กลยุทธ์ในการรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสังคม : ศึกษาเฉพาะกรณีการดำเนินงานงานโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มูลนิธิหมอชาวบ้าน


งานวิจัยนี้ ทำการศึกษากลยุทธ์ในการรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสังคม โดยเน้นกรณีการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ของมูลนิธิหมอชาวบ้าน

ผลการวิจัย พบว่า

1) การรณรงค์สามารถส่งผลในระดับนโยบายและระดับปัจเจกบุคคล กล่าวคือ
ระดับนโยบาย สามารถผลักดันการออกกฏหมายเพื่อการควบคุมการสูบบุหรี่ที่เข้มแข็งได้ 2 ฉบับ ในขณะที่กระแสสังคมโดยรวมต่างช่วยกันส่งเสริมค่านิยมที่ไม่สูบบุหรี่
ระดับปัจเจกบุคคล การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะและที่ทำงานได้รับการยอมรับน้อยลง เด็กและเยาวชนมีความตื่นตัวในพิษภัยของการสูบุหรี่มากขึ้น อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง

2) กลยุทธ์หลักในการรณรงค์ ได้แก่
-  การให้ข้อมูลข่าวสาร โดยแบ่งเป็น การให้ข้อมูลทางสื่อมวลชน การให้ข้อมูลแบบเจาะกลุ่ม และการให้ข้อมูลแบบรายบุคคล
การชักชวนกลุ่มหรือบุคคลซึ่งมีอิทธิพลในสังคม
การสร้างการมีส่วนร่วมของสังคมในการร่วมรณรงค์
การใช้มาตรการทางกฏหมายและกระบวนการทางการเมือง
การใช้ประบวนการตลาดเพื่อสังคม
การสร้างค่านิยมไม่สูบบุหรี่โดยผสมผสานเข้าไปในระบบการเรียนการสอนของโรงเรียน

3) ปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้การรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบุหรี่สำเร็จ ได้แก่ การมีข้อมูลเพียงพอ ชัดเจน เป็นรูปธรรม การเสริมสร้างความภูมิใจและความปีติในหมู่ผู้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ การชี้ให้สังคมเห็นว่า การรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่  เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกฝ่าย การใช้วิธีการและท่าทีด้านบวก และกระแสการรณรงค์ในระดับโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

4) จุดอ่อนของการรณรงค์ ได้แก่ การขาดงบประมาณสนับสนุน ความยากลำบากในการทำให้การรณรงค์เรื่องบุหรี่ เป็นข่าวสารสำคัญในช่วงอื่นๆ นอกจากช่วงวันงดสูบบุหรี่โลก การนำกฏหมายไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง และพฤติกรรมการ ติดนิโคตินของผู้เสพบุหรี่



ผู้วิจัย -  .นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ (2539)


หมายเลขบันทึก: 37184เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2006 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท