนธรรม แต่ยังไม่เข้าใจการเชื่อมโยงวัฒนธรรมการเรียนรู้กับแหล่งเรียนรู้ได้มากนัก แต่พอสรุปได้ว่า ขบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเป็นขบวนการเรียนทั้งระดับที่เป็นวัฒนธรรมย่อยเชื่อมโยงไปสู่วัฒนธรรมหลักของสังคม เรียนรู้จากชีวิตที่เป็นอยู่ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันเชื่อมโยงไปหาอดีตและเชื่อมโยงไปสู่อนาคต มองวัฒนธรรมเชิงเปรียบเทียบสองอย่างระหว่างวัฒนธรรมใหม่กับวัฒนธรรมเก่า ไม่มองกระบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมแบบตายตัวหรือหยุดอยู่กับที่ แต่วัฒนธรรมการเรียนรู้จะมีลักษณะที่เป็นพลวัตอยู่ตลอดเวลาเชื่อมโยงไปกับพัฒนาการทางสังคม วัฒนธรรมการเรียนจะไม่มีวันสิ้นสุด เพราะกระบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตลอดเวลามีลักษณะที่ยืดหยุ่นไม่เป็นไปลักษณะที่ขัดขืนแต่ไม่ทำลายตัวเอง ซึ่งพลวัตทางวัฒนธรรมนั้นก็ไม่ทำให้เสียอัตลักษณ์ แต่ยังดำรงจุดแข็งของตนไว้ได้ ๒. สำหรับบทสรุปจากการอภิปรายตาม mapping แม้จะยังไม่ชัดเจนนักเพราะยังยึดหลักการเรียนรู้ตามหลักทฤษฎี แต่คิดว่าเมื่อยังไม่ได้ลงสู่พื้นที่การปฏิบัติการจริงการยึดหลักทฤษฎีมันก็ยังจำเป็นที่จะต้องใช้อยู่ดี แม้จะอภิปรายกันไปแล้วภาพของขบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเบลอๆไปเพราะทำให้มองไม่เห็น คน ขบวนการ และผลที่ชัดเจน ๓. ขบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ควรดึงเอาจุดแข็งที่มีอยู่นำมาแลกเปลี่ยนกัน โดยวิธีแสวงหาจุดร่วมขจัดจุดต่าง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาขบวนการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ จากตัวอย่างที่ได้นำมาศึกษากระบวนการเรียนรู้ได้เริ่มจากกระบวนการ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ นำไปสู่การปฏิบัติการ สรุปผลขบวนการเรียนรู้แล้วนำไปสู่การปรับปรุง และนำไปสู่การปฏิบัติใหม่ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่ากระบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไม่มีการหยุดนิ่ง และจากการเรียนในวันนี้ทำให้มองเห็นวัฒนธรรมต่างจากที่เคยมองเห็นวัฒนธรรมในเชิงดิ่งเดียว มาเป็นเห็นวัฒนธรรมในลักษณะที่เป็นองค์รวมอยู่ในทุกส่วนของสังคม ข้อสังเกตที่ได้จากการศึกษา -การเรียนแบบไม่ใช้ตำราเรียนเป็นวิธีเรียนของอาจารย์ -ทฤษฎีที่นำมาใช้ในการศึกษาที่ปรากฏใน mapping ไม่เหมาะกับการนำมาศึกษาทางวัฒนธรรม เนื่องจากวัฒนธรรมีความเกี่ยวเนื่องกับคนมีพลวัตอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดกับที่ควรใช้ทฤษฎีไร้ระบบ - การมองสังคมเราไม่สามารถมองได้ทุกแง่มุม ทุกอย่างไม่มีความสมบูรณ์และสิ่งที่ปรากฏอยู่เบื้อหน้ามักจะมีแต่ข้อดีดังตัวอย่างที่ปรากฎใน VCD - การวิเคราะห์(swot) SW จุดแข็งและจุดอ่อนควรศึกษาจากปัจจัยภายใน ส่วนot ภัยคุกคามและโอกาส ควรมองจากปัจจัยภายนอก - ทุนนิยมทางวัฒนธรรมที่แท้จริงคือทุนนิยมทางปัญญาที่มีอยู่ เป็นทุนนิยมเดิมที่ฝังลึกจนตกผลึกทำให้ผู้คนในสังคมมองข้าม กระบวนการเรียนควรดึงทุนนิยมทางวัฒนธรรมมาสู่กระบวนการเรียนร้ - KM เป็นขบวนการเรียนรู้จากภาคปฏิบัติที่กระทำจนเกิดเป็นองค์ความรู้ผ่านกระบวนการลองผิดลองถูก เน้นการนำไปใช้มากกว่ายึดที่ตัวทฤษฎี กระบวนการเรียนรู้สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการแลกเปลี่ยนหรือการแชร์ความรู้กันแล้วประยุกต์นำเอาองค์ความรู้เก่ามาปรับใช้ให้เหมาะกับเทคโนโลยีใหม่ -ก่อนจบบทเรียนผู้ศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการ AAR ซึ่ง เป็นเครื่องมือประเมิน การแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งเป็นตัวชี้วัดประการหนึ่งที่ใช้ประเมินผู้เรียนแบบทันทีทันใด พระมหาชิต กุมบุรี
สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ เมื่อสังคมไทยพูดถึง “การเรียน” โดยทั่วๆไปมักจะมี “จินตนาการ”หรือ “ภาพฝัน” ที่ค่อนข้างเป็นไปในการบังคับให้เรียนหรือเป็นหน้าที่ของบุคคลที่ต้องเรียนโดยครูหรืออาจารย์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ทั้งนี้เพราะเรานำ “การเรียน” ผูกติดกับการศึกษาในระบบจึงเป็นหน้าที่ ของ “โรงเรียน” หรือ “มหาวิทยาลัย” ในการจัด “การเรียน” หรือก่อให้เกิด “การเรียน” ในขณะเดียวกันที่ผ่านมา “วิธีการเรียน” ที่สังคมไทยใช้อยู่ก็ไม่ค่อยเอื้อให้เกิดการคิด แลกเปลี่ยน สักเท่าไรหรือกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมการศึกษาเป็นไปในลักษณะ “จำได้หมายรู้” และ “นิ่งเสียตำลึงทอง” ซึ่งแม้แต่ครูผู้สอนเองก็ได้รับการ “บ่ม” และ “เพาะ” จากวัฒนธรรมเดียวกันกับผู้เรียน ถึงแม้จะมีความพยายามในการเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือยึดผู้เรียนเป็นสำคัญก็ตามเพราะนั่นเป็นเพียงรูปแบบของ “การเรียน” แต่ยังไม่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ที่ฝังรากลึกในวิถีชีวิต อาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช ได้ออกแบบ “การเรียนรู้” เพื่อให้เกิด “การเรียนรู้” ในรายวิชา ยุทธศาสตร์การจัดการทางวัฒนธรรม โดย “การสอนแบบไม่สอน” เป็นทั้งคุณเอื้อและคุณอำนวยให้เกิด “การเรียน” โดย “การเรียนรู้” เรียนรู้ที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งการที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างอิ่มเอมและเปิดพรมแดน การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเรียนรู้ที่จะศึกษาด้วยตนเอง,คิด,ใคร่ครวญ ในประเด็นศึกษา เพื่อเป็นต้นทุนในการแลกเปลี่ยน ในขณะเดียวกันการแลกเปลี่ยนเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะตรวจสอบความคิด ความเข้าใจต่อประเด็นที่ศึกษา เรียนรู้ที่เคารพทุกความคิดเห็น “ไม่มีถูก ไม่มีผิด” เป็นประโยคที่เราได้ยินบ่อยเมื่อมี การแลกเปลี่ยนรับฟังกันและกัน โดย “คุณเอื้อ” แสดงบทบาทเอื้อกระบวนการรับฟังและสกัดประเด็นร่วม เรียนรู้ที่จะคิดนอกกรอบ ถึงแม้ว่าจะศึกษาประเด็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่ถึงที่สุดก็ติดกับดักของกรอบความรู้เดิมหรือยึดติดวิธีคิดใดวิธีคิดหนึ่งเป็นสรณะ กล่าวได้ว่ายังยึดติดวัฒนธรรมการคิดแบบเดิมๆที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือหาทางออกไม่ได้ในปัจจุบัน ถ้าไม่เปลี่ยนวิธีการมองหรือวิธีการอธิบายปัญหา เรียนรู้ที่จะคิดและอธิบายแบบองค์รวม ปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมมีความซับซ้อน เกินกว่าจะใช้วิธีคิดหรือทฤษฎีใดอธิบายได้อย่างชัดเจนและปรากฏการณ์ไม่มีลักษณะเป็นเส้นตรง หากมองอย่างแยกส่วนทำให้ได้ภาพที่พร่าเลือน ดังกล่าวเป็นประเด็นข้าพเจ้าได้จากการเรียนรู้จากการสอนแบบไม่สอนของ อาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช จึงนำมาเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ขอบคุณครับ ธำรงค์ บริเวธานันท์

 ได้ส่งงานอาจารย์ในบล็อคชื่อสรุปสาระการเรียนรู้

นักศึกษาป.เอกวัฒนธรรมศึกษา ม.ทักษิณ

เรียน  ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์  พานิช

    สงสัยว่าท่านอาจารย์คงจะวิงเวียนกับการส่งงานสรุปสาระการเรียนรู้ในวันที่ 4 กค. 49  ของนักศึกษาป.เอก วัฒนธรรมศึกษา ม.ทักษิณ พอสมควร  น่าจะเกิดจาก เพราะไม่เข้าใจการใช้ gotoknow  ค่ะ  เราใช้วิธีการลองผิด ลองถูก ส่งได้บ้างไม่ได้บ้าง   ความจริงแล้วเมื่อว้นหยุดที่ผ่านมามีการจัดอบรม  แต่การสื่อสารคงผิดพลาด  เพราะจริงๆ แล้วหากมีผู้สอนว่า บันทึก บล็อค ไฟล์ ใน gotoknow  ใช้อย่างไร  ก็น่าจะเข้าใจได้ และไม่ทำให้ท่านอาจารย์หมอต้องปวดหัวค่ะ   

   "สรุปสาระการเรียนรู้" น่าจะอยู่ใน บล็อก http://gotoknow.org/blog/thaikm/491998002 ป้ายสรุปการเรียนรู้  วัฒนธรรมการเรียนรุ้ค่ะ

17/07/49เรียน ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช ที่เคารพ                          หลังจากผู้เขียนได้ดูวีดิทัศน์ร่วมกับเพื่อน ทั้ง12 คน เรื่อง การจัดการความรู้ในเครือข่ายเกษตรกร จังหวัดพิจิตรและการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลบ้านตากเพื่อนำมาอภิปรายในหัวข้อการสร้างหรือปฏิรูปกระบวนการวัฒนธรรมการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้เพื่อดำรงค์อัตลักษณ์และปรับปรนพัฒนาอย่างเท่าทันและสมสมัยนั้นผู้เขียนรวมทั้งเพื่อนๆได้แบ่งกัน 6 กลุ่ม กลุ่มละ 2 คน ตีความหัวข้อดังกล่าวออกเป็นกลุ่มละหัวข้อ โดยใช้ผังความคิดเชิงระบบ คือกล่าวคือ1.       Input2.        process การสร้างหรือปกิรูปกระบวนการวัฒนธรรมการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้3.       out put and outcome4.       การสังเคราะห์และวิเคราะห์  (swot)5.       ปรับปรนการพัฒนาอย่างเท่าทันและสมสมัย6.       ดำรงอัตลักณ์ความเป็นเกษตรกร จังหวัดพิจิตรและข้าราชการโรงพยาบาลบ้านตาก                     ซึ่งแต่ละคนก็ได้นำเสนอในหัวข้อที่ตัวเองเข้าใจโดยมีเพื่อนๆและอาจารย์ร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอแนะถึงแม้ว่าการส่งแผนดังกล่าวทั้ง 12 คน จะส่งเพียง 1 แผ่นซึ่งอาจจะผิดความคาดหมายของอาจารย์แต่อย่างไรก็แล้วแต่แต่ละคนก็ได้แสดงความสามารถตีความกระบวนการเรียนรู้ถูกบ้างผิดบ้างแต่สำหรับผู้เขียนเองมองการอภิปรายในวันนี้มีประโยชน์มากและอยากแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้ 1.                        ปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากเกษตรกรได้ใช้สารเคมีในการปลูกและกำจัดศัตรูพืชเป็นปัญหาที่ซับซ้อน การสร้างหรือปฏิรูปกระบวนการวัฒนธรรมการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้เพื่อดำรงค์อัตลักษณ์และปรับปรนพัฒนาอย่างเท่าทันและสมสมัย   การแก้ปัญหาดังกล่าวจึงต้องอาศัยความรู้และความร่วมมือจากทุกคนทุกฝ่าย  การจัดการกระบวนการเรียนรู้ทั้ง 2 แห่งเป็นการบูรณาการทำงานเป็นทีม ทั้งภาครัฐระดับนโยบาย และปฏิบัติคอยเป็นคุณอำนวย  คุณเอื้อให้กับคุณกิจคือชาวบ้าน เกษตรกร หรือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล แต่ก่อนปฏิบัติควรทำอบรมด้านการจัดการความรู้จัดให้แก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตรและแกนนำเกษตรกร เป็นสิ่งสำคัญซึ่งเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งสามารถนำเทคนิควิธีการด้านการจัดการความรู้ชุดธารปัญญาไปใช้ในการทำงาน แปลงเป็นแผนงานการพัฒนาสถานบริการทั้งจังหวัด ใช้ในการเตรียมเจ้าหน้าที่ทุกระดับ โดยไม่ทำให้ภาระงานเพิ่มขึ้น และสอดคล้องกับการทำงานของทีมพัฒนาคุณภาพหลังจากนั้นหารือร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านถึงแผนงานในระยะต่อไปหลังจากชาวบ้านได้รู้ว่ามีความรู้ดีๆ อยู่ในกลุ่มเพื่อนๆ แล้ว จึงได้จัดกลุ่มความสามารถของปราชญ์ชาวบ้าน เกิดเป็นชุมชนนักปฏิบัติขึ้นมารวมแต่ การฝึกอบรมเป็นเพียงจุดเริ่มต้น เป็นกิจกรรมเพื่อทำความรู้จักการจัดการความรู้ ถ้าไม่เกิดกิจกรรมต่อเนื่อง คือการดำเนินการจริง ที่เป็นการดำเนินการจัดการความรู้ในงานประจำ การลงทุนลงแรงลงเวลาในการจัดการฝึกอบรมก็จะสูญเปล่า ดังนั้นการฝึกอบรมต้องไม่ใช่กิจกรรมที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดในตัวของมันเอง ต้องเป็นกิจกรรมที่มีการออกแบบหรือวางแผนให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนดำเนินการจัดการความรู้ในภาพรวม                       การจัดความรู้ที่ดีเองควรมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ อย่างเครือข่ายเกษตรกร จังหวัดพิจิตรมซึ่ง ได้เชื่อมโยงกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน, ชมรมเกษตรธรรมชาติ, สำนักงานเกษตรอำเภอ, นายอำเภอ, ในลักษณะที่ต่างฝายต่างได้ประโยชน์  2. การจัดการความรู้ทั้ง 2 แห่ง เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้นไม่สามารถนำมาใช้กับที่อื่นทุกระเบียบนิ้ว แต่จะต้องดูสถานการณ์ สถานที่และเวลาและปรับให้เหมาะสมด้วยและ การจัดการความรู้ที่เรียกภาษาอังกฤษ Knowledge  Management (KM)สามารถนำหลักดังกล่าวมาจัดการในเรื่องดังต่อไปนี้เช่น การจัดการเวลา  (TM) การจัดการชุมชน (CM)  การจัดการอิเล็คทรอนิค(EM) การจัดการวัฒนธรรม(CM)   การจัดการเศรษฐกิจ(ECM) เป็นต้นที่สำคัญการจัดการความรู้ให้เชื่อมโยงกับภาควิชาการด้วย เพื่อให้เกิดการทำวิจัยต่อยอดความรู้ของชาวบ้านหรือชุมชน     นี่คือความคิดเห็นและสิ่งที่ได้รับส่วนหนึ่งจากการได้ร่วมเรียนรู้และรับฟังจากอาจารย์                                                            ด้วยจิตคารวะ                                                         อับดุลสุโก  ดินอะ                                                             ศิษย์   
อับดุลสุโก ดินอะ(เพิ่มเติมการเรียนรู้ในจังหวัดชายแดนใต้และปอเนาะ)
ข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เรียบเรียงโดยอ.อับดุชชะกูร์ บิน าฟิอีย์ ดินอะ( อับดุลสุโก ดินอะ  )[email protected]09-7359279ผช.ผจก.ร.ร.จริรยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลาด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีกรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนามุฮัมมัดและละผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่านการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมวลมนุษยชาติ เพราะการศึกษาเปรียบเสมือนดวงประทีปส่องนำชีวิต เป็นประตูของความสำเร็จ และเป็นกุญแจแห่งอารยธรรม ดังนั้นจึงไม่มีประชาชาติใดในโลกอันกว้างใหญ่นี้ที่ปฏิเสธความสำคัญของการศึกษา เพราะต่างตระหนักดีว่า พวกเขามิอาจจะดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขหากปราศจากการศึกษา ความจริงการศึกษานั้นไม่เพียงแต่จะมีความจำเป็นต่อมนุษย์เท่านั้น หากแต่ยังมีความสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสรรพสิ่งทั้งมวลไม่ว่า สัตว์  สิ่งของรวมทั้งจักวาลด้วยเพราะอันเนื่องมาจากการศึกษาของมนุษย์นี้แหละทำให้โลกนี้สงบสุขหรือเกิดความหายนะ อัลลอฮฺได้ดำรัสความว่า ความเสียหายได้เกิดขึ้นทั้งบนบกและในน้ำเป็นผลจากน้ำมือของมนุษย์ เพื่อพระองค์จะให้พวกเขาได้ลิ้มรสในบางส่วนที่พวกเขาได้ก่อไว้ โดยหวังที่จะให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัว (30 : 41)สำหรับการศึกษาชายแดนใต้นั้นในการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาในสถานการณ์ความไม่สงบที่กำลังยกระดับความรุนแรงอยู่อย่างต่อเนื่องในขณะนี้นั้น จำเป็นที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานการจัดการศึกษาในพื้นที่ จะต้องใช้สติ และความรอบคอบในการจัดการกับปัญหามากเป็นพิเศษและต้องเข้าใจ เข้าถึงวิถีชีวิตของคนในพื้นที่.ดังนั้นหากการจัดการศึกษาที่ไม่สดคล้องกับวิถีชีวิต-วัฒนธรรมอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นรากเหง้าของปัญหาไม่สงบในพื้นที่ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น           ดังนั้นหากต้องการการจัดการศึกษาในพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จทั้งผู้จัดในนามของรัฐและผู้รับบริการในนามของประชาชนพื้นที่ควรพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้1.                 ข้อมูลด้านการจัดการศึกษา[1]     สำหรับข้อมูลการจัดการศึกษานั้นผู้เขียนขอแบ่งการจัดการศึกษา 3 จังหวัดชายแดนใต้ออกเป็น 2  ระบบ1.1                        สถานศึกษาในระบบ มีสถานศึกษา 1,202 แห่ง มีนักเรียนทั้งสิ้น 503,236 คน  สามารถแบ่งได้ 5 ประเภท1.1.1                 สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( อนุบาล-  มัธยมศึกษาปีที่6 )  เป็นของรัฐ 925 แห่งมีนักเรียนทั้งสิ้น 321,977 คนส่วนใหญ่เป็นการศึกษาภาคบังคับ( ประถมศึกษาปีที่6) ของเอกชน 172 แห่งแต่เป็นที่น่าสังเกตว่าเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่สอนศาสนาควบคู่สามัญ ถึง126 แห่ง(ส่วนใหญ่ในระดับมัธยมศึกษา) และที่อยู่ภายใต้องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น 32 แห่ง(เป็นการศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษาปีที่6เช่นกัน)1.1.2                 สถาบันอาชีวศึกษา ของรัฐ 13 แห่งมีนักเรียน 17,331 คน และของเอกชน 4 แห่งมีนักเรียน 2,325 คน1.1.3                 วิทยาลัยชุมชน 3 แห่งนักเรียน 4024 คน  1.1.4                 สถาบันอุดมศึกษา  4 แห่ง มีนักศึกษา ทั้งสิ้น 1,5424 คน 1.1.5                 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แบ่งออกเป็นแผนกสามัญศึกษา 2 แห่งมีผู้เรียน 101 คน แผนกธรรม 43 แห่งมีผู้เรียน 596 คนและแผนกบาลี 4 แห่งมีผู้เรียน 57 คน 2.1                        สถานศึกษานอกระบบซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้2.1.1     สถาบันศึกษาปอเนาะ  303 แห่ง(ที่จดทะเบียน ) มีผู้เรียนทั้งสิ้นประมาณ  17,890 คน (อาจจะมีคนที่เรียนสถานบันในระบบมาอาศัยและเรียนด้วยในเวลาว่างจากการเรียนในระบบและคนที่ทำงานแล้วเรียนด้วยหลังจากเวลาทำงาน)2.1.2     ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามประจำมัสยิดสำหรับผู้ใหญ่และศูนย์ อบรมศาสนาอิสลามประจำมัสยิดสำหรับเด็กเรียกว่าตาดีกา  1,605 แห่ง มีนักเรียนทั้งสิ้น 168,242 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนประถมศึกษาของรัฐ และศุนย์อบรมเด็ก่อนเกณฑ์แระจำมัสยิด 130  แห่ง มีนักเรียน 7,428 คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 238 แห่งมีนักเรียน 9478 คน 2.1.3     ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์  6 แห่ง มีนักเรียน 1,216 คน 2.1.4     ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน มี 36 แห่งมีนักเรียน 11,2194 คน2.1.5      ศูนย์การเรียนอัลกุรานตามบ้านของปราชญ์อัลกุรอานและศูนย์ท่องจำอัลกุรอาน2.                 การบูรณาการการศึกษาสามัญ- ศาสนา  จากข้อมูลการจัดการศึกษาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การศึกษา ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆมากโดยเฉพาะในประเด็นการให้สำคัญกับการศึกษาด้านศาสนาตั้งแต่เล็กถึงแม้ภาครัฐจะจัดการศึกษาอิสลามศึกษาบ้างในโรงเรียนของรัฐระดับประถมศึกษาแต่เด็กดังกล่าวยังไปเรียนศาสนาหลักสูตรเข้มข้นวันเสาร์อาทิตย์ในศูนย์อบรมศาสนาอิสลามประจำมัสยิดหรือตาดีกาทั้ง  1,605 และเรียนอัลกุรอานตอนเย็นหลังเลิกเรียนตามศูนย์การเรียนอัลกุรานตามบ้านของปราชญ์อัลกุรอาน ในขณะเดียวกันเด็กมุสลิมส่วนใหญ่เมื่อจบประถมศึกษาปีที่6 จะเข้าเรียนศาสนาและสามัญในรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามซึ่งมีมากกว่า 120  แห่ง ในขณะนักเรียนไทยพุทธจะเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนของรัฐ           เมื่อนักเรียนมุสลิมจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะแยกย้ายออกไปศึกษา ตามที่ต่างๆบางคนหากต้องการความรู้เพิ่มเติม ด้านสามัญก็จะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยในประเทศหรือต่างประเทศเช่นมาเลเซีย ด้านอาชีพก็จะเรียนต่อวิทยาลัยชุมชน อาชีวศึกษา  สำหรับผู้ที่ต้องการมีความรู้ด้านศาสนาเพิ่มขึ้นก็จะเรียนในสถาบันเดิมหรือต่างสถาบันในระดับชั้น10 เพื่อนำประกาศนียบัตรชั้น10  ดังกล่าวไปต่อด้านศาสนาที่ตะวันออกกลาง มาเลเซียและอินโดนีเซีย แต่สำหรับบางคนเรียนต่อในสถาบันปอเนาะโดยเฉพาะสถาบันปอเนาะที่มีปราชญ์อิสลามศึกษาหรือโต๊ะครูดังเช่นปอเนาะดาลอ  ปอเนาะโต๊ะยง หรือปอเนาะเลาะสาเงาะ3.  ทำความรู้จัก 'ปอเนาะ
รากศัพท์ของคำว่า "ปอเนาะ" เป็นคำภาษามลายูปัตตานีเพี้ยนมาจากภาษาอาหรับว่า FUNDOK อ่านว่าฟุนโด๊ก แปลว่า กระท่อม ที่พัก หรือโรงแรม
ความหมายในที่นี้หมายถึง "สำนักศึกษาเล่าเรียนวิชาการศาสนาอิสลาม"
สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) สงขลา ฉบับ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๗ ระบุความเป็นมาว่า เชื่อกันว่าปอเนาะเกิดขึ้นในประเทศอียิปต์ แล้วแพร่มาสู่เอเชียที่ประเทศมาเลเซียก่อน ต่อมาจึงแพร่เข้าสู่เส้นทางใต้ของประเทศไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเริ่มที่ปัตตานีเป็นแห่งแรก แล้วขยายไปสู่ท้องถิ่นที่มีชาวไทยมุสลิมทั้งในภาคใต้และภาคกลาง"ปอเนาะ" ถือเป็นการศึกษาเพื่อชุมชนแบบพึ่งตนเอง เกิดที่ปัตตานีเมื่อ ๒๐๐ ปีมาแล้ว โดยปอเนาะแรกคือ บืดนังดายอ ใกล้ๆ ต.สะนอ, อ.ยะรัง, จังหวัดปัตตานีข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) เขตการศึกษา ๒ (อดีต) ระบุว่า กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศระเบียบกระทรวงฯ ว่าด้วยการปรับปรุงส่งเสริมปอเนาะ ออกมาเมื่อปี ๒๕๐๔ สาระสำคัญคือ ให้ปอเนาะยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนต่อทางราชการต่อมาในปี ๒๕๐๘ รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีให้ปอเนาะที่ขึ้นทะเบียนแล้ว แปรสภาพเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ให้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน ให้มีหลักสูตรการสอน มีชั้นเรียน โต๊ะ เก้าอี้ กระดานดำ มีระยะจบการศึกษาที่แน่นอน และให้เปิดสอนวิชาสามัญด้วย. ทางราชการจะช่วยเหลือส่งเสริมโดยการให้เงินอุดหนุน ส่งครูไปช่วยสอนวิชาสามัญ และผ่อนปรนในเรื่องคุณสมบัติบางประการของเจ้าของ ผู้จัดการ ครูใหญ่ และครูผู้สอน โดยไม่ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ.๒๔๙๗ อย่างเคร่งครัดปี ๒๕๑๐ คณะรัฐมนตรีมีมติให้เร่งรัดปอเนาะที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งหมด ให้มาขอแปรสภาพจากปอเนาะเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ให้เสร็จสิ้นภายใน ๑๕ มิถุนายน ๒๕๑๔ ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าปอเนาะนั้นล้มเลิกไป และหลังจากนั้นห้ามก่อตั้งปอเนาะขึ้นมาอีก หากจะตั้งต้องเปิดสอนในรูปแบบของโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามเท่านั้นถึงปี ๒๕๑๔ มีปอเนาะจำนวนมากถึง ๔๒๖ แห่ง มายื่นความจำนงขอแปรสภาพกับทางการ แต่บางแห่งที่เคยขึ้นทะเบียนด้วยความจำยอม เนื่องจากถูกบีบจากทางการ ถูกข่มขู่จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็ไม่ยอมแปรสภาพ อีกบางส่วนยอมแปรสภาพจากปอเนาะไปสู่ระบบโรงเรียน แต่สอนเฉพาะวิชาศาสนาเท่านั้น ตามหลักสูตรและแผนการสอนที่โรงเรียนปอเนาะแห่งนั้นๆ กำหนดขึ้นเอง และนอกจากนี้ยังมีปอเนาะแห่งใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลาการศึกษาของมุสลิมจึงแบ่งออกเป็นสองรูปแบบ คือ "ปอเนาะ" อันเป็นรูปแบบการศึกษาดั้งเดิมของท้องถิ่นกับการศึกษาในระบบ "โรงเรียน" ที่เรียกกันติดปากว่า โรงเรียนปอเนาะ ซึ่งมีการแบ่งชั้นเรียน มีชุดเครื่องแบบ มีโต๊ะเก้าอี้นั่งเรียน มีการนับชั้น และกำหนดระยะจบการศึกษา และโรงเรียนปอเนาะยังแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ สอนทั้งวิชาสามัญและศาสนา กับสอนเฉพาะวิชาศาสนาเพียงอย่างเดียวในปี ๒๕๒๖ ชื่อโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามถูกรัฐบาลเปลี่ยนเป็น โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เพื่อสอดคล้องตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ และออกระเบียบการให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนเอกชนฯ ที่สอนวิชาสามัญควบคู่วิชาศาสนาอิสลาม ฉบับแก้ไขครั้งล่าสุดออกมาเมื่อปี ๒๕๔๕ ให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนที่ได้มาตรฐานตามมาตรา ๑๕ (๑) ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เต็ม ส่วนโรงเรียนที่อยู่ในระยะเตรียมความพร้อม และโรงเรียนที่เพิ่งจดทะเบียนหลังวันออกระเบียบให้เงินอุดหนุน ๖๐ เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับโรงเรียนที่สอนเฉพาะวิชาศาสนา จะไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงื่อนไขนี้สร้างความน้อยเนื้อต่ำใจให้แก่ปอเนาะหลายแห่งปอเนาะที่ผ่านการแปรสภาพเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ กระทั่งปัจจุบัน การบริหารและการดำเนินกิจการของโรงเรียนเป็นไปอย่างมีระบบ บุคลากรได้รับการพัฒนาอบรม อาคารสถานที่มั่นคงถาวรและได้รับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาดั่งโรงเรียนสามัญทั่วประเทศไทยในด้านหลักสูตร ได้นำเอาหลักสูตรสามัญศึกษาของโรงเรียนมัธยมต้น และมัธยมปลายมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ มีโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากมายเช่น ธรรมวิทยามูลนิธิ, พัฒนาวิทยา, จ.ยะลา. ดารุสสลาม, อัตตัรกียะห์, จ.นราธิวาส. ดรุณวิยา, บำรุงอิสลาม, จ. ปัตตานี เป็นต้น. ซึ่งนักเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในประเทศทุกสาขาวิชา และต่างประเทศในหลายมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย ออสเตรเลีย อังกฤษ และสหรัฐในหลักสูตรสามัญและโลกอาหรับในหลักสูตรศาสนา. บางโรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่อนุบาล-มัธยมปลาย

ส่วนหลักสูตรศาสนาอิสลามได้แบ่งชั้นเรียนเป็น ๑๐ ชั้นปี ได้แก่ หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้น (- อิบติดาอียะฮฺ ปีที่ ๑-๔ -) หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนกลาง (- มุตาวัซซีเตาะฮฺ ปีที่ ๕-๗) และหลักสูตรอิสลามศึกษาตอนปลาย (- ซานาวียะฮฺ ปีที่ ๘-๑๐) มาตรฐานของโรงเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน ทำให้โรงเรียนปอเนาะได้รับความสนใจมาก เพราะนักเรียนมีความรู้ทั่งศาสนาและสามัญ ดั่งสโลแกนของบางโรงที่กล่าวว่า "ความรู้ทางโลกปราศจากศาสนา โลกจะสงบสุขได้อย่างไร"
สำหรับปอเนาะที่สอนเฉพาะศาสนาอิสลามอย่างเดียว
 
ปอเนาะประเภทนี้ เป็นสถาบันที่สอนศาสนาและวัฒนธรรมอิสลามแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งนี้โดยมีผู้ที่มีความรู้ทางด้านศาสนาอิสลาม และต้องมีภาวะเป็นผู้นำของชุมชนที่เรียกว่า`ตุวันคูรู ในภาษามลายูหรือ "โต๊ะครู" และโต๊ะครูในที่นี้ คือ เจ้าของปอเนาะด้วย การจัดตั้งปอเนาะเป็นไปตามความศรัทธาของชุมชน ที่ต้องการให้มีสถาบันการสอนศาสนาอิสลาม ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงามตามหลักศาสนาอิสลามแก่ เยาวชนมุสลิม โดยมีโต๊ะครูซึ่งจะเป็นทั้งผู้สอนและผู้จัดการปอเนาะ การเรียนการสอนในปอเนาะ จะเน้นการเรียนรู้หลักศรัทธา, คัมภีร์อัลกุรอาน, อรรถาธิบายอัลกุรอาน, วจนะศาสดา, กฏหมายอิสลาม, มารยาทอิสลาม และมารยาทกับต่างศาสนิก, ภาษาอาหรับ, สำนวนโวหารอาหรับ, ตรรกศาสตร์, ปรัชญาอิสลาม, ดาราศาสตร์, โดยศึกษาจากตำราที่เป็นภาษาอาหรับ หรือ "ภาษามลายูอักษรยาวี" ซึ่งเรียกว่า "กีตาบยาวี" โดยตำราทั้งสองภาษา ใช้สำนวนภาษาของคนสมัยก่อน (คนสมัยนี้อ่านแล้วยากแก่การเข้าใจ ต้องเรียนกับโต๊ะครูหรือผ่านการศึกษาระบบปอเนาะอย่างเดียวเท่านั้นจึงจะเข้าใจ)ในส่วนของโต๊ะครูปอเนาะแต่ละคนนั้น จะมีความรู้ ความถนัด รวมทั้งวิธีการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนที่แตกต่างกัน รูปแบบ ช่วงชั้น ช่วงเวลา หลักสูตรและการวัดผลที่แน่นอน อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของโต๊ะครู มีทั้งโต๊ะครูสอนเองหรือลูกศิษย์ที่โต๊ะครูเห็นว่า สามารถช่วยสอนแทนได้ในบางวิชา ทั้งนี้โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ. ในส่วนของผู้เรียน สามารถเรียนได้ตลอดชีวิต หรือจนกว่าผู้เรียนจะขอลาออกไปประกอบอาชีพ หรือในกรณีโต๊ะครูพิจารณาแล้วว่ามีความรู้ เพียงพอแล้ว ผู้มาเรียนปอเนาะจะต้องเป็นผู้ที่ผู้ปกครองนำมาฝากไว้กับโต๊ะครู และต้องอยู่ ในบ้านที่เป็นกระท่อมหรือปอเนาะ ซึ่งจะตั้งเรียงรายอยู่ในบริเวณบ้านของโต๊ะครู หรือบ้าน ที่โต๊ะครูกำหนดให้อยู่ ผู้เรียนจะต้องหาอาหารและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง เฉลี่ยคนละ 30-50 บาทต่อวัน ในปอเนาะบางแห่งมีคนชราและผู้ยากไร้ อยู่ด้วยมีผู้เรียนหลากหลายกลุ่มอายุปะปนกัน ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และคนชรา การเรียนการสอนจะแยกกันเด็ดขาดระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย ผู้เรียนปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด การแต่งกายถูกต้องมิดชิดตามหลักศาสนานักเรียนที่มาเรียนในปอเนาะจะมีทั้งที่จบชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย มหาวิทยาลัย บางคนเรียนหลักสูตรปอเนาะในเวลากลางคืนและหลังรุ่งสางส่วนกลางวันหากเป็นนักเรียนก็จะไปโรงเรียนที่เขาสังกัด หากเป็นผู้ใหญ่กลางวันจะทำงาน (เพราะฉะนั้นการบรรจุการสอนวิชาสามัญเป็นภาษาไทยจึงไม่จำเป็น)การจัดตั้งปอเนาะใช่ว่าใครคิดจะตั้งก็ตั้งได้ ผู้ก่อตั้งจะต้องมีความรู้ทางศาสนาชั้นสูง มีความตั้งใจจริง มีจิตใจบริสุทธิ์ และตั้งมั่นในความเสียสละอย่างแรงกล้าการสร้างปอเนาะ ทีละหมาด สาธารณูปโภคต่างได้รับการช่วยเหลือจากผู้มีจิตศรัทธาในชุมชนและนอกชุมชนการเติบโตของปอเนาะขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของโต๊ะครูเป็นสำคัญ โต๊ะครูที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ประชาชนให้การยอมรับ มักจะมีผู้มาสมัครเป็นลูกศิษย์เป็นจำนวนมากเช่นปอเนาะดาลอที่ปัตตานี ปอเนาะจะมีขนาดเล็ก หรือใหญ่ ขึ้นอยู่กับสถานภาพและความรู้ ความสามารถของผู้เป็นเจ้าของดังได้กล่าวแล้วการดำรงอยู่ของปอเนาะ ขึ้นอยู่กับความเลื่อมใสศรัทธาของผู้ปกครองนักเรียน ฉะนั้นเมื่อโต๊ะครูถึงแก่กรรม และไม่มีทายาทสืบต่อ หรือประชาชนเสื่อมความนิยม ก็จะล้มเลิกกิจการไปเอง จึงมักพบเห็นปอเนาะร้างมีปรากฏอยู่ทั่วไปการเรียนในปอเนาะไม่ใช่เรียนเพื่อรับปริญญา หรือศึกษาต่อในระบบโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยทั้งในหรือต่างประเทศ การเรียนการสอนในปอเนาะไม่ใช่เพื่อประกอบอาชีพแต่การเรียนการสอนในปอเนาะคือการทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจหลักคำสอนของศาสนาอิสลามหลักคำสอนของศาสนาอิสลามในปอเนาะมีทั้งพื้นฐานความรู้ทั่วไปที่ทุกคนจะต้องรู้และนำไปปฏิบัติ ในขณะเดียวกันมีหลักคำสอนสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนเป็นถึงระดับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ(อิสลามศึกษา)การถือกำเนิดปอเนาะในภาคใต้นั้นมิใช่เพื่อสนองอารมณ์ หรือธุรกิจแต่จริงๆแล้วเพื่อสนองหลักการศึกษาศาสนาอิสลามเพราะอิสลามสอนให้มนุษย์มีการศึกษาตลอดชีวิตและเก่ง ดี มีสุข ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ ปี พ.ศ.2542 (โปรดดู พรบ.การศึกษา 2542 หมวดที่1-4)
มุสลิมที่ดีต้องศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา และปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอย่างเคร่งครัด ดังปรัชญาของอิสลามที่ว่า "จงศึกษาตั้งแต่อยู่ในเปลจนถึงหลุมฝังศพ" หรือ "ผู้มีความรู้ มีหน้าที่สอนผู้ที่ไม่รู้" หรือ "ผู้ที่ดีเลิศ คือผู้ที่เรียนและสอนกุรฺอาน" ดังนั้น ปอเนาะจึงเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นแหล่งเผยแผ่ศาสนาในคราวเดียวกัน
ในอดีตปราชญ์อิสลามระดับอาเซียนถือกำเนิดจากระบบปอเนาะในจังหวัดชายแดนใต้เช่น เชคดาวุด เชคอะห์มัด จนถึงโต๊ะครูอาเยาะเดร์ สะกัม (โปรดดู หนังสือ อูลามาอ์เบอร็ซาร็ปัตตานี เขียนโดย อะห์หมัด ฟัตฮี) ด้วยจุดเด่นของปอเนาะดังกล่าวทำให้การศึกษาอิสลามระบบปอเนาะใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ดีที่สุดในประเทศไทยและกลุ่มอาเซียนด้วยกัน จึงทำให้มีมุสลิมจากภาคอื่นๆ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย กัมพูชาและเวียดนามมาศึกษาเล่าเรียนที่นี่หากรัฐคำนึงถึงจุดเด่นข้อนี้และช่วยเหลือพัฒนาอย่างถูกต้องไม่แน่ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางอิสลามศึกษาในระบบปอเนาะระดับอาเซียน อันจะดึงเม็ดเงินจากเพื่อนบ้านได้ในที่สุด(ผู้ว่าซีอีโอ 3 จังหวัดซึ่งมีงบนับร้อยล้าน น่าจะทำปอเนาะนานาชาติในฝันแข่งกับการท่องเที่ยวดูว่า ใครจะนำเงินตราต่างประเทศมากกว่ากัน)
อ. อาหมัด เบ็ญอาหลีผู้ครำวอดวงการศึกษา และทำงานนื้นที่มานาน (อดีตผู้ตรวจราชการ สพท.นราธิวาส เขต ๒ ปัจจุบันรองผู้นวยการ สพท.สงขลา เขต ๒) เคยเสนอว่า ในเมื่อปอเนาะเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ของชุมชน การใช้ปอเนาะเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงกลไกภาครัฐสู่ภาคประชาชน จึงเป็นทางเลือกที่ไม่ควรมองข้าม
เพื่อให้การบริหารจัดการปอเนาะได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน และสอดคล้องกับนโยบายพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลควรมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้๑. จดทะเบียนปอเนาะที่เหลืออยู่ทุกแห่ง ให้เข้าสู่ระบบที่ถูกต้อง เพื่อความสะดวกในการพัฒนาและดูแลอย่างใกล้ชิด

๒. ควรให้เงินอุดหนุนเป็นค่าตอบแทนแก่โต๊ะครู และครูสอนศาสนาตามความเหมาะสม เนื่องจากบุคคลเหล่านี้มีความรับผิดชอบสูง ทั้งด้านการจัดการเรียนการสอนและการอบรมจริยธรรม

๓. ควรให้การสนับสนุนด้านอาคารสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้นักเรียน และครุภัณฑ์ที่จำเป็นพร้อม ทั้งห้องสมุด เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียน

๔. สนับสนุนสื่อการสอนประเภทต่างๆ

๕. ควรให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องร่วมกันบูรณาการการพัฒนาปอเนาะในด้านต่างๆ ดังนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ดูแลด้านการศึกษาและงานอาชีพ, กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้การสงเคราะห์คนชราและผู้ยากไร้, กระทรวงสาธารณสุข ดูแลด้านสุขภาพอนามัย, และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ส่งเสริมด้านการกีฬาและนันทนาการ
แต่เมื่อ "ปอเนาะ" ถูกมองในแง่ร้ายและเสนอให้ยกเลิกสถาบันปอเนาะที่สอนเฉพาะศาสนา และบังคับให้เปิดเป็นโรงเรียนสอนศาสนาเอกชน บรรจุการสอนวิชาสามัญเป็นภาษาไทยควบคู่ไปกับวิชาศาสนา เพราะเยาวชนที่ไม่รู้วิชาสามัญ ทำให้ไม่สามารถศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ เป็นการเข้าใจบริบท บทบาท ภารกิจของปอเนาะที่มีต่อชุมชนที่ไม่น่าถูกต้องนัก  4. เปรียบเทียบการศึกษาในวัดและสถาบันปอเนาะกับโรงเรียน[2]
          อันที่จริง การจัดการศึกษาในสถาบันปอเนาะและวัดเป็นระบบการศึกษาอีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่การศึกษาระบบโรงเรียน อันเป็นระบบการศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อรับใช้การผลิตในระบบอุตสาหกรรมและตะวันตกจะเห็นได้ว่าหากจะสังเกตข้อบกพร่องในระบบโรงเรียนหลายอย่าง และพรบ.การศึกษา 2542 ได้พยายามปฏิรูประบบโรงเรียนเพื่อแก้ไขความบกพร่องนั้น น่าประหลาดที่ว่าหลายอย่างที่เป็นเป้าหมายของการปฏิรูประบบโรงเรียนนั้น กลับไปตรงกับการจัดการศึกษาระบบปอเนาะและวัดน่าเสียดายที่การศึกษาระบบวัดของไทยถูกละเลย อันเป็นผลมาจากการปฏิรูปการศึกษาแบบตะวันตกทุกฝีเก้าจึงเป็นเหตุให้หลายคนโดยเฉพาะเด็กสมัยใหม่  ผู้บริหารที่จบทฤษฎีการศึกษาจากตะวันตกหลายคน ไม่เข้าใจและมองข้ามการศึกษาระบบวัดและปอเนาะ หรือพยายามอธิบายระบบการศึกษาแบบนี้อย่างผิดฝาผิดตัว ด้วยการถือการศึกษาระบบโรงเรียนเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบเช่น เมื่อไม่รู้จะเทียบการศึกษาในปอเนาะเท่ากับมาตรฐานอะไรในระบบโรงเรียน ก็มักจะเทียบกับโรงเรียนประถมหรืออย่างเก่งก็มัธยมต้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว โต๊ะปาเก (ผู้เรียนในปอเนาะ) ล้วนจบชั้นประถมศึกษามาแล้ว บางรายอาจจบปริญญาตรีแล้วด้วยซ้ำ เพราะปอเนาะ "สอนศาสนา" จากความรู้ขั้นพื้นฐานไปจนกระดับสูง ชนิดที่ผู้จบการศึกษาแล้วอาจกลายเป็นอุลามะ (ปราชญ์หรือผู้รู้ทางศาสนา) ได้เลย ขึ้นอยู่กับว่าบาบอ (โต๊ะครูผู้ดำเนินกิจการปอเนาะ) จะมีความรู้สูงมากเท่าไรในระบบโรงเรียนที่แยกวิชาศาสนากับสามัญ หรือไม่สามารถบูรณาการวิชาศาสนากับสามัญจะมอง ศาสนาก็เป็นเพียงวิชาหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าคิดแบบปอเนาะหรือวัด ศาสนาเป็นทุกวิชา ความรู้ใดๆ ก็ตามย่อมมีขึ้นหรือถูกใช้เพื่อเป้าหมายบั้นปลายทางศาสนาทั้งสิ้น เช่น ดำรงชุมชนมุสลิมให้มีสันติสุข หรือถ้าเป็นว
 4. เปรียบเทียบการศึกษาในวัดและสถาบันปอเนาะกับโรงเรียน[1]
          อันที่จริง การจัดการศึกษาในสถาบันปอเนาะและวัดเป็นระบบการศึกษาอีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่การศึกษาระบบโรงเรียน อันเป็นระบบการศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อรับใช้การผลิตในระบบอุตสาหกรรมและตะวันตกจะเห็นได้ว่าหากจะสังเกตข้อบกพร่องในระบบโรงเรียนหลายอย่าง และพรบ.การศึกษา 2542 ได้พยายามปฏิรูประบบโรงเรียนเพื่อแก้ไขความบกพร่องนั้น น่าประหลาดที่ว่าหลายอย่างที่เป็นเป้าหมายของการปฏิรูประบบโรงเรียนนั้น กลับไปตรงกับการจัดการศึกษาระบบปอเนาะและวัดน่าเสียดายที่การศึกษาระบบวัดของไทยถูกละเลย อันเป็นผลมาจากการปฏิรูปการศึกษาแบบตะวันตกทุกฝีเก้าจึงเป็นเหตุให้หลายคนโดยเฉพาะเด็กสมัยใหม่  ผู้บริหารที่จบทฤษฎีการศึกษาจากตะวันตกหลายคน ไม่เข้าใจและมองข้ามการศึกษาระบบวัดและปอเนาะ หรือพยายามอธิบายระบบการศึกษาแบบนี้อย่างผิดฝาผิดตัว ด้วยการถือการศึกษาระบบโรงเรียนเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบเช่น เมื่อไม่รู้จะเทียบการศึกษาในปอเนาะเท่ากับมาตรฐานอะไรในระบบโรงเรียน ก็มักจะเทียบกับโรงเรียนประถมหรืออย่างเก่งก็มัธยมต้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว โต๊ะปาเก (ผู้เรียนในปอเนาะ) ล้วนจบชั้นประถมศึกษามาแล้ว บางรายอาจจบปริญญาตรีแล้วด้วยซ้ำ เพราะปอเนาะ "สอนศาสนา" จากความรู้ขั้นพื้นฐานไปจนกระดับสูง ชนิดที่ผู้จบการศึกษาแล้วอาจกลายเป็นอุลามะ (ปราชญ์หรือผู้รู้ทางศาสนา) ได้เลย ขึ้นอยู่กับว่าบาบอ (โต๊ะครูผู้ดำเนินกิจการปอเนาะ) จะมีความรู้สูงมากเท่าไรในระบบโรงเรียนที่แยกวิชาศาสนากับสามัญ หรือไม่สามารถบูรณาการวิชาศาสนากับสามัญจะมอง ศาสนาก็เป็นเพียงวิชาหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าคิดแบบปอเนาะหรือวัด ศาสนาเป็นทุกวิชา ความรู้ใดๆ ก็ตามย่อมมีขึ้นหรือถูกใช้เพื่อเป้าหมายบั้นปลายทางศาสนาทั้งสิ้น เช่น ดำรงชุมชนมุสลิมให้มีสันติสุข หรือถ้าเป็นวัดก็จะทำให้มองเห็นพระไตรลักษณ์ได้แจ่มชัดขึ้นความเป็นจริงความรู้ทางศาสนาสำหรับมุสลิมหรือพุทธไม่ได้มีไว้ไปสอบข้อสอบแห่งชาติ  โอเน็ต หรือเอเน็ต  แต่มีเพื่อนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  แหล่งการเรียนรู้ของชุมชนที่นักการศึกษาระดับปริญญาเอกจากตะวันตกพยายามสร้าง มหาวิทยาลัยหรือในที่ต่างๆของสถาบันการศึกษาที่มีตึก  มีคณะ มีห้องสมุด มีหอพักและบ้านพักของอาจารย์ นั้นและมีรั้วล้อมรอบ ทำได้แค่กายภาพเท่านั้นแต่   ไม่มีความสัมพันธ์อะไรกันเลย   ในขณะปอเนาะเริ่มขึ้นจากโต๊ะครูผู้มีความรู้เปิดบ้านสอน หากเป็นผู้มีความรู้ลูกศิษย์ลูกหาก็เพิ่มมากขึ้น จนต้องสร้าง  ศาลาโถงใหญ่"หรือบาลาเซาะห์ในภาษามลายูปัตตานี"  ไว้หน้าเรือน เพื่อใช้สอนและประกอบศาสนกิจบางอย่าง ส่วนลูกศิษย์ลูกหา(โต๊ะปาแก)ซึ่งมักเดินทางมาจากที่ไกลๆ ก็จะมาสร้างกระท่อมอยู่แวดล้อมโต๊ะครู เมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้วก็ยกกระท่อมนั้นเป็นสมบัติของปอเนาะ เพื่อศิษย์รุ่นหลังจะได้ใช้ต่อไปปอเนาะจะแบ่งบริเวณระหว่างศิษย์หญิงชาย บางครั้งมีบริเวณพิเศษสำหรับโต๊ะปาเกที่มีครอบครัวแล้วการเรียนปอเนาะไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน การสอนศาสนาไม่ใช่การหารายได้ โต๊ะครูอาจมีเรือกสวนไร่นาของตนเอง พอยังชีพได้ ไม่มีใครรวยขึ้นมาจากการทำปอเนาะ ส่วนศิษย์ต้องรับผิดชอบการอยู่กินของตนเอง รายที่ทางบ้านไม่มีเงินส่งเสีย ก็อาจหารายได้อื่นๆ จุนเจือตัวเองไปด้วย เช่นรับจ้างกรีดยาง เป็นต้นรายได้เล็กน้อยอีกหนทางหนึ่งของโต๊ะครูก็คือ ได้รับเงินบริจาคจากชุมชน  (เปรียบเทียบกับการตักบาตรและการทำบุญที่วัดของชาวบ้าน) ในขณะที่พรบ. การศึกษา 2542 กำลังบังคับให้รัฐเปิดโอกาสการศึกษาแก่ทุกคน ปอเนาะเป็นอีกระบบหนึ่งที่เปิดโอกาสให้คนอยากเรียนได้เรียนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นลูกของคนรวยหรือยากจน  ลูกนายดอเลาะหรือทักษิณ  ลูกแมะนะหรือคุณหญิงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและเกื้อกูลกันของโต๊ะปาเก, การปฏิบัติต่อโต๊ะครูและมามา (ภรรยาของโต๊ะครู), การเข้าไปมีส่วนร่วมในพิธีกรรมและกิจกรรมของชุมชนที่ปอเนาะตั้งอยู่, การทำมาหากิน, การครองเรือน (ในกรณีที่โต๊ะปาเกมีครอบครัวแล้ว), การมีวินัยทั้งในทางกาย, วาจา, ใจ ตามระเบียบของปอเนาะ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ล้วนมีส่วนสร้าง "บัณฑิต" ที่แท้จริงออกมาจากปอเนาะเพียงแค่เขาไม่เรียกบัณฑิตและรับปริญญาเท่านั้นเองอีกด้านหนึ่งของการศึกษาระบบปอเนาะก็คือ มีการศึกษาต่อเนื่องในระบบ การเรียนรู้เป็นสิ่งจำเป็นต้องเกิดขึ้นทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นช่วงวัเรียน หรือช่วงการปฏิบัติงาน นั่นคือ ในระบบ นอกระบบ หรือตามอัธยาศัย ให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long learning) ท่านนบีมุฮัมมัด ศ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้พจนารถว่าจงศึกษาตั้งแต่ในเปล จนถึงหลุมฝังศพจงแสวงหาวิชาความรู้ ถึงแม้จะห่างไกลถึงประเทศจีนก็ตามโดยเฉพาะคนที่ต้องการเป็นอุลามะที่รู้ศาสนาลึกซึ้ง เพราะเขาจะย้ายปอเนาะไปหาโต๊ะครูที่เก่งในทางที่เขาสนใจไปได้เรื่อยๆ ไม่ต่างจาก "สำนัก" ของระบบการศึกษาในวัดต่างๆ เมื่อสมัยโบราณ ศิษย์สามารถเสาะหาอาจารย์ดีๆ ได้เรื่อยไปจนกว่าจะพอใจ ส่วนใหญ่อาจารย์เก่าก็เป็นผู้ฝากฝังให้ไปหาครูดีคนใหม่นั่นเอง5. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน        5.1 การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและคุณภาพการศึกษา            5.1.1 การศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งพุทธ มุสลิมควรคำนึง องค์แระกอบ 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ การศึกษาศาสนา  วัฒนธรรม วิชาการด้านสามัญ  ภาษาแต่จะต้องสามารถนำมาบูรณาการได้และส่งเสริมให้ทุกโรงเรียนเปิดสอนหลักสูตรอิสามศึกษาและพุทธศึกษา5.1.2  การเทียบโอนและเทียบวุฒิ                ควรสนับสนุนให้ทุกคนได้เรียนศาสนาให้มีความรู้ในระดับพื้นฐานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต หรือจะเรียนให้ถึงระดับผู้เชี่ยวชาญในสถาบันปอเนาะหรือ  วัดและสามารถเทียบโอนการเรียนศาสนาและวิชาสามัญโดยควรทำหลักเกณฑ์เทียบโอนอย่างเป็นรูปธรรมและควรเทียบคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษาต่างประเทศเพื่อศึกษาต่อยอดภายในประเทศหรือทำงานในประเทศในสาขาที่ตัวเองถนัดเพราะมีผู้มีความรู้สาขาต่างๆมากมายแต่ขาดโอกาสทำงานในประเทศอันเนื่องมาจากขาดคุณวุฒิ.5.2             การพัฒนาสถานศึกษาของรัฐ             ควรทำให้โรงเรียนของรัฐเป็นฐานการฟื้นฟูระบบโรงเรียนแบบพหุศาสนิกให้มีความพร้อมด้วยคุณภาพทางการศึกษาทุกด้านโดยเฉพาะด้านวิชาการแต่สามารถนำหลักศาสนามาบูรณาการกับวิถีชีวิตและอยู่ร่วมกับต่างศาสนิกได้อันเนื่องมาจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามโดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษานักเรียนทั้งหมดเป็นมุสลิมทำให้การแยกตัวของสังคมมากขึ้นในขณะที่โรงเรียนของรัฐมิได้สนองการเรียนรู้ตามวิถีที่ชุมชนต้องการดังนั้นหากโรงเรียนของรัฐเองจะต้องปรับหลักสูตรการเรียนให้สนองความต้องการของชุมชนด้วยเพราะในแง่วิชาการโรงเรียนเอกชนปัจจุบันไม่ได้น้อยหน้าโรงเรียนของรัฐถึงแม้งบปะมาณการจัดการศึกษาของรัฐจะมากกว่า           ในขณะเดียวกันควรส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาของรัฐกับชุมชน  มัสยิด เช่นชุมชนใดต้องการจัดการเรียนศาสนาระดับตาดีกา  เรียนอัลกุรอาน ซึ่งมีสถานที่ไม่พอ สามารถใช้อาคารเรียนของโรงเรียนที่ว่างในตอนเย็นและเสาร์-อาทิตย์จัดการศึกษาและสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาเทียบโอนในวิชาศาสนาของโรงเรียนได้เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีและสามารถประหยัดงบประมาณของรัฐและชุมชนได้มาก5.3             การสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนทั้งระบบ            ด้วยความหลากหลายในรูปแบบการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้และความหลากหลายในมาตรฐานการสนับสนุนที่ต่างกัน  ทำให้ดูว่ารัฐไม่มีความเสมอภาคในการสนับสนุน            โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่เปิดสอนทั้งศาสนาและสามัญที่แม้ว่าจะดูว่าได้รับการสนับสนุนมากที่สุดแต่สนับการศึกษาดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานการสอนวิชาสามัญ  ในขณะที่โรงเรียนต้องรับภาระบุคลาครูด้านศาสนาด้วยเช่นกัน  (จำนวนเท่ากับครูสามัญ) ดังนั้นสภาพความเป็นจริงจึงเกิดสภาพการบริหารจัดการภายในของผู้บริหารที่ต้องเกลี่ยค่าตอบแทน            ส่วนสถาบันปอเนาะที่สอนศาสนาอย่างเดียวหรือวัดที่สอนศาสนาอย่างเดียวเช่นกันอยู่ในสภาพที่ถูกทอดทิ้งทั่งๆที่จัดการศึกษาเช่นกัน       วิทยาลัยอิสลามศึกษายะลาถึงแม้จะให้บริการการศึกษาเพื่อสาธารณกุศลแต่ต้องตกอยู่ในสภาพของกลุ่มธุรกิจการศึกษาและรัฐไม่สามารถให้การอุดหนุนอย่างเต็มที่ซึ่งทำให้ผู้บริหารต้องขอรับการสนับสนุด้านการจัดการศึกษาส่วนใหญ่จากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศตะวันออกกลาง   ในสภาพปัญหาอุปสรรคดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งทีภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการควรจัดทำวิจัยเพื่อกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการปฏิรูประบบการสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนใหม่5.4             การพัฒนาอาชีพและการศึกษานอกโรงเรียน              ควรต้องตระหนักว่าสภาพปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือเด็กเรียนไปแล้วไม่มีงานทำ  การเรียนสายอาชีพไม่เป็นที่นิยม อันเนื่องมาจากในวิทยาลัยอาชีพต่างๆมีวิถีชีวิตที่ไม่สอดคล้องกับหลักการศาสนาทำให้ผู้ปกครองไม่สนับสนุนส่งบุตรหลานเรียนกัน  ดังนั้นจะต้องปฏิรูปหลักสูตรหารเรียนอาชีพให้สอดคล้องวิถีชีวิตชุมชน หรืออาจร่วมกับสถาบันปอเนาะ  โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา  อบต. และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจัดอบมอาชีพระยะสั้น ระยะยาวเพราะเป้าการพัฒนาอาชีพให้ชุมชนคือหน้าที่ขงวิทยาลัยอาชีพอยู่แล้วส่วนจะดำเนินการวิธีการใดนั้นขึ้นอยูกับแต่ละสถานการณืและสถานที่  ในขณะการศึกษานอกโรงเรียนยังมีสภาพการจัดการศึกษาที่เน้นทำอย่างไรให้นักเรียนและประชาชนได้วุฒิอยู่ ควรจะมีหลักสูตรวิชาชีพด้วยจะเป็นการดี5.5             การพัฒนาอุดมศึกษา     หากดูจำนวนสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐน่าจะเพียงพอแต่เมื่อดูคณะต่างๆที่เปิดการสอนนั้นจะเน้นด้านสังคมศาสตร์ ส่วนวิทยาศาสตร์  การแพทย์นั้นยังไม่มีทั้งๆที่บุคลากรด้านนี้ยังขาดอีกมากโดยเฉพาะแพทย์ซึ่งเหตุการณ์ความรุนแรงยิ่งต้องการแพทย์มากขึ้น   ในขณะเดียวกันสาขาอิสลามศึกษาด้านต่างๆยังให้บริการไม่เพียงพอกับนักเรียนที่ปีหนึ่งๆที่จบด้านศาสนามากกว่าจำนวนที่รับ อีกทั้งคุณภาพการเรียนด้านอิสลามศึกษายังไม่ได้รับการยอมรับจากชุมชนเพียงพอ ประชาชนในพื้นที่ยังมองว่าการจบอิสลามศึกษาที่ดีมีคุณภาพนั้นต้องจบจากตะวันออกกลางดังนั้นจึงเป็นหน้าที่สำหรับคณะวิทยาลัยอิสลามศึกษาทีมหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีและที่ นราธิวาสราชนครินทร์ต้องพัฒนาให้สูการยอมรับในวงวิชาการโลกมุสลิมให้จงได้     นี่คือภาพรวมและข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาของผู้เขียนที่ใช้ข้อมูลจากประสบการณ์การเรียนควบคู่สามัญและศาสนาตั้งแต่เด็ก  เป็นผู้บริหารการศึกษาโรงเรียนจริยธรรมศึกษาซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา เกือบ 10 ปี และทีสำคัญคือเป็นคณะพิจารณาร่างที่4 เกี่ยวกับข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของกระทรวงศึกษาธิการ       ข้อเสนอดังกล่าวเป็นแค่ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับประชาคมด้านการศึกษาทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ตลอดจนผู้สนใจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ใช้ข้อมูลเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และช่วยพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น


[1]  (ปอเนาะตามทัศนะของศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์โดยท่านอาศัยข้อมูลจากรายงาน "โครงการศึกษาการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม กรณีศึกษาบ้านดาโต๊ะและบ้านภูมี ในโครงการสร้างนักวิจัยท้องถิ่นของท่านอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม น่าเสียดายที่ในเอกสารไม่ได้ระบุชื่อนักวิจัยท้องถิ่นไว้)โปรดดู http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document9782.html 
การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามทัศนะอิสลาม
อิสลาม คือศาสนาของอัลลอฮฺที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้และทางนำของพระองค์ โองการแรกของอัลกุรอานที่อัลลอฮฺประทานมายังท่านนบีมูฮำมัด(พรอันประเสริฐและความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) ก็ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงไว้ซึ่งความกรุณาปรานีเสมอ
บทความเรื่อง
การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามทัศนะอิสลาม
โดย ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา
อธิการบดีวิทยาลัยอิสลามยะลา
เนื่องในโอกาสเสวนาในโครงการตลาดวิชาการ มหาวิทยาลัยชาวบ้าน
 ชุด 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 5
เรื่อง : ปรัชญาการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและชุมชน....อุดมการณ์และขีดจำกัด
วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ณ ห้องประชุมจุมภฏพันธ์ทิพย์ ชั้น 4 อาคารประชาธิปกรำไพพรรณี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-----------------------------------------------------
          มวลการสรรเสริญเป็นอภิสิทธิ์ของอัลลอฮฺ พรอันประเสริฐและความสันติสุขจงมีแด่ท่านนบีมูฮำมัด และบรรดาวงศ์วานตลอดจนเหล่าสาวกและผู้เจริญรอยตามทางนำของท่านจนถึงวันปรโลก(กิยามะฮฺ)
           ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่านทั้งหลาย
          สวัสดีท่านผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมเสวนาทั้งหลาย ผมรู้สึกมีเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสจากคณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นผู้ร่วมเสวนาในวันนี้ ขอขอบคุณทุกท่าน และทุกฝ่ายที่มีส่วนในการจัดเสวนาที่มีประโยชน์ยิ่งในวันนี้
ผมขออนุญาตเสวนาสมาชิกทุกท่านนำเสนอหัวข้อเรื่อง การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามทัศนะอิสลาม สรุปได้ดังนี้
            อิสลาม คือศาสนาของอัลลอฮฺที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้และทางนำของพระองค์ โองการแรกของอัลกุรอานที่อัลลอฮฺประทานมายังท่านนบีมูฮำมัด(พรอันประเสริฐและความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) ก็ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ ดังอัล  กุรอานกล่าวไว้ความว่า :
จงอ่านด้วยพระนามของพระผู้อภิบาลของเจ้า ผู้ทรงสร้าง * ทรงสร้างมนุษย์จากก้อนเลือด * จงอ่านเถิด และพระเจ้าของเจ้านั้นผู้ทรงกรุณายิ่ง * ผู้ทรงสอนการใช้ปากกา * ผู้ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้ (อัลอะลัก 96/1-5)
 และคล้อยหลังด้วยระยะเวลาที่ไม่นานนัก อัลลอฮฺได้ประทานโองการที่สองความว่า :
 นูน ขอสาบานด้วยปากกาและสิ่งที่พวกเจ้าขีดเขียน (อัลกอลัม 68/1 )
                เพื่อยืนยันว่า การอ่านและการเขียนบันทึกถือเป็นแนวทางของการสะสมและเพิ่มพูนองค์ความรู้และปัญญา  เป็นแหล่งแห่งทางนำตลอดจนเป็นปัจจัยหลักการพัฒนาของมวลมนุษยชาติโดยแท้จริง
                ด้วยเหตุดังกล่าวความรู้ที่มาจากคำวิวรณ์ (วะหฺยู) ของอัลลอฮฺถือเป็นสาระสำคัญแห่งคำสอนในอิสลาม และอิสลามถือเป็นศาสนาที่ต่อต้านความไม่รู้หรืออวิชชา ไม่มีบทบัญญัติ คำสอนและความเชื่อใดๆในอิสลามที่ปราศจากฐานแห่งความรู้ กล่าวได้ว่าไม่มีมุสลิมคนใดที่มีคุณสมบัติของผู้ที่ไม่รู้ (ญาฮิล) เพราะมุสลิมทุกคนถึงแม้ว่ายังไม่สามารถยกระดับขึ้นเทียบฐานะผู้รู้ (อาลิม) แต่เขาก็ยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มของปุถุชน        (อะวาม) และเขาไม่อนุญาตให้ลดฐานะถึงระดับผู้ไม่รู้ (ญาฮิล) โดยเด็ดขาด เพราะผู้ที่ไม่รู้คือผู้ที่ไร้ซึ่งศาสนาและขาดคุณสมบัติของมนุษย์ผู้เจริญ เพราะหน้าที่หลักของมนุษย์เรืองปัญญา ควรต้องสามารถตอบคำถามปรัชญาชีวิตที่ชัดเจนในประเด็นต่างๆอาทิ ใครเป็นผู้สร้าง อะไรคือหน้าที่หลักของการมีชีวิตบนโลกนี้  และวาระสุดท้ายอันแท้จริงของมนุษย์จะเป็นเช่นไร  อิสลามถือว่าความไม่รู้ในประเด็นดังกล่าวถือเป็น ญาฮิล ที่อิสลามไม่อนุญาตให้เกิดขึ้นในกลุ่มอารยชน
                กระผมมีความเชื่อและมีความมั่นใจอย่างยิ่งว่า ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนี้ ไม่มีวิธีการอื่นใดที่สามารถจะช่วยแก้ปัญหาได้นอกจากวิธีการที่นำเสนอโดยอัลกุรอาน ทั้งนี้เนื่องจากอัลกุรอานได้สอนให้มนุษย์รู้จักรากเหง้าของตนเอง รู้จักนายที่ควรแก่การเคารพภักดีอันแท้จริง พร้อมกับสอนให้มนุษย์รู้จักใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าและสร้างประโยชน์สูงสุดโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับสัญชาติญาณอันดั้งเดิมของมนุษย์ มีความสมดุล ครอบคลุม ต่อเนื่อง และบูรณาการอย่างครบวงจร
              การจัดการศึกษาในอิสลามจึงต้องเริ่มต้นด้วยการเรียนรู้อัลกุรอานเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชาติ เพราะการศึกษาในอิสลามเป็นการสร้างคนให้มีความสมบูรณ์และมีความสำเร็จตามความประสงค์ของอัลลอฮฺ  โดยให้ทุกคนสามารถปฏิบัติตนเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทน(เคาะลีฟะห์)ของอัลลอฮฺ  การศึกษาในอิสลามจึงเป็นการสร้างความงอกงามและความเจริญให้แก่มนุษย์ เพื่อให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทุกๆ ด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
             อัลกุรอานจึงเปรียบเสมือนธรรมนูญแห่งมนุษยชาติที่เพียบพร้อมด้วยทุกมาตราที่สามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติใช้สู่ความสำเร็จสูงสุดทั้งโลกนี้และโลกหน้า โดยนับตั้งแต่เริ่มแรกของการประทานอัลกุรอานจนกระทั่งปัจจุบันจวบจนวันสิ้นโลก อัลกุรอานไม่เคยมีการสังคายนา แก้ไข ตัดตอนหรือเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่งแม้เพียงพยัญชนะเดียว
             การศึกษาในอิสลามจึงเป็นการศึกษาที่พยายามสร้างจิตสำนึกของความเป็นคนที่ยอมศิโรราบภายใต้อำนาจอันไร้ขอบเขตของอัลลอฮฺผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง เกิดจิตวิญญาณในการเรียนรู้ รักที่จะเรียนรู้ มีความใฝ่รู้และใฝ่เรียน มีจริยธรรมอันสูงส่งที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนาชีวิต ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม เป็นการศึกษาที่จะต้องรับใช้ชุมชน และฝึกให้ผู้เรียน รู้จักคิดและมุ่งรับใช้การปฏิบัติ มิใช่เพียงเพื่อความเป็นปริญญาชนหรือรองรับการขยายตัวของตลาดแรงงานอย่างเดียว หรืออีกนัยหนึ่ง การศึกษาในอิสลามจะให้ความสำคัญกับผู้เรียนให้มีความซาบซึ้งในวิถีชีวิต (Way of life) ที่มีวัตถุประสงค์สร้างบัณฑิตให้เป็นคนดีมีคุณธรรม ก่อนที่จะเชื่อมโยงให้ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญ และเพิ่มขีดความสามารถในการสรรหาองค์ความรู้หรือศาสตร์ที่ว่าด้วยทักษะชีวิต (Skills of life) ที่สามารถใช้ชีวิตบนโลกนี้อย่างคุ้มค่า มีความสุข และสอดคล้องกับความต้องการของสังคมโดยแท้จริง ดังนั้นเกณฑ์การชี้วัดของความสำเร็จในการศึกษาตามทัศนะของอิสลามนั้นขึ้นอยู่กับที่ผู้เรียน(ไม่ว่าจะมีฐานะการศึกษาในระดับใด)สามารถประยุกต์ใช้หลักคำสอนทางศาสนามาปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้มากน้อยเพียงใด สอดคล้องและถูกต้องตามเจตนารมณ์ของศาสนาหรือไม่อย่างไร
           ปรัชญาการศึกษาในอิสลาม จึงเป็นความพยายามที่จะให้มนุษย์มีความศรัทธาในปรัชญาชีวิตที่ได้กล่าวมาข้างต้นโดยอาศัยสติปัญญาและสัญชาติญาณอันดั้งเดิมของมนุษย์เป็นเครื่องมือในการตัดสิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ปรัชญาการศึกษาในอิสลามเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สอนให้มนุษย์รู้จักตัวเอง ก่อนที่จะทำความเข้าใจกับสิ่งรอบข้าง
เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่า ระบบการศึกษาปัจจุบัน มุ่งเพียงสั่งสอนให้มนุษย์มีความเชี่ยวชาญและเข้าถึงในทุกสิ่งทุกอย่างยกเว้นตัวมนุษย์เอง
           บนพื้นฐานอิสลามเป็นคำสอนที่มีเนื้อหาสาระที่ครอบคลุม ต่อเนื่องและบูรณาการอย่างครบวงจร ดังนั้น การศึกษาในอิสลาม จึงมีปริมณฑลและอาณาเขตที่ครอบคลุม ต่อเนื่องและบูรณาการเช่นเดียวกัน  อิสลามจึงเริ่มให้การศึกษาแก่มนุษย์ตั้งแต่ช่วงเริ่มแรกของการปฏิสนธิในครรภ์มารดา และมีความต่อเนื่องตั้งแต่วินาทีแรกของการลืมตาดูโลกของทารกน้อย จนถึงช่วงวัยเด็ก เยาวชน วัยทำงาน วัยเจริญพันธุ์ วัยสูงอายุ หรือชีวิตหลังความตาย ล้วนแล้วต้องได้รับการศึกษาในกรอบของอิสลามที่สมดุลและไม่ขาดช่วง
             เนื่องจากอิสลามเป็นศาสนาสากลที่ไม่มีเส้นแบ่งตามภูมิศาสตร์และเผ่าพันธุ์ ดังนั้นการศึกษาในอิสลามจึงมีลักษณะของความเป็นนานาชาติโดยปริยาย บนหลักการที่อิสลามกำชับให้มุสลิมทุกคนเสาะแสวงหาความรู้ และมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่ว่า ณ แหล่งใดในโลกนี้ กอปรกับอิสลามได้กำหนดให้ผู้รู้ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ใฝ่รู้ โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆทั้งสิ้น เว้นแต่มุ่งปฏิบัติหน้าที่ในฐานะบ่าวที่ยำเกรงต่ออัลลอฮฺเท่านั้น จึงเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้สถาบันการศึกษาในอิสลามได้กลายเป็นแหล่งการสร้างเครือข่ายทางปัญญาระดับสากลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาอิสลามในระดับอุดมศึกษาที่ไม่เพียงแต่เป็นสถาบันที่เชื่อมโยงกับชุมชนระดับรากหญ้าในท้องถิ่นเท่านั้น หากเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ที่สามารถดูดซับความรู้และประสบการณ์ที่มีคุณภาพทั่วโลกมาร่วมพัฒนาสร้างสรรค์ และถ่ายทอดความรู้สู่การเพิ่มประสิทธิภาพชุมชนอีกด้วย
              การศึกษาระดับอุดมศึกษาในอิสลาม จึงถือเป็นระบบการศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ดังจะเห็นได้จาก Qairawan University ที่ประเทศมอร็อกโค Zaitunah University ที่ประเทศตูนีเซีย และ Al-Azhar University ประเทศอียิปต์ ที่ได้รับการสถาปนามาตั้งแต่ 1,200 กว่าปีแล้ว และยังคงปฏิบัติภารกิจการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอิสลามมาจนถึงบัดนี้ โดยที่มหาวิทยาลัยดังกล่าวได้ผลิตบัณฑิต และสร้างองค์ความรู้ในรูปแบบของการเขียนตำรา การวิจัย ตลอดจนการบริการชุมชนเพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาสังคมอย่างมากมายมหาศาล
              และเพื่อเป็นการตอกย้ำว่าอิสลามได้ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาประเทศโดยผ่านกระบวนการทางการศึกษา จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 มหาวิทยาลัยดังกล่าว จึงเป็นผลพวงแห่งวิวัฒนาการของมัสยิดประจำชุมชน ซึ่งในภาษาอาหรับเรียกว่า Jami’ ที่เป็นแหล่งความรู้และการจัดระบบเครือข่ายความรู้ตลอดจนการใช้ทรัพยากรทุกประเภทร่วมกันจนกลายเป็นมหาวิทยาลัยซึ่งในภาษาอาหรับเรียกว่า Jami’ah ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อันเป็นสิ่งยืนยันว่ามัสยิด นอกจากเป็นศาสนสถานที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของสังคมมุสลิมแล้ว มัสยิดยังเป็นเบ้าหลอมที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนความคิดและถ่ายทอดวิทยปัญญาเพื่อสร้างสังคมให้เป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge based Society) ที่แท้จริง
เพื่อให้แนวคิดดังกล่าวข้างต้นสามารถดำเนินไปอย่างเป็นรูปธรรม รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งหามาตรการให้การสนับสนุนและส่งเสริมอย่างจริงจังให้ภาคเอกชนได้มีความอิสระในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาในลักษณะดังกล่าว เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า รัฐไม่สามารถสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงลำพัง โดยปราศจากการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
              รัฐควรลดความเป็นระบบราชการ (Debureaucratization) โดยผ่อนคลายกฎหรือระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ และสามารถส่งเสริมให้เกิดความรู้อย่างเต็มศักยภาพ ควรสร้างวัฒนธรรมและทัศนคติใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาที่สนับสนุนให้สามารถแสดงความคิดเห็นทางวิชาการได้อย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา รวมถึงการที่ครูอาจารย์ ควรให้ความเอาใจใส่ต่อลูกศิษย์เสมือนเป็นลูกหลาน และพร้อมให้คำปรึกษา ความเข้าใจ และคำแนะนำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาของเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของปรัชญาทางการศึกษาที่ว่า “คุณธรรมนำความรู้”
             ขอให้กำลังใจทุกท่านที่มีส่วนร่วมพัฒนาสังคม และขอขอบคุณคณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้ง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราคงมีโอกาสพูดคุยในโอกาสต่อไป ขอขอบคุณ

Wassalamu alaikum warahmatullah

----------------
คัดลอกจาก www.majlisilmi.org
โดย ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีวิทยาลัยอิสลามยะลา

ขอบคุณ...สำหรับบันทึกความรู้ที่ได้ประโยชน์ยิ่ง

นายศักดิ์พงษ์ นิลไพรัช

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ได้รับ ผมมีวิธีสอนอีกวิธีหนึ่ง อาจารย์ช่วยแนะนำด้วย

การสอนที่ผู้เรียนเรียนเองได้คือ การเรียนแบบถามเองตอบเอง โดยผู้สอนแนะนำให้ผู้เรียน ไปเลืกสื่อที่ต้องการศึกษา แล้วเริ่มต้นตั้งคำถามและหาคำตอบด้วยตนเอง นำมาวาดภาพประกอบ จัดทำเป็นเอกสารแบบปุจฉา-วิสัชนา ผมใช้ชื่อว่า "หนังสือสลับหน้าหาคู่" (เป็นหนังสือที่การเข้าเล่มคำถามคำตอบอยู่คนละหน้ากันเพียงแต่ใช้ภาพเป็นตัวเชื่อมโยง จาการทดลองนร.ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง สิ่งสำคัญคือการฝ฿กให้ผู้เรียนสร้างคำถามระดับสูงให้ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท