ความเห็นต่อกระบวนการสรุปผลการวิจัยแต่ละพื้นที่และนำเสนองานวิจัยภาพรวม (เท่าที่คิดออก ตอนที่1)


จำเป็นมากแค่ไหนที่จะต้องเชื่อมประสาน

       ตั้งใจเอาไว้ว่าวันนี้จะทำ AAR งานมหกรรมจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนที่ จ.สงขลา  เพราะ  ได้รับปากหนูเคเอ็ม และ คุณภีม เอาไว้แล้ว  (เฮ้อ! ไม่น่าหาเรื่องเลย  ถ้าทำตั้งแต่ในงานก็เสร็จไปแล้ว)  แต่ก็ต้องพับความตั้งใจนี้เก็บไว้ก่อน  เนื่องจากวันนี้ได้รับ Mail จากทีมประสานเกี่ยวกับการนำเสนอผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์  ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนกันยายนนี้ 

       เมื่อได้อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับกำหนดการและการเตรียมงาน (สำหรับผู้ที่สนใจสามารถอ่านได้จาก Blog ของคุณภีมนะคะ) แล้ว  ด้วยความเคยชินก็เลยขอแสดงความคิดเห็นเสียหน่อยก็แล้วกันนะคะ  แต่เนื่องจากช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงมึนๆ  ก็เลยคิดออกแค่นี้ค่ะ  คิดว่าถ้าอ่านไป  อ่านมา  คงจะกลับเข้ามาแสดงความคิดเห็นอีก 

       หากพิจารณาตามกำหนดการที่ตั้งไว้ (เป็นตุ๊กตา) ผู้วิจัยรู้สึกว่างานนี้จะมุ่งเป้าหมายไปที่หน่วยงานสนับสนุนอีกแล้ว  เหมือนกับที่สงขลาเลย  ซึ่งผู้วิจัยไม่ค่อยจะเห็นด้วยสักเท่าไหร่  เพราะ

      1.บทเรียนจากสงขลา  เห็นได้ชัดว่าหน่วยงานสนับสนุนไม่ใส่ใจกับงานวิจัยเลย   ตั้งใจมาพูดเฉพาะเรื่องของตนเอง (ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก  เพราะ  เวทีอื่นๆก็เป็นอย่างนี้)  พูดเสร็จก็กลับ  ไม่รู้ว่าปิดเล่มงานวิจัยครั้งนี้บรรยากาศจะเหมือนกับสงขลาหรือเปล่า

      2.องค์กรการเงินชุมชนจำนวนมาก  ไม่ได้ใส่ใจกับหน่วยงานสนับสนุนสักเท่าไหร่  อย่างกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ที่ตราด  หรือกลุ่มโซนใต้ (แต่เหนือชั้น) ที่ลำปาง  เขาก็สามารถอยู่กันได้ 

     3.งานวิจัยชิ้นนี้  ตั้งแต่แรกผู้วิจัยเข้าใจว่ามุ่งไปที่การนำการจัดการความรู้มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรการเงินให้เข้มแข็ง  ส่วนเรื่องการเชื่อมประสานก็มีการพูดถึง  แต่ผู้วิจัยคิดว่าน่าจะเป็น Hidden Agenda มากกว่า  ดังนั้น  การนำเสนอควรที่จะ Hilight ไปที่การนำการจัดการความรู้มาใช้ในการพัฒนาองค์กรมากกว่า  ถ้าองค์กรเข้มแข็ง  เดี๋ยวอย่างอื่นก็ตามมาเอง  ถ้าเราไปมุ่งเป้าที่หน่วยงานสนับสนุน  จะกลายเป็นว่าเรายังไม่พร้อม  แต่หาห่วงมาแขวนคอหรือเปล่า?  ในทางกลับกันถ้าเรามุ่งเป้าไปที่ความเข้มแข็งขององค์กรการเงินชุมชนซึ่งเป็นผลมาจากการนำการจัดการความรู้มาใช้ในการพัฒนาองค์กร  หน่วยงานสนับสนุนจะยินดีเข้ามาร่วมกันทำงานกับหน่วยงานเหล่านั้นมากกว่าไหม?

     4.ผู้วิจัยไม่แน่ใจว่างานวิจัยโครงการนี้จะให้ภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารจัดการ  การเชื่อมประสานมากแค่ไหน  กล่าวง่ายๆก็คือ  นักวิจัยเข้าใจองค์กรที่ตนเองเข้าไปศึกษาและพัฒนามากแค่ไหน  ถ้านักวิจัยยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้  แล้วเรายังนำเรื่องนโยบาย  เรื่องหน่วยงานเข้ามาใส่อีก  ยังคิดไม่ออกว่าผลจะเป็นอย่างไร

     5.โดยส่วนตัวผู้วิจัยยังเห็นว่าขณะนี้มีเพียงกลุ่มสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาทของสงขลาเพียงที่เดียวที่มีเป้าหมายและมีการทำงานเพื่อเชื่อมประสานกับหน่วยงานสนับสนุนอย่างชัดเจน  ในขณะที่พื้นที่อื่นๆแม้จะใช้ความพยายามแล้วแต่ก็ยังไม่ค่อยได้ผลนัก  ไม่ว่าจะเป็นลำปาง  หรือแม้กระทั่งกองทุนหมู่บ้านของสมุทรปราการและกระหรอ  ส่วนของตราด  รู้สึกว่าจะไม่สนใจหน่วยงานสักเท่าไหร่  คำถามที่เกิดขึ้น  คือ

         - จำเป็นมากแค่ไหนที่จะต้องเชื่อมประสาน

         - ความจริงภาพรวมของระเบียบ  นโยบายที่ใช้ก็เหมือนกันทั่วประเทศ  แต่บางพื้นที่ก็ก้าวหน้า  เช่น  สงขลา  เป็นต้น  ในขณะที่หลายพื้นที่ยังไม่ก้าวหน้า  ดังนั้น  จะดีกว่าไหมที่จะมุ่งไปที่หน่วยงานในระดับพื้นที่  มากกว่าภาพรวมทั้งระบบ   เปรียบเทียบง่ายๆเหมือนกับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค  ทำไมบางโรงพยาบาลจึงรักษาผู้ป่วยดี  ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ  ในขณะที่บางโรงพยาบาลรักษาไม่ดี  กลายเป็น 30 บาท  ตายทุกโรค  ทั้งๆที่เป็นนโยบายเดียวกัน  ใช้กฎหมายเดียวกัน  แสดงว่า  บริบทในพื้นที่มีความสำคัญใช่ไหม?  ถ้าเป็นอย่างนั้น  เราทำในพื้นที่ให้ดีก่อนจะดีไหม  ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องศึกษาออกมาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนดีไหมว่าที่เป็นปัญหาอยู่นั้นเพราะระบบ (รวม) หรือเป็นเพราะผู้นำไปใช้  ก่อนที่เราจะเสนอผลงานวิจัย  ไม่อย่างนั้นผู้วิจัยเห็นว่าเสียเวลาเปล่าค่ะ

        ไหนๆก็ไหนๆแล้ว  ผู้วิจัยขอออกแบบกำหนดการใหม่ (รอบที่ 1  เท่าที่คิดออก)  ดังนี้ค่ะ

        08.30-09.00น.      ลงทะเบียน

        09.00-09.15น.      ผู้ประสานงานโครงการฉายภาพโครงการวิจัย

        09.15-09.45น.      นำเสนอผลการศึกษา ทีมสมุทรปราการ

        09.45-10.15น.      นำเสนอผลการศึกษา  ทีมนครศรีธรรมราช

        10.15-10.30น.      รับประทานอาหารว่าง

        10.30-11.00น.      นำเสนอผลการศึกษา  ทีมสงขลา

        11.00-11.30น.      นำเสนอผลการศึกษา  ทีมลำปาง

        11.30-12.00น.      นำเสนอผลการศึกษา ทีมตราด

        12.00-13.00น.      รับประทานอาหารเที่ยง

        13.00-13.30น.      สรุปภาพรวมงานวิจัย

        13.30-14.00น.      ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะเกี่ยวกับงานวิจัยของ

                                       แต่ละพื้นที่

        14.00-14.30น.     ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะเกี่ยวกับงานวิจัยของ

                                      แต่ละพื้นที่ (ต่อ)

        14.30-14.45น.     รับประทานอาหารว่าง

        14.45-15.15น.     อภิปรายโดยหน่วยงานสนับสนุน

        15.15-15.45น.     อภิปรายโดยหน่วยงานสนับสนุน (ต่อ)

        15.45-16.15น.     เปิดเวทีสอบถาม  แสดงความคิดเห็น

        16.15-16.30น.     ปิดงาน

หมายเหตุ :  1.ผู้ดำเนินรายการต้องพยามควบคุมเวลาให้ได้

                      2.ทีมต่างๆที่นำเสนอต้องบอกตัวเองว่ามีเวลาประมาณ 25 นาที  ไม่ควรใช้เวลาเกินกว่านี้  เพราะ  ควรเห็นใจผู้ดำเนินรายการ  ทีมอื่นๆ  รวมทั้งผู้เข้าร่วมเวที

                      3.อุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ในการนำเสนอ    ควรตรวจเช็คให้เรียบร้อยก่อนทั้งในช่วงเช้าและช่วงบ่าย  ทีมประสานงานต้องดูแลให้ดี

                      4.กำหนดการในช่วงบ่ายสามารถยืดหยุ่นได้  แล้วแต่สถานการณ์ 

        ตอนนี้คิดออกแค่นี้ค่ะ  ถ้าคิดออกอีกจะเข้ามาเสนอใหม่ค่ะ        

 

คำสำคัญ (Tags): #กำหนดการ
หมายเลขบันทึก: 37101เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2006 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณนะคะอ.อ้อม

ขอบคุณอ.อ้อมมากครับ อยากฟังความเห็นจาก        ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆด้วยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท