เสนอรายงานวิจัยทำไม เพื่ออะไร?


1)เพื่ออธิบายการขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชน 2)เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหลักที่จะมีผลต่อการขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชนในเชิงระบบได้ให้ข้อเสนอแนะและพิจารณานำไปดำเนินการในส่วนที่ตนรับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องต่อไป

งานวิจัยและการจัดการความรู้เป็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้

งานวิจัยคือ กระบวนการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทั้งทางธรรมชาติและสังคม(พื้นฐาน) เพื่อนำความรู้นั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ (ประยุกต์)

ปรากฏการณ์ทางสังคมมีความซับซ้อน เงื่อนไขที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะเรื่องของคนและวัฒนธรรมจึงเป็นตัวแปรสำคัญ

งานวิจัยจึงเป็นการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ในภาพรวม

การจัดการความรู้คือ กระบวนการเรียนรู้เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

การจัดการความรู้จึงเน้นที่ตัวผู้กระทำการ

โครงการวิจัย "การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน"     จึงเป็นโครงการTWO IN ONE

ตัวหลักคือ การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ในแบบจำลอง ปลาทูว่ายฝ่ากระแสน้ำ

ตัวเน้นคือ การสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยผู้กระทำการตามแบบจำลอง

การทำความเข้าใจความสัมพันธ์คือ หัวใจของงานวิจัย

การสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยผู้กระทำการคือตัวปลาทูซึ่งหมายถึงขบวนองค์กรการเงินชุมชนคือ หัวใจของการจัดการความรู้

ในแต่ละพื้นที่ (5 พื้นที่) นักวิจัยมีความเข้าใจในความสัมพันธ์ต่างๆในแบบจำลองปลาทูว่ายฝ่ากระแสน้ำอย่างไร ? และได้ใช้ความเข้าใจนั้นมาเสริมสร้างให้ขบวนองค์กรการเงินชุมชนเกิดการเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างไร ?

ตัวปลา มีความรู้เรื่องการบริหารจัดการเครือข่าย กลุ่ม สมาชิกอย่างไร?

กระแสน้ำ มีความรู้เรื่องกระแสการพัฒนา สภาพชุมชน นโยบาย/กฏหมายและกลไกสนับสนุนที่เกี่ยวข้องอย่างไร?

  1. ตัวปลาของลำปางกับสงขลามีความคล้ายคลึงกันคือ จัดตั้งขึ้นเอง ไม่อยู่ในโครงสร้างนโยบาย/กฏหมายซึ่งเป็นที่มาของกลไกสนับสนุนตามโครงสร้างหน้าที่ของภาครัฐ แต่เนื่องจากปลาทูต้องว่ายอยู่ในกระแสน้ำซึ่งเกี่ยวข้องกับภาครัฐ จึงได้รับผลกระทบไม่ทางบวกก็ลบทั้งโดยตรงและโดยอ้อม งานวิจัย(หัวใจคือความเข้าใจ)จะช่วยให้ปลาทูเกิดการเรียนรู้/พัฒนาตนเองและทราบทิศทางน้ำเพื่อแหวกว่ายไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร ?

  2. ตัวปลาของตราดจัดตั้งขึ้นเองเช่นเดียวกัน งานวิจัยจะช่วยให้ปลาทูเกิดการเรียนรู้/พัฒนาตนเองและทราบทิศทางน้ำเพื่อแหวกว่ายไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร ?

  3. ตัวปลาของนครศรีธรรมราชและสมุทรปราการจัดตั้งขึ้นตามนโยบาย/กฏหมายของภาครัฐ

งานวิจัยจะช่วยให้ปลาทูเกิดการเรียนรู้/พัฒนาตนเองและทราบทิศทางน้ำเพื่อแหวกว่ายไปสู่

เป้าหมายได้อย่างไร ?

ในแต่ละพื้นที่ซึ่งดำเนินการมาปีกว่า ได้ข้อสรุปที่เป็นความเข้าใจตามแบบจำลองในภาพรวม จากผลของการสร้างการ เรียนรู้เพื่อพัฒนาขบวนให้เข้มแข็งขึ้นซึ่งครอบคลุมทั้งระดับเครือข่าย กลุ่ม และสมาชิก ทำให้ขบวนสามารถจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งทราบทิศทางและความแรงของกระแสน้ำเพื่อช่วยให้แหวกว่ายไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ (ซึ่งอาจจะยังไปไม่ถึงก็เป็นได้)

คุณค่าของงานวิจัยชิ้นนี้คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่

  1. ในส่วนของนักวิจัยคือ ความเข้าใจอย่างครอบคลุมในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องตามแบบจำลองปลาทูว่ายฝ่ากระแสน้ำ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน ในส่วนของงานบริการวิชาการนั้น เป็นไปโดยลักษณะของงานจัดการความรู้อยู่แล้ว

  2. ในส่วนของขบวนคือ การเรียนรู้พัฒนาตนเองให้มีความสามารถยิ่งขึ้นทั้งการจัดการภายในขบวนและการประสานอย่างรู้เท่าทันกับภายนอก(ชุมชน อปท. ส่วนราชการ ฯลฯ)เพื่อไปสู่ เป้าหมายที่ตั้งไว้

  3. ในส่วนของภาคีภายนอก แม้ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลัก แต่หากทำได้ดีก็สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้เพื่อเข้ามาเสริมสร้าง/พัฒนาขบวนอย่างมีประสิทธิภาพได้เช่นกัน (เช่น กศน.) และหากทำได้ดีมากก็อาจจะช่วยให้มีการนำการจัดการความรู้เข้าไปปรับใช้ในองค์กร (เช่น ที่อาจารย์อ้อมจะนำไปใช้ในมธ.ศูนย์ลำปาง เป็นต้น)

การเปลี่ยนแปลงคือสิ่งที่เราจะนำมาเสนอให้สังคมได้รับทราบ โดยแสดงผ่านทาง รายงาน

การวิจัย ที่มาจากความเข้าใจอย่างครอบคลุมของนักวิจัย

เรานำเสนอรายงานด้วยวัตถุประสงค์ใด ?

    1. เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก(การขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชน)ในหลากหลายบทบาทคือ เป็นสมาชิกขององค์กรการเงินชุมชน เป็นกรรมการกลุ่ม กรรมการเครือข่าย หน่วยงานสนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชน ตามแบบจำลอง ปลาทูว่ายฝ่ากระแสน้ำให้เกิดความเข้าใจ โดยการมอบหมายของรัฐบาลผ่านทางศตจ.และสกว. ซึ่งเป็นเจ้าของทุนและเป็นเงินภาษีของประชาชน

    2. เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหลักที่จะมีผลต่อการขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชนในเชิงระบบได้ให้ข้อเสนอแนะและพิจารณานำไปดำเนินการในส่วนที่ตนรับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องต่อไป

ที่จริงควรมีการนำเสนอรายงานวิจัยในระดับพื้นที่ โดยเชิญผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่เข้าร่วมด้วย

สำหรับรายงานวิจัยในภาพรวม เนื้อหาหลักมาจากการสังเคราะห์งานวิจัยในพื้นที่ ร่วมกับการสืบค้นจากที่อื่นๆ เพื่อนำเสนอต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ซึ่งผมจะวิเคราะห์ว่า ใครบ้างที่อยู่ในแบบจำลองปลาทูว่ายฝ่ากระแสน้ำที่ความรับผิดชอบหรือความสนใจมีผลต่อการขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชน เพื่อเป็นเวทีปิดหรือทางกลับที่จะเดินทางกันต่อไป

****************************************************************************

หมายเลขบันทึก: 37203เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2006 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท