มหาวิทยาลัยจัดการความรู้เพื่อชุมชน(3)


ผันงบพัฒนามาเป็นงบค่าหน่วยกิตเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการความรู้

ผมเล่าแนวคิดมหาวิทยาลัยจัดการความรู้ให้คนใกล้ชิดฟัง ถูกตั้งคำถามว่า ชาวบ้านจะเอาเวลา     ที่ไหนมาเรียน เขาต้องทำมาหากิน จะจัดการเรียนการสอนอย่างไร อาจารย์จะมีเพียงพอหรือ       งบประมาณมาจากไหน เป็นต้น เป็นคำถามที่ช่วยให้ต้องทำงานความคิดอย่างละเอียด รอบคอบ   ยิ่งขึ้น
ผมอธิบายว่า การศึกษาตามแนวทางจัดการความรู้ คือเรียนรู้จากงานที่ทำ ดังนั้นนักเรียนไม่เรียนเรื่องที่ทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ชาวนาก็เรียนเรื่องทำนาให้สำเร็จคือ อยู่รอดเลี้ยงชีวิตและครอบครัวได้อย่างมีความสุข ชาวสวนก็เรียนเรื่องทำสวน เป็นกรรมการกลุ่มออมทรัพย์สนใจทำบทบาทดังกล่าวให้ดีที่สุดก็เรียนเรื่องกลุ่มออมทรัพย์ เป็นต้น มีทั้งวิชาหลักและวิชาเลือก แต่ไม่มีวิชาเรียนเพื่อรู้ไว้อวด
อาจารย์จะมาจากคนที่มีความสามารถในเรื่องนั้น ๆ เช่นดร.ครูชบ ยอดแก้ว เป็นอาจารย์เรื่องกลุ่มสัจจะวันละ 1 บาท เป็นต้น ซึ่งจะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานหรือวิถีชีวิตของนักเรียนโดยอ้อมทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติอยู่บ้าง เช่น การเมืองการปกครอง การทำบัญชี เป็นต้น ก็ต้องเรียนเพิ่มเติมในส่วนนี้ สำหรับนักศึกษาในส่วนของหน่วยงานราชการก็เรียนเป็นคุณอำนวยที่มีความสามารถตามบทบาทที่เกี่ยวข้อง เกษตรตำบลก็เรียนวิชาคุณอำนวยในฐานะเกษตรตำบลจนกลายเป็นเกษตรตำบลผู้เชี่ยวชาญ เกษตรอำเภออาจเรียนวิชาคุณเอื้อก็จัดให้สอดคล้องกับบทบาทและเป้าหมายของผู้เรียน ยืนพื้นที่เรียนรู้จากการปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย
สำหรับเรื่องงบประมาณ ผมคิดว่า มีเป็นจำนวนมาก เพราะงบพัฒนาทั้งหมดสามารถผันมาเป็นงบค่าหน่วยกิตเรียนรู้ตามแนวทางนี้ได้ทั้งหมด จะเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวางต่อเนื่องจนกลายเป็นวัฒนธรรมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของสังคมไทย

นั่นแหละสังคมฐานความรู้จึงจะเป็นจริงได้

หมายเลขบันทึก: 3708เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2005 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท